ดาวบริวารของดาวเนปจูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดาวเนปจูนมีดาวบริวารเป็นที่รู้จักกันทั้งหมดสิบสี่ดวงโดยดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดคือดาวบริวารไทรทัน, ค้นพบโดยวิลเลียม ลาสเซลล์ เมื่อ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1846 เพียง 17 วันหลังจากการค้นพบดาวเนปจูน กว่าศตวรรษผ่านไปจึงมีการค้นพบดาวบริวารดวงที่สองมีชื่อเรียกว่านีเรียด ดาวบริวารของดาวเนปจูนเป็นชื่อของเทพแห่งน้ำในตำนานเทพเจ้ากรีก

การค้นพบและชื่อ[แก้]

ภาพจำลองของดาวเนปจูนบนท้องฟ้าของไทรทัน

การค้นพบ[แก้]

ไทรทันถูกค้นพบโดยวิลเลียม ลาสเซลล์ เมื่อ ปี 1846 หลังจากที่ค้นพบดาวเนปจูนไปเพียง 17 วันเท่านั้น[1] ต่อมา นีรีด ก็ถูกค้นพบโดยเจอราร์ด ไคเปอร์ใน ปี 1949[2] ดาวบริวารดวงที่สามซึ่งภายหลังให้ชื่อว่า ลาริสซา ได้ถูกค้นพบโดย แฮโรลด์ เจ. ไรต์เซมา, วิลเลียม บี. ฮับบาร์ด, แลร์รี่ เอ. เลบอฟสกี้ และ เดวิด เจ. โทเลน เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1981 เหล่านักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวบริวารจากการสังเกตดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดาวเนปจูน ซึ่งคล้ายวงแหวนที่อยู่รอบดาวยูเรนัสที่จะค้นพบใน 4 ปีถัดมา[3] วงแหวนในปัจจุบันทำให้ดาวฤกษ์ที่เคลื่อนเข้าใกล้ดาวเนปจูนมีแสงสว่างลดน้อยลงไปก่อนที่จะเคลื่อนเข้าใกล้ดาวเคราะห์ ความสว่างของดาวฤกษ์เหล่านั้นลดน้อยลงไปเป็นเวลาหลายวินาทีซึ่งหมายความว่าวัตถุที่ทำให้แสงสว่างของดาวฤกษ์ลดน้อยลงเป็นดาวบริวารมากกว่าที่จะเป็นวงแหวนของดาวเนปจูน

หลังจากนั้นก็ไม่มีการค้นพบดาวบริวารของดาวเนปจูนจนกระทั่งยานวอยเอจเจอร์ 2 ได้เคลื่อนเข้าใกล้ดาวเนปจูนในปี 1989 วอยเอจเจอร์ 2 ได้สำรวจบริเวณของลาริสซา แล้วก็ค้นพบดาวบริวารชั้นในอีก 5 ดวง ได้แก่ เนแอด, ทาแลสซา, ดิสพีนา, แกลาเทีย และ โพรเทียส[4] ต่อมาในปี 2002 - 2003 ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินขนาดใหญ่สำรวจดาวเนปจูนแล้วในที่สุดก็ค้นพบดาวบริวารชั้นนอกทั้ง 5 ดวง ได้แก่ แฮลิมีดี, เซโอ, เลโอเมเดีย, แซมาทีและ นีโซ ทำให้จำนวนดาวบริวารของดาวเนปจูนเป็น 13 ดวง [5][6]

ในวันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2556 ได้มีการค้นพบดาวบริวารดวงที่ 14 ซึ่งเคยปรากฏเมื่อปี พ.ศ. 2547 - 2551 ในภาพที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล มันอยู่ในตำแหน่งระหว่าง ลาริสซาและโพรเทียสและคาดว่าจะมีเส้นผ่านศูนยืกลาง 16 -20 กิโลเมตร[7] ซึ่งผู้ค้นพบคือ มาร์ค โชวอลเตอร์และคณะ และได้ให้ชื่อว่า S/2004 N 1

ชื่อ[แก้]

ไทรทันไม่ได้มีชื่อเป็นทางการมาจนกระทั่งศตวรรษที่ 20 ชื่อ ไทรทัน ได้ถูกเสนอโดย คามิลล์ แฟลมมาเรียน ในหนังสือ Astronomie Populaire ของเขาเมื่อปี 1880[8] but it did not come into common use until at least the 1930s.[9] แต่ชื่อนี้ก็ไม่ได้รับการยอมรับให้ใช้ทั่วไปจนปี 1990 ในเวลานี้เหล่าดาวบริวารได้รู้จักในรูปแบบของ ดาวเทียมของดาวเนปจูน ส่วนดวงจันทร์ดวงอื่นตั้งชื่อตามตำนานเทพเจ้ากรีกและโรมัน โดยตั้งตามตำแหน่งของดาวบริวารของดาวเนปจูนกับเทพเจ้าแห่งท้องทะเล[10] จากตำนานเทพเจ้ากรีกได้ตั้งชื่อตามลูกของโปเซดอน (ไทรทัน, โพรเทียส, ดิสพีนา, ทาแลสซา); ระดับชั้นของเทพเจ้าแห่งท้องทะเล (เนแอด, นีรีด) หรือ เจาะจงไปที่นีรีด (แฮลิมีดี, แกลาเทีย, นีโซ, เซโอ, เลโอเมเดีย, แซมาที)[10]

