ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวขนาด 5.5 ขึ้นไปทั่วญี่ปุ่น (1900–2016)
M7.0–7.9=163 EQs, M8.0+=14 EQs.[1]

นี่คือ รายชื่อแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นที่มีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 7.0 หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมีนัยสำคัญ ตามที่ระบุไว้ข้างล่าง ขนาดแผ่นดินไหววัดจาก มาตราริกเตอร์ (ML) มาตราขนาดโมเมนต์ (Mw) มาตราขนาดคลื่นพื้นผิว (Ms) แต่แผ่นดินไหวที่เก่ามากรายชื่อปัจจุบันอาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นก่อนเครื่องมือวัดสมัยใหม่ มีโอกาศที่ข้อมูลขนาดจะไม่แม่นยำและเชื่อถือได้ต่ำ

ภูมิหลัง

[แก้]

แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงแผ่นดินไหวในแคว้นยามาโตะ (ในปัจจุบันคือจังหวัดนาระ) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 416 แต่การบันทึกแผ่นดินไหวครั้งแรกที่มีความน่าเชื่อถือเกิดขึ้นในจังหวัดนารา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 599 ในรัชสมัยของจักรพรรดินีซูอิโกะ ในบันทึกอ้างว่าแผ่นดินไหวได้ทำลายอาคารทั่วแคว้นยามาโตะ [2][3][4] มีบันทึกทางประวัติศาสตร์มากมายเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น จึงมีการสร้างคณะกรรมการสอบสวนแผ่นดินไหวของจักรวรรดิ (Imperial Earthquake Investigation Committee) ขึ้นใน ค.ศ. 1892 เพื่อดำเนินการเปรียบเทียบข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ และมีการตีพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับข้อมูลแผ่นดินไหวในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1892 [4] หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 คณะกรรมการสอบสวนแผ่นดินไหวของจักรวรรดิถูกย้ายไปเป็นสถาบันวิจัยแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1925 [3] ในปัจจุบันเอกสารที่รวบรวมโดยทัตสึโอะ อูซามิ ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้มากที่สุดเกี่ยวกับข้อมูลแผ่นดินไหวในประวัติศาสตร์ [3]

การวัดแผ่นดินไหว

[แก้]

ในญี่ปุ่นการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวมักใช้มาตราชินโด ซึ่งมีความคล้ายกับมาตราเมร์กัลลีที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา หรือมาตราCSIS ที่ใช้ในประเทศจีน หมายความว่ามาตราส่วนที่วัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวทั้งหมดจะวัด ณ ตำแหน่งที่กำหนดและต่างกันไปตามสถานที่ ตัวอย่างเช่น การสั่นสะเทือนอาจจะอธิบายว่า "ขนาด 4 ชินโดะในโตเกียว, ขนาด 3 ชินโดะในโยะโกะฮะมะ, ขนาด 2 ชินโดะในชิซุโอะกะ" แทนที่จะวัดจากจุดศูนย์กลาง [5]

ปกตินั้นมาตราเมร์กัลลีจะมีระดับความรุนแรงสิบสองระดับ แต่มาตราชินโดที่ใช้โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นมีสิบระดับตั้งแต่ 0 ถึง 7 โดย 7 เป็นมาตราที่รุนแรงสุด [5]

แผ่นดินไหว

[แก้]
วันที่และเวลา ขนาด ผู้เสียชีวิต ชื่อ เหตุการณ์ แผ่นดินไหว ชื่อคันจิ  ชื่อ โรมาจิ ศูนย์กลาง อธิบาย
