แดพโซน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Aczone |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a682128 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | รับประทาน, ใช้เฉพาะจุด |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 70 ถึง 80% |
การจับกับโปรตีน | 70 ถึง 90% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ทางตับ (ส่วนใหญ่ CYP2E1-mediated) |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 20 ถึง 30 ชั่วโมง |
การขับออก | ตับ |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.001.136 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C12H12N2O2S |
มวลต่อโมล | 248.302 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
จุดหลอมเหลว | 175 ถึง 176 องศาเซลเซียส (347 ถึง 349 องศาฟาเรนไฮต์) |
| |
| |
(verify) | |
แดพโซน (Dapsone) หรือ ไดอามิโนไดเฟนิล ซัลโฟน (Diaminodiphenyl sulfone) หรือย่อว่า DDS[1] เป็นยาปฏิชีวนะใช้ร่วมกับยาไรแฟมพิซินและ Clofazimine เพื่อรักษาโรคเรื้อน[2] และเป็นยารองสำหรับใช้รักษาและป้องกันโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติส จิโรเวซิไอ และใช้ป้องกันโรคท็อกโซพลาสโมซิสในผู้ป่วยที่เป็นภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจากนี้ ยังถูกใช้สำหรับรักษาสิว, ผิวหนังอักเสบจากเริม ตลอดจนโรคผิวหนังอื่น ๆ[3] สามารถรับยานี้ได้โดยการรับประทาน[4]
ผลข้างเคียงทั่วไปอาทิ คลื่นไส้, ไม่อยากอาหาร[4] ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงเช่น เซลล์เม็ดเลือดลดลง หรือ เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัวในผู้ป่วยที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD หรือโรคภูมิไวเกิน[2] ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับควรหลีกเลี่ยงใช้ยานี้ ยังไม่มีการศึกษาในมนุษย์ว่ายาชนิดนี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์หรือไม่[2]
แดพโซนถูกศึกษาและระบุว่ามีฤทธิเป็นยาปฏิชีวนะใน ค.ศ. 1937 และเริ่มใช้เป็นยารักษาโรคเรื้อนในปี ค.ศ. 1945 แดพโซนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก[5] เป็นยาที่มีประสิทธิผลและปลอดภัยมากชนิดหนึ่ง ปัจจุบันมีวางจำหน่ายในฐานะยาสามัญและมีราคาไม่แพงมากนัก[2][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thomas L. Lemke (2008). Foye's Principles of Medicinal Chemistry. Lippincott Williams & Wilkins. p. 1142. ISBN 978-0-7817-6879-5.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Dapsone". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2015.
- ↑ Zhu, YI; Stiller, MJ; และคณะ (2001). "Dapsone and sulfones in dermatology: overview and update". Journal of the American Academy of Dermatology. 45 (3): 420–34. doi:10.1067/mjd.2001.114733. PMID 11511841.
- ↑ 4.0 4.1 Joel E. Gallant (2008). Johns Hopkins HIV Guide 2012. Jones & Bartlett Publishers. p. 193. ISBN 978-1-449-61979-4.
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2016.
- ↑ Greenwood, David (2008). Antimicrobial Drugs: Chronicle of a Twentieth Century Medical Triumph. Oxford University Press. p. 197. ISBN 978-0-19-953484-5.