ข้ามไปเนื้อหา

อินทรัตน์ ยอดบางเตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินทรัตน์ ยอดบางเตย
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (79 ปี)
เชียงใหม่, ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองมัชฌิมาธิปไตย
คู่สมรสนางบุษบา ยอดบางเตย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพบกไทย
ยศ พลตรี
ผ่านศึกสงครามเวียดนาม
สงครามกลางเมืองลาว

พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) เป็นนักการเมือง และนายทหารชาวไทย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ อดีตรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อนงค์วรรณ เทพสุทิน)

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พล.ต. อินทรัตน์ ยอดบางเตย เกิดวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ณ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บิดาเป็นพลตำรวจอาสา มารดาเป็นแม่ค้าขายหมูในตลาดวโรรส ชีวิตในวัยเด็กเริ่มต้นต่อสู้กับชีวิตด้วยตนเอง จากการขายของตามตลาดต่าง ๆ เมื่อวัยเยาว์ และขายหนังสือพิมพ์แผ่นดินไทยให้กับนายไกรสร ตันติพงศ์ อดีตรัฐมนตรี

พล.ต. อินทรัตน์ ยอดบางเตย สมรสกับนางบุษบา ยอดบางเตย อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่

การศึกษา

[แก้]

ก่อนรับราชการ

[แก้]

ลำดับการการศึกษา ดังนี้

พล.ต. อินทรัตน์[1] สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่ออายุ 14 ปี รุ่นเดียวกันกับนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ระหว่างศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พล.ต. อินทรัตน์ ได้จบหลักสูตรทหาร ดังนี้

  • พ.ศ. 2510 : หลักสูตรกระโดด, ศูนย์สงครามพิเศษ
  • พ.ศ. 2510 : หลักสูตรจู่โจม, ศูนย์สงครามพิเศษ
  • พ.ศ. 2510 : หลักสูตรชั้นนายร้อย, โรงเรียนทหารรราบ ศูนย์การทหารราบ

หลังจากจบการศึกษาได้เข้ารับราชการทหารในสายงานนายทหารยุทธการ และศึกษาต่อโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จนได้ฉายาว่า "เสธ.ม่อย" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเล่นของตัวเป็น"ยอด"

หลังรับราชการ

[แก้]

ลำดับการการศึกษา ดังนี้

  • พ.ศ. 2515 : หลักสูตรพลแม่นปืน,โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • พ.ศ. 2516 : หลักสูตรข่าวลับ, บก.33
  • พ.ศ. 2518 : หลักสูตรชั้นนายพัน, โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • พ.ศ. 2518 : หลักสูตรประจำ ชุดที่ 57, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2531 : วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 33

การทำงาน

[แก้]

ราชการทหาร

[แก้]

พล.ต. อินทรัตน์ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ผู้ช่วยเจ้ากรมสรรพกำลังกลาโหม, ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด

พล.ต. อินทรัตน์ ผ่านสงคราม 2 สมรภูมิ คือ สงครามเวียดนาม และสงครามกลางเมืองลาว โดยดำรงตำแหน่งนี้

การเมือง

[แก้]

หลังจากลาออกจากราชการทหาร พล.ต. อินทรัตน์ มาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่[2] ต่อมาได้เข้าร่วมจัดตั้งพรรคการเมือง และดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย จากนั้งได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ เขต 4 คู่กับนายอำนวย ยศสุข[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับสุรพล เกียรติไชยากร จากพรรคพลังประชาชน และนรพล ตันติมนตรี จากพรรคเพื่อแผ่นดิน

พล.ต. อินทรัตน์ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี เนื่องจากการยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย[4]

ในปี พ.ศ. 2557 พล.ต. อินทรัตน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) ในรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5]

การกีฬา

[แก้]

พล.ต. อินทรัตน์ ยอดบางเตย ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร (AFAPS Alumni Foundation) ให้ได้รับ "รางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2547" ในสาขาการเมือง และการพัฒนากีฬา

พล.ต. อินทรัตน์ ดำรงตำแหน่ง รองประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติรองประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย และประธานคณะกรรมาธิการพัฒนากีฬายกน้ำหนักสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้รับความไว้วางใจ เลือกตั้งให้เ ป็น นายกสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ต่อเนื่องมา 2 สมัยติดต่อกัน (ช่วงปี 2543 - 2547)

ปัจจุบัน พล.ต. อินทรัตน์ ยอดบางเตย ดำรงตำแหน่งทางด้านกีฬา คือ

  • พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2559 : รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรองประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF)
  • รองประธานคนที่ 1 สหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย (AWF)
  • ประธานสหพันธ์สมาคมกีฬาชาติ และ นายกสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  เวียดนามใต้ :[1]
    • พ.ศ. 2511 – แกลแลนทรีครอส ประดับใบปาร์ม
    • พ.ศ. 2511 – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2511 – เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2511 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
  •  สหรัฐอเมริกา :[1]
    • พ.ศ. 2511 – เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก) ประดับ วี
    • พ.ศ. 2511 – เหรียญเนชันดิเฟนเซอวิส

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 กว่าจะมาเป็นซีเกมส์ที่เชียงใหม่
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ (พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย นายถาวร เกียรติไชยากร พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  3. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  5. คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ๘๔๒/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๒๖ กันยายน ๒๕๑๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๙ มิถุนายน ๒๕๑๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๔๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]