29 พฤศจิกายน 684 (ปฏิทินกริกอเรียน)
26 พฤศจิกายน 684 (ปฏิทินจูเลียน)
8.4 MK (มาตราคาวาซูมิ)[6] 101–1,000 แผ่นดินไหวฮาคูโฮะ ค.ศ. 684 白鳳南海地震 Hakuhou Nankai jishin 32°48′N 134°18′E / 32.8°N 134.3°E / 32.8; 134.3 แหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ประเมินขนาดของแผ่นดินไหวไว้ที่ 8.0 ถึง 8.4 บันทึกอ้างว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นรุนแรง วันที่ยังบันทึกไว้หลายแบบคือ 14 ตุลาคม (วันที่ไม่ถูกต้อง) และวันที่ 24 พฤศจิกายน [7] ในเวลานี้เองที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อถึงความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับสึนามิ และเริ่มเก็บบันทึกลายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ บันทึกสึนามิของพวกเขาได้รับการศึกษาโดยนักธรณีวิทยามาจนถึงทุกวันนี้[ต้องการอ้างอิง]
5 มิถุนายน 745 (G)
1 มิถุนายน 745 (J)
7.9 MK   แผ่นดินไหวมิโน 天平地震 Tenbyou jishin 34°48′N 135°30′E / 34.8°N 135.5°E / 34.8; 135.5 ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนระบุว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน [8]
13 กรกฎาคม 869 (G)
9 กรกฎาคม 869 (J)
8.9 MK 1,000+[9] แผ่นดินไหวซันริกุ ค.ศ. 869 貞観地震 Jōgan jishin 38°30′N 143°48′E / 38.5°N 143.8°E / 38.5; 143.8 สึนามิเป็นผลทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณที่ราบเซ็นได คลื่นสึนามืยังทำลายเมืองทางาโจ[10]
27 พฤษภาคม 1293 (G)
20 พฤษภาคม 1293 (J)
7.1 Ms 23,024[11] แผ่นดินไหวคามากูระ ค.ศ. 1293 鎌倉大地震 Kamakura Daijishin 35°12′N 139°24′E / 35.2°N 139.4°E / 35.2; 139.4 แผ่นดินไหวเกิดขึ้นใกล้กับเมืองคามากูระ จังหวัดคานางาวะมีขนาดประมาณ 7.1–7.5[12] และอาจมีคลื่นสึนามิหลังแผ่นดินไหว (แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนไม่เห็นด้วย)[13][14] และมีผู้เสียชีวิต 23,024 ราย [11]
3 สิงหาคม 1361 (G)
26 กรกฎาคม 1361 (J)
8.4 Ms แผ่นดินไหวโชเฮ 正平南海地震 Shōhei Nankai Jishin 33°00′N 135°00′E / 33.0°N 135.0°E / 33.0; 135.0 เกิดสึนามิตามมา[15][16]
20 กันยายน 1498 (G)
11 กันยายน 1498 (J)
8.6 MK 31,000[17] แผ่นดินไหวนันไก ค.ศ. 1498 明応地震 Meiō jishin 34°00′N 138°06′E / 34.0°N 138.1°E / 34.0; 138.1 เกิดขึ้นนอกชายฝั่งนันไกประเทศญี่ปุ่น เวลา 08:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1498 มีขนาดประมาณ 8.6[17] แผ่นดินไหวก่อให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ไม่แน่นอน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 31,000 ราย[18]
18 มกราคม 1586 7.9 MK แผ่นดินไหวเท็นโช ค.ศ. 1586 天正大地震 Tenshō Daijishin มีบันทึกว่ามีเกาะหายสาบสูญในอ่าวอิเซะ[19][20]
