การอ้างอำนาจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การอ้างอำนาจ[1] (อังกฤษ: argument from authority, appeal to authority, argument against shame argumentum ab auctoritate, argumentum ad verecundiam) เป็นการให้เหตุผลโดยใช้จุดยืนของผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้มีอิทธิพล ผู้มีอำนาจหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักฐานว่าสิ่งที่กล่าวนั้นถูกต้อง[2] แม้นี่จะไม่ใช่ข้อพิสูจน์ทางตรรกะที่ถูกต้อง[2] แต่ก็เป็นวิธีเสาะหาความรู้ที่ใช้ได้และดี ซึ่งโดยทั่วไปน่าจะถูกต้องเมื่อบุคคลนั้นมีอยู่จริง ๆ เป็นผู้เชี่ยวชาญในประเด็นนั้น และแนวคิดเรื่องนั้นได้การยอมรับโดยทั่วไป[2][3][4]

เหตุผลโดยนิรนัยและอุปนัย[แก้]

นิรนัย[แก้]

การให้เหตุผลเช่นนี้จัดเป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะ (logical fallacy) ตั้งแต่นักปรัชญาชาวอังกฤษจอห์น ล็อก และริชาร์ด เวตลี เริ่มใช้[5] โดยเฉพาะก็คือเป็นเหตุผลวิบัติโดยกำเนิดรูปแบบหนึ่ง เป็นการให้เหตุผลแก่เนื้อความโดยยกคุณลักษณะของบุคคลที่ยกข้ออ้าง คล้าย ๆ กับเหตุผลวิบัติที่โจมตีบุคคลที่ยกข้ออ้าง เช่น ad hominem[6] ล็อกได้บัญญัติวลีละตินว่า argumentum ad verecundiam แปลว่า (การยกการเสียหน้า/ความถ่อมตน) เพราะการไม่ยอมรับข้ออ้างอาจทำให้ถูกดูถูก เพราะเท่ากับไม่เคารพต่อบุคคลผู้มีอำนาจหรือมีความเชี่ยวชาญ[7]

การเป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะหมายความว่า การให้เหตุผลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ทางนิรนัย เพราะบอกไม่ได้ว่าต้องเป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอน[8] กล่าวอีกอย่างก็คือ การให้เหตุผลว่าข้อตั้งเป็นจริงเพราะผู้มีอิทธิพลได้กล่าวไว้ เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ทางตรรกะ เพราะก็ยังสามารถผิดได้ และจะพิสูจน์ทางตรรกะได้ก็ต่อเมื่อให้หลักฐานจริง ๆ หรือใช้การนิรนัยทางตรรกะที่ถูกต้องเพื่อชี้ว่าข้ออ้างเป็นจริง[9][10][11]

เหตุผลวิบัติทางตรรกะที่เกี่ยวข้องกันอื่น [แก้]

ถ้าให้เหตุผลว่าบุคคลที่แสดงความคิดเห็นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณา ก็จะเป็นเหตุผลวิบัติแบบ ad hominem[6] มีเหตุผลวิบัติที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ ว่า บุคคลไม่มีตำแหน่งฐานะอะไร ๆ หรืออำนาจอะไร ๆ ดังนั้น จึงเชื่อถือได้ เช่น การยกความจน (appeal to poverty) เป็นเหตุผลวิบัติเพราะระบุว่า บุคคลมีโอกาสถูกยิ่งกว่าเพราะยากจน[12] ถ้าให้เหตุผลว่า ข้อสรุปน่าจะจริงกว่าเพราะคนที่ยกข้อสรุปหรือแสดงข้อสรุปนั้นไม่มีอำนาจ ไม่มีอิทธิพล หรือไม่เชี่ยวชาญ นี่เป็นเหตุผลวิบัติโดยการยกบุคคลธรรมดา (appeal to the common man)[13]

อุปนัย[แก้]

แต่เมื่อใช้กับวิธีการทางอุปนัย ซึ่งชี้ว่า ข้อสรุปไม่สามารถพิสูจน์หรือระบุได้อย่างแน่นอน[8] การให้เหตุผลนี้อาจจัดได้ว่าดีและไม่วิบัติ ถ้าบุคคลมีความเชี่ยวชาญอันน่าเชื่อถือได้ เรื่องที่ประเมินก็น่าจะถูกต้องมากกว่า โดยเฉพาะถ้าผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ มีมติร่วมกัน[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็ยังอาจเป็นเหตุผลวิบัติถ้าเป็นความเชี่ยวชาญเท็จ เช่นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ หรือให้ข้อสรุปนอกสาขาที่เชี่ยวชาญ เหตุผลวิบัติเช่นนี้อาจเรียกได้ว่า การให้เหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญเท็จ (argument from false authority)[14] นี่ก็ยังอาจจะเป็นเหตุผลวิบัติด้วยถ้าผู้เชี่ยวชาญมีความชำนาญในประเด็นที่อ้าง แต่สิ่งที่อ้างก็ยังโต้เถียงกัน ยังไม่มีมติร่วมกัน ในบรรดาผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ในสาขาเดียวกัน