ลักษณะ[แก้]

ดาวบริวารของดาวเนปจูนได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ปกติและผิดปกติ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้แบ่งตามวงโคจรตามเส้นศูนย์สูตรของดาวเนปจูน ในกลุ่มแรกคือ เหล่าดาวบริวารชั้นในทั้ง 7 ดวง ซึ่งมีวงโคจรที่ค่อนข้างจะเป็นระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเนปจูนส่วนกลุ่มที่สอง คือ ดาวบริวารชั้นนอกทั้ง 6 ดวง ซึ่งมีวงโคจรที่ค่อนข้างจะแตกต่างจากเส้นศูนย์สูตรและจากดาวบริวารด้วยกันเอง บางดวงนั้นก็มีวงโคจรที่มีค่าความเอียงของวงโคจรสูง บางดวงก็มีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูง [11]

ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติของโพรเทียส

ดาวบริวารปกติ[แก้]

ในรายชื่อดาวบริวารตามระยะทางจากดาวเนปจูน ดาวบริวารปกติมี 6 ดวง ได้แก่ เนแอด, ทาแลสซา,ดีสพีนา, แกลาเทีย, ลาริสซา, S/2004 N 1 และ โพรเทียส แนแอดเป็นดาวบริวารที่อยู่ใกล้ดาวเนปจูนที่สุด แต่ก็เป็นดาวบริวารที่เล็กที่สุดในดาวบริวารชั้นใน ส่วนดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในดาวบริวารชั้นใน คือ โพรเทียส ดาวบริวารชั้นในค่อนข้างที่จะอยู่ใกล้วงแหวนของดาวเนปจูน ดาวบริวารชั้นในที่ใกล้ดาวเนปจูนที่สุดคือ เนแอดและทาแลสซา โคจรอยู่ระหว่าง วงแหวนกอลล์และเลอร์แวเรีย[4] ดีสพีนาเป็นดาวบริวารที่คอยควบคุมให้วงแหวนเลอร์แวเรียเข้าที่ วงโคจรของมันอยู่ภายในวงแหวนนี้[12]

ดาวบริวารถัดมา แกลาเทีย โคจรอยู่บริเวณวงแหวนอดัมส์[12] วงแหวนนี้แคบมาก มันกว้างเพียงแค่ 50 กิโลเมตร[13] แรงโน้มถ่วงของแกลาเทียช่วยให้สสารในวงแหวนอดัมส์เข้าที่และเสียงสะท้อนต่างๆของอนุภาคของวงแหวนและตัวดาวบริวารแกลาทีอาจจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาส่วนโค้งของวงแหวน

ดาวบริวารผิดปกติ[แก้]

The diagram illustrates the orbits of Neptune’s irregular moons excluding Triton. The eccentricity is represented by the yellow segments extending from the pericenter to apocenter with the inclination represented on Y axis. The moons above the X axis are prograde, those beneath are retrograde. The X axis is labeled in Gm and the fraction of the Hill sphere's radius.

ในรายชื่อดาวบริวารตามระยะทางจากดาวเนปจูน ดาวบริวารผิดปกติมี 7 ดวง ได้แก่ ไทรทัน นีรีด แฮลิมีดี เซโอ เลโอมีเดีย แซมาที นีโซ ดาวบริวารเหล่านี้มีวงโคจรค่อนข้างที่จะมีความเยื้องและความเอียงของวงโคจรสูง[11]แล้วมีบางดวงที่โคจรสวนทางกับวงโคจรของโลก เช่น นีโซ

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lassell1846
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kuiper1949
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reitsema1982
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Smith1989
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HolmanKavelaarsGrav2004
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SheppardJewittKleyna2006
  7. Kelly Beatty (15 July 2013). "Neptune's Newest Moon". Sky & Telescope. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-16. สืบค้นเมื่อ 15 July 2013.
  8. Flammarion, Camille (1880). Astronomie populaire (ภาษาฝรั่งเศส). p. 591. ISBN 2-08-011041-1.
  9. "Camile Flammarion". Hellenica. สืบค้นเมื่อ 2008-01-18.
  10. 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Gazetteer
  11. 11.0 11.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jewitt2007
  12. 12.0 12.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Miner2007b
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Horn1990

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]