3 กุมภาพันธ์ 1605 7.9 MK 5,000+[21] แผ่นดินไหวนันไก ค.ศ. 1605 慶長大地震 Keichō Daijishin 33°30′N 138°30′E / 33.5°N 138.5°E / 33.5; 138.5 แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเวลาประมาณ 20:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1605 มีขนาดประมาณ 7.9 ขนาดคลื่นพื้นผิว และก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคนในภูมิภาคนันไกและโทไกของญี่ปุ่น ในเหตุกาณ์นี้ยังไม่เป็นที่ยืนยันว่ามีแผ่นดินไหวเกิดสองครั้งติดกันในระยะเวลาสั้น ๆ หรือไม่ สึนามิที่เกิดมีขนาดใหญ่เกินคาดอย่างมากเมื่อเทียบกับขนาดของแผ่นดินไหว [22]
27 กันยายน 1611 6.9 MK 3,700+ (Official estimate) แผ่นดินไหวไอซุ ค.ศ. 1611 会津地震 Aizu Jishin ลุ่มน้ำไอซุ (จังหวัดฟูกูชิมะ) ตามบันทึกอย่างเป็นทางการ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,700 คน ปราสาทไอซุวากามัตสึ วัดหลายแห่ง และบ้านเรือนกว่า 20,000 หลังพังทลายลง
2 ธันวาคม 1611 8.1 2,000+ แผ่นดินไหวซันริกุ ค.ศ. 1611 慶長三陸地震 Keichō Sanriku Daijishin 39°00′N 144°24′E / 39.0°N 144.4°E / 39.0; 144.4 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1611 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ชายฝั่งซันริกุ จังหวัดอิวาเตะ ขนาด 8.1[23]
16 มิถุนายน 1662 7.25 – 7.6 M 700–900[24] แผ่นดินไหวคันบุนโอมิวากาซะ ค.ศ. 1662 寛文近江・若狭地震 kanbun Ōmi wakasa jishin ทะเลสาบบิวะ ตอนใต้ แรงสั่นสะเทือนรุนแรงในพื้นที่โอมิ วากาซะ แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เกิดการเสียรูปของเปลือกโลก บริเวณทางทิศตะวันออกของ ทะเลสาบซูอิเง็ตสึ ประมาณ4.5 m (15 ft)[25]
1667 8.5 – 9.0 M ไม่ทราบ แผ่นดินไหวคันบุนโทกาจิ-โอกิ ค.ศ. 1667 寛文・十勝沖地震 (scientific) kanbun Tokachi-oki jishin ในทะเลบริเวณภูมิภาคโทกาจิ ในขณะนั้นภูมิภาคที่เกิดแผ่นดินไหวยังไม่ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่น ทำให้ไม่มีบันทึกมากนัก มีเพียงการคาดคะเนตามหลักฐานจากสึนามิในคูชิโระเท่านั้น [26][27]
4 พฤศจิกายน 1677 8.3–8.6 Mw 569 แผ่นดินไหวในโบโซ ค.ศ. 1677 ในทะเลบริเวณคาบสมุทรโบโซ แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้ผู้คนที่แผ่นดินรับรู้แรงสั่นได้ไม่มากนัก แต่ก่อให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ที่คร่าชีวิตผู้คนไป 569 คน [28]
31 ธันวาคม 1703 8.0 ML 5,233 แผ่นดินไหวเก็นโระกุ ค.ศ. 1703 元禄大地震 Genroku Daijishin เอโดะ มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณอ่าวซางามิ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรโบโซ บางส่วนของพระราชวังโทกูงาวะ สึนาโยชิ พังทลายลง[29] และทำให้เกิดเพลิงไหม้ทั้งเมืองในวันต่อมา
28 ตุลาคม 1707 8.6 ML 5,000+ แผ่นดินไหวปีโฮเอ ค.ศ. 1707 宝永地震 Hōei jishin คาบสมุทรคิอิ แผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายปานกลางถึงรุนแรงทั่วเกาะฮนชูตะวันตกเฉียงใต้ เกาะชิโกะกุและเกาะคีวชูตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นสาเหตุของการปะทุครั้งสุดท้ายของภูเขาไฟฟูจิในอีก 49 วันให้หลัง [30] This event also marked the last eruption of Mount Fuji to date.
