เซเรียอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กัลโช่ ซีรีย์ เอ)
เซเรียอา
ประเทศอิตาลี อิตาลี
สมาพันธ์ยูฟ่า
ก่อตั้ง1898 - อิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนชิป
1929 - กัลโชเซเรียเอ
จำนวนทีม20
ตกชั้นสู่เซเรียบี
ถ้วยภายในประเทศโกปปาอีตาเลีย
ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา
ถ้วยระดับนานาชาติยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่ายูโรปาลีก
ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ทีมชนะเลิศปัจจุบันนาโปลี (3 สมัย) (2022–23)
ชนะเลิศมากที่สุดยูเวนตุส (36 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์SKY Italia
Mediaset Premium
บีอินสปอตส์
ทรูวิชั่นส์ (ในประเทศไทย)
พีพีทีวี (ในประเทศไทย)
เว็บไซต์www.legaseriea.it
2023–24

กัลโชเซเรียเอ (อิตาลี: Serie A) อิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนชิป เรียกสั้น ๆ ว่า กัมปีโอนาโต หรือสกูเดตโต เป็นชื่อของลีกฟุตบอลสูงสุดของประเทศอิตาลี ที่เริ่มทำการแข่งขันกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1898 อยู่ภายใต้การบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี ซึ่งเจนัว เป็นสโมสรแรกที่คว้าแชมป์ได้ ในขณะที่โดยรวมแล้ว ยูเวนตุสเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยได้แชมป์ไปถึง 36 สมัย รองลงมาเป็นอินเตอร์มิลาน กับเอซี มิลาน คว้าไปทีมละ 19 สมัย ซึ่งสโมสรที่คว้าแชมป์ได้ทุก ๆ 10 สมัย จะได้รับสัญลักษณ์ดาวสีทอง ติดอยู่ด้านบนของสัญลักษณ์ทีมบนเสื้อ 1 ดวง ดังนั้น ยูเวนตุส จึงมี 3 ดาวติดอยู่ด้านบนของสัญลักษณ์ทีมบนเสื้อ ขณะที่อินเตอร์มิลาน และมิลาน มีทีมละ 1 ดาว[1]

การแข่งขันรายการนี้ในบางปีนั้นไม่มีแชมป์ ได้แก่ ในปี ค.ศ. 1915-1919 เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และปี ค.ศ. 1943-1945 เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1944 FIGC มอบแชมป์ย้อนหลังให้กับสเปเซีย นอกจากนี้ ยังมีการริบแชมป์ของโตรีโน ในปี ค.ศ. 1927 อีกทั้งยังมีคดีกัลโช่โปลีที่ทีมฟิออเรนติน่า มิลาน ลาซิโอ และยูเวนตุส ต้องถูกฟ้องในข้อหา การพัวพันการกำหนดตัวผู้ตัดสินในนัดที่ตัวเองลงแข่ง โดยมีหลักฐานมาจากซิมการ์ดโทรศัพท์ที่มีบทสนทนาของเหล่าทีมข้างต้น เป็นเหตุให้ยูเวนตุสถูกริบแชมป์ ในปี ค.ศ. 2005 และ 2006 (ในปี ค.ศ. 2006 FIGC มอบแชมป์ให้กับอินเตอร์ ทีมอันดับที่ 2 ในฤดูกาลนั้น) ซึ่งภายหลังแม้จะมีการตรวจสอบพบว่า อินเตอร์ก็มีส่วนพัวพันกับคดีนี้ด้วย แต่เนื่องจากคดีหมดอายุความ ทำให้อินเตอร์ไม่ถูกสอบสวน[2]

ส่วนในฤดูกาล ค.ศ. 1921-22 นั้น มีทีมแชมป์อยู่ 2 ทีม คือ โนเวเซ ซึ่งรับรองโดย FIGC และโปรแวร์เชลลี ที่รับรองโดย CCI