การให้เหตุผลเช่นนี้อาจจัดว่าเชื่อถือได้ หากทุก ๆ ฝ่ายตกลงกันได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญที่อ้างเป็นผู้เชื่อถือได้ในบริบทนั้น [2] คือจัดได้ว่าเป็นเหตุผลที่ดีถ้าทั้งสองฝ่ายซึ่งกำลังถกประเด็นนั้นตกลงกันได้ว่า คนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญจริง [2][3][4]

อนึ่ง มีการอ้างว่า การเชื่อใจผู้เชี่ยวชาญนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า เพราะจะยากมากหรือเป็นไปไม่ได้ ถ้านักศึกษาและนักวิจัยจะต้องตรวจดูหลักฐานจริง ๆ และประเมินข้อสรุปสำหรับความรู้ทั้งหมดที่จำเป็นเพื่อให้ศึกษาประเด็นใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ได้[15]

ในขณะเดียวกัน คนอื่น ๆ ก็อ้างว่าผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ข้อยกเว้น[16] เพราะความถูกต้องของข้ออ้างจะต้องขึ้นอยู่กับหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ให้ ไม่ใช่เนื่องกับความมีชื่อเสียงของผู้ยกข้ออ้าง [ต้องการอ้างอิง]

ความสับสนเพราะเป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะแต่เป็นเกณฑ์การอุปนัยที่ดี[แก้]

นี้เป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะ แต่จะเป็นเหตุผลวิบัติในการอุปนัยก็ต่อเมื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญเท็จ หรือข้ออ้างของผู้เชี่ยวชาญไม่ได้การยอมรับ อย่างไรก็ดี การให้เหตุผลนี้จะมีน้ำหนักโดยเปรียบเทียบเท่านั้น ไม่ใช่ข้อพิสูจน์เพราะยังไม่สมเหตุผลทางตรรกะ

การจัดให้เหตุผลเช่นนี้เป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะ ชี้ว่ามันไม่ใช่วิธีการที่สมเหตุผลในการนิรนัยข้อสรุป คือการพิสูจน์ข้อสรุป[8] แต่ก็ไม่ใช่ว่า สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งน่าเชื่อถือได้อ้างและได้การยอมรับ จะไม่มีโอกาสถูกยิ่งกว่าคนที่ไม่เชี่ยวชาญ แต่น้ำหนักของการให้เหตุผลนี้ก็ไม่ได้สมบูรณ์ตามที่บางคนเชื่ออย่างผิด [8]

ในวิทยาศาสตร์[แก้]

การหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้หลักฐานและการทดลอง ดีกว่าการอ้างผู้เชี่ยวชาญ[9][10][11] เพราะผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ข้อยกเว้น[10][17][18] คาร์ล เซแกนได้เขียนไว้ว่า "บัญญัติเอกของวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งก็คือ อย่าพึ่งเชื่อเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญ ... เพราะการให้เหตุผลเยี่ยงนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าผิดพลาดอย่างน่าเจ็บใจ [ดังนั้น]ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องพิสูจน์ข้ออ้างของตนเหมือนกับคนอื่น ๆ"[16] ในนัยตรงกันข้าม มีการอ้างว่าวิทยาศาสตร์โดยพื้นฐานจะต้องอาศัยเหตุผลจากผู้เชี่ยวชาญ จึงจะก้าวหน้าต่อไปได้เพราะทำให้ไม่ต้องตรวจดูเรื่องเก่า ๆ อยู่เรื่อย [15]

