คำนำหน้าชื่อเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Bow of the container ship MSC Susanna
คำนำหน้าชื่อเรือลำนี้คือ "MSC" หมายถึงบริษัทเจ้าของเรือ คือ บริษัทเมดิเตอร์เรเนียนชิปปิ้ง (Mediterranean Shipping Company)

คำนำหน้าชื่อเรือ (อังกฤษ: Ship prefix) คือการรวมกันของชุดตัวอักษร ซึ่งปกติจะมาจากคำย่อ ใช้สำหรับนำหน้าชื่อเรือของพลเรือนหรือเรือรบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายในการใช้งาน เช่น ระบุรูปแบบของระบบขับเคลื่อนเรือ ระบุวัตถุประสงค์ของเรือ ระบุความเป็นเจ้าของ หรือระบุสัญชาติของเรือ ซึ่งในปัจจุบัน คำนำหน้าเรือมักไม่ค่อยถูกใช้งานในเรือของพลเรือนมากนัก ในขณะที่เรือของหน่วยงานราชการหรือเรือของรัฐยังคงมีการคงไว้และใช้งานต่อไป เนื่องจากมีระบุไว้ในระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายระบุไว้ให้มีการใช้งาน โดยคำนำหน้าชื่อเรือในปัจจุบันมักมีการใช้งานในรูปแบบเดียวกันเหมือนกันหมดในกองทัพเรือของแต่ละประเทศ และคำนำหน้าอื่น ๆ สำหรับเรือช่วยรบหรือเรือที่เป็นหน่วยเรือสนับสนุน เช่น ยามฝั่งสหรัฐที่สนับสนุนการทำงานของกองทัพเรือสหรัฐ ในขณะที่กองทัพเรือของอีกหลายชาติเช่นกันไม่มีการใช้งานคำนำหน้าชื่อเรือ

ตัวอย่างของกองทัพเรือที่ใช้คำนำหน้าเรือ เช่น กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ใช้คำนำหน้าว่า "JS"[1] – มาจากคำว่า Japanese Ship กองทัพเรือสหรัฐ ใช้คำนำหน้าว่า "USS"[2] – มาจากคำว่า United States Ship[3]

การใช้งาน[แก้]

ในอดีตนั้น คำนำหน้าชื่อเรือสำหรับเรือพลเรือนมักจะใช้ระบุรูปแบบของการขับเคลื่อนเรือ เช่น "MV" มาจากคำว่า motor vesse (เรือยนต์), "SS" มาจากคำว่า เรือกลไฟแบบใช้ใบจักรท้าย (screw steamer)[4] มักจะเรียกกันว่าเรือกลไฟ (steam ship) หรือ "PS" มาจากคำว่า เรือกลไฟแบบใช้ล้อข้าง (paddle steamer)[5][4]

ปัจจุบัน คำนำหน้าชื่อเรือสำหรับพลเรือนนั้นไม่ได้มีการใช้กันอย่างทั่วไปแล้ว สำหรับเรือที่มีการใช้งานมักจะใช้คำนำหน้าชื่อเรือเป็นอักษรย่อที่มีความหมายคือจุดประสงค์ของเรือ หรือระบุถึงความสามารถของเรือ โดยการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้เกิดคำนำหน้าชื่อเรือที่มีหลากหลายมากยิ่งขึ้นในท้องมหาสมุทรของโลก เช่น "LPGC" มาจากคำว่า Liquified Petroleum Gas Carrier (เรือขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว)[6] หรือ "TB" มาจากคำว่า Tug boat (เรือลากจูง)[6] หรือ "DB" มาจากคำว่า Derrick barge (เรือปั่นจั่น)[6] และในอีกหลายกรณี คำย่อเหล่านี้ใช้ในการระบุตัวตนอย่างเป็นทางการตามกฎหมายเท่านั้น ไม่ได้ถูกใช้ในการเรียกขานหรือในสิ่งแวดล้อมการทำงาน ตัวอย่างคำนำหน้าระบุจุดประสงค์ของเรือ เช่น "RMS" มาจากคำว่า Royal Mail Ship (โรยัล เมล ชิป) หรือ "RV" มาจากคำว่า Research Vessel (เรือวิจัย)[6]

คำนำหน้าที่ใช้งานในเรือเดินทะเลส่วนใหญ่บ่งบอกถึงเจ้าของของเรือ แต่ก็อาจจะระบุถึงประเภทหรือวัตถุประสงค์ของเรือด้วย ในอดีตมีการใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุดในกองทัพเรืออังกฤษ ซึ่งใช้คำนำหน้าว่า "HMS" ซึ่งย่อมาจากคำว่า "His/Her Majesty's Ship" โดยกองทัพเรืออังกฤษก็ใช้ชื่อเรือเพื่อบ่งบอกถึงประเภทและวัตถุประสงค์ของเรือในประจำการเช่นกัน เช่น "HM" ในเรือสลุป ในขณะที่กองทัพเรือในเครือจักรภพนั้นมีการนำไปปรับใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น HMAS, HMCS และ HMNZS ที่ใช้งานในออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ตามลำดับ

ในยุคแรก กองทัพเรือสหรัฐใช้ตัวย่อที่ระบุถึงประเภทของเรือด้วย เช่น "USF" มาจากคำว่า "United States Frigate" แนวปฏิบัตินี้ถูกยกเลิกโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร ฉบับที่ 549/1907 โดยประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ซึ่งให้ใช้คำว่า "USS" มาจากคำว่า เรือรบสหรัฐ (United States Ship) เป็นเครื่องหมายมาตรฐานสำหรับเรือรบประจำกาของกองทัพเรือสหรัฐ[7][8] โดยบังคับใช้กับเรือที่มีสถานะประจำการในช่วงเวลานั้น เรือที่ยังไม่ประจำการหรือปลดประจำการไปแล้วจะใช้เพียงชื่อเรือเท่านั้น และใช้งานกับเรื่อที่กลับมาประจำการอีกครั้ง[8][9]

อย่างไรก็ตาม คำนำหน้าชื่อเรือนั้นไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเป็นทางการกับทุกกองทัพเรือ เช่น กองทัพเรือของจีน[10] ฝรั่งเศส[11] และรัสเซีย[12]

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา กองทัพเรือส่วนใหญ่ใช้การระบุด้วยตัวอักษรหรือหมายเลขตัวเรือ (หมายเลขชายธง)[13] หรือใช้ผสมกันทั้งสองรูปแบบ โดยรหัสเหล่านี้ถูกระบุไว้และวาดไว้ที่ด้านข้างของเรือ ซึ่งแต่ละกองทัพเรือจะมีระบบที่ใช้งานเป็นมาตรฐานของตนเอง เช่น กองทัพเรือสหรัฐใช้สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือ[14] และกองทัพเรืออังกฤษและกองทัพเรืออื่น ๆ ในยุโรปและเครื่อจักรภพใช้ระบบหมายเลขชายธง[15]

คำนำหน้าทั่วไป (พาณิชย์นาวี)[แก้]

คำนำหน้าเหล่านี้ถูกใช้งานในเรือพาณิชย์ของทุกสัญชาติ ประกอบไปด้วย[16]