เมื่อจบฤดูกาล 3 ทีมอันดับสุดท้ายของตารางจะตกชั้นลงในเล่นในเซเรียบี และทีมจากเซเรียบีจะเลื่อนชั้นขึ้นมา ส่วน 4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยสี่ทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม (ทีมชนะเลิศได้อยู่โถ 1) ส่วนอันดับ 5 จะมีสิทธิเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก[3]

เจ็ดสาวน้อย[แก้]

ในวงการฟุตบอลอิตาลี จะมีคำศัพท์เรียกว่า "7 sorelle" แปลว่า "7 สาวน้อย" อันหมายถึงทีมที่มีสิทธิ์ที่จะได้แชมป์เซเรียอา (โดยเฉพาะในช่วงยุคทศวรรษที่ 90) ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งหมด 7 ทีม คือ ยูเวนตุส, เอซีมิลาน, อินเตอร์มิลาน, โรมา, ลัตซีโย, ปาร์มา และ ฟีออเรนตีนา[4] [5]

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2022–23)[แก้]

สโมสร เมือง สนาม ความจุ (คน)
อาตาลันตา แบร์กาโม สตาดีโออัตเลตีอัซซูร์รีดีตาเลีย 21,000
โบโลญญา โบโลญญา สนามกีฬาเรนาโต ดัลลารา 36,462
เครโมเนเซ เครโมนา สนามกีฬาจิโอวานนี ซินี 16,003
เอมโปลี เอมโปลี สนามกีฬาคาร์โล คัสเตลลานี 16,284
ฟีออเรนตีนา ฟลอเรนซ์ สนามกีฬาอาร์เตมีโอ ฟรังกี 43,147
เฮลแลส เวโรนา เวโรนา สตาดีโอ มาร์กันโตนีโอ เบนเตโกดี 31,045
อินเตอร์ มิลาน มิลาน ซานซีโร 75,923
ยูเวนตุส ตูริน สนามกีฬายูเวนตุส 41,507
ลัตซีโย โรม สตาดีโอโอลิมปีโก 70,634
เลชเช เลชเช สนามกีฬา เวีย เดล มาเร 31,533
เอซีมิลาน มิลาน ซานซีโร 75,923
มอนซา มอนซา สนามกีฬา บริอันเตโอ 15,039
นาโปลี เนเปิลส์ สตาดีโอ ดิเอโก อาร์มันโด มาราโดนา 54,726
โรมา โรม สตาดีโอโอลิมปีโก 70,634
ซาแลร์นิตานา ซาแลร์โน สตาดีโอ อาเรคี 37,180
ซัมป์โดเรีย เจนัว สนามกีฬาลุยจี แฟร์ราริส 36,599
ซัสซูโอโล ซัสซูโอโล สนามกีฬามาเปย์-ชิตตาเดลตรีโกโลเร 21,525
สเปเซีย ลา สเปเซีย สตาดีโอ อัลแบร์โต ปิคโค 11,512
โตรีโน ตูริน สตาดีโอโอลิมปีโกกรันเดโตรีโน 27,958
อูดีเนเซ อูดีเน สตาดีโอฟรีอูลี 25,144

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ[แก้]

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามปี[แก้]

