ข้ามไปเนื้อหา

การ์กาซอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์กาซอน

เมืองการ์กาซอน
Ville de Carcassonne

ภูมิทัศน์เมืองการ์กาซอนที่เห็นกำแพงล้อมรอบ
ประเทศฝรั่งเศส
แคว้นอ็อกซีตานี
จังหวัดโอด
เขตการ์กาซอน
สหเทศบาลการ์กาซอน
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2008-2014) Jean-Claude Perez
พื้นที่165.08 ตร.กม. (25.13 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2008)2
48,112 คน
 • ความหนาแน่น740 คน/ตร.กม. (1,900 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์11069 /11000
สูงจากระดับน้ำทะเล81–250 m (266–820 ft)
(avg. 111 m หรือ 364 ft)
1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ 2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.
การ์กาซอน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
การ์กาซอน
ประเทศธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii) (iv)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2540 (คณะกรรมการสมัยที่ 21)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

การ์กาซอน (ฝรั่งเศส: Carcassonne) หรือ การ์กาซูนอ (อุตซิตา: Carcassona) เป็นเมืองที่มีกำแพงป้องกันเมืองล้อมรอบที่ตั้งอยู่จังหวัดโอดในอดีตแคว้นล็องก์ด็อกในประเทศฝรั่งเศส เมืองการ์กาซอนแยกออกเป็นสองส่วน “Cité de Carcassonne” (ไทย: การ์กาซอนเก่า) ซึ่งเป็นบริเวณเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง และ “ville basse” (ไทย: การ์กาซอนใหม่) ซึ่งเป็นบริเวณปริมณฑลรอบตัวเมืองเก่า ที่มาของการ์กาซอนมาจากตำนานพื้นบ้านที่กล่าวว่าหลังจากประมุขของปราสาทชื่อ “การ์กัส” สามารถยุติการล้อมเมืองได้ก็ทำการสั่นระฆังเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง “Carcas sona” แต่การสร้างเป็นประติมากรรมฟื้นฟูกอธิคบนคอลัมน์บนประตูนาร์บอนเป็นของใหม่ ป้อมปราการที่บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดในปี ค.ศ. 1853 โดยสถาปนิกเออแฌน วียอเล-เลอ-ดุ๊กได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1997[1]

ประวัติ

[แก้]

การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในภูมิภาคการ์กาซอนเริ่มขึ้นราว 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่เนินการ์ซัก (Carsac) ซึ่งเป็นภูมินามภาษาเคลต์ใช้เป็นชื่อในบริเวณอื่นทางตอนใต้ กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญทางการค้าขายมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ต่อมาชนเผ่า Volcae Tectosages ก็สร้างกำแพงป้องกันล้อมรอบขึ้นเป็น “โอพพิดัม

การ์กาซอนกลายเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์เมื่อโรมันทำการสร้างระบบป้องกันบนเนินราว 100 ปีก่อนคริสต์ศักราชและในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็น “เมืองโรมันระดับนิคม” ชื่อ “จูเลีย คาร์ซาโค” (Julia Carsaco) ที่ต่อมาเปลี่ยนเป็น “การ์กาซุม” (Carcasum) ส่วนสำคัญของตอนล่างของกำแพงเมืองทางตอนเหนือมีอายุมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมกอล-โรมัน ในปี ค.ศ. 462 โรมันยกเซ็พติเมเนียอย่างเป็นทางการให้แก่พระเจ้าธีโอโดริคที่ 2 กษัตริย์แห่งชาววิซิกอธผู้ครองการ์กาซอนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 453 พระเจ้าธีโอโดริคทรงสร้าง ระบบการป้องกันขึ้นใหม่ในบริเวณการ์กาซอน ซึ่งเป็นที่มั่นชายแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรชายแดนเหนือ (northern marches) ซึ่งยังคงมีร่องรอยเหลืออยู่ให้เห็น นอกจากนั้นก็ยังเชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้สร้างคริสต์ศาสนสถานก่อนหน้าที่จะกลายมาเป็นบาซิลิกาที่ในปัจจุบันอุทิศให้แก่นักบุญนาซาเรียส ในปี ค.ศ. 508 ชาววิซิกอธก็สามารถได้ชัยชนะต่อการโจมตีของกษัตริย์แฟรงค์โคลวิสที่ 1 ได้ ซาราเซนจากบาร์เซโลนายึดการ์กาซอนได้ในปี ค.ศ. 725 แต่สมเด็จพระเจ้าเปแปงเดอะชอร์ททรงสามารถขับซาราเซนออกจากการ์กาซอนได้ในระหว่างปี ค.ศ. 759 ถึงปี ค.ศ. 760 แม้ว่าสมเด็จพระเจ้าเปแปงเดอะชอร์ทจะทรงยึดดินแดนต่างทางตอนใต้ของฝรั่งเศสได้แทบทั้งสิ้นแต่พระองค์ก็ไม่ทรงสามารถบุกเข้ายึดป้อมปราการการ์กาซอนได้

