มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ตราพระพิรุณทรงนาค
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อย่อมก.ศรช. / KU SRC
คติพจน์ศาสตร์แห่งแผ่นดิน (ทางการ)
ประชาชน คือ เจ้าของประเทศ เกษตรศาสตร์ คือ ภาษีของประชาชน (ไม่เป็นทางการ)
ประเภทวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาปนาโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
26 สิงหาคม พ.ศ. 2538 (28 ปี)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
15 มีนาคม พ.ศ. 2542 (25 ปี)
รองอธิการบดีผศ.น.สพ.ดร.เสรี กุญแจนาค (รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา)
รองอธิการบดีผศ.น.สพ.ดร.เสรี กุญแจนาค (รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา)
ที่ตั้ง
199 หมู่ 6 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
เว็บไซต์www.src.ku.ac.th

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็นวิทยาเขตแห่งหนึ่งที่มีการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวของประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2498 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้พื้นที่บริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์เชิงเขาน้ำซับจากกระทรวงมหาดไทย ลงนามโดยจอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงในขณะนั้น ตั้งเป็นสถานีวิจัยศรีราชาเพื่อใช้พื้นที่วิจัยและฝึกงานของนิสิตคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 500 ไร่ (ภายหลังถูกแบ่งให้หน่วยงานอื่น เหลือเพียง 199 ไร่) สำหรับที่ดินที่ขออนุญาตนั้นเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ทางกระทรวงมหาดไทยสงวนไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยประกาศหวงห้ามไว้เป็นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันเมื่อ พ.ศ. 2474 [1]

ภายหลังที่รัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีเป้าหมายให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหลัก เขตพาณิชยกรรม และการค้า เขตส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เขตพัฒนาเมืองและชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมทางวิชาการ จึงได้ปรับ เปลี่ยนพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมเป็นสถานีวิจัยและฝึกงานให้เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตแห่งใหม่เพื่อเป็นสถานศึกษาทำการผลิต และพัฒนากำลังคนระดับสูง ตอบสนองแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดเตรียมการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนเฉพาะสาขาที่สนองตอบความต้องการกำลังคนของ ภาคตะวันออก ภายหลังคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนศรีราชา เพื่อทำหน้าที่เตรียมการเรียนการสอน วางแผนจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา โดยมีโครงการจัดตั้งคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา) โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา) ทั้งนี้โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ ได้เปิดรับนิสิตสาขาการจัดการ สาขาการตลาด การโรงแรม ในปีการศึกษา 2539 เป็นรุ่นแรก [2][3] ปี พ.ศ. 2542 คณะวิทยาการจัดการ คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา) และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา) ได้รับการอนุมัติจากมติของสภามหาวิทยาลัยให้เป็นคณะวิชาที่เกิดจากการแบ่งส่วนราชการภายในของวิทยาเขตศรีราชา ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เพื่อดำเนินการเรียนการสอนให้แก่นิสิต ณ วิทยาเขตศรีราชา จึงถือว่าวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นวันที่วิทยาเขตศรีราชาเป็นวิทยาเขตสมบูรณ์ตามกฎหมาย ที่ระบุว่าวิทยาเขตจะสมบูรณ์ต้องประกอบด้วย คณะวิชาจำนวน 2 คณะวิชาขึ้นไป[4] วิทยาเขตศรีราชาได้รับอนุมัติเป็นวิทยาเขตลำดับที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 [5]

คณะที่เปิดทำการสอน[แก้]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มีหน่วยงานระดับคณะวิชา 5 หน่วยงานที่จัดการศึกษา ประกอบด้วย 5 คณะ ได้แก่

สถานที่ตั้ง[แก้]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ตั้งอยู่ เลขที่ 199 ถนนสุขุมวิท หมู่ที่ 6 บ้านชากยายจีน ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี รหัสไปรษณีย์ 20230 โดยมีพื้นที่ของวิทยาเขต 199 ไร่ และศูนย์นวัตกรรมการเกษตรบ่อทอง 989 ไร่

รายนามรองอธิการบดี วิทยาเขตศรีราชา[แก้]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มีรองอธิการบดีมาแล้ว 7 คน ดังรายนามต่อไปนี้

รายนามรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ลำดับ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. รศ.ดร.สงคราม ธรรมมิญช 20 มิถุนายน 2543 – 7 มิถุนายน 2545 [6]
2. รศ.ดร.ศานติ วิริยะวิทย์ 18 มิถุนายน 2545 - 7 มิถุนายน 2547 (วาระที่ 1) [6]
18 มิถุนายน 2547 - 7 มิถุนายน 2549 (วาระที่ 2) [6]
3. รศ.ชัยวัฒน์ ชัยกุล 20 มีนาคม 2550 – 19 มีนาคม 2552 (วาระที่ 1) [6]
20 มีนาคม 2552 – 28 กุมภาพันธ์ 2554 (วาระที่ 2) [6]
1 มีนาคม 2554 – 30 กันยายน 2556 (วาระที่ 3) [6]
4. รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ 1 ตุลาคม 2556 – 15 กุมภาพันธ์ 2558 [6]
5. รศ.ดร. น.สพ.กมลชัย ตรงวานิชนาม 16 กุมภาพันธ์ 2558 – 15 สิงหาคม 2558 (รักษาราชการแทนรองอธิการบดี วาระที่ 1) [6]
16 สิงหาคม 2558 – 15 กุมภาพันธ์ 2559 (ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดี วาระที่ 2) [6]
6. รศ.ดร.ก่อโชค จันทวรางกูร 16 กุมภาพันธ์ 2559 – 31 ตุลาคม 2562 (ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดี) [6]
7. ผศ.น.สพ.ดร.เสรี กุญแจนาค 1 พฤศจิกายน 2562 – ปัจจุบัน [6]

ศูนย์นวัตกรรมการเกษตรบ่อทอง[แก้]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโครงการสานพลังเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : The Serie as a Public Autonomous University ครั้งที่ 1/2565 ขึ้นเพื่อให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้บริหารซึ่งประกอบด้วย รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน/สำนัก รับทราบรายงานความคืบหน้า และระดมความคิดในการกำหนดนโยบาย แนวทางในการสนับสนุน รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ "โครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการเกษตร ภูมิภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา" ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2565 [7]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๓๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๒๙ ก ประกาศวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้าที่ ๒๕
  2. คู่มือนิสิตคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2542
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-25.
  4. "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช 2541". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-25.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-13. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา รายนามผู้บริการวิทยาเขตศรีราชา สืบค้นวันที่ 16-09-2556
  7. โครงการสานพลังเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 1/2565 เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]