ฤดูกาล ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ผู้ทำประตูสูงสุด (ทีม) (ประตู)
กัลโชเซเรียอา
2022–23 นาโปลี ลาซีโอ ไนจีเรีย วิกเตอร์ โอซิมเฮน (นาโปลี) (26)
2021–22 มิลาน อินเตอร์ อิตาลี ชีโร อิมโมบีเล (ลาซีโอ) (27)
2020-21 อินเตอร์ มิลาน โปรตุเกส คริสเตียโน โรนัลโด (ยูเวนตุส) (29)
2019–20 ยูเวนตุส อินเตอร์ อิตาลี ชีโร อิมโมบีเล (ลาซีโอ) (36)
2018–19 ยูเวนตุส นาโปลี อิตาลี ฟาบีโอ กวาลยาเรลลา (ซัมป์โดเรีย) (26)
2017–18 ยูเวนตุส นาโปลี อาร์เจนตินา เมาโร อีการ์ดี (อินเตอร์) (29)
อิตาลี ชีโร อิมโมบีเล (ลาซีโอ)
2016–17 ยูเวนตุส โรมา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เอดิน เจโก (โรมา) (29)
2015–16 ยูเวนตุส นาโปลี อาร์เจนตินา กอนซาโล อีกวาอิน (นาโปลี) (36)
2014–15 ยูเวนตุส โรมา อิตาลี ลูก้า โทนี่ (เวโรน่า) (22)
2013–14 ยูเวนตุส โรมา อิตาลี ชีโร อิมโมบีเล (โตรีโน) (22)
2012–13 ยูเวนตุส นาโปลี อุรุกวัย เอดินซอน กาบานี (นาโปลี) (29)
2011–12 ยูเวนตุส มิลาน สวีเดน ซลาตัน อิบราฮิโมวิช (มิลาน) (28)
2010-11 มิลาน อินเตอร์ อิตาลี อันโตนีโอ ดี นาตาเล (อูดีเนเซ) (28)
2009-10 อินเตอร์ โรมา อิตาลี อันโตนีโอ ดี นาตาเล (อูดีเนเซ) (29)
2008-09 อินเตอร์ ยูเวนตุส สวีเดน ซลาตัน อีบราฮีมอวิช (อินเตอร์) (25)
2007-08 อินเตอร์ โรมา อิตาลี อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร (ยูเวนตุส) (21)
2006-07 อินเตอร์ โรมา อิตาลี ฟรันเชสโก ตอตตี (โรมา) (26)
2005-06 อินเตอร์ (แต่งตั้ง) โรมา อิตาลี ลูกา โตนี (ฟีโอเรนตีนา) (31)
2004-05 ไม่มีทีมแชมป์ เนื่องจากยูเวนตุสถูกริบแชมป์ จากกรณีเลือกกำหนดผู้ตัดสินในนัดที่ตัวเองแข่งขัน อิตาลี กริสตีอาโน ลูกาเรลลี (ลีวอร์โน) (24)
2003-04 มิลาน โรมา ยูเครน อันดรีย์ เชฟเชนโค (มิลาน) (24)
2002-03 ยูเวนตุส อินเตอร์ อิตาลี กริสเตียน วีเอรี (อินเตอร์) (24)
2001-02 ยูเวนตุส โรมา ฝรั่งเศส ดาวีด เทรเซแก (ยูเวนตุส) (24)
อิตาลี ดารีโอ ฮึพเนอร์ (เปียเชนซา)
2000-01 โรมา ยูเวนตุส อาร์เจนตินา เอร์นัน เกรสโป (ลาซีโอ) (26)
1999-2000 ลาซีโอ ยูเวนตุส ยูเครน อันดรีย์ เชฟเชนโค (มิลาน) (24)
1998-99 มิลาน ลาซีโอ บราซิล มาร์ซีอู อาโมโรซู (อูดีเนเซ) (22)
1997-98 ยูเวนตุส อินเตอร์ เยอรมนี โอลีเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์ (อูดีเนเซ) (27)
1996-97 ยูเวนตุส ปาร์มา อิตาลี ฟีลิปโป อินซากี (อาตาลันตา) (24)
1995-96 มิลาน ยูเวนตุส อิตาลี จูเซปเป ซิญโญรี (ลาซีโอ) (24)
อิตาลี อีกอร์ ปรอตตี (บารี)
1994-95 ยูเวนตุส ลาซีโอ อาร์เจนตินา กาเบรียล บาติสตูตา (ฟีโอเรนตีนา) (26)
1993-94 มิลาน ยูเวนตุส อิตาลี จูเซปเป ซิญโญรี (ลาซีโอ) (23)
1992-93 มิลาน อินเตอร์ อิตาลี จูเซปเป ซิญโญรี (ลาซีโอ) (26)
1991-92 มิลาน ยูเวนตุส เนเธอร์แลนด์ มาร์โก ฟัน บัสเติน (มิลาน) (25)
1990-91 ซัมป์โดเรีย มิลาน อิตาลี จันลูกา วีอัลลี (ซัมป์โดเรีย) (19)
1989-90 นาโปลี มิลาน เนเธอร์แลนด์ มาร์โก ฟัน บัสเติน (มิลาน) (19)
1988-89 อินเตอร์ นาโปลี อิตาลี อัลโด เซเรนา (อินเตอร์) (22)
