โชติ ตราชู
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
โชติ ตราชู | |
---|---|
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2505 ขอนแก่น, ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ข้าราชการ |
แบบแผนการกล่าวถึง | ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
ตำแหน่ง | ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
โชติ ตราชู เริ่มรับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2528 ที่กรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังจากนั้นโอนย้ายไปสังกัดกรมทรัพยากรธรณีวิทยา กระทรวงอุตสาหกรรม ต่อมาในยุคปฏิรูปราชการ 2545 ได้ย้ายรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรณ์น้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากนั้นขยับขึ้นเป็นอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลโดยครองตำแหน่งอธิบดีได้เพียง 11 เดือนก็ขึ้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในยุคที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงที่อายุครั้งแรก อายุ 48 ปี ต่อมาในยุค คสช.ที่มีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี เขาถูกสั่งย้ายด่วนเข้ากรุตามคำสั่งนายกฯ หัวหน้า คสช ในปี 2557 ไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะรับการแต่งตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอีกครั้งที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ประวัติ
[แก้]เกิดที่ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
การศึกษา
[แก้]- ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2562 - 2565 ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2562-2565 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- พ.ศ. 2557-2562 ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2553-2557 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- พ.ศ. 2552-2553 อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- พ.ศ. 2550-2552 รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
- พ.ศ. 2548-2550 ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๖๑, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