ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
ตราคณะกรรมาธิการยุโรป
ธงยุโรป
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
อัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน

ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2019
คณะกรรมาธิการยุโรป
สมาชิกของคณะกรรมาธิการยุโรป
คณะมนตรียุโรป
รายงานต่อรัฐสภายุโรป
คณะมนตรียุโรป
ที่ว่าการบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
ผู้เสนอชื่อคณะมนตรียุโรป
ผู้แต่งตั้งรัฐสภายุโรป
วาระห้าปี ต่อได้หลายวาระ
สถาปนา1 มกราคม ค.ศ. 1958
คนแรกวัลเทอร์ ฮัลชไตน์
เงินตอบแทน25,554 ยูโรต่อเดือน[1]
เว็บไซต์ec.europa.eu

ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อังกฤษ: President of the European Commission) เป็นประมุขแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป อันเป็นสถาบันฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปมีหน้าที่รายงานต่อรัฐสภายุโรป จึงมีเกียรติยศเทียบได้กับหัวหน้ารัฐบาลของนานาประเทศ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้รับอำนาจแต่งตั้ง สับเปลี่ยน และปลดกรรมาธิการตามความจำเป็น คณะกรรมาธิการยุโรปเป็นสถาบันเดียวที่มีอำนาจเสนอร่างกฎหมายเพื่อตราบังคับใช้เป็นกฎหมายสหภาพยุโรป

ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป, ประธานคณะมนตรียุโรป และผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง สามตำแหน่งดังกล่าวคือผู้ที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสหภาพยุโรปในการประชุมและการเจรจากับประเทศหรือองค์กรนอกสหภาพยุโรป

ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้รับการเสนอชื่อโดยคณะมนตรียุโรป และได้รับการเลือกตั้งโดยรัฐสภายุโรป มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี สามารถดำรงตำแหน่งหลายวาระ[2][3][4] ประธานคนปัจจุบันคือ อัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน

อ้างอิง[แก้]

  1. "European commissioners: what they earn" (PDF). European Voice. February 2015. p. 56. สืบค้นเมื่อ 19 June 2015.
  2. "CONSOLIDATED VERSION OF THE TREATY ON EUROPEAN UNION". Article 17 (7). Taking into account the elections to the European Parliament and after having held the appropriate consultations, the European Council, acting by a qualified majority, shall propose to the European Parliament a candidate for President of the Commission. This candidate shall be elected by the European Parliament by a majority of its component members. If he does not obtain the required majority, the European Council, acting by a qualified majority, shall within one month propose a new candidate who shall be elected by the European Parliament following the same procedure.
  3. Kotanidis, Silvia. "Role and election of the President of the European Commission" (PDF). European Parliamentary Research Service. สืบค้นเมื่อ 29 September 2022. The Treaty of Lisbon strengthened the role of Parliament further. Whilst previously, the nomination of a presidential candidate was merely 'approved' by Parliament (Article 214(2) TEC), Parliament now elects the candidate (Article 17(7) TEU), which places particular emphasis on the political linkage between Parliament and Commission.
  4. "Election of the European Commission President". www.consilium.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 September 2022. "European Council proposes a candidate [...], European Parliament elects [...], a new Commission President is elected.