วิหารคด
วิหารคด[1] หรือ ระเบียงฉันนบถ[2] (อังกฤษ: cloister) ชาวคาทอลิกมักเรียกว่าเขตพรต มาจากภาษาละติน “claustrum” เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม ของอาสนวิหาร อาราม และแอบบี มักจะเป็นระเบียงสี่ด้านรอบลานกลางด้านในของโบสถ์[3] เพื่อใช้เป็นทำงานหรือกิจการอื่นๆ ทางศาสนา จะเป็นสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้เพราะเป็นสิ่งก่อสร้างที่กึ่งเปิด การที่โบสถ์มีระเบียงฉันนบถมักจะเป็นเครื่องหมายว่าเป็นอาราม หรือเคยเป็นอารามมาก่อน ระเบียงมักจะสร้างติดกับตัวอาสนวิหารทางด้านใต้เพราะเป็นด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์มากกว่าจึงอุ่นกว่า
ในยุคกลางระเบียงฉันนบถจะใช้เป็นที่ของการอธิษฐาน การเพ่งพินิจ เรียนหนังสือ คัดหนังสือ หรือกิจธุระอย่างอื่นเช่นซักล้างเช่นระเบียงฉันนบถที่มหาวิหารกลอสเตอร์ที่มีรางน้ำยาว
ระเบียงฉันนบถที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ที่แชร์โตซาดีปาโดวาทางใต้ของประเทศอิตาลี ซึ่งมีเนี้อที่ทั้งหมด 12000 ตารางเมตร
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-05. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
- ↑ Catholic Encyclopedia. Cloister. [1]
ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]

สมุดภาพ[แก้]
-
ระเบียงคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
-
ระเบียงฉันนบถที่คาฮอร์ ประเทศฝรั่งเศส
-
ระเบียงฉันนบถขนาดย่อมที่อารามเลแร็ง (Abbey Lérins) ประเทศฝรั่งเศส
-
ระเบียงฉันนบถสองชั้นที่อารามแม็กเดเบิร์ก (Monastery Unser Lieben Frauen Magdeburg) ประเทศเยอรมนี
-
ภายในระเบียงฉันนบถที่มหาวิหารกลอสเตอร์ อังกฤษที่เห็นคูหาโต๊ะทำงานทางขวามือ
-
ระเบียงฉันนบถที่อาราม Alcobaça ประเทศโปรตุเกส