ตัวอย่างการยกผู้เชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์เรื่องหนึ่งเกิดขึ้นในปี 1923[19] เมื่อนักสัตววิทยาชั้นแนวหน้าชาวอเมริกัน ธีโอฟิลัส เพนเตอร์ ได้ใช้ข้อมูลที่ไม่ดีและสังเกตการณ์ที่ขัดแย้งกันเพื่อประกาศว่า[20][21] มนุษย์มีโครโมโซม 24 คู่ ดังนั้นตั้งแต่ทศวรรษ 1920 จนถึงปี 1956[22] นักวิทยาศาสตร์จึงได้กล่าวอย่างนี้ตาม ๆ กันโดยอาศัยชื่อเสียงของเพนเตอร์[23][24][21] แม้กระทั่งภายหลังจะนับได้อย่างถูกต้องเพียงแค่ 23 คู่[20][25] กระทั่งหนังสือเรียน[20] ที่แสดงรูปโครโมโซม 23 คู่อย่างถูกต้อง ก็ยังระบุว่ามีโครโมโซม 24 คู่โดยอาศัยอิทธิพลของมติร่วมกันในเวลานั้นว่ามี 24 คู่[26]

เหตุการณ์นี้ดูเหมือนจะได้สร้างความเอนเอียงเพื่อยืนยันในหมู่นักวิจัย และ "นักวิทยาเซลล์โดยมาก เพราะคาดหมายว่าจะได้เลขเช่นเดียวกันกับของเพนเตอร์ ปกติก็จะได้เลขเช่นนั้นจริง ๆ"[26] "อิทธิพลของเพนเตอร์มหาศาลจนกระทั่งว่า นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเลือกเชื่อตัวเลขของเขาแทนที่จะเชื่อหลักฐานที่ได้จริง ๆ"[25] ส่วนผู้ที่ได้ตัวเลขที่ถูกต้องก็ยังเปลี่ยน[27] หรือทิ้ง[28] ข้อมูลของตนเพื่อให้ตรงกับเลขของเพนเตอร์

ความเอนเอียงทางประชานที่เป็นราก[แก้]

การให้เหตุผลแบบนี้มีรากฐานอยู่ที่แนวคิดว่าทุกคนควรจะมีความเห็นเช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยนี่เองก็มีรากฐานอยู่ในความเอนเอียงทางประชาน[29] เช่น ปรากฏการณ์ Asch effect ที่บุคคลจะยอมรับความเห็นของคนส่วนมากแม้รู้ว่าผิด[30][31][32] ในวิธีการทดลอง Asch conformity experiments แบบแก้ไขที่ได้ทำช้ำ ๆ พบว่า คนที่มีฐานะสูงมีโอกาสทำให้คนยอมรับข้อสรุปที่ชัดเจนว่าไม่ถูกต้องยิ่งกว่า แม้ปกติจะสามารถเห็นคำตอบเช่นนั้นว่าไม่ถูกต้อง[33]

อนึ่ง พบว่า มนุษย์ปกติจะรู้สึกถูกกดดันให้ยอมรับจุดยืนของผู้เชี่ยวชาญหรือของคนโดยมาก นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งทำซ้ำการทดลองเดียวกันแล้วพบว่า ผู้ร่วมการทดลองรายงานว่าได้รับแรงกดดันจากกลุ่ม โดยมี 59% ที่คล้อยตามยอมรับคำตอบที่ไม่ถูกต้องอย่างชัดเจน เทียบกับเมื่อไม่อยู่ในกลุ่มที่จะไม่ค่อยยอมรับคำตอบนี้[34]

การทดลองของมิลแกรมเกี่ยวกับการคล้อยตามเจ้าหน้าที่ เป็นงานศึกษาอีกอย่างที่แสดงพื้นฐานทางจิตวิทยาของเหตุผลวิบัตินี้ โดยแสดงว่าเรามักจะคล้อยตามทำสิ่งที่เจ้าหน้าที่ระบุ แม้อาจจะรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง[35] ในอีกรูปแบบหนึ่งของการทดลองนี้ ที่นักวิจัยไม่ได้ใส่เสื้อกาวน์ ซึ่งทำให้ผู้ร่วมการทดลองลดความรู้สึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ อัตราการเชื่อฟังก็จะลดลงเหลือ 20% เทียบกับอัตราเดิมซึ่งมากกว่า 50% มีการกระตุ้นให้เชื่อฟังโดยเตือนผู้ร่วมการทดลองว่าเจ้าหน้าที่ได้ระบุอะไรไว้ และโดยแสดงว่าความเห็นของผู้ร่วมการทดลองไม่ตรงกับเจ้าหน้าที่[35] นักวิชาการให้ข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างมีโอกาสก่อสถานการณ์เช่นนี้ได้มากสุด โดยก่อกระบวนการที่เรียกว่า groupthink[36] ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะรู้สึกเอนไปในการลดความขัดแย้งและสนับสนุนให้คล้อยตามกัน โดยเมื่อยกผู้มีอำนาจเป็นเหตุผล สมาชิกอาจจะแสดงว่าความเห็นนั้นเป็นมติส่วนรวม แล้วสนับสนุนให้สมาชิกอื่น ๆ ไม่ขัดแย้งกับมติที่ว่านี้[37][38]