คำนำหน้า ความหมาย
AE เรือบรรทุกเครื่องกระสุน (Ammunition ship)
AFS เรือบรรทุกเสบียงส่งกำลังบำรุง (Combat stores ship)
AHT เรือสนับสนุนการลาก-จูงสมอ (Anchor handling tug)
AHTS เรือสนับสนุนการลาก-จูง การจัดการสมอ (Anchor handling tug supply vessel)[17]
AO เรือบรรทุกน้ำมันของกองทัพเรือสหรัฐ (United States Navy oiler)
AOG เรือบรรทุกน้ำมันเบนซิน (Gasoline tanker)
AOR เรือบรรทุกน้ำมันสนับสนุนการรบ (Auxiliary replenishment oiler)
AOT เรือขนส่งน้ำมัน (Transport oiler) [ต้องการอ้างอิง]
ASDS ฐานลงจอดกลางมหาสมุทร (Autonomous Spaceport Drone Ship)
ATB เรือลากจูงแบบพ่วง (Articulated Tug Barge) [ต้องการอ้างอิง]
CRV เรือวิจัยชายฝั่ง (Coastal Research Vessel)[18]
C/F เรือเฟอร์รี่บรรทุกรถยนต์ (Car ferry)
CS เรือคอนเทนเนอร์ (Container ship)[17] หรือ
เรือวางสายเคเบิล (Cable ship)[19]
DB เรือปั้นจั่น (Derrick barge)
DEPV เรือพายดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Paddle Vessel)[20]
DLB เรือปั้นจั่นและวางท่อ (Derrick Lay Barge)[21][22]
DCV เรือก่อสร้างน้ำลึก (Deepwater Construction Vessel)[23]
DSV เรือสนับสนุนการประดาน้ำใต้ทะเล[24] (Diving support vessel)[25] หรือ
ยานดำน้ำลึก (deep-submergence vehicle)[26]
DV เรือที่หมดสภาพการเดินเรืออย่างถาวร (Dead vessel)[27][28]
ERRV เรือกู้ภัยตอบสนองเหตุฉุกเฉิน (Emergency Response Rescue Vessel)[28]
EV เรือสำรวจ (Exploration Vessel)
FPSO เรือผลิตและกักเก็บปิโตรเลียม[29] (Floating production storage and offloading vessel)[17]
FPV เรือเครื่องยนต์ลูกสูบอิสระ (Free Piston Vessel) [ต้องการอ้างอิง]
FPV เรือคุ้มครองเรือประมง (Fishery Protection Vessel)[17]
FT เรือประมงแบบลากอวน (Factory Stern Trawler)
FV เรือประมง (Fishing Vessel)
GTS เรือเครื่องยนต์กังหันแก๊ส (Gas Turbine Ship)
HLV เรือเครนยักษ์[30] (Heavy lift vessel)
HMT เรือรับจ้างขนส่งทางการทหาร (Hired military transport)[31] ปัจจุบันไม่มีใช้งานแล้ว
HMHS เรือพยาบาลหลวง (His (/Her) Majesty's Hospital Ship)
HSC เรือความเร็วสูง (High Speed Craft)[17]
HSF เรือเฟอร์รี่ความเร็วสูง (High Speed Ferry)[32]
HTV เรือขนส่งขนาดหนัก (Heavy transport vessel)
ITB เรือลากจูงประกอบได้ (Integrated Tug barge)[33]
LB เรือแท่นยกตัวได้ (Liftboat)
LNG/C เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied natural gas carrier)
LPG/C เรือบรรทุกปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas carrier)
MF แพขนานยนต์ (Motor ferry)
MFV เรือประมงยนต์ (Motor fishing vessel) ใช้งานในกำลังสำรองทางเรือของอังกฤษเป็นหลัก
MS (M/S) เรือยนต์ (Motor ship)[17] ใช้เปลี่ยนได้กับ MV
MSV เรือสนับสนุนเสบียงอเนกประสงค์ (Multipurpose support/supply vessel)
MSY เรือใบยอร์ชแบบมีเครื่องยนต์ (Motor Sailing Yacht)
MT เรือยนต์บรรทุกน้ำมัน (Motor Tanker)
MTS เรือการลากจูงทางทะเลและการกู้ภัย/เรือลากจูง (Marine towage and salvage/tugboat)
MV (M/V) เรือยนต์ (Motor Vessel)[17] (สามารถใช้แทนกันได้กับ MS)
MY (M/Y) เรือยอร์ช (Motor Yacht)
NB เรือยาวและแคบ (Narrowboat)
NRV เรือวิจัยของเนโท (NATO Research Vessel)
NS เรือพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear ship)
OSV เรือสนับสนุนกิจการนอกชายฝั่ง (Offshore supply vessel)
PS เรือกลไฟพาย (Paddle steamer)
PSV เรือสนับสนุนสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Platform supply vessel)
QSMV เรือยนต์เพลาสี่จังหว่ะ (Quadruple screw motor vessel)[17]
QTEV เรือไฟฟ้ากำลังเทอร์โบสี่จังหว่ะ (Quadruple turbo electric vessel)
RMS เรือรอยัลเมล์ (Royal Mail Ship)[17] หรือ เรือกลไฟรอยัลเมล์ (Royal Mail Steamer)
RNLB เรือของสถาบันเรือชูชีพแห่งชาติ (Royal National Lifeboat)
RRS เรือวิจัยหลวง (Royal Research Ship)
RV / RSV เรือวิจัย (Research vessel) เรือสำรวจวิจัย (Research Survey Vessel)[34]
SS (S/S) เรือกลไฟเพลาเดี่ยว (Single-screw steamship)[17]
(ใช้เป็นคำทั่วไปสำหรับเรือที่ขับเคลื่อนด้วยไอน้ำด้วย)
SSCV เรือเครนกึ่งจมน้ำ (Semi-submersible crane vessel)
SSS เรือลูกเสือทะเล (Sea Scout Ship)
SSV เรือดำน้ำและเรือสนับสนุนสงครามพิเศษ (Submarine and Special Warfare Support Vessel)[35]
ST เรือกลไฟลากจูง (Steam tug) หรือ
เรือกลไฟลากอวน (Steam trawler)
STS เรือใบฝึกเดินเรือ (Sail training ship)
STV เรือใบฝึกเดินเรือ (Sail Training Vessel) หรือ
เรือกังหันไอน้ำ (Steam Turbine Vessel)
SV (S/V) เรือใบ (Sailing Vessel)
SY (S/Y) เรือใบยอร์ช (sailing yacht) หรือ
เรือยอร์ชไอน้ำ (steam yacht)
TB เรือลากจูง (Tug boat)
TIV เรือติดตั้งกังหันลม (Turbine Installation Vessel)
TEV เรือกังหันไฟฟ้า (Turbine electric vessel)
TrSS เรือกลไฟเพลาสาม (Triple-screw steamship or steamer)[17]
TS เรือฝึก (Training Ship) หรือ
เรือกลไฟกังหัน (turbine steamship) หรือ เรือจักรไอน้ำ (turbine steam ship)
Tr.SMV เรือยนต์เพลาสาม (Triple-Screw Motor Vessel)
TSMV เรือยนต์เพลาคู่ (Twin-Screw Motor Vessel)[36]
TSS เรือกลไฟเพลาคู่หรือเรือกลไฟ (Twin-screw steamship or steamer)[17]
TST เรือลากจูงเพลาคู่ (Twin-screw tug)
TT (T/T) เรือพี่เลี้ยง ("Tender to") ..., ตามด้วยชื่อของเรือแม่
TV เรือฝึก (Training vessel)
ULCC เรือบรรทุกน้ำมันดิบขนาดใหญ่มาก (Ultra Large Crude Carrier)
VLCC เรือบรรทุกน้ำดับดิบขนาดใหญ่ (Very Large Crude Carrier)
YD เรืออู่ปั้นจั่นขนาดใหญ่ (Yard derrick)
YT เรือลากจูงในอู่ (Yard Tug)
YMT เรือยนต์ลากจูงในอู่ (Yard Motor Tug)
YTB เรือลากจูงในอู่เรือขนาดใหญ่ (Yard Tug Big)
YTL เรือลากจูงในอู่เรือขนาดเล็ก (Yard Tug Little)
YTM เรือลากจูงในอู่เรือขนาดกลาง (Yard Tug Medium)
YW เรือบรรทุกน้ำขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (Water barge, self-propelled)
YWN เรือบรรทุกน้ำไม่มีเครื่องยนต์ (Water barge, non-propelled)
YOS เรือคอนกรีต (Concrete vessel)

