สถานีอ่อนนุช

พิกัด: 13°42′20.20″N 100°36′3.90″E / 13.7056111°N 100.6010833°E / 13.7056111; 100.6010833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ่อนนุช
E9

On Nut
สถานีอ่อนนุชใน พ.ศ. 2558
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสุขุมวิท เขตวัฒนาและเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°42′20.20″N 100°36′3.90″E / 13.7056111°N 100.6010833°E / 13.7056111; 100.6010833
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีE9
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25644,238,083
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
พระโขนง
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท บางจาก
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีอ่อนนุช (อังกฤษ: On Nut station; รหัส: E9) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิทในพื้นที่เขตวัฒนาและเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ระหว่าง พ.ศ. 2542–2554 สถานีอ่อนนุชเคยเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทฝั่งตะวันออก แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นสถานีปลายทางแล้ว เนื่องจากมีการสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีอ่อนนุชไปยังสถานีแบริ่ง สถานีสำโรง และสถานีเคหะฯ ในจังหวัดสมุทรปราการ

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีตั้งอยู่เหนือถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 79 (นิยม) และซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์) กับซอยสุขุมวิท 50 และซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร) และห่างจากทางแยกอ่อนนุช (จุดตัดระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนอ่อนนุช) มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 300 เมตร ในพื้นที่แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา และแขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

แผนผังของสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (บางจาก)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (พระโขนง)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
โลตัส สาขาสุขุมวิท 50, เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซา สุขุมวิท และโรงแรมอวานี สุขุมวิท กรุงเทพ
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, สำนักงานเขตพระโขนง, ตลาดอ่อนนุช
การประปานครหลวง สาขาพระโขนง, สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง
สถานีดับเพลิงพระโขนง, ชุมสายโทรศัพท์พระโขนง
สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8, โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ ซอยสุขุมวิท 73

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา รวมทั้งมีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีเขียวตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายทางเข้าและบริเวณทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านตะวันออก

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลิฟต์ไปยังชั้นจำหน่ายตั๋วและชานชาลา ฝั่งเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซา สุขุมวิท (ระหว่างทางออก 1 และ 3)
  • ลิฟต์ไปยังชั้นจำหน่ายตั๋ว ทั้งสองฝั่ง ได้แก่ฝั่ง โลตัส สุขุมวิท 50 ใกล้กับป้ายรถเมล์ (ทางออก 4) และฝั่งเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซา สุขุมวิท บริเวณด้านหน้าร้านเดอะคอฟฟี่คลับ และล็อบบี้โรงแรมอวานี สุขุมวิท กรุงเทพ (ทางออก 3)
  • ลิฟต์จากชั้นจำหน่ายตั๋วขึ้นไปยังชั้นชานชาลา ฝั่งมุ่งหน้าไปคูคต (ระหว่างบันไดทางขึ้นกลางสถานี)
  • ที่จอดรถเอกชน ที่โลตัส และเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซา สุขุมวิท
  • ที่จอดรถจักรยานใต้สถานี

ทางเข้า-ออก[แก้]

  • 1 สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง, สถานีดับเพลิงพระโขนง, ไอดีโอ เวิร์ฟ สุขุมวิท, ซอยสุขุมวิท 79, ป้ายรถประจำทางไปสำโรง (บันไดเลื่อน,ลิฟต์)
  • 2 โลตัส (สะพานเชื่อม), ซอยสุขุมวิท 50
  • 3 เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซา สุขุมวิท และโรงแรมอวานี สุขุมวิท กรุงเทพ (สะพานเชื่อมพร้อมลิฟต์), ซอยสุขุมวิท 81
  • 4 สำนักงานเขตพระโขนง, เบอร์เกอร์ คิง สาขาสุขุมวิท 52, ซอยสุขุมวิท 52, ป้ายรถประจำทางไปเพลินจิต (บันไดเลื่อน,ลิฟต์)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้าปากซอยสุขุมวิท 50 และ ทางออก 4 บริเวณหน้าปากซอยสุขุมวิท 52

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[1]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.46 00.18
E15 สำโรง 00.31
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.26 23.44
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 23.58

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สีเขียว : เขตการเดินรถที่ 2
สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3

รถเอกชน

สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)

ถนนสุขุมวิท[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่ปู่เจ้าสมิงพราย/อู่ช้างเอราวัณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก. มีรถให้บริการตลอดคืน
อู่เมกาบางนา BTS อุดมสุข/ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
23 (1) เทเวศร์/ประตูนํ้า
รถโดยสารประจำทาง อู่ปู่เจ้าสมิงพราย/อู่ช้างเอราวัณ เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
25 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้าง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

มีรถให้บริการทางด่วน
มีรถให้บริการตลอดคืน
45 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่ปู่เจ้าสมิงพราย ท่านํ้าสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง มีรถให้บริการทางด่วน (ให้บริการเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน)
132 (3) รถโดยสารประจำทาง เคหะบางพลี สะพานพระโขนง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
508 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ท่าราชวรดิษฐ์ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) มีรถให้บริการทางด่วน
511 Handicapped/disabled access (2) รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (3-1) Handicapped/disabled access ปากน้ำ สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส มีรถให้บริการตลอดคืน
25 (3-6) Handicapped/disabled access โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส ส่วนใหญ่หมดระยะแยกบางนา

38 (3-8) Handicapped/disabled access

รถโดยสารประจำทาง อู่ไทยสมายล์บัส (สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
46 (3-10) รถโดยสารประจำทาง อู่รามคำแหง 2 ท่านํ้าสี่พระยา รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีส้ม บจก.สิทธิชาญชัย

46 (3-10)

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

48 (3-11) Handicapped/disabled access

รถโดยสารประจำทาง อู่ไทยสมายล์บัส (สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) วัดโพธิ์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
98 อุดมสุข อโศก รถโดยสารประจำทางสีครีม-น้ำเงิน บริษัท สหศรีสุพรรณยานยนต์ จำกัด
507 (3-13) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)

513 (3-23E) Handicapped/disabled access

รถโดยสารประจำทาง อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) รถโดยสารประจำทาง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
3-32 Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) สวนสยาม รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส

ถนนอ่อนนุช[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
519 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่สวนสยาม เซ็นทรัลพระราม 3 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.

รถหมวด 4[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1013 พระโขนง หัวตะเข้ รถโดยสารประจำทางสีขาว-แดง

รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีขาว-แดง

บจก.ลาดกระบัง
1013 (1) ป้ายกระทรวง รถสองแถวประจำทางสีขาว-แดง
1013 (2) ซีคอนสแควร์
1013 (4) พาราไดซ์พาร์ค
1013 (7) แม็กซ์แวลูพัฒนาการ
1320 ตลาดอ่อนนุช พัฒนาการ 30 รถสองแถวประจำทางสีแดง เอกชน
  • ถนนสุขุมวิท รถขสมก. สาย 2 23 25 45 508 511 รถเอกชน สาย 38 46 48 98 132
  • ถนนอ่อนนุช รถขสมก. สาย  519 รถเอกชน สาย 1013 สองแถว ซีคอน-พระโขนง สองแถว พระโขนง-ป้ายกระทรวง

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.