24 เมษายน 1771 7.4 MK 13,486[31] มหาสึนามิยาเอยามะ ค.ศ. 1771 八重山地震 Yaeyama jishin 24°00′N 124°18′E / 24.0°N 124.3°E / 24.0; 124.3 สึนามิครั้งใหญ่ที่ยาเอยามะในปี 1771 (เรียกอีกอย่างว่า สึนามิครั้งใหญ่เมอิวะ 明和の大津波) เกิดจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. วันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1771 มีผู้เสียชีวิต 13,486 คน จำนวนนี้ 9,313 คน เสียชีวิตในหมู่เกาะยาเอยามะ ในเกาะอิชิงากิ 8,815 คน ในหมู่เกาะมิยาโกะ 2,548 คน และในพื้นที่อื่น ๆ 1,625 คน บ้านเรือนมากกว่า 3,000 หลังถูกทำลาย [31] ความสูงของสึนามิอยู่ที่ 40 m (130 ft) ที่เกาะอิชิงากิสูงสุด 85.4 m (280 ft) ในหมู่บ้านมิยาระ เมืองทารามะ ความสูงของคลื่นสึนามิโดยประมาณอยู่ที่ 18 m (59 ft) จนถึงทุกวันนี้ มีรายงานว่าพบก้อนหินที่ถูกพัดพาโดยสึนามิ (เรียกว่า "หินสึนามิ") ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ในที่ราบสูงทางตะวันตกเฉียงเหนือของมิยาโกจิมะ ตามตำนานท้องถิ่นเล่าว่า มีเกาะเล็ก ๆ ที่ไม่ทราบชื่อถูกคลื่นสึนามิกลืนหายไป แต่กระนั้นตำนานเหล่านี้ยังไม่ได้ยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด
21 พฤษภาคม 1792 6.4 MK 15,448[32] แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในอูนเซน ค.ศ. 1792 島原大変肥後迷惑 Unzen jishin
(Shimabara Taihen Higo Meiwaku)
32°48′N 130°18′E / 32.8°N 130.3°E / 32.8; 130.3
การเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลอาริอาเกะหลังสึนามิ จังหวัดคุมาโมโตะ (ขวา) หมู่เกาะอามากุซะ (ด้านล่าง) พื้นที่ทั้งสองได้รับผลกระทบจากสึนามิ
เป็นผลมาจากการปะทุของภูเขาไฟอูนเซน ในคาบสมุทรชิมาบาระ จังหวัดนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดการถล่มของโดมภูเขาไฟหน้าภูเขาไฟอูนเซน ส่งผลให้เกิดเมกะสึนามิขนาดใหญ่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 15,000 คน สึนามิพัดข้ามทะเลอาริอาเกะไปสู่ชายฝั่งฮิโกะอย่างรุนแรง ซึ่งแคว้นฮิโงะหรือคูมาโมโตะในปัจจุบัน อยู่ห่างจากการปะทุของภูเขาไฟอูนเซน 20 กิโลเมตร (12.4 ไมล์) ก่อนพัดกลับมาถล่มชิมาบาระอีกครั้ง [32]
18 ธันวาคม 1828 6.9 MK 1,559 (ยืนยันอย่างเป็นทางการ) แผ่นดินไหวซันโจ ค.ศ. 1828 三条地震 Sanjō Jishin ซันโจ จังหวัดนีงาตะ (ในขณะนั้นคือ แคว้นเอจิโงะ) ตามรายงานที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ บ้านและอาคาร 21,134 หลังได้รับความเสียหาย จำนวนนี้ 1,204 หลังถูกไฟไหม้ มีผู้เสียชีวิต 1,559 คน และผู้บาดเจ็บ 2,666 คน
7 ธันวาคม 1833 7.5 MJMA 150 แผ่นดินไหวโชนาอิ ค.ศ. 1833 庄内沖地震 Shōnai-oki Jishin Shōnai, Yamagata Prefecture หนึ่งในสึนามิที่ใหญ่ที่สุดในทะเลญี่ปุ่น