คำนำหน้าตามสัญชาติหรือสังกัดทางการทหาร[แก้]

ประเทศ ใช้งานใน คำนำหน้า ความหมาย
ธงของประเทศแอลเบเนีย แอลเบเนีย กองทัพเรือแอลเบเนีย ALS Albanian Ship (คำนำหน้าตามระบบเนโท)
ธงของประเทศแอลจีเรีย แอลจีเรีย กองทัพเรือแอลจีเรีย ANS Algerian Navy Ship
ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา กองทัพเรืออาร์เจนตินา ARA Navy of the Argentine Republic (สเปน: Armada de la República Argentina)
หน่วยยามฝั่งอาร์เจนตินา GC Argentine Coast Guard Ship (สเปน: Guardacostas)
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ราชนาวีออสเตรเลีย HMAS His Majesty's Australian Ship/Submarine/Station
NUSHIP New Ship/Submarine (อยู่ระหว่านำเข้าประจำการ)
ADV Australian Defence Vessel (ไม่มีเรือรบประจำการและปฏิบัติการ)
MSA Minesweeper Auxiliary[37]
หน่วยบริการศุลกากรและป้องกันชายแดนออสเตรเลีย ACV Australian Customs Vessel
กองกำลังชายแดนออสเตรเลีย ABFC Australian Border Force Cutter
ออสเตรเลีย (ช่วงก่อนสหพันธรัฐ) กองทัพเรืออาณานิคมของออสเตรเลีย HMCS His Majesty's Colonial Ship
HMQS His Majesty's Queensland Ship (กองกำลังป้องกันทางทะเลควีนส์แลนด์)
HMVS His Majesty's Victorian Ship (กองทัพเรือวิคตอเรีย)
 ออสเตรีย-ฮังการี กองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการี SMS Seiner Majestät Schiff (His Majesty's Ship)
ธงของประเทศอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน กองทัพเรืออาเซอร์ไบจาน ARG Azərbaycan Respublikasının hərbi Gəmisi (เรือรบแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน)
ธงของประเทศบาฮามาส บาฮามาส กองกำลังป้องกันประเทศบาฮามาส HMBS His Majesty's Bahamian Ship
ธงของประเทศบาห์เรน บาห์เรน กองกำลังราชนาวีบาห์เรน RBNS Royal Bahrain Naval Ship
ธงของประเทศบังกลาเทศ บังกลาเทศ หน่วยยามฝั่งบังกลาเทศ CGS Coast Guard Ship
กองทัพเรือบังกลาเทศ BNS Bangladesh Navy Ship
ธงของประเทศบาร์เบโดส บาร์เบโดส หน่วยยามฝั่งบาร์เบโดส BCGS Barbados Coast Guard Ship
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม กองทัพเรือเบลเยียม BNS Belgian Naval Ship (คำนำหน้าตามระบบเนโท)
ธงของประเทศบราซิล บราซิล กองทัพเรือบราซิล (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) คำนำหน้าของกองทัพเรือบราซิลจะใช้ระบุประเภทเรือ
 อินเดีย กองกำลังหลวงทางทะเลอินเดีย (1892–1934) RIMS Royal Indian Marine Ship
ราชนาวีอินเดีย (1934–1950) HMIS His Majesty's Indian Ship
ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน ราชนาวีบรูไน KDB Kapal Di-Raja Brunei (Royal Brunei Ship เรือหลวงบรูไน)
ธงของประเทศบัลแกเรีย บัลแกเรีย กองทัพเรือบัลแกเรีย BNG การกำหนดของเนโท
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา ราชนาวีแคนาดา
(formerly Canadian Forces Maritime Command)
HMCS
NCSM
His Majesty's Canadian Ship
(ฝรั่งเศส: Navire canadien de Sa Majesté)
CFAV
NAFC
Canadian Forces Auxiliary Vessel
(ฝรั่งเศส: Navire auxiliaire des Forces canadiennes)
หน่วยยามฝั่งแคนาดา CCGS
NGCC
Canadian Coast Guard Ship
(ฝรั่งเศส: Navire de Garde côtière canadienne)
CCGC
CGCC
Canadian Coast Guard Cutter
(ฝรั่งเศส: Cotre de Garde côtière canadienne)
(ไม่มีใช้งานแล้ว)
กรมประมงและมหาสมุทร, กรมขนส่ง, และหน่วยงานก่อนหน้า CGS Canadian Government Ship
(ไม่มีใช้งานแล้ว)
CSS Canadian Survey Ship
(ไม่มีใช้งานแล้ว)
DGS Dominion Government Ship
(ไม่มีใช้งานแล้ว)
นักเรียนนายร้อยนาวีแคนาดา SCTV
NECM
Sea Cadet Training Vessel
(ฝรั่งเศส: Navire école des cadets de la Marine)
 สาธารณรัฐประชาชนจีน กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ)
ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย กองทัพเรือโคลอมเบีย ARC Armada de la República de Colombia (กองทัพเรือสาธารณรัฐโคลอมเบีย)
 สมาพันธรัฐ กองทัพเรือสมาพันธรัฐ CSS Confederate States Ship
ธงของหมู่เกาะคุก หมู่เกาะคุก ตำรวจหมู่เกาะคุก CIPPB Cook Islands Police Patrol Boat
ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย กองทัพเรือเชค CRS Czech Republic Ship
ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก กองทัพเรือเดนมาร์ก HDMS (เดนมาร์ก: KDM) His/Her Danish Majesty's Ship (เดนมาร์ก: Kongelige Danske Marine)
HDMY (เดนมาร์ก: KDM) His/Her Danish Majesty's Yacht, crewed by Royal Danish Navy
ธงของประเทศเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ กองทัพเรือเอกวาดอร์ BAE Buque de la Armada de Ecuador (Ecuadorian Navy Ship)
ธงของประเทศเอสโตเนีย เอสโตเนีย กองทัพเรือเอสโตเนีย ENS (เอสโตเนีย: EML) Estonian Naval Ship (การกำหนดของเนโท)
หน่วยยามฝั่งเอสโตเนีย ECGS Estonian Coast Guard Ship (การกำหนดของเนโท)
ธงของประเทศฟีจี ฟีจี กองทัพเรือสาธารณรัฐฟิจิ RFNS Republic of Fiji Naval Ship
ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ กองทัพเรือฟินแลนด์ FNS Finnish Navy Ship; คำนำหน้ามีไว้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส กองทัพเรือฝรั่งเศส FS French Ship (การกำหนดของเนโท) ; คำนำหน้ามีไว้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน
 เยอรมนี กองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมัน SMS Seiner Majestät Schiff (His Majesty's Ship)
SMU Seiner Majestät Unterseeboot (His Majesty's Submarine)
 ไรช์เยอรมัน ครีคส์มารีเนอ (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ)
ธงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนีตะวันตก บันเดสมารีน FGS Federal German Ship (การกำหนดของเนโท) ; ใช้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน[38]
ธงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี เยอรมนีตะวันออก โวลคส์มารีน
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี กองทัพเรือเยอรมัน FGS Federal German Ship (การกำหนดของเนโท) ; ใช้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน[38]
 กรีซ ราชนาวีกรีซ VP (กรีก: ΒΠ) "Royal Ship" (กรีก: Βασιλικόν Πλοίον, อักษรโรมัน: Vassilikón Ploíon) ; ผู้เขียนภาษาอังกฤษบางคนใช้ RHNS สำหรับ Royal Hellenic Navy Ship หรือ HHMS สำหรับ His Hellenic Majesty's Ship
ธงของประเทศกรีซ กรีซ กองทัพเรือกรีซ HS Hellenic Ship (การกำหนดของเนโท) ; ใช้สำหรับการระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น เนื่องจากคำนำหน้าเรือใช้ในการระบุประเภทเรือภายในกองทัพเอง
ธงของประเทศกายอานา กายอานา หน่วยยามฝั่งกายอานา[39] GDFS Guyanese Defence Forces Ship
 ฮาวาย กองทัพเรือฮาวาย HHMS His Hawaiian Majesty's Ship; มีเพียงลำเดียวเท่านั้น คือเรือไคมิโลอา (Kaimiloa)
ธงของประเทศไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ หน่วยยามฝั่งไอซ์แลนด์ ICGV (Icelandic: VS) Icelandic Coast Guard Vessel, (Icelandic:Varðskip)
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย หน่วยยามฝั่งอินเดีย ICGS Indian Coast Guard Ship
กองทัพเรืออินเดีย INS Indian Naval Ship
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย กองทัพเรืออินโดนีเซีย RI Republik Indonesia (Republic of Indonesia). (ล้าสมัย) คำนำหน้าใช้จนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1960[40]
KRI Kapal Republik Indonesia (เรือของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
KAL Kapal Angkatan Laut (เรือของกองทัพเรือ). สำหรับเรือขนาดเล็กที่มีความยาวน้อยกว่า 36 ม. และทำจากไฟเบอร์กลาส
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย KL Kapal Layar (เรือใบ)
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย KM Kapal Motor (เรือยนต์)
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย KN Kapal Negara (เรือของรัฐ)
อิหร่าน อิหร่านปาห์ลาวี กองทัพเรือจักรวรรดิอิหร่าน IIS[41] Imperial Iranian Ship (เปอร์เซีย: ناو شاهنشاهی ایران)
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน กองทัพเรือสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน IRIS[42] Islamic Republic of Iran ship (เปอร์เซีย: ناو جمهوری اسلامی ایران)
ธงของประเทศไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ กองทัพเรือไอริช Long Éireannach (เรือไอริช)
กรรมาธิการแห่งแสงไอริช ILV Irish Lights Vessel (เรือพี่เลี้ยงประภาคาร)
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล กองทัพเรืออิสราเอล INS Israeli Naval Ship (อักษรย่อภาษาฮีบรูที่ใช้กันภายในคือ אח"י (A.Ch.Y.) ซึ่งย่อมาจาก אניית חיל הים (Oniyat Heyl HaYam – เรือของกองทัพเรือ)
 อิตาลี เรจามารีนา RN Regia Nave – เรือหลวง
R.Smg. Regio Sommergibile – เรือดำน้ำหลวง
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี กองทัพเรืออิตาลี ITS Italian Ship (การกำหนดของเนโท) ; อิตาลีไม่มีการใช้คำนำหน้าเรือในการภายใน
ธงของประเทศจาเมกา จาเมกา กองกำลังป้องกันประเทศจาเมกา HMJS His Majesty's Jamaican Ship
 ญี่ปุ่น กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ)
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น JDS หรือ JS Japanese Defense Ship หรือ Japanese Ship
ธงของประเทศเคนยา เคนยา กองทัพเรือเคนยา KNS Kenyan Naval Ship
ธงของประเทศคิริบาส คิริบาส กองกำลังตำรวจคิริบาส RKS Republic of Kiribati Ship
ธงของประเทศเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ กองทัพเรือประชาชนเกาหลี (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) Does not use any prefixes at all, either for international identification or for ship type indication.
ธงของประเทศคูเวต คูเวต กองทัพเรือคูเวต KNS Kuwait Navy Ship
 จักรวรรดิเกาหลี กองทัพเรือจักรวรรดิเกาหลี KIS Korean Imperial Ship
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี ROKS Republic of Korea Ship
ธงของประเทศลัตเวีย ลัตเวีย กองทัพเรือลัตเวีย LVNS Latvian Naval Ship (การกำหนดของเนโท)
ธงของประเทศลิทัวเนีย ลิทัวเนีย กองทัพเรือลิทัวเนีย LKL Lietuvos Karinis Laivas (Lithuanian Military Ship)
LNS Lithuanian Ship (การกำหนดของเนโท)
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย ราชนาวีมาเลเซีย KD Kapal Di-Raja – His Majesty's Ship, literal: Royal Ship.
KLD Kapal Layar Di-Raja - เรือใบหลวง, literal: Royal Sailing Ship. (ใช้โดย KLD ทูนัส ซามูเดรา)
สำนักงานบังคับทางทะเลมาเลเซีย KM Kapal Maritim – เรือเดินทะเล
ธงของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะมาร์แชลล์ ตำรวจหมู่เกาะมาร์แชลล์ RMIS Republic of the Marshall Islands Ship
ธงของประเทศไมโครนีเชีย ไมโครนีเชีย ตำรวจแห่งชาติไมโครนีเซีย FSM Federated States of Micronesia
ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก กองทัพเรือเม็กซิโก ARM Armada de la República Mexicana
ธงของประเทศพม่า พม่า กองทัพเรือพม่า UMS Union of Myanmar Ship (พม่า: Myanmar Sit Yay Yin)
ธงของประเทศนามิเบีย นามิเบีย กองทัพเรือนามิเบีย NS Namibian Ship
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ราชนาวีเนเธอร์แลนด์ HNLMS (ดัตช์: Zr.Ms./Hr.Ms.) His/Her Netherlands Majesty's Ship (ดัตช์: Zijner/Harer Majesteits)
ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ ราชนาวีนิวซีแลนด์ HMNZS His Majesty's New Zealand Ship
ธงของประเทศไนจีเรีย ไนจีเรีย กองทัพเรือไนจีเรีย NNS Nigerian Naval Ship
ธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์ ราชนาวีนอร์เวย์ HNoMS (นอร์เวย์: KNM) His Norwegian Majesty's Ship (นอร์เวย์: Kongelige Norske Marine), ใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489
HNoMY (นอร์เวย์: KS) His Norwegian Majesty's Yacht (นอร์เวย์: Kongenskipet). เรือลำเดียวที่มีคำนำหน้านี้คือ HNoMY Norge เป็นของกษัตริย์ แต่มีลูกเรือเป็นทหารเรือฃตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491
กษัตริย์แห่งนอร์เวย์ KSJ King's Sloop นอร์เวย์: Kongesjaluppen ใช้กับเรือสำราญติดเครื่องยนต์ขนาดเล็กสองลำชื่อ Stjernen และ Invalid Optional Parameter ทรงเป็นเจ้าของตั้งแต่ พ.ศ. 2442-2483 และ พ.ศ. 2488 ถึงปัจจุบัน
หน่วยยามฝั่งนอร์เวย์ NoCGV (นอร์เวย์: KV) Norwegian Coast Guard Vessel (นอร์เวย์: Kystvakten)
ธงของประเทศโอมาน โอมาน ราชนาวีโอมาน SNV Sultanate Naval Vessel
ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน กองทัพเรือปากีสถาน PNS Pakistan Naval Ship
สำนักงานความมั่นคงทางทะเลปากีสถาน PMSS Pakistan Maritime Security Ship
ธงของประเทศปาเลา ปาเลา ตำรวจปาเลา PSS Palau State Ship
ธงของประเทศปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี กองกำลังป้องกันประเทศปาปัวนิวกินี HMPNGS His/Her Majesty's Papua New Guinea Ship
ธงของประเทศปารากวัย ปารากวัย กองทัพเรือปารากวัย ARP Armada de la República del Paraguay (Navy of the Republic of Paraguay)
ธงของประเทศเปรู เปรู กองทัพเรือเปรู BAP Peruvian Navy Ship (Spanish: Buque Armada Peruana), ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2464
BIC Scientific Research Ship (Spanish: Buque de Investigación Científica)
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ กองทัพเรือฟิลิปปินส์ BRP Barko ng Republika ng Pilipinas; ใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (เรือของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์)
RPS Republic of the Philippines Ship (ล้าสมัย) ; ใช้งานก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ กองทัพเรือโปแลนด์ ORP Okręt Rzeczypospolitej Polskiej
(เรือรบแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์)
ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส กองทัพเรือโปรตุเกส NRP Navio da República Portuguesa (เรือของสาธารณรัฐโปรตุเกส)
PNS Portuguese Navy Ship (การกำหนดของเนโท) ; ไม่เคยใช้เป็นการภายในกองทัพเรือ
UAM Unidade Auxiliar da Marinha – หน่วยสนับสนุนการรบของกองทัพเรือ (ใช่โดยเรือที่ไม่ใช่เรือทางทหารของกองทัพเรือโปรตุเกส)
 ปรัสเซีย กองทัพเรือปรัสเซีย SMS Seiner Majestät Schiff (เรือหลวง)
 โรมาเนีย ราชนาวีโรมาเนีย NMS Nava Majestăţii Sale (เรือหลวง)
ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย กองทัพเรือโรมาเนีย ROS Romanian Ship (การกำหนดของเนโท) ; คำนำหน้ามีไว้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน
SMR Serviciul Maritim Român (Romanian Maritime Service) ; ใช้งานโดยเรือขนส่ง
 รัสเซีย กองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ)
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย กองทัพเรือรัสเซีย RFS Russian Federation Ship (การกำหนดของเนโท) คำนำหน้ามีไว้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน
ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย ราชนาวีซาอุดิอาระเบีย HMS His Majesty's Ship (เหมือนกันกับราชนาวีอังกฤษ)
ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ กองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ RSS Republic of Singapore Ship
ธงของประเทศสโลวีเนีย สโลวีเนีย กองทัพเรือสโลวีเนีย SNS Slovenian Naval Ship (คำนำหน้าตามระบบเนโท)
 หมู่เกาะโซโลมอน ตำรวจหมู่เกาะโซโลมอน RSIPV Royal Solomon Islands Police Vessel
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ กองทัพเรือแอฟริกาใต้ SAS South African Ship/Suid-Afrikaanse Skip (ก่อนหน้านี้ใช้ HMSAS – His/Her Majesty's South African Ship)
SATS South African Training Ship
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต กองทัพเรือโซเวียต (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) ผู้เขียนบางคนใช้ "USSRS" สำหรับ "Union of Soviet Socialist Republics Ship" (รัสเซีย: Корабль Союза Советских Социалистических Республик).[43]
ธงของประเทศสเปน สเปน กองทัพเรือสเปน ESPS Buque de la A Spanish Navy Ship (สเปนไม่ได้ใช้คำนำหน้าเป็นการภายในกองทำ ESPN หรือ SPS ไม่มีการใช้งานแล้ว)
ธงของประเทศศรีลังกา ศรีลังกา กองทัพเรือศรีลังกา SLNS Sri Lanka Naval Ship
หน่วยยามฝั่งศรีลังกา SLCG Sri Lanka Coast Guard
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน กองทัพเรือสวีเดน HMS (English: HSwMS) Hans/Hennes Majestäts Skepp (His/Her Majesty's Ship)
