ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลตำบลบางละมุง

พิกัด: 13°1′2.77″N 100°55′47″E / 13.0174361°N 100.92972°E / 13.0174361; 100.92972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลบางละมุง
สถานีรถไฟบางละมุง
สถานีรถไฟบางละมุง
ทต.บางละมุงตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ทต.บางละมุง
ทต.บางละมุง
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลบางละมุง
พิกัด: 13°1′2.77″N 100°55′47″E / 13.0174361°N 100.92972°E / 13.0174361; 100.92972
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอบางละมุง
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.38 ตร.กม. (2.46 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด13,248 คน
 • ความหนาแน่น2,076.49 คน/ตร.กม. (5,378.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05200402
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 189 หมู่ 2 ถนนบางละมุง 12/2 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
เว็บไซต์www.banglamung.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางละมุง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1–5 ตำบลบางละมุง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง) รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของหมู่ 6 ตำบลหนองปลาไหล (เฉพาะนอกเขตเมืองพัทยา) และบางส่วนของหมู่ 2 ตำบลตะเคียนเตี้ย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เทศบาลตำบลบางละมุง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

  • ทิศเหนือ ตั้งอยู่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ปากคลองบางละมุง ติดกับเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ฝั่งใต้เป็นเส้นเลียบริมคลองบางละมุง ฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลังเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางละมุง ฝั่งใต้ที่เส้นแบ่งเขตตำบลบางละมุง กับตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  • ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นเลียบแบ่งเขตตำบลบางละมุง กับองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนเตี้ยไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตตำบลบางละมุงกับเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล
  • ทิศใต้ ติดกับเมืองพัทยาตำบลนาเกลือจากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นเลียบแบ่งเขตตำบลบางละมุง กับตำบลหนองปลาไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดซึ่งเป็นที่ตั้งหลักเขตเมืองพัทยาหลักเขตที่ 3 จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นเลียบเขตเมืองพัทยาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดซึ่งเป็นหลักที่ตั้งเขตเมืองพัทยาหลักเขตที่ 2
  • ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวไทยจากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเลียบริมทะเลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนบรรจบหลักเขตที่ 1

ประวัติ

[แก้]

ปี พ.ศ. 2507 นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และพลเอก ป. จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาท้องที่ตำบลบางละมุงมีตลาด วัด โรงเรียน และชุมนุมชนที่หนาแน่นกระจายทั้งตำบล โดยเฉพาะบริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (สุขุมวิท) จึงจัดตั้งตำบลบางละมุงทั้งตำบล เป็น สุขาภิบาลบางละมุง[3] และตั้งสำนักงานของสุขาภิบาล ณ ที่ว่าการอำเภอบางละมุง

ปี พ.ศ. 2534 ทางราชการได้แยกพื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลบางละมุง เฉพาะทิศเหนือของฝั่งคลองบางละมุง ไปรวมตั้งกับพื้นที่ตำบลทุ่งสุขลา กับพื้นที่บางส่วนของตำบลสุรศักดิ์ ตำบลบึง และตำบลหนองขาม ของอำเภอศรีราชาเป็น เทศบาลตำบลแหลมฉบัง[4] ในปีเดียวกันหลังจากแยกพื้นที่บางส่วน สุขาภิบาลบางละมุงได้ปรับเปลี่ยนเขตใหม่ โดยลำดับหมู่บ้านในเขตสุขาภิบาลใหม่เป็น หมู่ 1,3 บ้านโรงโป๊ะ, หมู่ 2 บ้านเนินตาเบี่ยง, หมู่ 4 บ้านบางละมุง และหมู่ 5 บ้านนากลาง ของตำบลบางละมุง กับรับพื้นที่บางส่วนของหมู่ 6 บ้านหนองเกตุน้อย ของสภาตำบลหนองปลาไหลและรับพื้นที่บางส่วนของหมู่ 2 บ้านตะเคียนเตี้ย ของสภาตำบลตะเคียนเตี้ย[5]

ปี พ.ศ. 2542 ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลบางละมุง เป็นเทศบาลตำบลบางละมุง ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล[6] ด้วยผลของกฎหมาย

สถานศึกษา

[แก้]

สถานศึกษาในท้องที่เทศบาลตำบลบางละมุง มีสถาบันศึกษาอยู่ 5 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบางละมุง 1 แห่ง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลบางละมุง 1 แห่ง ศูนย์การเรียนชุมชน 1 แห่ง ศูนย์การศึกษาอื่นๆ 2 แห่ง

สาธารณสุข

[แก้]
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบลบ้านโรงโป๊ะ
  • สถานบริการสาธารณสุขเอกชน คลินิกเอกชน 2 แห่ง
  • ร้านขายยา 6 แห่ง

ศาสนสถาน

[แก้]

สถานที่ราชการ

[แก้]
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
  • สถานตากอากาศบางละมุง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • สถานสงเคราะห์คนพิการ การุณยเวศม์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

คมนาคม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. งานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลบางละมุง วันที่ 30 เมษายน 2553
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (93 ง): 2496–2497. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2507
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา และอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (211 ก): (ฉบับพิเศษ) 37-41. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2534
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (227 ง): 12862–12863. วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2534
  6. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542