วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร | |
---|---|
พระบรมธาตุไชยา ปูชนียสถานสำคัญภายในวัด | |
ชื่อสามัญ | วัดพระธาตุไชยา |
ที่ตั้ง | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4011 ถนนรักษ์นรกิจ ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร |
นิกาย | เถรวาท |
พระประธาน | พระเจ้าโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระพุทธรูปศิลา สกุลช่างไชยา |
กิจกรรม | นมัสการพระบรมธาตุไชยา |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
ลำดับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง
ระดับแรก(เริ่มต้น) วัดพระธาตุไชยา (วัดราษฎร์)
ระดับที่สอง วัดพระบรมธาตุไชยา พระอารมหลวง (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ)
ระดับที่สาม วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร)
ข้อมูล
[แก้]- พุทธศตวรรษที่ 13 - พุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยศรีวิชัย ได้สร้างวัดพระบรมธาตุไชยา วัดมี โบสถ์ หรือพระอุโบสถ หันไปทางทิศตะวันตก
- วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นโบราณสถาน รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็ก 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน
- พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ภาพเจดีย์พระบรมธาตุ เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองลูกเสือจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร
- สมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆัง
- พระพุทธรูปทำด้วยศิลา สูง 104 เซนติเมตร ปางสมาธิประทับอยู่บนฐานบัว มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 12 แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย แบบราชวงศ์คุปตะ สกุลช่างสารนาถ
- พุทธศตวรรษที่ 14 ได้สร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) สองกรสำริด ประติมากรรมในชวา (ประเทศอินโดนีเซีย) ภาคกลาง จารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสกุลวงศ์ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา) และราชวงศ์ไศเลนทรในชวาภาคกลาง
- พุทธศตวรรษที่ 15 ได้สร้างพระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา ศิลปะจามพุทธ
- สมัยอยุธยา ได้สร้างพระพุทธรูปศิลาทราย ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา
ภาพประกอบ
[แก้]-
เจดีย์พระบรมธาตุไชยา
-
ลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูองค์พระบรมธาตุไชยา
-
ซุ้มประตูทางเข้าวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์