8 พฤษภาคม 1847 7.3 M 8,600+ แผ่นดินไหวในจังหวัดนางาโนะ ค.ศ. 1847 善光寺地震 Zenkōji Jishin ที่ลุ่มนางาโนะ จังหวัดนางาโนะ (ในขณะนั้นเป็น แคว้นชินาโนะ) อาคารหลายหลังพังถล่ม รวมถึงวัดเซ็นโกจิ แผ่นดินไหวก่อให้เกิดภัยพิบัติตามมามากมาย ได้แก่ ไฟไหม้ ดินถล่ม และน้ำท่วมเนื่องจากการพังทลายของเขื่อนเก็บน้ำ ตามรายงานอย่างเป็นทางการ มียอดผู้เสียชีวิตทั่วภูมิภาค 8,600 ราย บ้านเรือน 21,000 หลังได้รับความเสียหาย บ้านเรือน 3,400 หลังไฟไหม้ และดินถล่มทำให้บ้านเรือนอีก 44,000 หลังได้รับความเสียหายซ้ำเติมอีก
9 กรกฎาคม 1854 7.25 MK 995 (official confirmed) แผ่นดินไหวอิงะ–อูเอโนะ ค.ศ. 1854 伊賀上野地震 Iga Ueno Jishin อิงะ จังหวัดมิเอะ (ในขณะนั้นคือ แคว้นอิงะ) ตามรายงานอย่างเป็นทางการ บ้านและอาคาร 2,576 แห่งได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 995 คน และบาดเจ็บ 994 คน
23 ธันวาคม 1854 8.4 MK 2,000 (estimated)[33] แผ่นดินไหวโทไก ค.ศ. 1854 安政東海地震 Ansei Tōkai Jishin อ่าวซูรูงะ
24 ธันวาคม 1854 8.4 MK 10,000+ แผ่นดินไหวนันไก ค.ศ. 1854 安政南海地震 Ansei Nankai Jishin แอ่งนันไก ตลอดภูมิภาคโทไกถึงคีวชูมีผู้เสียชีวิตกว่า 10,000 คน [34]
11 พฤศจิกายน 1855 6.9 MK 6,641 แผ่นดินไหวเอโดะ ค.ศ. 1855 安政江戸地震 Ansei Edo Jishin เอโดะ บริเวณปากแม่น้ำอารากาวะ
แผ่นดินไหวเอโดะ ค.ศ. 1855
9 เมษายน 1858 7.0 200–300 แผ่นดินไหวฮิเอสึ ค.ศ. 1858 飛越地震 Hietsu Jishin รอยเลื่อนอาโทสึงาวะ
18 มีนาคม 1872 7.1 MK 551 (ยืนยันอย่างเป็นทางการ) แผ่นดินไหวฮามาดะ ค.ศ. 1872 浜田地震 Hamada Jishin ในทะเล นครฮามาดะ จังหวัดชิมาเนะ ตามรายงานอย่างเป็นทางการ บ้านกว่า 4,506 หลังได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวโดยตรง ถูกไฟไหม้ 230 หลัง มีผู้เสียชีวิต 551 คน และมี 6567 หลังได้รับความเสียหายจากดินถล่ม แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 16:40 น. ตามเวลาท้องถิ่น
22 กุมภาพันธ์ 1880 5.5–6.0 0 แผ่นดินไหวในโยโกฮามะ ค.ศ. 1880 横浜地震 Yokohama Jishin โยโกฮามะ จังหวัดคานางาวะ เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่มีการจัดตั้งสมาคมแผ่นดินไหวแห่งประเทศญี่ปุ่นขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนอง[35]
28 กรกฎาคม 1889 6.3 20 แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 1889 熊本地震 Kumamoto Jishin รอยเลื่อนทัตสึดะ แผ่นดินไหวครั้งแรกหลังก่อตั้งสมาคมแผ่นดินไหวแห่งประเทศญี่ปุ่น
28 ตุลาคม 1891 8.0 ML 7,273 แผ่นดินไหวมิโนะ–โอวาริ ค.