HSwMS (His/Her Swedish Majesty's Ship) ใช้ในภาษาอังกฤษเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับเรือของราชนาวีอังกฤษ
หน่วยยามฝั่งสวีเดน KBV Swedish Coast Guard Vessel (Swedish: Kustbevakningen)
 สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) กองทัพเรือสาธารณรัฐจีน ROCS Republic of China Ship; CNS สำหรับ "Chinese Navy Ship" เคยถูกใช้มาก่อนปี พ.ศ. 2492
 ไทย ราชนาวีไทย HTMS His Thai Majesty's Ship
 ติมอร์-เลสเต กองกำลังป้องกันติมอร์-เลสเต NRTL Navio da República de Timor Leste (เรือของสาธารณรัฐติมอร์เลสเต)
ธงของประเทศตองงา ตองงา หน่วยป้องกันตนเองตองงา VOEA Vaka O Ene Afio (เรือหลวง)
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี กองทัพเรือตุรกี TCG Ship of the Turkish Republic (Turkish: Türkiye Cumhuriyeti Gemisi.)
ธงของประเทศตูวาลู ตูวาลู กองกำลังตำรวจตูวาลู HMTSS His/Her Majesty's Tuvalu Surveillance Ship[44][45]
ธงของประเทศตรินิแดดและโตเบโก ตรินิแดดและโตเบโก กองทัพตรินิแดดและโตเบโก TTS Trinidad and Tobago Ship
 สหราชอาณาจักร เรือบรรทุกไปรษณีย์ RMS Royal Mail Steamer/Ship
เรือสายเคเบิล HMTV His Majesty's Telegraph Vessel
เรือยนต์ MS Motor Ship. เรือสำราญ เช่น เรือ MS Queen Elizabeth ซึ่งไม่ใช่เรือบรรทุกไปรษณีย์
เรือคุ้มครองเรือประมง FPV Fisheries Protection Vessel
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร HMAFV His Majesty's Air Force Vessel (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
เรือของกองเรือสนับสนุนฝ่ายพลเรือน RFA Royal Fleet Auxiliary
เรือของกองกำลังบริการสนับสนุนการเดินเรือ RMAS Royal Maritime Auxiliary Ship (ปัจจุบันล้าสมัย)
กองกำลังสนับสนุนการรบราชนาวี XSV Auxiliary Service Vessel (ปัจจุบันล้าสมัย)
ราชนาวี HM Sloop His Majesty's Sloop (ปัจจุบันล้าสมัย)
HMS His Majesty's Ship/Submarine
HMSm His Majesty's Submarine (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
HMT Hired Military Transport[46][31] (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
His Majesty's Transport/Troopship/Trawler/Tug[47]
HMAV His Majesty's Armed Vessel[48] (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
HMY His Majesty's Yacht (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
HMMGB His Majesty's Motor Gun Boat (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
HMM His Majesty's Monitor (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
HMSML His Majesty's Small Motor Launch
HBMS His Britannic Majesty's Ship (archaic)
HM His Majesty's, then used with the type of ship in military use (e.g. "HM Trawler" or "HM Rescue Tug")
เรือพยาบาล HMHS His Majesty's Hospital Ship
หน่วยบริการฝึกร่วมการเดินเรือยอทช์ (JSASTC) HMSTC His/Her Majesty's Sail Training Craft
ทรินิตี้เฮาส์ THV Trinity House Vessel (เรือพี่เลี้ยงประภาคารและทุ่น)
คณะกรรมการประภาคารภาคเหนือ NLV Northern Lighthouse Vessel (เรือพี่เลี้ยงประภาคาร)
กรรมาธิการแห่งแสงไอริช ILV Irish Lights Vessel (เรือพี่เลี้ยงประภาคาร)
กองทัพบกสหราชอาณาจักร HMAV Her Majesty's Army Vessel[49]
RCLV Royal Corps of Logistics Vessel (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
เรือวิจัยของรัฐบาล RRS Royal Research Ship
กรมรายได้และศุลกากรหลวง / กองกำลังชายแดน HMCC, HMC His Majesty's Customs Cutter ย่อเป็น His Majesty's Cutter หลังจากบางส่วนถูกย้ายไปยังกองกำลังชายแดน
กรมศุลกากรและสรรพสามิตหลวง (แทนที่ด้วย HMRC ด้านบน) HMRC His Majesty's Revenue Cutter (ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ 18 เมษายน พ.ศ. 2548) นอกจากนี้ เรือหลวงลาดตระเวนสรรพากร (ตาม HMRC Vigilant พ.ศ. 2490 ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2503)
 สหรัฐ กองทัพอากาศสหรัฐ USAF, USAFS United States Air Force ship (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
กองทัพบกสหรัฐ (ปัจจุบัน) USAS United States Army Ship (ปัจจุบัน)
USAV United States Army Vessel (ปัจจุบัน)
กองทัพบกสหรัฐ (เชิงประวัติศาสตร์)
USAT United States Army Transport (กองทัพบกสหรัฐเช่าเหมาลำเรือเปล่าสำหรับขนส่งกำลังพลหรือสินค้า ไม่ได้ใช้หลังปี 1950)
USACT United States Army Chartered Transport (ใช้สงครามโลกครั้งที่ 1 บางเวลาหรือการเดินทางเรือเช่าเหมาลำเท่านั้น; เช่น Artemis พ.ศ. 2460—2462)
USAMP U.S. Army Mine Planter (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
USAJMP U.S. Army Junior Mine Planter (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
U.S. Army เรือที่ไม่ได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น: เรือลากจูง, FS, Q, P เป็นต้น (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
USAHS United States Army Hospital Ship (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
กองทัพเรือสหรัฐ USF United States Frigate (ล้าสมัย)
USFS United States Flagship (ล้าสมัย)
USS United States Ship – เรือรบประจำการเท่านั้น[8]
USNV United States Naval Vessel (เรือสาธารณูปโภคขนาดเล็ก ไม่ใช่ MSC ดำเนินการโดยคำสั่งท้องถิ่น)[50]
กองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ (MSC) USNS United States Naval Ship (กองทัพเรือสหรัฐเป็นเจ้าของ มีลูกเรือเป็นพลเรือน)
ยามฝั่งสหรัฐ USCGC United States Coast Guard Cutter
USCGD United States Coast Guard Destroyer (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน)
องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ NOAAS National Oceanic and Atmospheric Administration Ship
หน่วยสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา USC&GS United States Coast and Geodetic Survey (ล้าสมัย) ; บางครั้งมีการใช้ "S" ตัวที่สองสำหรับ "เรือสำรวจ"
สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ US EPA United States Environmental Protection Agency; ไม่มีการใช้ "S" สำหรับ "เรือ"
คณะกรรมการปลาและการประมงสหรัฐ USFC United States Fish Commission (ล้าสมัย) ; ชื่อทางการที่ใช้กันทั่วไปสำหรับคณะกรรมการ ไม่มีการใช้ "S" สำหรับ "เรือ"
สำนักการประมงสหรัฐ USFS United States Fisheries Service (ล้าสมัย) ; ชื่ออื่นที่ไม่เป็นทางการของสำนัก ไม่มีการใช้ "S" สำหรับ "เรือ"
องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ US FWS United States Fish and Wildlife Service; ไม่มีการใช้ "S" สำหรับ "เรือ"
หน่วยบริการประภาคารสหรัฐ USLHT United States Lighthouse Tender (ล้าสมัย)
หน่วยสรรพากรทางทะเลสหรัฐ (พ.ศ. 2333–2437) กองเรือรัษฎากรสหรัฐ (พ.ศ. 2437–2458) USRC United States Revenue Cutter (ล้าสมัย)
ธงของประเทศอุรุกวัย อุรุกวัย กองทัพเรืออุรุกวัย ROU República Oriental del Uruguay
ธงของประเทศวานูวาตู วานูวาตู กองกำลังตำรวจวานูอาตู RVS Republic of Vanuatu Ship
ธงของประเทศเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา กองทัพเรือเวเนซุเอลา FNV Fuerzas Navales de Venezuela ไม่ได้ใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492
ARV Armada República de Venezuela ไม่ใช้งาน พ.ศ. 2542
ARBV Armada República Bolivariana de Venezuela
ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม กองทัพเรือประชาชนเวียดนาม VPNS เรือกองทัพเรือประชาชนเวียดนาม (ไม่เคยใช้; บางครั้งใช้โดยสื่อต่างประเทศหรือกองทัพเรือเพื่อตั้งชื่อเรือ แต่ไม่เคยใช้เป็นทางการและยอมรับภายในจากเจ้าหน้าที่เวียดนามและสื่อของรัฐ)
 เวียดนามใต้ กองทัพเรือสาธารณรัฐเวียดนาม RVNS เรือกองทัพเรือสาธารณรัฐเวียดนาม หรือ เรือสาธารณรัฐเวียดนาม (ล้าสมัย)
 ยูโกสลาเวีย ราชนาวียูโกสลาเวีย KB เซอร์เบีย: Краљевски брод, อักษรโรมัน: Kraljevski brod (English: Royal Ship, เรือหลวง)
 สังคมนิยมยูโกสลาเวีย
 ยูโกสลาเวีย
 เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
Jugoslovenska Ratna Mornarica JRM (English: Yugoslavia war navy, กองทัพเรือสงครามยูโกสลาเวีย) กองทัพเรือยูโกสลาเวีย พ.ศ. 2512–2535