1987-88 มิลาน นาโปลี อาร์เจนตินา ดิเอโก มาราโดนา (นาโปลี) (15)
1986-87 นาโปลี ยูเวนตุส อิตาลี ปีเอโตร ปาโอโล วีร์ดิส (มิลาน) (17)
1985-86 ยูเวนตุส โรมา อิตาลี โรแบร์โต ปรุซโซ (โรมา) (19)
1984-85 เวโรนา โตรีโน ฝรั่งเศส มีแชล ปลาตีนี (ยูเวนตุส) (18)
1983-84 ยูเวนตุส โรมา ฝรั่งเศส มีแชล ปลาตีนี (ยูเวนตุส) (20)
1982-83 โรมา ยูเวนตุส ฝรั่งเศส มีแชล ปลาตีนี (ยูเวนตุส) (16)
1981-82 ยูเวนตุส ฟีโอเรนตีนา อิตาลี โรแบร์โต ปรุซโซ (โรมา) (15)
1980-81 ยูเวนตุส โรมา อิตาลี โรแบร์โต ปรุซโซ (โรมา) (18)
1979-80 อินเตอร์ ยูเวนตุส อิตาลี โรแบร์โต เบตเตกา (ยูเวนตุส) (16)
1978-79 มิลาน เปรูจา อิตาลี บรูโน จอร์ดาโน (ลาซีโอ) (19)
1977-78 ยูเวนตุส วีเชนซา อิตาลี ปาโอโล รอสซี (วีเชนซา) (24)
1976-77 ยูเวนตุส โตรีโน อิตาลี ฟรันเชสโก กราซีอานี (โตรีโน) (21)
1975-76 โตรีโน ยูเวนตุส อิตาลี ปาโอลีโน ปูลีชี (โตรีโน) (21)
1974-75 ยูเวนตุส นาโปลี อิตาลี ปาโอลีโน ปูลีชี (โตรีโน) (18)
1973-74 ลาซีโอ ยูเวนตุส อิตาลี จอร์โจ กีนาลยา (ลาซีโอ) (24)
1972-73 ยูเวนตุส มิลาน อิตาลี จันนี รีเวรา (มิลาน) (17)
อิตาลี ปาโอลีโน ปูลีชี (โตรีโน)
อิตาลี จูเซ็ปเป้ ซาโวลดี้ (โบโลญญา)
1971-72 ยูเวนตุส มิลาน อิตาลี โรแบร์โต โบนินเซญญา (อินเตอร์) (22)
1970-71 อินเตอร์ มิลาน อิตาลี โรแบร์โต โบนินเซญญา (อินเตอร์) (24)
1969-70 คัลยารี อินเตอร์ อิตาลี ลุยจี รีวา (คัลยารี) (21)
1968-69 ฟีโอเรนตีนา คัลยารี อิตาลี ลุยจี รีวา (คัลยารี) (21)
1967-68 มิลาน นาโปลี อิตาลี ปีเอรีโน ปราตี (มิลาน) (15)
1966-67 ยูเวนตุส อินเตอร์ อิตาลี ลุยจี รีวา (คัลยารี) (18)
1965-66 อินเตอร์ โบโลญญา อิตาลี ลูอิส วีนีโช่ (วีเชนซา) (25)
1964-65 อินเตอร์ มิลาน อิตาลี ซานโดร มัซโซลา (อินเตอร์) (17)
อิตาลี อัลแบร์โต ออร์ลันโด (ฟีโอเรนตีนา)
1963-64 โบโลญญา อินเตอร์ เดนมาร์ก ฮารัลด์ นีลเซ่น (โบโลญญา) (21)
1962-63 อินเตอร์ ยูเวนตุส เดนมาร์ก ฮารัลด์ นีลเซ่น (โบโลญญา) (19)
อาร์เจนตินา เปโดร มันเฟรดินี่ (โรมา)
1961-62 มิลาน อินเตอร์ บราซิล อิตาลี โฮเซ่ อัลตาฟินี่ (มิลาน) (22)
อิตาลี ออเรลิโอ้ มิลานี่ (ฟีโอเรนตีนา)
1960-61 ยูเวนตุส มิลาน อิตาลี แซร์โจ้ บริเกนติ (ซัมป์โดเรีย) (27)
1959-60 ยูเวนตุส ฟีโอเรนตีนา อาร์เจนตินา อิตาลี โอมาร์ ซิวอรี่ (ยูเวนตุส) (28)
1958-59 มิลาน ฟีโอเรนตีนา อาร์เจนตินา อันโตนิโอ อันเจลิลโล่ (อินเตอร์) (33)
1957-58 ยูเวนตุส ฟีโอเรนตีนา เวลส์ จอห์น ชาร์ลส์ (ยูเวนตุส) (28)
1956-57 มิลาน ฟีโอเรนตีนา บราซิล ดิโน่ ดา คอสต้า (โรมา) (22)
1955-56 ฟีโอเรนตีนา มิลาน อิตาลี จิโน่ ปิวาเตลลี่ (โบโลญญา) (29)
1954-55 มิลาน อูดีเนเซ สวีเดน กุนน่าร์ นอร์ดาห์ล (มิลาน) (26)
1953-54 อินเตอร์ ยูเวนตุส สวีเดน กุนน่าร์ นอร์ดาห์ล (มิลาน) (23)
1952-53 อินเตอร์ ยูเวนตุส สวีเดน กุนน่าร์ นอร์ดาห์ล (มิลาน) (26)
1951-52 ยูเวนตุส มิลาน เดนมาร์ก ยอห์น แฮนเซ่น (ยูเวนตุส) (30)
1950-51 มิลาน อินเตอร์ สวีเดน กุนน่าร์ นอร์ดาห์ล (มิลาน) (34)
1949-50 ยูเวนตุส มิลาน สวีเดน กุนน่าร์ นอร์ดาห์ล (มิลาน) (35)