ศ. 1891 濃尾地震 Nōbi Jishin รอยเลื่อนเนโอดานิ เป็นเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1891 เป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น สร้างความเสียหายให้กับแคว้นมิโนะ และแคว้นโอวาริ ซึ่งในปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ แผ่นดินไหวสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับที่ราบโนบิ แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในยุคเมจิซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม และในช่วงที่มีการพัฒนาความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในหลายสาขา ทำให้ความเสียหายจากเหตุการณ์และจำนวนผู้เสียชีวิตจึงมีความสำคัญ เมืองกิฟุและโองากิได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากไฟไหม้ แต่โอซากะและนาโงยะก็ได้รับความเสียหายไม่ต่างกัน แรงสั่นสะเทือนสามารถรู้สึกได้ถึงโตเกียวกินเวลาหลายนาทีแรงสั่นรุนแรงจนสามารถขยับสิ่งของออกจากชั้นวางและสามารถทำให้นาฬิกาหยุดหมุนได้ [36]
20 มิถุนายน 1894 6.6 ML 31 แผ่นดินไหวในโตเกียว ค.ศ. 1894 明治東京地震 Meiji-Tokyo Jishin อ่าวโตเกียว มีผู้เสียชีวิต 31 ราย บาดเจ็บ 157 คน
22 ตุลาคม 1894 7.0 ML 726 (ยืนยันอย่างเป็นทางการ) แผ่นดินไหวโชไน ค.ศ. 1894 庄内地震 Shōnai Jishin ซากาตะ, จังหวัดยามางาตะ บ้านและอาคาร 14,118 หลังได้รับความเสียหาย ไฟไหม้ 2,148 หลัง มีผู้เสียชีวิต 726 ราย และบาดเจ็บ 8,403 คน เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในนครซากาตะ และบริเวณที่ราบโชไน พบว่าดินมีรอยแตก เกิดแผ่นดินเหลว และน้ำผุดออกจากรอยแตกของดินตามมา
15 มิถุนายน 1896 8.5 ML 22,000+[37] แผ่นดินไหวซันริกุ ค.ศ. 1896 明治三陸地震 Meiji Sanriku Jishin   แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นนอกชายฝั่งซันริกุ จังหวัดอิวาเตะ ก่อให้เกิดสึนามิความสูง 25 เมตร (82 ฟุต) พัดเข้าถล่มชายฝั่งหลังแผ่นดินไหว 35 นาที ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชายฝั่งและทำลายบ้านเรือนหลายร้อยหลังและคร่าชีวิตผู้คนกว่า 22,000 คน สึนามิยังถูกตรวจพบไกลถึงฮาวายและแคลิฟอร์เนีย[38][39]
1 กันยายน 1923 8.3 ML 142,800[40] แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 大正関東地震
(関東大震災)
Taishō Kantō Jishin
(Kantō Daishinsai)
เกาะอิซุโอจิมะ แผ่นดินไหวก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงโตเกียว เมืองท่าโยโกฮามะ จังหวัดชิบะ จังหวัดคานางาวะ และจังหวัดชิซูโอกะ
23 พฤษภาคม 1925 6.8 ML 428 แผ่นดินไหวคิตะทาจิมะ ค.ศ. 1925 北但馬地震 Kita Tajima Jishin โทโยโอกะ จังหวัดเฮียวโงะ 35°36′N 134°48′E / 35.6°N 134.8°E / 35.6; 134.8 รายงานอย่างเป็นทางการของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 428 คน บาดเจ็บ 1,016 คน อาคารพังเสียหาย 7,863 หลัง และบ้านเรือนกว่า 45,659 หลังมีสาเหตุการเสียหายมาจากการถล่มและไฟไหม้เป็นหลัก แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อนครโทโยโอกะและบริเวณแม่น้ำมารูยามะ ก่อนที่จะเกิดการสั่นขึ้น มีรายงานว่าได้ยินเหมือนเสียงปืนใหญ่เป็นระยะ ๆ ดังมาจากปากแม่น้ำมารูยามะ ระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหวอาคารในนครโทโยโอกะถูกทำลายในชั่วพริบตา เนื่องจากอาคารส่วนใหญ่ในสมัยนั้นทำด้วยไม้ จากนั้นเกิดไฟไหม้ตามมาทำให้ครึ่งหนึ่งของเมืองถูกไฟไหม้ แผ่นดินไหวสั่นเป็นระยะเวลา 16 วินาที แต่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากกว่า 8% ของประชากรทั้งหมดในเมือง