Ratna Mornarica Vojske Jugoslavije RМVЈ (English: War navy of Yugoslavia Armed Forces, กองทัพเรือสงครามของกองทัพยูโกสลาเวีย) พ.ศ. 2535–2003

RTOP Raketna Topovnjača or Ракетна Топовњача (English: Rocket gunship, เรือขีปนาวุธติดปืนกล), ตั้งชื่อโดยวีรบุรุษของประชาชนยูโกสลาเวีย
Raketni Čamac or Ракетни Чамац (English: Rocket boat, เรือขีปนาวุธ), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อโดยวีรบุรุษของประชาชนยูโกสลาเวีย
VPBR Veliki Patrolni Brod or Велики Патролни Брод (English: Big patrol ship,เรือลาดตรวจการณ์ขนาดใหญ่), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อตามเมืองชายฝั่งยูโกสลาเวีย
Torpedni Čamac or Торпедни Чамац (English: Torpedo boat, เรือตอร์ปิโด), พ.ศ. 2512–2535
Patrolni Čamac or Патролни Чамац (English: Patrol boat, เรือตรวจการณ์), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อตามภูเขา
PO Pomoćni Oružar or Помоћни Оружар (English: Auxiliary аrmourer, เรือช่วยรบยานเกราะ), พ.ศ. 2512–2535
RML Rečni minolovac or Речни миноловац (English: River minesweepers, เรือกวาดทุ่นระเบิดลำน้ำ), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อตามสถานที่ที่มีการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สอง
RPB Rečni patrolni brod or Речни патролни брод (English: River patrol boat เรือตรวจการณ์ลำน้ำ), พ.ศ. 2512–2535
P Podmornica or Подморница (English: Submarine, เรือดำน้ำ), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อตามแม่น้ำหรือคุณสมบัติของมนุษย์
Razarač Eskortni or Разарач Ескортни (English: Escort destroyer), พ.ศ. 2512–2535
PT Pomoćni transportni or Помоћни транспортни (English: Auxiliary transport, เรือขนส่งช่วยรบ), พ.ศ. 2512–2535
Desantni čamci or Десантни чамци (English: Landing craft, เรือระบายพล), พ.ศ. 2512–2535

แบบแผนการใช้คำนำหน้า[แก้]

การกำหนดสำหรับเรือของสหราชอาณาจักรนั้น มีการใช้งานในช่วงเวลาของจักรวรรดิอังกฤษ ก่อนที่จะมีการจัดตั้งกองทัพเรือแยกออกมาโดยเฉพาะสำหรับแต่ละประเทศในเครือจักรภพ

ในกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ HNLMS เป็นคำนำหน้าในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับในภาษาดัตช์คือ Hr.Ms. หรือ Zr.Ms. ซึ่งไม่ควรใช้ Hr.Ms. ในเอกสารภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามมันมักจะถูกพบเห็นในการใช้งานบนเวิลด์ไวด์เว็บ จนกระทั่งเรือถูกนำเข้าประจำการในกองเรืออย่างเป็นทางการ ชื่อของเรือจึงจะถูกใช้งานโดยไม่มีคำนำหน้า[51] โดยนับตั้งแต่สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556 คำนำหน้า Hr.Ms. ก็ถูกแทนที่ด้วย Zr.Ms.