งานเขียนหนึ่งเกี่ยวกับปรัชญาคณิตศาสตร์ระบุว่า ในมหาวิทยาลัย

ถ้าบุคคลยอมรับศาสตร์ของเรา แล้วศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับมหาบัณฑิต 2-3 ปี ก็จะซึมซาบวิธีการคิดของเรา จึงไม่ใช่คนภายนอกที่อาจวิพากษ์วิจารณ์อย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป แต่ถ้านักศึกษาไม่ซึมซาบวิธีการคิดของเรา แน่นอนว่าเราก็ทำให้เขาตกวิชา แต่ถ้าเขาเดินไปตามทางที่มีอุปสรรคของเรา แล้วต่อมาตัดสินใจว่าการให้เหตุผลของเราไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้อง เราก็จะดูถูกเขาว่า มีความคิดประหลาด เป็นคนแปลก ๆ หรือเข้ากับคนอื่นไม่ได้[39]

บริษัทก็มักจะมีปัญหาเรื่องการยกผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะก่อภาวะ groupthink[40] รัฐบาลและกองทัพทหารก็เช่นกัน[41]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. นิพัทธ ผึ้งไผ่งาม (May 2014). "2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง". การใช้เหตุผลวิบัติในการโต้แย้งบนเว็บบอร์ด (PDF) (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 3. เหตุผลวิบัติ (Fallacy), 3.2 ประเภทของเหตุผลวิบัติ, p. 18. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08. การอ้างอ นาจโดยไม่ชอบ (Appeal to inappropriate authority)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Fallacies". University of North Carolina at Chapel Hill. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-14.
  3. 3.0 3.1 Lewiński, Marcin (2008). "Comments on 'Black box arguments'". Argumentation. 22 (3): 447–451. doi:10.1007/s10503-008-9095-x.
  4. 4.0 4.1 Eemeren, Frans (2010). Strategic Maneuvering in Argumentative Discourse: Extending the Pragma-dialectical Theory of Argumentation. John Benjamins. p. 203. ISBN 978-9027211194.
  5. Hansen, Vilhem (1998). "Locke and Whately on the Argumentum ad Ignorantiam". Philosophy & Rhetoric, Vol. 31, No. 1. Philosophy & Rhetoric. Vol. 31. Penn State University Press. p. 60. JSTOR 40237981. (...) Locke thought no better or worse of the ad ignorantiam than he did of ad verecundiam or ad hominem (…) At the end of his discussion of the ad hominem as a fallacy, Whately says, "The same observations will apply to 'argumentum ad verecundiam' and the rest" (1853, 3.1). (…) If we use this analysis of the ad hominem as a model for how Whately thought of the other ad arguments, then the ad verecundiam will be an argument with premises that say that amazing authority . . . [or] some venerable institution" and a conclusion claiming that the one to whom the ad verecundiam is addressed ought to accept the conclusion in question on pain of being at odds with those commitments. Similarly, an ad populum argument will be one that includes among its premises the claim that such and such is a widely held opinion or commitment "of the multitude" and the conclusion will be that the person to whom the argument is directed is bound to accept a logical consequence of the commitments invoked.
  6. 6.0 6.1 Williamson, Owen. "Master List of Logical Fallacies". The University of Texas at El Paso. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-22.
  7. Goodwin, Jean (May 1998). "Forms of Authority and the Real Ad Verecundiam". Argumentation. 12 (2): 267–280 – โดยทาง Springer Science+Business Media.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Garrett, Aaron (2014). The Routledge Companion to Eighteenth Century Philosophy. Routledge. p. 280. ISBN 9781317807926. demonstrations proceed deductively while probable reasoning involves inductive inferences.
  9. 9.0 9.1 McBride, Michael. "Retrospective Scientific Evaluation". Yale University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-24. สืบค้นเมื่อ 2017-08-10.
  10. 10.0 10.1 10.2 Zinser, Otto (1984). Basic Principles of Experimental Psychology. McGraw-Hill. p. 37. ISBN 9780070728455.
  11. 11.0 11.1 Stephen, Leslie (1882). The Science of Ethics. G. P. Putnam's sons. p. viii.
  12. Ruggiero, Tim. "Logical Fallacies".
  13. Bennett, Bo. "Appeal to the Common Man". Logically Fallacious.