1948-49 โตรีโน อินเตอร์ ฮังการี สเตฟาโน่ นีเออร์ส (อินเตอร์) (26)
1947-48 โตรีโน ยูเวนตุส อิตาลี จามปิเอโร่ โบนิแปร์ติ (ยูเวนตุส) (27)
1946-47 โตรีโน ยูเวนตุส อิตาลี วาเลนติโน่ มัซโซล่า (โตรีโน) (29)
1945-46 โตรีโน ยูเวนตุส อิตาลี ยูเซบิโอ้ คาสติญาโน่ (โตรีโน) (13)
1944-45
ไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
1944 สเปเซีย โตรีโน
1943-44
ไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
1942-43 โตรีโน ลีวอร์โน อิตาลี ซิลวิโอ้ ปิโอล่า (ลาซีโอ) (21)
1941-42 โรมา โตรีโน อิตาลี อัลโด้ โบฟฟี่ (มิลาน) (22)
1940-41 โบโลญญา อินเตอร์ อุรุกวัย เอตโตเร ปูรีเชลลี (โบโลญญา) (22)
1939-40 อินเตอร์ โบโลญญา อิตาลี อัลโด้ โบฟฟี่ (มิลาน) (24)
1938-39 โบโลญญา โตรีโน อุรุกวัย เอตโตเร ปูรีเชลลี (โบโลญญา) (19)
อิตาลี อัลโด้ โบฟฟี่ (มิลาน)
1937-38 อินเตอร์ ยูเวนตุส อิตาลี จูเซปเป เมอัซซา (อินเตอร์) (20)
1936-37 โบโลญญา ลาซีโอ อิตาลี ซิลวิโอ้ ปิโอล่า (ลาซีโอ) (21)
1935-36 โบโลญญา โรมา อิตาลี จูเซปเป เมอัซซา (อินเตอร์) (25)
1934-35 ยูเวนตุส อินเตอร์ อาร์เจนตินา เอ็นริโก้ กวายต้า (โรมา) (31)
1933-34 ยูเวนตุส อินเตอร์ อิตาลี เฟลิเซ่ โบเรล (ยูเวนตุส) (31)
1932-33 ยูเวนตุส อินเตอร์ อิตาลี เฟลิเซ่ โบเรล (ยูเวนตุส) (29)
1931-32 ยูเวนตุส โบโลญญา อิตาลี อันเจโล่ ชิอาวิโอ้ (โบโลญญา) (25)
อุรุกวัย เปโดร เปโตรเน่ (ฟีโอเรนตีนา)
1930-31 ยูเวนตุส โรมา อิตาลี โรดอลโฟ่ โวล์ค (โรมา) (29)
1929-30 อินเตอร์ เจนัว อิตาลี จูเซปเป เมอัซซา (อินเตอร์) (31)
อิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนชิป
1928-29 โบโลญญา โตรีโน อิตาลี จิโน่ รอสเซตติ (โตรีโน) (36)
1927-28 โตรีโน เจนัว อาร์เจนตินา ฮูลิโอ ลิโบนัตติ (โตรีโน) (35)
1926-27 ไม่มีผู้ชนะเลิศ เนื่องจากโตรีโนถูกริบตำแหน่งชนะเลิศ จากกรณีล้มบอล ออสเตรีย แอนตั้น โปโวลนี่ (อินเตอร์) (22)
1925-26 ยูเวนตุส อัลบาตรัสเตเวเร ฮังการี เฟเรนซ์ ฮีร์เซอร์ (ยูเวนตุส) (35)
1924-25 โบโลญญา อัลบาตรัสเตเวเร อิตาลี มาริโอ้ มัญญอซซี่ (ลีวอร์โน) (19)
1923-24 เจนัว ซาโวยา ออสเตรีย ไฮน์ริช ชอนเฟลด์ (โตรีโน) (22)
1922-23 เจนัว ลาซีโอ
1921-22 โนเวเซ ซัมป์โดเรีย
1921-22 โปรแวร์เชลลี โรมา
1920-21 โปรแวร์เชลลี ปิซา
1919-20 อินเตอร์ ลีวอร์โน
1916-19
ไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
1915-16
มิลานเป็นผู้ชนะเลิศ แต่ FIGC ไม่รับรอง เนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
1914-15 เจนัว โตรีโน
1913-14 กาซาเล ลาซีโอ
1912-13 โปรแวร์เชลลี ลาซีโอ
1911-12 โปรแวร์เชลลี เวเนเซีย
1910-11 โปรแวร์เชลลี วีเชนซา
1909-10 อินเตอร์ โปรแวร์เชลลี
1909 โปรแวร์เชลลี อูเอซเซ มีลาเนเซ
1908 โปรแวร์เชลลี อูเอซเซ มีลาเนเซ
1907 มิลาน โตรีโน
1906 มิลาน ยูเวนตุส
1905 ยูเวนตุส เจนัว
1904 เจนัว ยูเวนตุส
1903 เจนัว ยูเวนตุส
1902 เจนัว มิลาน
1901 มิลาน เจนัว
1900 เจนัว อินแตร์นาซีโอนาเลโตรีโน
1899 เจนัว อินแตร์นาซีโอนาเลโตรีโน
1898 เจนัว อินแตร์นาซีโอนาเลโตรีโน

