ดาวพฤหัสบดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วงแหวนของดาวพฤหัสบดี)
ดาวพฤหัสบดี  ♃ หรือ
ลักษณะของวงโคจร
ต้นยุคอ้างอิง J2000
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
816,081,455 กม.
(5.45516759 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
740,742,598 กม.
(4.95155843 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก:778,412,027 กม.
(5.20336301 หน่วยดาราศาสตร์)
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
4.888 เทระเมตร
32.675 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.04839266
คาบดาราคติ:4,335.3545 วัน
(11.87 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก:398.86 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
13.050 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
13.705 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
12.440 กม./วินาที
ความเอียง:1.30530°
(6.09° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
100.55615°
มุมของจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
274.19770°
จำนวนดาวบริวาร:92 [1]
ลักษณะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
142,984 กม.
(11.209×โลก)
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว:
133,709 กม.
(10.517×โลก)
ความแป้น:0.06487
พื้นที่ผิว:6.14×1010 กม.²
(120.5×โลก)
ปริมาตร:1.338×1015 กม.³
(1235.6×โลก)
มวล:1.899×1027กก.
(317.8×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย:1.326 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
23.12 เมตร/วินาที²
(2.358 จี)
ความเร็วหลุดพ้น:59.54 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
0.413538021 วัน
(9 ชม. 55 นาที 29.685 วินาที)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
12.6 กม./วินาที
(45,300 กม./ชม.)
ความเอียงของแกน:3.13°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
268.05°
(17 ชม. 52 นาที 12 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ:
64.49°
อัตราส่วนสะท้อน:0.52
อุณหภูมิพื้นผิว:
   เคลวิน
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
110 K152 K
ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
70 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ:~86% ไฮโดรเจน
~14% ฮีเลียม
0.1% มีเทน
0.1% ไอน้ำ
0.02% แอมโมเนีย
0.0002% อีเทน
0.0001% ไฮโดรเจนฟอสไฟด์
<0.0001% ไฮโดรเจนซัลไฟด์

ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวยักษ์

ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้

ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก

โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับการไต่สวน ดาวพฤหัสบดี หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง

วงแหวนของดาวพฤหัสบดี[แก้]

องค์ประกอบของวงแหวนดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์ แต่มีความเลือนลางและขนาดเล็กกว่า สามารถเห็นได้ในรังสีอินฟราเรดทั้งจากกล้องโทรทรรศน์ที่พื้นโลกและจากยานกาลิเลโอ วงแหวนของดาวพฤหัสค่อนข้างมืด ซึ่งอาจประกอบด้วยเศษหินขนาดเล็ก และไม่พบน้ำแข็ง เหมือนที่พบในวงแหวนของดาวเสาร์ วัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวพฤหัสอาจไม่อยู่ในวงแหวนนาน เนื่องจากแรงเหวี่ยงที่เกิดจากบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าวงแหวนได้วัตถุเพิ่มเติมจากฝุ่นที่เกิดจากอุกกาบาตตกชนดาวบริวารวงใน ซึ่งเนื่องจากพลังงานมหาศาลจากแรงดึงดูดขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดี

  1. https://mgronline.com/science/detail/9660000010671