  14. "Argument from False Authority". Logically Fallcious.
  15. 15.0 15.1 Sismondo, Sergio (1999). "Scepticism and Authority in Popular Science (review)", Queen's Quarterly, Kingston, Vol. 106, Iss. 1, (Spring 1999). p106.
  16. 16.0 16.1 Sagan, Carl (2011-07-06). The Demon-Haunted World: Science as a Candle in the Dark. Ballantine Books. ISBN 9780307801043.
  17. Stevenson, I. (1990). Some of My Journeys in Medicine (PDF). The University of Southwestern Louisiana. p. 18.
  18. Quick, James Campbell; Little, Laura M.; Cooper, Cary L.; Gibbs, Philip C.; Nelson, Debra (2010). "Organizational Behavior". International Review of Industrial and Organizational Psychology: 278.
  19. Painter, Theophilus S. (April 1923), "Studies in mammalian spermatogenesis. II. The spermatogenesis of man", Journal of Experimental Zoology, 37 (3): 291–336, doi:10.1002/jez.1400370303
  20. 20.0 20.1 20.2 Glass, Bentley (1990). Theophilus Shickel Painter (PDF). Washington, DC: National Academy of Sciences. pp. 316–17.
  21. 21.0 21.1 Mertens, Thomas (October 1979). "The Role of Factual Knowledge in Biology Teaching". The American Biology Teacher. 41 (7): 395–419. doi:10.2307/4446671. JSTOR 4446671.
  22. Tjio, Joe Hin; Levan, Albert (May 1956), "The Chromosome Number of Man", Hereditas, 42 (1–2): 723–4, doi:10.1111/j.1601-5223.1956.tb03010.x, PMID 345813
  23. O'Connor, Clare (2008), Human Chromosome Number, Nature, สืบค้นเมื่อ 2014-04-24
  24. Gartler, Stanley (2006). "The Chromosome Number in Humans: A Brief History". Nature Reviews Genetics. 7 (8): 655–60. doi:10.1038/nrg1917. PMID 16847465. S2CID 21365693.
  25. 25.0 25.1 Orrell, David PhD. (2008). The Future of Everything: The Science of Prediction. pp. 184-85.
  26. 26.0 26.1 Kevles, Daniel J. (1985). "Human Chromosomes--Down's Disorder and the Binder's Mistakes" (PDF). Engineering and Science: 9.
  27. T. C., Hsu (1979). "Out of the Dark Ages: Human and Mammalian Cytogenetics: An Historical Perspective" (PDF). Cell. 18 (4): 1375–1376. doi:10.1016/0092-8674(79)90249-6. S2CID 54330665.
  28. Unger, Lawrence; Blystone, Robert (1996). "Paradigm Lost: The Human Chromosome Story" (PDF). Bioscene. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-05. สืบค้นเมื่อ 2016-03-24.
  29. Sammut, Gordon; Bauer, Martin W (2011). "Social Influence: Modes and Modalities". The Social Psychology of Communication (PDF). pp. 87–106. doi:10.1057/9780230297616_5. ISBN 978-0-230-24736-9.
  30. Delameter, Andrew (2017). "Contrasting Scientific & Non-Scientific Approaches to Acquiring Knowledge". City University of New York.
  31. Sheldon, Brian; Macdonald, Geraldine (2010). A Textbook of Social Work. Routledge. p. 40. ISBN 9781135282615.
  32. Bates, Jordan (2016-03-16). "12 Psychological Tactics Donald Trump Uses to Manipulate the Masses". 11. Appeals to Authority.
  33. McLeod, Samuel (2008), Asch Experiment, Simply Psychology
  34. Webley, Paul, A partial and non-evaluative history of the Asch effect, University of Exeter
  35. 35.0 35.1 Milgram, S (1965). "Some conditions of obedience and disobedience to authority". Human Relations. 18 (1): 57–76. doi:10.1177/001872676501800105. S2CID 37505499.
  36. "December 2014 - Page 2". Disrupted Physician. 2014-12-22.
  37. "Definition of GROUPTHINK". Merriam-Webster. 2023-12-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-24. สืบค้นเมื่อ 2023-12-09.
  38. Rossi, Stacey (2006). "Examination of Exclusion Rates in Massachusetts Public Schools" (PDF).
  39. David, Phillip J.; Hersh, Reuben (1998). New Directions in the Philosophy o Mathematics (PDF). Princeton University Press. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04.
  40. Lookwin, B. (2015). "Biopharma Training". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-12. สืบค้นเมื่อ 2017-09-12.
  41. Janis, Irving L. (1971). "Groupthink" (PDF). Psychology Today.