ในออสเตรเลีย คำนำหน้า NUSHIP จะถูกใช้งานเพื่อแสดงถึงเรือที่ยังไม่ได้เข้าประจำการในกองเรือ[52]

ในสหรัฐ คำนำหน้าทั้งหมดนอกเหนือจาก USS, USNS, USNV และ USRC ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2444 เมื่อประธานาธิบดี ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ออกคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อแก้ไขระบบการตั้งชื่อในกองทัพเรือสหรัฐ[8] โดย USRC ถูกแทนที่ด้วย USCGC เมื่อกองเรือรัษฎากรสหรัฐ ได้รวมเข้ากับ หน่วยช่วยชีวิตของสหรัฐ เพื่อกลายเป็นหน่วยยามฝั่งสหรัฐในปี พ.ศ. 2458[53] ซึ่ง USLHT ก็ถูกแทนที่ด้วย USCGC เมื่อหน่วยบริการประภาคารสหรัฐถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยามฝั่งในปี พ.ศ. 2482 ในขณะที่ USC&GS ถูกแทนที่ด้วย NOAAS เมื่อหน่วยสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาถูกรวมเข้ากับหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐอีกหลายหน่วย เพื่อจัดตั้งองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ในปี พ.ศ. 2513 จากนั้น USFC ได้ถูกแทนที่ด้วย USFS หลังจากมีการจัดระเบียบคณะกรรมาธิการปลาและการประมงของสหรัฐใหม่ในปี พ.ศ. 2446 และขณะเดียวกัน USFS ก็ถูกแทนที่ใหม่โดย US FWS หลังจากสำนักงานประมงถูกรวมเข้ากับแผนกสำรวจทางชีวภาพของกระทรวงมหาดไทยสหรัฐ เพื่อจัดตั้งกรมบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งกระทรวงมหาดไทย (ซึ่งต่อมา พ.ศ. 2499 ได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็นองค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ) ซึ่งเรือเดินทะเลขององค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐใช้คำนำหน้าว่า US FWS ซึ่งเคยเป็นคำที่ถูกโอนไปยังองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติเพื่อใช้ NOAAS เมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งหน่วยงาน

สำหรับเรือของกองทัพเรือสหรัฐที่ไม่ได้อยู่ในประจำการ จะไม่ได้ถูกเรียกชื่อว่าเรือของสหรัฐ (United States Ship) ซึ่งจะเรียกเพียงชื่อเปล่า ๆ ไม่มีคำนำหน้า ทั้งช่วงก่อนเข้าประจำการในกองเรือและหลังปลดประจำการ[8] เช่น เรือในอู่เรือและท่าเรือที่ไม่ได้ใช้งานและยังอยู่ในสถานะประจำการ จะถูกเรียกอย่างเป็นทางการตามชื่อเรือหรือหมายเลขตัวเรือโดยไม่มีคำนำหน้า[8] โดยก่อนเข้าประจำการ เรือจะถูกอธิบายว่าเป็นหน่วยเรือก่อนประจำการ หรือ PCU ตัวอย่าง เช่น เรือ ยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด ได้ถูกกำหนดให้เป็น หน่วยเตรียมการประจำการ (PCU) เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด ก่อนที่จะเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2560[54][8] ส่วนกองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ (MSC) ซึ่งเป็นเรือที่มีลูกเรือเป็นพลเรือนและอยู่ในสถานะประจำการ จะได้รับคำนำหน้าว่า USNS มาจากคำว่า เรือกองทัพเรือสหรัฐ (United States Naval Ship) [8]

เมื่อเรือถูกแยกออกมาจากรายชื่อของกองเรือ โดยทั่วไปแล้วเรือจะใช้คำนำหน้าว่า ex- เพิ่มเข้าไปในชื่อ เพื่อแยกให้เห็นความต่างระหว่างเรือที่ยังใช้งานอยู่ซึ่งมีชื่อเดียวกัน เช่น หลังจากเรือ ยูเอสเอส คอนสเตลเลชั่น (CV-64) ปลดประจำการในปี พ.ศ. 2546 เรือจะถูกเรียกว่า เอกซ์ คอนสเตลเลชั่น (ex-Constellation)

ในนิยายวิทยาศาสตร์[แก้]

คำนำหน้าแบบอักษรสามตัวที่ถูกใช้งานในนิยายมักถูกใช้ในนิยายวิทยาศาสตร์ภาษอังกฤษ โดยใช้งานกับเรือเดินทะเลและยานอวกาศ เช่น

  • สตาร์ เทรคสหพันธ์แห่งดวงดาว (United Federation of Planets) ใช้คำนำหน้าว่า USS สำหรับยาวอวกาศ โดยจากบทสนทนาในช่วงต้นของซีรีส์ระบุว่ามันย่อมาจาก "United Space Ship"[55] ในขณะที่ในจักรวาลกระจก (Mirror Universe) จักรวรรดิเทอร์แรน (Terran Empire) ใช้คำนำหน้าว่า ISS แทน โดยที่เผ่าพันธ์อื่น ๆ ในคำนำหน้าที่แตกต่างกันสำหรับยานของตน
    • คลิงงอน (Klingon) ใช้ IKS (Imperial Klingon Ship) หรือ IKC (Imperial Klingon Cruiser)
    • โรมูลัน (Romulan) โดยทั่วไปจะใช้คำนำหน้าว่า IRW (Imperial Romulan Warbird) หรือ RIS ซึ่งมีการคาดเดาว่ามาจาก "Romulan Imperial Ship" และ ChR (ChR มาจากจินตนาการของผู้เขียนนวนิยาย ไดแอน ดูแอน ในจักรวาลของ สตาร์ เทรค ซึ่งชาวโรมูลันเรียกดาวเคราะห์บ้านเกิดของตนเองว่า "Ch'Rihan" ซึ่งแม้ว่าในเวอร์ชันของดูแอนจะมีแฟน ๆ จำนวนมากติดตาม แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องหลักอย่างเป็นทางการของ สตาร์ เทรค ทำนองเดียวกับการกำหนดคำนำหน้าของ ฟาเรนกี (Ferengi) ที่ใช้คำนำหน้าว่า FMS และ คาร์แดสเซีย (Cardassian) ที่ใช้คำนำหน้าว่า CDS ก็ไม่ใช่เนื้อหาทางการเช่นกัน)
  • สตาร์ วอร์สจักรวรรดิกาแลกติก (Galactic Empire) บางครั้งใช้คำนำหน้าว่า ISD มาจากคำว่า Imperial Star Destroyer หรือชื่อเรียกของยานพิฆาตดารา
  • เดดสเปชUSG ย่อมาจาก "United Spacefaring Guild" ซึ่งเป็นผู้ดูแลการปฏิบัติงานของยานอวกาศของพลเรือน รวมไปถึงยานขุดเจาะทรัพยากรชั้นนำอย่าง USG Ishimura ของ Concordance Extraction Corporation USM สำหรับกองกำลังป้องกันโลกของ EarthGov และ CMS สำหรับศัตรูเก่าคือ Sovereign Colonies Armed Forces
  • เกมไททันฟอลล์ – บริษัท Interstellar Manufacturing Corporation ซึ่งเป็นศัตรูหลักในซีรีส์เกมนี้ ใช้คำนำหน้าว่า IMS โดยไม่ทราบที่มาของคำนำหน้านี้
  • เกมฟรีสเปซ (Descent: FreeSpace – The Great War) – คำนำหน้าเรือต่าง ๆ ถูกเลือกใช้งานตามสายพันธุ์ ความจงรักภักดีต่อฝ่าย และระดับของยานพาหนะ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ GT และ GV สำหรับ "Galactic Terran" และ "Galactic Vasudan" ตามลำดับ NT สำหรับ "Neo-Terran" "PV" สำหรับ "Parliamentary Vasudan" และเพียง S สำหรับ "Shivan” จากนั้นคำนำหน้าจะถูกเติมด้วยประเภทและหน้าที่ของเรือตามหลังอักษรชุดแรกที่ระบุสายพันธุ์หรือฝ่าย เช่น B สำหรับ "Bomber" C สำหรับ "Cruiser" Cv สำหรับ "Corvette" D สำหรับ "Destroyer ," และ F สำหรับ "Fighter" จากที่กล่าวมาทั้งหมด เมื่อนำมาประกอบรวมกัน จะสามารถยกตัวอย่างคำนำหน้าเต็ม ๆ ได้ เช่น
    • PVD จะหมายถึง "Parliamentary Vasudan Destroyer"
    • NTF จะหมายถึง "Neo-Terran Fighter"
    • GTC จะหมายถึง "Galactic Terran Cruiser"
    • GVCv จะหมายถึง "Galactic Vasudan Corvette"
    • SB จะหมายถึง "Shivan Bomber"

อ้างอิง[แก้]

  1. "เรือรบญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ ทดสอบต่อต้านขีปนาวุธนอกชายฝั่งฮาวาย". mgronline.com. 2022-12-16.
  2. "ไทย-สหรัฐฯ ร่วมการฝึกการัตประจำปี 2565 เพื่อยกระดับความร่วมมือทางทะเล - สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย". th.usembassy.gov.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "u-s-s คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย อ.สอ เสถบุตร". www.sanook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "What Does SS Stand for on a Ship?". Reference.com. 28 March 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2022. screw steamer. It was originally used to distinguish a screw steamer from a paddle steamer, which was called a PS
  5. Megoran, John (2017). PS Kingswear Castle. Amberley Publishing. ISBN 978-1-4456-6558-0.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 vessels, Dmitry ShafranI worked as an officer in the deck department on various types of; Oil, Including; Tankers, Chemical; carriers, L. P. G.; Reefer, Even; cargo, TSHD in the early years Currently employed as Marine Surveyor carrying; draft; bunker; LinkedIn, warranty survey You can find me on (2022-08-20). "What Is MV, MT, SS, FV Ship Prefix Meaning? - Maritime Page". maritimepage.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. Roosevelt, Theodore (8 January 1907). Executive Order 549. Washington, DC: President of the United States.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 Naval History And Heritage Command.
  9. "Ship Naming". Naval History and Heritage Command (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-11-04.
  10. "China People's Liberation Army Navy PLAN - seaforces online". www.seaforces.org.
  11. "Navies of Europe". www.globalsecurity.org.
  12. "Russian Federation Navy - seaforces online". www.seaforces.org.
  13. "Pennant number". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-20. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  14. "Hull Classification Symbols". www.nvr.navy.mil.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. Adams, Harry (2022-12-23). "What are the numbers on the side of Royal Navy ships and why are they there?". Forces Network (ภาษาอังกฤษ).
  16. Dasgupta, Soumyajit (4 March 2013). "What are Ship Prefixes for Navy and Merchant Vessels?". Marine Insight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-10-30.
  17. 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 "Maritime Acronyms and Abbreviations". Royal Institution of Naval Architects. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2016.
  18. "Coastal Research Vessel | Titagarh". titagarh.in (ภาษาอังกฤษ).
  19. "ความรู้เรื่องท่าเรือและเรือ". kasemonline (ภาษาอังกฤษ). 2015-05-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  20. Tait+, Roy (2010-08-05). "DEPV Talisman - The One and Only". Paddle Steamer Preservation Society (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-24. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  21. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ชื่อโครงการ โครงการผลิตปิ โตรเลียมของบริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด แหล่งสุรินทร์แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G4/43[ลิงก์เสีย]
  22. "DLB (Derrick Lay Barge) Kuroshio-2 (K2) | NIPPON STEEL ENGINEERING". www.eng.nipponsteel.com.
  23. "Offshore Fleet - Deepwater construction vessel (DCV)". offshore-fleet.com.
  24. "PANTIP.COM : X12509135 รีวิวเรือ! Mermaid Endurer @Diving Vessel เรือลำนี้มันสุดยอดจริงๆ [วิศวกรรมและเทคโนโลยี]". topicstock.pantip.com.
  25. "Diving Support Vessel (DSV) Archives - Seamoor Marine & Engineering" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  26. "Deep Submergence Vehicles - Navy Ships". man.fas.org.
  27. ""Dead Vessel" doctrine". USLegal.com. US Legal, Inc. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.
  28. 28.0 28.1 "Ship Prefix Glossary – continued". richatlanticinterserv.com. Rich Atlantic International Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2012. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.
  29. "FPSO to Platform – Offshore Oil & Gas". DEXON Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  30. "ฟังจากผู้เชี่ยวชาญ สาเหตุไม่ใช้ "เรือเครน" ย้ายเรือสินค้ายักษ์ขวางคลองสุเอซ". m.mgronline.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. 31.0 31.1 "Troopship". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-07. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22. The designation HMT (Hired Military Transport) ...
  32. "HSF Festos Palace - Alchetron, The Free Social Encyclopedia". Alchetron.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-08-18.
  33. "Integrated Tug Barge (ITB) / Tug/Barge Unit (TBU)". www.globalsecurity.org.
  34. RSV Aurora Australis 1989–2020 Australian Antarctic Division, 25 January 2017. Retrieved 26 February 2021.
  35. "Submarine and Special Warfare Support Vessel". Military Sealift Command. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 3 December 2010.
  36. "Ships of CalMac". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-28. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  37. Royal Australian Navy. "MSA Brolga". navy.gov.au. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
  38. 38.0 38.1 "FGS Hessen factsheet" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-26. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
  39. "About the Coast Guard". 4 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2010. สืบค้นเมื่อ 21 March 2010.
  40. Jalesveva Jayamahe (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta: Djawatan Penerangan Angkatan Laut (Indonesian Navy Information Service). 1960.
  41. Moore, John, บ.ก. (1979). Jane's Fighting Ships 1979–80. London: Jane's Yearbooks. p. 253. ISBN 0-354-00587-1.
  42. Mazumdar, Mrityunjoy (8 January 2020). "Iranian navy upgrades Alborz frigate with new combat systems". Janes.com. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
  43. "Russian and Soviet Navy Battleships". frontier.com. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
  44. The Naval Institute Guide to Combat Fleets of the World, Naval Institute Press, 2002, p. 848
  45. Defense & Foreign Affairs Handbook, Perth Corporation, 2002, p. 1754
  46. "1941 Dunera Boys Hay Internment Camp Collection". NSW Migration Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
  47. Clark, D; Others (31 July 2017). "Glossary". 211squadron.org. สืบค้นเมื่อ 10 January 2021.
  48. "List of Acronyms Preceding the Name of a Ship". 22 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
  49. Habesch, The Army's Navy, p. 154
  50. Naval Undersea Warfare Center (NUWC) (25 July 2012). "Dry Dock and overhaul of USNV Battle Point YTT-10". Navy Electronic Business Opportunities. สืบค้นเมื่อ 7 April 2015.
  51. Circulaire Zeemacht 1569cc (1988).
  52. Dasgupta, Soumyajit. "What are Ship Prefixes for Naval and Merchant Vessels?". สืบค้นเมื่อ 25 August 2014.
  53. United States Coast Guard Historian's Office.
  54. "PCU Gerald R. Ford (CVN 78) Welcomes 60 New Crew Members" (Press release). Navy News Service. 6 June 2013. NNS130606-12. สืบค้นเมื่อ 24 July 2016.
  55. Star Trek episode "Space Seed", Season 1 Ep 22, scene with McCoy and Khan in sickbay (1967-02-16).

แหล่งที่มา[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]