วินาที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วินาที
ลูกตุ้มนาฬิกาที่ส่งเสียงติ๊กต็อกทุกวินาที
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการวัดหน่วยฐานเอสไอ
เป็นหน่วยของเวลา
สัญลักษณ์s 

วินาที (อังกฤษ: Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ)[1] และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง ค.ศ. 1000 เมื่ออัลบิรูนี (al-Bīrūnī) ใช้วินาที ถึง ค.ศ. 1960 วินาทีนิยามว่าเป็น 1/86,400 ของวันสุริยคติเฉลี่ย (mean solar day) ซึ่งยังเป็นนิยามที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์และกฎหมายอยู่บ้าง[2] ระหว่าง ค.ศ. 1960 ถึง 1967 วินาทีนิยามในแง่คาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ใน ค.ศ. 1900[3] แต่ปัจจุบันนิยามอย่างแม่นยำขึ้นในแง่อะตอม วินาทีอาจวัดโดยใช้นาฬิกากล ไฟฟ้าหรืออะตอม

การสังเกตทางดาราศาสตร์ในห้วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เปิดเผยว่าวันวันสุริยคติเฉลี่ยค่อย ๆ ยาวขึ้นแต่วัดได้ และความยาวของปีสุริยคติก็ไม่สามารถพยากรณ์ได้ทั้งหมดเช่นกัน ฉะนั้นการเคลื่อนที่ดวงอาทิตย์–โลกจึงไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานนิยามที่เหมาะสมต่อไป เมื่อมีการคิดค้นนาฬิกาอะตอม การนิยามวินาทีโดยยึดคุณสมบัติหลักมูลแห่งธรรมชาติจึงเป็นไปได้ นับแต่ ค.ศ. 1967 นิยามวินาทีเป็น

ช่วงเวลา 9192631770 คาบของการแผ่รังสีซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนสถานะระหว่างสองระดับไฮเปอร์ไฟน์ (hyperfine level) ของสถานะพื้นของอะตอมซีเซียม-133
(the duration of 9192631770 periods of the radiation corresponding to the transition between the two hyperfine levels of the ground state of the caesium 133 atom)[1]

ใน ค.ศ. 1997 คณะกรรมการชั่งตวงวัดระหว่างประเทศยืนยันว่านิยามข้างต้น "หมายถึงอะตอมซีเซียมในสถานะพักที่อุณหภูมิ 0 เคลวิน"[1]

วินาทียังเป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดเซนติเมตร-กรัม-วินาที, เมตร-กิโลกรัม-วินาที, เมตร-ตัน-วินาที และฟุต-ปอนด์-วินาที

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Unit of time (second)". SI Brochure. BIPM. สืบค้นเมื่อ 2013-12-22.
  2. International System of Units from NIST accessed 25 March 2012.
  3. "Leap Seconds". Time Service Department, United States Naval Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-11. สืบค้นเมื่อ 2012-03-24.