คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Faculty of Fine Arts,
Srinakharinwirot University
สถาปนาพ.ศ. 2536
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์
ที่อยู่
สีสีน้ำตาล
เว็บไซต์fofa.swu.ac.th

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นคณะที่ได้รับงบประมาณสูงสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2511 ในยุคแรกเริ่มนั้น คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นเพียงแผนกหนึ่งในคณะวิชาการศึกษา โดยมีศาสตรจารย์พิเศษอารี สุทธิพันธุ์ เป็นผู้ผลักดันให้เกิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ศิลปศึกษา (Art Education) ขึ้นในแผนกศิลปศึกษา คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เท่านั้น
  • พ.ศ. 2517 เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ได้รับการยกระดับฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนั้น แผนกศิลปศึกษาที่เคยมีอยู่ดั้งเดิมก็ได้พัฒนากลายเป็นภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม สังกัดคณะมนุษยศาสตร์

นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) วิชาเอกศิลปศึกษา ที่มีอยู่แต่เดิมแล้วนั้น ยังได้เพิ่มหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) วิชาเอกศิลปะ ซึ่งวิชาเอกศิลปะนี้เน้นหนักไปทางการผลิตทรัพยากรบุคคลดิ่งเดี่ยวเฉพาะทาง เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบสายพานอุตสาหกรรมท่ามกลางกระแสลัทธิสมัยใหม่ โดยเป็นหลักสูตรในเชิงบูรณาการที่ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพได้กว้าง และสอดรับกับความต้องการของแต่ละบุคคล

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรทั้งสองก็เปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านทัศนศิลป์ (Visual Art) และการออกแบบสื่อสาร (Communication Design) เป็นด้านหลัก อีกทั้งยังกำหนดให้เรียนวิชาโทที่เปิดสอนภายนอกภาควิชาและภายนอกคณะ โดยวิชาโทจะเป็นวิชาที่ช่วยขยายรากฐานให้กว้างขึ้น และ/หรือ เป็นแรงผลักดันวิชาชีพหรือวิชาเอกอีกด้วย

ในปีเดียวกัน ก็ได้เปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกดุริยางคศาสตร์ไทยและดุริยางคศาสตร์สากล ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ ในคณะมนุษยศาสตร์เช่นกัน

  • พ.ศ. 2536 จากภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ ได้สถาปนาขึ้นเป็น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ทั้งหมด 6 ภาควิชา 14 วิชาเอก ได้แก่ ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาดุริยางคศาสตร์สากล ภาควิชาทัศนศิลป์ ภาควิชาทัศนศิลปศึกษา ภาควิชาออกแบบทัศนศิลป์ และภาควิชาศิลปะการแสดง และมีการเปิดสอนในระดับปริญญาโท 3 วิชาเอก ภายใต้การบริหารจัดการของงานบัณฑิตศึกษา
  • พ.ศ. 2543 คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการทางวิชาการใหม่ โดยจัดการบริหารจัดการในระดับปริญญาตรีเป็น 3 มิติ ดังนี้

มิติที่หนึ่ง: สาขาวิชาคณะกรรมการประจำสาขาวิชา
มิติที่สอง: หลักสูตรคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
มิติที่สาม: เครือข่ายวิชาคณะกรรมการเครือข่ายวิชา

หลักการ "คณะศิลปกรรมศาสตร์บริหารทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรวัตถุ และทรัพยากรความรู้ ร่วมกัน เพื่อการลงทุนต่ำสุดให้มีประสิทธิภาพและผลงานสูงสุด"

ปรัชญา "สร้างสรรค์ด้วยปัญญาธรรม"

โดยบุคลากรวิชาการสามารถเป็นกรรมการบริหารหลักสูตรได้สูงสุด 3 หลักสูตร ทำหน้าที่ สอน ค้นคว้า วิจัย บริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ข้ามสาขาวิชาได้

  • พ.ศ. 2545 คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีใน 15 วิชาเอกด้วยกัน ได้แก่

หลักสูตร ศป.บ. (ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต)
- วิชาเอกศิลปะจินตทัศน์
- วิชาเอกศิลปศึกษา
- วิชาเอกการออกแบบสื่อสาร
- วิชาเอกการออกแบบผลิตภัณฑ์
- วิชาเอกการออกแบบแฟชั่น
- วิชาเอกศิลปะเครื่องประดับ
- วิชาเอกเซรามิกส์
- วิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง
- วิชาเอกการออกแบบเพื่อการแสดง
- วิชาเอกนาฏศิลป์ไทย
- วิชาเอกนาฏศิลป์สากล
- วิชาเอกดนตรีคลาสสิค
- วิชาเอกดนตรีร่วมสมัย
- วิชาเอกดนตรีเพื่อธุรกิจ

หลักสูตร กศ.บ. (การศึกษาบัณฑิต)
- วิชาเอกดุริยางคศาสตร์ไทย
- วิชาเอกดุริยางคศาสตร์สากล
- วิชาเอกศิลปศึกษา
- วิชาเอกนาฏศิลป์

เปิดสอนระดับปริญญาโทใน 4 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาศิลปศึกษา
- สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา
- สาขาวิชาทัศนศิลป์ (ศิลปะสมัยใหม่)
- สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ

และเปิดสอนระดับปริญญาเอกใน 2 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรมวิจัย
- สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา

  • พ.ศ. 2547 คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ยุบวิชาเอกศิลปศึกษา ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิตลง และขยายเป็นวิชาเอกดุริยางคศาสตร์ศึกษา วิชาเอกทัศนศิลปศึกษา และวิชาเอกศิลปะการแสดงศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตแทน เพื่อสร้างบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดศิลปวิทยาการแก่เยาวชนในรุ่นหลังแทน และเพื่อนเป็นการผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของสังคมมากขึ้น

หน่วยงาน[แก้]

ตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฉบับที่ 10/2559 เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงาน พ.ศ. 2559[ลิงก์เสีย] นั้น ได้มีการแบ่งหน่วยงานในคณะศิลปกรรมศาสตร์เป็น 10 หน่วยงาน ดังนี้

หลักสูตร[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ดูบทความหลักที่ รายชื่อบุคคลจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]