ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค[1] บางแห่งเรียก กระบวนพยุหยาตราสถลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค[2] เป็นขบวนเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ไทยไปในการต่าง ๆ ทางบก ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นการพระราชพิธี ซึ่งได้ประกอบการมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย[3] และสืบทอดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และได้มีมาจนปัจจุบัน แต่เดิมขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อประกอบการพระราชพิธีต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี การอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญ จากหัวเมืองเข้ามาประดิษฐานในเมืองหลวง ตลอดจนการต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ และการพระบรมศพ เป็นต้น เป็นการจัดขบวนมีเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศเป็นแถวงดงาม[4]
ประวัติขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
[แก้]สมัยกรุงศรีอยุธยา
[แก้]ขบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค เป็นขบวนพระราชพิธีสำคัญ เมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ขบวนดังกล่าวจัดขึ้นทุกปี ในพระราชพิธีสิบสองเดือน โดยพระมหากษัตริย์จะเสด็จสถลมารค เพื่อถวายผ้าพระกฐินแก่พระอารามหลวง ขบวนพยุหยาตรา พระกฐินสถลมารคที่ยิ่งใหญ่ถูกจัดขึ้น ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
[แก้]ในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคนี้ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และเสนาบดีที่ตามเสด็จในขบวน ล้วนทรงฉลองพระองค์และแต่งกายอย่างงดงามพระมหากษัตริย์ทรงเครื่องสนับเพลาเชิงงอน พระภูษาเขียนทองฉลองพระองค์ตาดจีบ คาดเจียระบาด สายรัดพระองค์เพชรทรงพระสังวาล พระธำมรงค์ ทรงพระมาลาเพชร
ในรัชกาลที่ 2
[แก้]ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค[5]
ในรัชกาลที่ 3
[แก้]ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค[6]
ในรัชกาลที่ 4
[แก้]ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเมื่อวันอังคาร แรม 5 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1213 ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เมื่อถึงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการถวายไทยธรรมแก่พระสงฆ์[7]
ในรัชกาลที่ 5
[แก้]ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเมื่อวันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230 ตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยประทักษิณรอบพระบรมมหาราชวัง จนถึงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร[8]
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา เบญจศก จ.ศ. 1235 ตรงกับวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 ไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร จากนั้นประทักษิณรอบพระบรมมหาราชวัง[9]
ในรัชกาลที่ 6
[แก้]ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1273 ตรงกับวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2454 จากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร[10]
ในรัชกาลที่ 7
[แก้]ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเมื่อวันจันทร์ แรม 3 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. 1287 ตรงกับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2469 จากพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร[11]
ต่อมาในพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเมื่อวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก ตรีศก จ.ศ. 1293 ตรงกับวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 ไปทรงเปิดพระปฐมบรมราชานุสรณ์[12]
ในรัชกาลที่ 9
[แก้]เมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ มีแต่เพียงการเสด็จฯ โดยขบวนราบใหญ่จากพระมหามณเทียรไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดารามเท่านั้น จนลุมาถึงการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบพระนักษัตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. 1325 ตรงกับวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2506 จากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ไปทรงนมัสการพระพุทธรูปสำคัญ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[13] นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดริ้วขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคผ่านทางสถานีโทรทัศน์ด้วย โดยถ่ายทอดสดโดยสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7
ในรัชกาลปัจจุบัน
[แก้]ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน เอกศก จ.ศ. 1381 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 จากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี โดยเสด็จในขบวน ในฐานะรองผู้บัญชาการ และนายทหารพิเศษประจำหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ตามลำดับ[14] นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดริ้วขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคผ่านทางสถานีโทรทัศน์ด้วย โดยทุกสถานีเชื่อมสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[15][16]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "หมายกำหนดการ ที่ 10/2562 หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (13 ข): 22. 2562-05-04.
- ↑ "ทาง" ในที่นี้เป็นคำบุรพบท แปลว่า โดย หรือ ด้วย ดังนั้น ทางสถลมารค จึงมีความหมายว่า ด้วยวิถีทางบก จาก ขบวนพยุหยาตรา เก็บถาวร 2007-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชบัณฑิตยสถาน
- ↑ ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค พระราชพิธีโบราณ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย
- ↑ ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค โอกาสเข้าเฝ้าชมพระบารมี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562
- ↑ ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ↑ ๒. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ↑ ๖. เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
- ↑ คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2516). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ – ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี. หน้า 16 เชิงอรรถ (๒).
- ↑ คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2516). จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ – ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี. หน้า 145 เชิงอรรถ (๒).
- ↑ นเรศรวรฤทธิ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2466). "เสด็จเลียบพระนครทางชลมารค," จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว . ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หอพระสมุดสำหรับพระนครรวบรวมพิมพ์พระราชทานในงารเฉลิมพระชนม์พรรษา ปีกุญ พ.ศ. ๒๔๖๖. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. หน้า 139.
- ↑ พระราชพิธี บรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลูสัปตศก พุทธศักราช ๒๔๖๘
- ↑ การพระราชพิธี พระราชพิธีเฉลิมกรุงเทพมหานคร อันประดิษฐานมาครบ ๑๕๐ ปี เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕
- ↑ หมายกำหนดการ ที่ ๒๐/๒๕๐๖ พระราชพิธีฉลองพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล และเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖
- ↑ HELLO! Thailand (6 พฤษภาคม 2562). "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี – เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ สองหญิงกล้าแห่งรัชกาลที่ 10". th.hellomagazine.com. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (2 พฤษภาคม 2562). "ไฮไลต์ เปิดจุดเฝ้าฯรับเสด็จ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.๑๐". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เส้นทาง ‘ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค’ สู่วัดบวรนิเวศฯ (คลิป)