ในยุคกลางอาณาจักรเคานท์แห่งการ์กาซอนมีอำนาจปกครองเมืองและบริเวณใกล้เคียง โดยทั่วไปแล้วการ์กาซอนก็มักจะเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรเคานท์แห่งราเซส์ ที่มาของการเป็นอาณาจักรเคานท์ของการ์กาซอนก็อาจจะมาจากการมีผู้แทนท้องถิ่นของวิซิกอธ แต่เคานท์คนแรกที่มีหลักฐานบันทึกชื่อเบลโล เคานท์แห่งการ์กาซอนในสมัยของชาร์เลอมาญ เคานท์เบลโลก่อตั้งตระกูลเบลโลนิดส์ (Bellonids) ผู้ปกครอง “honores” หลายแห่งในเซ็พติเมเนียและกาตาลุญญาเป็นเวลาราวสามร้อยปี

ในปี ค.ศ. 1067 การ์กาซอนก็กลายเป็นสมบัติของแรมง แบร์นาร์ ทร็องกาแวล ไวส์เคานท์แห่งอาลบี และนีมส์โดยการสมรสกับแอร์มองการ์ดน้องสาวของเคานท์แห่งการ์กาซอนคนสุดท้าย ในช่วงหลายร้อยปีต่อมาตระกูลทรองคาเวลก็เป็นพันธมิตรกับไม่เคานท์แห่งบาร์เซโลนาก็เคานท์แห่งตูลูส และได้ทำการสร้าง “Château Comtal” (ไทย: วังเคานท์) และ บาซิลิกาแซงต์นาแซร์ ในปี ค.ศ. 1096 สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ทรงเจิมศิลาฤกษ์ของมหาวิหารใหม่ที่เป็นมหาวิหารที่มั่นของโรมันคาทอลิกในการต่อต้านฝ่ายคาทาร์

การ์กาซอนกลายมามีบทบาทความสำคัญระหว่างสงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียนเมื่อตัวเมืองกลายเป็นที่มั่นของอ็อกซิตันคาทาร์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1209 กองทัพครูเสดของไซมอนเดอมอนต์ฟอร์ต เอิร์ลแห่งเลสเตอร์ที่ 5 บังคับให้ชาวเมืองยอมจำนน หลังจากทำการจับกุมและคุมขังแรมง-รอเฌ เดอ ทร็องกาแวลและปล่อยให้เสียชีวิตแล้ว ไซมอนเดอมอนฟอร์ทก็ตั้งตนเป็นไวเคานต์ และสร้างเสริมระบบป้อมปราการ การ์กาซอนกลายที่มั่นชายแดนระหว่างฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอารากอน (สเปน)

ในปี ค.ศ. 1240 บุตรชายของทรองคาเวลพยายามยึดการ์กาซอนคืนแต่ล้มเหลว การ์กาซอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1247 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ทรงก่อตั้งบริเวณใหม่ของเมืองอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำจากการ์กาซอน พระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ผู้ครองราชย์ต่อจากพระองค์ทรงสร้างเชิงเทินด้านนอก ระหว่างสงครามร้อยปีในปี ค.ศ. 1355 เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำพยามยามจะตีเมืองแต่ไม่สำเร็จ แต่ก็กองทหารของพระองค์ก็ทำลายเมืองล่าง

