ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มอาการคลือเวอร์–บิวซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มอาการคลือเวอร์–บิวซี
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์, ประสาทวิทยา

กลุ่มอาการคลือเวอร์-บิวซี (อังกฤษ: Klüver–Bucy syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝั่งของสมองส่วนเมเดียลเทมเปอรอล (medial temporal lobe) ซึ่งรวมถึงอะมิกดะลอยด์นิวเคลียสด้วย[1] กลุ่มอาการนี้อาจประกอบด้วยอาการแสดงคือการกินไม่หยุด, มีอารมณ์ทางเพศสูงผิดปกติ, การนำเอาสิ่งแปลก ๆ ยัดเข้าปาก, การไม่รับรู้ทางการมองเห็น และ ความหัวอ่อน

ชื่อของกลุ่มอาการตั้งตามไฮน์ริช คลือเวอร์ (Heinrich Klüver) และประสาทศัลยแพทย์ พอล บิวซี (Paul Bucy)[2]

อาการ

[แก้]

อาการที่มักพบในผู้ป่วยได้แก่

  • ความหัวอ่อนหรือเชื่อง (Docility) ซึ่งมีลักษณะคือมีการแสดงอาการกลัวที่ลดลงหรือตอบสนองด้วยความเกรี้ยวกราดที่ลดลงจนผิดปกติ คำอื่น ๆ ที่ปรากฏในภาษาอังกฤษได้แก่ "placidity" และ "tameness"[3][4][5]
  • ความเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร หรือ อาการหิวมากผิดปกติ (hyperphagia) และการมียัดเอาวัตถุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารใส่ปากตนเอง (ปิกา) หรือ กินมากผิดปกติ หรือทั้งคู่[3][4][5]
  • ไฮเปอร์ออรัลลิที (Hyperorality) ที่ซึ่ง Ozawa และคณะระบุว่าคือ "ความต้องการหรือแนวโน้มที่จะนำปากไปสัมผัสรับรู้กับสิ่งต่าง ๆ" (an oral tendency, or compulsion to examine objects by mouth)[3][4][5]
  • มีอารมณ์ทางเพศมากผิดปกติ (Hypersexuality) มีลักษณะคือมีความใคร่ทางเพศที่สูงขึ้นจนผิดปกติหรือมีความใคร่ต้อวัตถุที่ประหลาด[3][4][5]
  • ภาวะไม่รับรู้ทางการมองเห็น (Visual agnosia) มีลักษณะคือไม่สามารถรับรู้ (recognize) วัตถุหรือบุคคลที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีได้ถึงแม้จะสามารถมองเห็นก็ตาม[3][4][5]


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Adel K. Afifi; Ronald A. Bergman; Ronald Arly Bergman (1998). Functional Neuroanatomy. McGraw-Hill. ISBN 9780070015890. The Kluver-Bucy syndrome is a clinical syndrome observed in humans and other animals after bilateral lesions in the temporal lobe that involve the amygdala, hippocampal formation, and adjacent neural structures.
  2. Rockland, 45
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Neuro
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Ozawa, 540.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Functional

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก