คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Faculty of Pharmacy,
Srinakharinwirot University
อาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
สถาปนา25 มกราคม พ.ศ. 2539
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร. สุวรรณา วรรัตน์
ที่อยู่
63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
วารสารศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร
สีสีเขียวมะกอก
มาสคอต
งูพันถ้วยยาไฮเกียและเฉลว
สถานปฏิบัติศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ร้านยา มศว, ร้านยา มศว 2
เว็บไซต์pharmacy.swu.ac.th

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 9 และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้บรรจุโครงการการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ไว้เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนามหาวิทยาลัย วิทยาเขตองครักษ์ ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและทบวงมหาวิทยาลัย โดยลงประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งถือเป็นวันก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารคณะเภสัชศาสตร์ ณ วิทยาเขตองครักษ์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

หน่วยงาน[แก้]

ตามประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฉบับที่ 10/2559 เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงาน พ.ศ. 2559[ลิงก์เสีย] นั้น ได้มีการแบ่งหน่วยงานในคณะเภสัชศาสตร์เป็น 7 หน่วยงาน ดังนี้

  1. สำนักงานคณบดี
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
  3. สาขาวิชาเภสัชเคมี
  4. สาขาวิชาเภสัชเวท
  5. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
  6. สาขาวิชาชีวเภสัชศาสตร์
  7. สาขาวิชาเภสัชกรรมสังคม

สาขาวิชา[แก้]

ชีวเภสัชศาสตร์เป็นการศึกษาพื้นฐานสำหรับวิชาชีพเภสัชกกรมและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น
  1. ชีวเคมี
  2. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
  3. เภสัชวิทยา
  4. พิษวิทยา
  5. จุลชีววิทยา
  6. พยาธิวิทยา
เทคโนโลยีเภสัชกรรม
เป็นการศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีการผลิตยาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาในประเทศไทย เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานในอุตสาหกรรมยา นอกจากนี้นิสิตยังมีโอกาสได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งเครื่องสำอางซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ด้วย
เภสัชเคมีและเภสัชเวท
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางเคมีของยากับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของยา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ทั้งที่นำมาใช้ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
เภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมสังคม
นิสิตจะได้เรียนรู้การใช้ยาที่เหมาะสมในโรคต่าง ๆ ทั้งยังได้ฝึกทักษะการประเมินปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา แนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น ๆ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบยา การคุ้มครองผู้บริโภค และระบบธุรกิจทางยาด้วย

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี[แก้]

  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเภสัชภัณฑ์ (หลักสูตร 6 ปี)
  • หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาบริบาลทางเภสัชกรรม (หลักสูตร 6 ปี)

ปริญญาโท[แก้]

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการองค์กรเภสัชกรรม

ระบบการศึกษา[แก้]

  1. การศึกษาในสองปีหลังของหลักสูตร (ปีที่ 5 และ 6)
  2. สำหรับรายวิชาทั่วไป ระบบการศึกษาจะเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2543
  3. สำหรับรายวิชาการฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมจะแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มหมุนเวียนกันเพื่อฝึกปฏิบัติงานในแต่ละรายวิชาในแหล่งฝึกที่ทางคณะจัดให้

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]