ข้ามไปเนื้อหา

อัยยัปปัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัยยัปปัน
เทพแห่งความถูกต้องและความเป็นโสด
ภาพวาดอัยยัปปัน ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1950
ส่วนเกี่ยวข้องศาสนาฮินดู, พระศาสตา, พระอัยนาร์
ที่ประทับสพริมละ
มนตร์Swamiye Saranam Ayyappa and Ayyapan Gayatri Mantra
อาวุธธนูและลูกศร, ดาบ
สัญลักษณ์ระฆัง, ธนูและลูกศร
พาหนะเสือ
คัมภีร์Brahmanda Purana
ข้อมูลส่วนบุคคล
บิดา-มารดา

พระสวามีอัยยัปปา (ทมิฬ: ஐயப்பன்; มลยาฬัม: അയ്യപ്പ; เตลูกู: అయ్యప్ప స్వామి; กันนาดา: ಅಯ್ಯಪ್ಫ; เทวนาครี: अय्यप्पा) ทรงเป็นเทพเจ้าท้องถิ่นในศาสนาฮินดู ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในรัฐเกรละและเป็นที่นิยมบูชาในภาคใต้ของประเทศอินเดีย

ถึงแม้ว่าจะมีการบูชาอัยยัปปาในอินเดียใต้มานานแล้ว พระองค์เริ่มกลายเป็นที่นิยมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20[1][2][3] ตามข้อมูลจากเทววิทยาฮินดู พระองค์เป็นบุตรของพระหริหระ (พระวิษณุในร่างของโมหินีกับพระศิวะ)[3][4]

เทพปกรณัมการกำเนิด

[แก้]

แต่เดิมเป็นบุตรของพระศิวะ (พระอิศวร) กับพระวิษณุ (พระนารายณ์) ในร่างของนางโมหิณี นามว่า ธรรมะศรัทธา มีชื่ออื่นๆ อีก อาทิ เช่น มณีกัณฐ์และหริหรปุตรัน[5]

ต่อมาพระศิวะให้เทพบุตรธรรมะศรัทธาจุติบนโลกมนุษย์ โดยมิได้เกิดจากครรภ์ของพระมเหสีของพระราชาราชศรีกาลา และให้ท้าวนาคามีหน้าที่คุ้มครองพระกุมาร เมื่อพระราชราชาศรีกาลาเสด็จประพาสป่า พระองค์ก็ได้พบกับพระกุมารหน้าเทวาลัยของพระศิวะ แล้วพระองค์ก็เกิดเอ็นดูพระกุมารคนนี้ขึ้นมา แล้วก็ดำริขึ้นว่าจะทำยังไงกับพระกุมารคนนี้ดี จู่ ๆ ก็มีโยคีคนหนึ่งปรากฏแล้วบอกกับพระราชราชาศรีกาลาว่า "พระองค์ไม่ต้องกลัวไปหรอก ขอให้พระองค์นำเด็กผู้นี้กลับไปยังพระนครเถิด เลี้ยงดูให้ดี เด็กน้อยผู้นี้จะนำความเจริญ ความรุ่งเรื่องมาสู่พระนครของพระองค์ และให้พระนามแก่ทารกน้อยนี้ว่า มานีกันดัน เมื่อพระองค์ทรงเลี้ยงดูเด็กน้อยนี้จนอายุครบสิบสองปี พระองค์จะทราบถึงความเป็นมาทั้งหมดของเด็กทารกผู้นี้เอง" โยคีก็หายตัวไป

สาเหตุที่พระองค์ถือกำเนิดขึ้นมาก็เพื่อจะมาปราบอสูรมหิงสี น้องสาวของอสูรมหิษาสูรนั่นเอง แต่สวามีอัยยัปปาก็มีศัตรูก่อนที่จะปราบอสูรมหิงสี ซึ่งก็คือ อำมาตย์ของพระบิดาของพระองค์ อำมาตย์คนนั้นมี ชื่อว่า ไดวัลย์ ไดวัลย์ต้องการชิงพระราชสมบัติของพระราชราชาศรีกาลา โดยจะกำจัดสวามีอัยยัปปาก่อน เนื่องจากพระมเหสีของพระราชราชาศรีกาลาให้กำเนิดพระโอรสคนที่ 2 มีนามว่า ราชาราชันย์ ไดวัลย์ได้ยุยงพระมเหสีของพระราชราชาศรีกาลาว่า "ทำไมเลยต้องให้ไอ้เด็กที่มาจากป่าไม่รู้หัวนอนปลายเท้ามาสืบสันตติวงศ์ จริง ๆ แล้วบัลลังค์นี้น่าจะเป็นของบุตรที่เกิดจากพระนางเองมากกว่าถึงจะถูก" พระมเหสีก็เห็นด้วย ไดวัลย์จึงให้พระเหสีแกล้วหลอกพระราชราชาศรีกาลาว่า พระนางป่วยเป็นโรคร้าย พระราชราชราชาศรีกาลาก็เชื่อ จึงให้หมอที่ดีที่สุดในเมืองมารักษาพระมเหสี ซึ่งหมอคนนี้ก็ได้รับสินบนมาจากไดวัลย์ หมอก็บอกพระราชราชาศรีกาลาว่า "พระนางเป็นโรคร้ายไม่มีทางรักษาได้ แต่มีวิธีเดียว คือ ต้องไปนำน้ำนมของแม่เสือในป่ามาให้พระนางเสวย โรคร้ายจึงจะหาย" จากนั้น พระราชราชาศรีกาลาจึงให้สวามีอัยยัปปา หรือ มานีกันดัน ไปนำน้ำนมจากป่ามาให้ แล้วระหว่างทาง พระอินทร์ได้มาขอร้องสวามีอัยยัปปา พระองค์จึงไปปราบอสูรมหิงสี แต่สุดท้ายอสูรมหิงสีก็ถูกสวามีอัยยัปปาสังหาร และพระอินทร์ก็ตอบแทนสวามีอัยยัยปปา โดยการแปลงเป็นแม่เสือมาให้สวามีอัยยัปปาจับไปในวัง จากนั้น สวามีอัยยัปปาก็ขี่แม่เสือที่พระอินทร์แปลงมาเข้าไปในวัง เมื่อไดวัลย์กับพระมเหสีของพระราชราชาศรีกาลาเห็น จึงเข้าไปขอโทษที่วางแผนกันจะฆ่ามานีกันดัน จากนั้น พระราชราชาศรีกาลาก็บอกกับ สวามีอัยยัปปา ให้อยู่ในวังด้วยกันเถิด แต่สวามีอัยยัปปาปฏิเสธ ขอเข้าไปอยู่ในป่าแทน จากนั้น สวามีอัยยัปปาจึงเข้าไปบำเพ็ญพรตในป่าตลอดชีวิต

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chandra, Suresh (1998). Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses. Sarup and Sons. p. 28. ISBN 8176250392.
  2. "Ayyappan – Hindu deity". Encyclopaedia Britannica. 2014.
  3. 3.0 3.1 Denise Cush; Catherine A. Robinson; Michael York (2008). Encyclopedia of Hinduism. Routledge. p. 78. ISBN 978-0-7007-1267-0.
  4. Constance Jones and Ryan James (2014), Encyclopedia of Hinduism, Infobase Publishing, ISBN 978-0-8160-5458-9, page 58
  5. หนุมานชาญสมร หน้า 316 สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อัยยัปปัน