ข้ามไปเนื้อหา

สพริมละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพะริมะละ
สวามีอัยยัปปามนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตปฐนามฐิตตา
เทพพระอัยยัปปา
เทศกาลมณฑลัมมกรวิลักกุ, มกรสังกรานติ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งสพริมละ
รัฐรัฐเกรละ
ประเทศประเทศอินเดีย
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมเกรละ
ผู้สร้างตามธรรมเนียมคือพระวิศวกรรม
เสร็จสมบูรณ์คริสต์ศตวรรษที่ 11 พื้นที่วิหารมีอายุนานกว่าหลายทศวรรษ
ระดับความสูง1,260 m (4,134 ft)

สพริมละ [สะ-พะ-ริ-มะ-ละ] (มลยาฬัม: ശബരിമല, แม่แบบ:IPA-ml) เป็นหมู่มนเทียรในเขตรักษาพันธุ์เสือเปริยาร์ อำเภอปฐนามฐิตตา รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย[1][2] มีผู้เดินทางเข้ามาสักการะราว 40 ถึง 50 ล้านคนต่อปี[3][4][5][6] มนเทียรสร้างขึ้นบูชาพรหมาจารย์อัยยัปปัม บุตรของพระศิวะกับพระโมหินี ปางอวตารเป็นสตรีของพระวิษณุ[7]

ภายหลังความนิยมของการฟ้องร้องเพื่อผลประโยชน์สาธารณะได้รับความนิยมมากในอินเดียในช่วงปี 1991 ได้มีการฟ้องร้องให้สพริมละเปิดให้สตรีเดินทางเข้าไปสักการะภายในมนเทียรได้ การอุทธรณ์ไปถึงศาลสูงเกรละซึ่งตัดสินไม่อนุญาตให้สตรีเข้าสักการะภายในสพริมละ โดยกำหนดสตรีในข่วงวัย 10–50 ปีห้ามเข้า อ้างคติที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ และสั่งให้คณะกรรมการเทวสโวมให้ปฏิบัติตามธรมเนียมที่มีมาต่อไป[8] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายน 2018 ศาลสูงสุดอินเดียลงคะแนนตัดสินที่ 4-1 (4 คนเป็นผู้ชาย และ 1 คนเป็นผู้หญิง) ยกเลิกคำตัดสินห้ามสตรีเข้าสพริมละ ผู้พิพากษาสตรี อินทุ มัลโหตระ ซึ่งเป็นเสียงเดียวในการตัดสินไม่เห็นด้วยกับคณะผู้พิพากษาชายระบุว่า "สิ่งใดที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำคัญทางศาสนา ก็ควรเป็นเรื่องของชุมชนศาสนิกชนได้ตัดสิน" และไม่ควรจะเป็นเรื่องที้ให้ศาลมาตัดสินแต่แรก[9][10] หัวหน้าคณะผู้พิพากษา ทีปัก มิสระ ระบุเสริมว่าการเลือกปฏิบัติต่อสตรีไม่เป็น "สาระสำคัญ" ของศาสนาฮินดู แต่กลับเป็นรูปหนึ่งของ "ปิตาธิปไตยในรูปศาสนา" ผู้พิพากษา ธนญชัย วาย. จันทรจุท ระบุว่าคำสั่งห้ามสตรีเข้านี้ "สร้างตราบาป" และ "ผลิตซ้ำค่านิยม" ที่ไม่ดีของสตรี หลังคำตัดสินประกาศออกไป ในรัฐเกรละได้มีการรวมตัวกันประท้วงใหญ่ต่อต้านคำตัดสินของศาลสูงสุด โดยมีผู้หญิงเข้าร่วมจำนวนมากในการประท้วง มีผู้ประท้วงยื่นคำร้องอุทธรณ์จำนวน 65 ฉบับ กระแสกดดันอย่างหนักทำให้ศาลสูงสุดต้องยอมรับอุทธรณ์

สพริมละเปิดให้เข้าสักการะภายในเฉพาะวันสำคัญทางศาสนา คือ มณฑลบูชา[11] มกรวิลักกุ (มกรสังกรานติ), มหาติรุมัลสังกรานติ และห้าวันแรกของทุก ๆ เดือนในปฏิทินมลยาฬัม ในกระบวนการจาริกแสวงบุญที่สพริมละมีส่วนที่แปลกแตกต่างอยู่ที่มีส่วนของการประกอบพิธีบูชาในมัสยิด เพื่อสักการะวะวร หยึ่งในศิษยานุศิษย์ชาวมุสลิมของอัยยัปปัน[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sabarimala". pathanamthitta.nic.in. สืบค้นเมื่อ 4 January 2019.
  2. "SABARIMALA SHREE DHARMA SASTHA TEMPLE". travancoredevaswomboard.org. สืบค้นเมื่อ 4 January 2019.
  3. "Why millions throng Sabarimala shrine". DailyBhaskar. 2011-01-15. สืบค้นเมื่อ 2016-12-02.
  4. "Indo-Americans shocked at Sabarimala tragedy". Sify. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-15. สืบค้นเมื่อ 2016-12-02.
  5. "Record collection at Sabarimala". The Hindu. 2014-12-27.
  6. "Women to enter Sabarimala temple today: Weird laws against women from all over the world". India Today. 2018-09-28.
  7. "Mohini – The Only Female Avatar of Lord Vishnu". Vedicfeed. 2019-08-04.
  8. "S. Mahendran vs The Secretary, Travancore ... on 5 April, 1991". indiankanoon.org.
  9. Gilles Tarabout (2015). "Religious Uncertainty, Astrology and the Courts in South India". In Berti, Daniella; Good, Anthony; Tarabout, Gilles (eds.). Of Doubt and Proof. Legal and Ritual Practices of Judgmen. Ashgate. pp. 70–71. ISBN 978-1-4724-3451-7. Retrieved 29 October 2018.
  10. "Sabarimala verdict: Justice Indu Malhotra dissents — Can't invoke rationality in religion". 29 September 2018.
  11. "Sabarimala Temple Opening Dates 2018 to 2019 – Chennaivision". Chennaivision. 2018-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-13. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.
  12. Kumar, KP Narayana. "Before arriving at Sabarimala temple in Kerala, devotees visit a mosque". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 2020-11-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]