ในปี ค.ศ. 1659 สนธิสัญญาพิเรนีสขยายเขตแดนของฝรั่งเศสไปถึงรูซียง ซึ่งทำให้ความสำคัญของการ์กาซอนลดถอยลง ป้อมปราการต่าง ๆ ก็ถูกละทิ้ง การ์กาซอนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่ทำการค้าขายอุตสาหกรรมผ้าขนแกะ ที่ในปี ค.ศ. 1723 แฟร์นองด์ โบรเดลบันทึกว่าการ์กาซอนเป็น “ศูนย์กลางของการผลิตของล็องก์ด็อก”[2]

สถานที่ที่น่าสนใจ

[แก้]

เมืองล้อมด้วยกำแพง

[แก้]

การ์กาซอนถูกลบออกจากรายชื่อทางการของเมืองที่มีระบบป้องกันในรัชสมัยของนโปเลียนและสมัยฟื้นฟู เมืองล้อมด้วยกำแพงแห่งการ์กาซอนเสื่อมโทรมลงจนอยู่ในสภาพที่รัฐบาลฝรั่งเศสตัดสินใจว่าควรจะรื้อทิ้ง พระราชประกาศที่ออกมาในปี ค.ศ. 1849 ก่อให้เกิดการประท้วงกันอย่างขนานใหญ่ นักโบราณศึกษา (antiquary) และนายกเทศมนตรีของการ์กาซอน Jean-Pierre Cros-Mayrevieille และนักเขียนพรอสแพร์ เมอริมีผู้ตรวจสอบอนุสาวรีย์โบราณคนแรกเป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์ป้อมปราการไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ ต่อมาในปีเดียวกันสถาปนิกเออแฌน วียอเล-เลอ-ดุ๊กผู้ที่ขณะนั้นกำลังทำงานซ่อมบาซิลิกาแซงต์นาแซร์อยู่แล้วก็ได้รับการจ้างให้บูรณปฏิสังขรณ์

ในปี ค.ศ. 1853 การบูรณปฏิสังขรณ์ก็เริ่มขึ้นที่กำแพงด้านตะวันตกและด้านด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพง ตามด้วยหอของ “ประตูนาร์บอน” (porte Narbonnaise) และ ประตูทางเข้าหลักของตัวเมือง ป้อมบางส่วนก็ได้รับการผสานเข้าด้วยกัน และสิ่งสำคัญของโครงการคือการบูรณปฏิสังขรณ์หลังคาของหอและเชิงเทิน ในบางจุดเออแฌน วียอเล-เลอ-ดุ๊กก็สั่งให้ทำลายโครงสร้างที่อิงกำแพง ที่บางครั้งเป็นโครงสร้างที่เก่าแก่ วียอเล-เลอ-ดุ๊กทิ้งบันทึกอันละเอียดละออเกี่ยวกับการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อเสียชีวิต ในปี ค.ศ. 1879 ที่ Paul Boeswillwald ผู้เป็นลูกศิษย์และต่อมาสถาปนิกโนเดต์ใช้ในการดำเนินซ่อมแซมต่อมา

การบูรณปฏิสังขรณ์ได้รับการวิจารณ์อย่างหนักขณะที่วียอเล-เลอ-ดุ๊กยังคงมีชีวิตอยู่ เพิ่งเสร็จจากงานที่ทำอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสใหม่ วียอเล-เลอ-ดุ๊กมาใช้แผ่นหินชนวนในการซ่อมหลังคาที่เป็นรูปกรวยแหลม ซึ่งทางตอนใต้ของฝรั่งเศสจะนิยมใช้กระเบื้องและมุมตื้นเพราะเป็นภูมิภาคที่ไม่มีหิมะ แต่กระนั้นลักษณะโดยทั่วไปของงานที่บูรณะเสร็จก็เป็นที่เห็นพ้องกันว่าเป็นงานชิ้นเอง แม้จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงทางสถาปัตยกรรมนักก็ตาม

The fortified city of Carcassonne and the Pont Vieux crossing the Aude river

ป้อมปราการของการ์กาซอนประกอบด้วยวงแหวนสองชั้นและหอ 53 หอ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Historic Fortified City of Carcassonne". UNESCO. Accessed August 11, 2008.
  2. Fernand Braudel, The Wheels of Commerce 1982, vol. II of Civilization and Capitalism, Brian Anderson.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การ์กาซอน