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามสโมสร[แก้]

สโมสร สมัย ฤดูกาลที่ชนะเลิศ
ยูเวนตุส
36
1905, 1925-26, 1930-31, 1931-32, 1932-33, 1933-34, 1934-35, 1949-50, 1951-52, 1957-58, 1959-60, 1960-61, 1966-67, 1971-72, 1972-73, 1974-75, 1976-77, 1977-78, 1980-81, 1981-82, 1983-84, 1985-86, 1994-95, 1996-97, 1997-98, 2001-02, 2002-03, 2011-12, 2012-13, 2013-14, 2014-15, 2015-16, 2016-17, 2017-18, 2018-19, 2019-20
อินเตอร์
19
1909-10, 1919-20, 1929-30, 1937-38, 1939-40, 1952-53, 1953-54, 1962-63, 1964-65, 1965-66, 1970-71, 1979-80, 1988-89, 2005-06, 2006-07, 2007-08, 2008-09, 2009-10, 2020-21
มิลาน
19
1901, 1906, 1907, 1950-51, 1954-55, 1956-57, 1958-59, 1961-62, 1967-68, 1978-79, 1987-88, 1991-92, 1992-93, 1993-94, 1995-96, 1998-99, 2003-04, 2010-11, 2021-22
เจนัว
9
1898, 1899, 1900, 1902, 1903, 1904, 1914-15, 1922-23, 1923-24
โตรีโน
7
1927-28, 1942-43, 1945-46, 1946-47, 1947-48, 1948-49, 1975-76
โบโลญญา
7
1924-25, 1928-29, 1935-36, 1936-37, 1938-39, 1940-41, 1963-64
โปรแวร์เชลลี
7
1908, 1909, 1910-11, 1911-12, 1912-13, 1920-21, 1921-22
โรมา
3
1941-42, 1982-83, 2000-01
นาโปลี
3
1986-87, 1989-90, 2022-23
ลาซีโอ
2
1973-74, 1999-2000
ฟีออเรนตีนา
2
1955-56, 1968-69
คัลยารี
1
1969-70
กาซาเล
1
1913-14
โนเวเซ
1
1921-22
สเปเซีย
1
1944
เวโรนา
1
1984-85
ซัมป์โดเรีย
1
1990-91

