พรรคมวลชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคมวลชน
หัวหน้าการุณ รักษาสุข
เลขาธิการยงยุทธ รอดคล้ายขลิบ
โฆษกธิตติวัฒน์ นันทุ์นลิน
ประธานที่ปรึกษาพรรคร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
ก่อตั้ง13 มิถุนายน พ.ศ. 2528
ถูกยุบ27 มีนาคม พ.ศ. 2553
แยกจากพรรคกิจสังคม (พ.ศ. 2538)
พรรคความหวังใหม่ (พ.ศ. 2545)
ยุบรวมกับพรรคกิจสังคม (พ.ศ. 2536)
พรรคความหวังใหม่ (พ.ศ. 2541)
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคมวลชน (อังกฤษ: Mass Party) เป็นพรรคการเมืองในอดีตของประเทศไทย จดทะเบียนก่อตั้งพรรคอย่างเป็นทางการกับกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2528[1][2] มีการยุบพรรคและจัดตั้งขึ้นใหม่อีก 2 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 2538 และในปี พ.ศ. 2545

พรรคมวลชน ถือเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีจำนวน ส.ส.ไม่มาก มีฐานเสียงอย่างหนาแน่นในพื้นที่ฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในพื้นที่เขตบางแค, ภาษีเจริญ, บางบอน โดยมีหัวหน้าพรรคคนสำคัญ คือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

ประวัติ[แก้]

พรรคมวลชน มีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

ช่วงเริ่มก่อตั้ง[แก้]

พรรคมวลชน จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2528 มี นายสมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค และ พ.ต.อ.อดุล กาญจนพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ส่งผู้สมัคร ส.ส.ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้ง 3 ที่นั่ง โดยเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาส่งผู้สมัครอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้ง 5 ที่นั่ง และได้เข้าร่วมรัฐบาลโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

พรรคมวลชน ได้ยุติการดำเนินงานเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536[3] โดยได้ยุบพรรคเข้ารวมกับพรรคกิจสังคม

ช่วงปี 2538[แก้]

พรรคมวลชน ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคมวลชนขึ้นอีกครั้งในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยมีนายสมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายชิงชัย ต่อประดิษฐ์ เป็นเลขาธิการพรรค[4] ต่อมาที่ประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคมวลชน ได้มีมติยุบรวมเข้ากับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งนำโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เป็นผลให้พรรคมวลชนต้องถูกยุบเลิกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป[5]

ช่วงปี 2545[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดตั้งพรรคมวลชนขึ้นอีกครั้ง โดยมีพลเอก วรวิทย์ พิบูลศิลป์ เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายการุณ รักษาสุข เป็นเลขาธิการพรรค โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง อดีต สส.บัญชีรายชื่อพรรคความหวังใหม่ ได้กลับมาที่พรรคมวลชนตามเดิม ในฐานะ สส.ฝ่ายค้าน โดยมีผลงานในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องสนามกอล์ฟอัลไพน์[6]

กระทั่งในการประชุมสามัญประชุมจำ ครั้งที่ 1/2549 ได้มีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคทางเลือกใหม่"[7] และได้ยุบเลิกพรรคไปในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552[8]

พรรคทางเลือกใหม่

รายนามหัวหน้าพรรค[แก้]

  1. สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2528 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2529[9])
  2. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (20 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536)
  3. สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2538 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538)
  4. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541)
  5. พลเอก วรวิทย์ วิบูลศิลป์ (30 มีนาคม พ.ศ. 2545 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
  6. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547)
  7. พันธุ์ธัช รักษาสุข (เปลี่ยนชื่อเป็น การุณ รักษาสุข) (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552)

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
2529
3 / 347
เพิ่มขึ้น3 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์
2531
5 / 357
เพิ่มขึ้น2 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล (2531-2533) ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
ฝ่ายค้าน (2533-2534)
มี.ค. 2535
1 / 360
ลดลง4 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน
ก.ย. 2535
4 / 360
เพิ่มขึ้น3 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน[ก]
2538
3 / 391
ลดลง1 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล
2539
2 / 393
ลดลง1 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล (2539-2540)
ฝ่ายค้าน (2540-2541)[ข]

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2528 ชิงชัย ต่อประดิษฐ์ 12,042 ไม่ พ่ายแพ้
2533 นิยม ปุราคำ 25,729 ไม่ พ่ายแพ้
2547 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง 165,761 6.95% ไม่ พ่ายแพ้


อ้างอิง[แก้]

  1. ยุบรวมเข้ากับพรรคกิจสังคม ในปี พ.ศ. 2536
  2. ยุบรวมเข้ากับพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2541
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคมวลชน)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 84ก วันที่ 28 มิถุนายน 2528
  2. เขาชื่อ ‘เฉลิม อยู่บำรุง’
  3. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบเลิกพรรคมวลชนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 3ง วันที่ 10 มกราคม 2538
  4. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคมวลชน) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 28ง วันที่ 6 เมษายน 2538
  5. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 6/2541 เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้สั่งยุบพรรคมวลชนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 66ก วันที่ 29 กันยายน 2541
  6. อภิปรายสนามกอลฟ์อัลไพน์, สืบค้นเมื่อ 2023-04-04
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค และข้อบังคับพรรคมวลชนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 50ง วันที่ 18 พฤษภาคม 2549
  8. คำสั่งนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ ๒/๒๕๕๓ เรื่อง การเลิกพรรคทางเลือกใหม่ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 46ง วันที่ 25 มีนาคม 2553
  9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคมวลชน ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 127ก วันที่ 24 กรกฎาคม 2529