สถานีเสนานิคม

พิกัด: 13°50′12″N 100°34′25″E / 13.83667°N 100.57361°E / 13.83667; 100.57361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสนานิคม
N12

Sena Nikhom
สถานีฯ มองจากทางเท้าถนนพหลโยธิน ตรงข้ามกรมพัฒนาที่ดิน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°50′12″N 100°34′25″E / 13.83667°N 100.57361°E / 13.83667; 100.57361
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN12
ประวัติ
เปิดให้บริการ4 ธันวาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-12-04)[1]
ผู้โดยสาร
25642,249,313
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท รัชโยธิน
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีเสนานิคม (อังกฤษ: Sena Nikhom station; รหัส: N12) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธินบริเวณด้านหน้ากรมพัฒนาที่ดินและพิพิธภัณฑ์ดิน ในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้ากรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่แขวงลาดยาวและแขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

แผนผังของสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (รัชโยธิน)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, กรมพัฒนาที่ดิน, พิพิธภัณฑ์ดิน, ตลาดบางเขน

อนึ่ง หลังชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้าและเย็น วันจันทร์-ศุกร์ จะมีรถไฟฟ้าบางขบวน ให้บริการถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยหลังจากส่งผู้โดยสารที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว รถไฟฟ้าจะทำการสับรางบริเวณ Pocket Track N13-N14 เพื่อกลับทิศทางของขบวนรถ หลังจากกลับทิศทางขบวนรถแล้ว รถไฟฟ้าขบวนดังกล่าวจะตีรถเปล่า ไม่หยุดรับส่งผู้โดยสาร ตั้งแต่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-สถานีห้าแยกลาดพร้าว และนำขบวนรถเข้าจัดเก็บ ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต

รายละเอียดของสถานี[แก้]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ

ทางเข้า-ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ ได้แก่

  • 1 กรมพัฒนาที่ดิน, พิพิธภัณฑ์ดิน, ซอยพหลโยธิน 41 (ลิฟต์)
  • 2 โรงพยาบาลเปาโล เกษตร, พรีโม ควินโต, ตลาดบางเขน (บันไดเลื่อน)
  • 3 กองตำรวจสื่อสารสถานีวิทยุพิทักษ์สันติราษฎร์ (สวพ.91), แชปเตอร์วัน เดอะแคมปัส (บันไดเลื่อน)
  • 4 ฟีล พหลฯ 34, ซอยพหลโยธิน 34 (ลิฟต์)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออกที่ 2 บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลเปาโล เกษตร และทางออกที่ 3 บริเวณด้านหน้า สวพ. 91

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[2]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.36 23.37
E15 สำโรง 23.51
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.22
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.19 00.24

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า บางบัว รถขสมก. สาย 24 26 34 39 59 63 107 129 178 185 206 503 543(ท่าน้ำนนท์) รถเอกชน สาย 39 104 126 524

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า รัชโยธิน รถขสมก. สาย 24 26 34 39 59 63 107 129 178 185 503 543(ท่าน้ำนนท์) รถเอกชน สาย 39 104 126 524

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

กรมพัฒนาที่ดิน

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดเพิ่มรถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 สถานี นั่งฟรี 1 เดือน เริ่ม 4 ธ.ค.นี้
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.