สถิติผู้ชนะเลิศ[แก้]

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามแคว้น[แก้]

แคว้น สมัย ทีมชนะเลิศ
พีดมอนต์
52
ยูเวนตุส (36), โปรแวร์เชลลี (7), โตรีโน (7), กาซาเล (1), โนเวเซ (1)
ลอมบาร์ดี
38
อินเตอร์ (19), มิลาน (19)
ลีกูเรีย
11
เจนัว (9), ซัมป์โดเรีย (1), สเปเซีย (1)
เอมีเลีย-โรมัญญา
7
โบโลญญา (7)
ลาซีโอ
5
โรมา (3), ลาซีโอ (2)
คัมปาเนีย
3
นาโปลี (3)
ทัสกานี
2
ฟีออเรนตีนา (2)
ซาร์ดิเนีย
1
คัลยารี (1)
เวเนโต
1
เวโรนา (1)

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามเมือง[แก้]

เมือง สมัย ทีมชนะเลิศ
ตูริน
43
ยูเวนตุส (36), โตรีโน (7)
มิลาน
38
อินเตอร์ (19), มิลาน (19)
เจนัว
10
เจนัว (9), ซัมป์โดเรีย (1)
โบโลญญา
7
โบโลญญา (7)
แวร์เชลลี
7
โปรแวร์เชลลี (7)
โรม
5
โรมา (3), ลาซีโอ (2)
เนเปิลส์
3
นาโปลี (3)
ฟลอเรนซ์
2
ฟีออเรนตีนา (2)
คัลยารี
1
คัลยารี (1)
กาซาเลมอนแฟร์ราโต
1
กาซาเล (1)
ลาสเปเซีย
1
สเปเซีย (1)
โนวีลีกูเร
1
โนเวเซ (1)
เวโรนา
1
เวโรนา (1)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Member associations - Italy - Honours –". uefa.com.
  2. "Page 21: official statistical records recognized by FIGC" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
  3. Fourth most successful European club for confederation and FIFA competitions won with 11 titles. Fourth most successful club in Europe for confederation club competition titles won (11), cf. "Confermato: I più titolati al mondo!" (ภาษาอิตาลี). A.C. Milan S.p.A official website. 30 May 2013. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013.
  4. "[สาระแล้วครับ] ขอเช็คชื่อแฟนบอลกัลโชหน่อยครับ แล้วช่วยโหวตด้วย". พันทิปดอตคอม. 22 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.
  5. "[สารานุกรมฉบับ 2] ตำนานเจ็ดสาวน้อย". พันทิปดอตคอม. 28 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]