7 มีนาคม 1927 7.6 ML 3,020 แผ่นดินไหวคิตะ ทันโงะ ค.ศ. 1927 北丹後地震 Kita Tango Jishin คาบสมุทรทันโงะ จังหวัดเกียวโต บ้านแทบทั้งหมดในมิเนยามะพังทลาย (ปัจจุบันคือนครเคียวตังโงะ) แผ่นดินไหวรู้สึกได้ไกลถึงโตเกียวและจังหวัดคาโงชิมะ[41]
26 พฤศจิกายน 1930 7.3 Ms 272 แผ่นดินไหวในคาบสมุทรอิซุ ค.ศ. 1930 1930年北伊豆地震 Sen-kyūhyaku-sanjū-nen Kita-Izu Jishin คาบสมุทรอิซุ
3 มีนาคม 1933 8.4 Mw[42] 3,000+ แผ่นดินไหวซันริกุ ค.ศ. 1933 昭和三陸地震 Shōwa Sanriku Jishin ทางทิศตะวันออกของคาไมชิ ประมาณ 290 กิโลเมตร
อ่าวคาไมชิหลังจากแผ่นดินไหวและสึนามิ
3 พฤศจิกายน 1936 7.2 Ms 0 แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ ค.ศ. 1936 1936年宮城県沖地震 Sen-kyūhyaku-sanjūroku-nen Miyagi-ken-oki Jishin นอกชายฝั่งจังหวัดมิยางิ
10 กันยายน 1943 7.2 ML 1,083 แผ่นดินไหวในจังหวัดทตโตริ ค.ศ. 1943 鳥取地震 Tottori Jishin ในทะเลบริเวณอำเภอเคตากะ
7 ธันวาคม 1944 8.1 Mw 1,223 แผ่นดินไหวโทนันไก ค.ศ. 1944 昭和東南海地震 Shōwa Tōnankai Jishin 34°00′N 137°06′E / 34.0°N 137.1°E / 34.0; 137.1 แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1944 เวลา 13:35 น. ตามเวลาท้องถิ่น (04:35 UTC) มีขนานตามมาตราขนาดโมเมนต์ 8.1 มีความรุนแรงสูงสุด 5 ตามมาตราชินโด และ VII (รุนแรง) ตามมาตราเมร์กัลลี แผ่นดินไหวกระทบจังหวัดที่อยู่ตามชายฝั่งของภูมิภาคโทไก ทำใหเกิดความเสียหายรุนแรงและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิตามมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,223 คน ประมาณการว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 20,000 คน [43]
13 มกราคม 1945 6.8 ML 1,180 + 1,126 missing แผ่นดินไหวมิกาวะ ค.ศ. 1945 三河地震 Mikawa Jishin อ่าวมิกาวะ แผ่นดินไหวเกิดบริเวณอ่าวมิกาวะ วันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1945 เวลา 03:38 น. ส่งผลกระทบในจังหวัดมิเอะ และจังหวัดไอจิ
20 ธันวาคม 1946 8.1 Mw 1,362 แผ่นดินไหวนันไก ค.ศ. 1946 昭和南海地震 Shōwa Nankai Jishin แอ่งนันไก แผ่นดินไหวในภูมิภาคนันไกโด เกิดขึ้นเมื่อ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1946 เวลา 19:19 UTC รู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนถึงตอนเหนือของเกาะคีวชู[44]
28 มิถุนายน 1948 7.1 Mw 3,769 แผ่นดินไหวฟุคุอิ ค.ศ. 1948 福井地震 Fukui Jishin มารูโอกะ จังหวัดฟูกูอิ 36°06′N 136°10′E / 36.10°N 136.17°E / 36.10; 136.17 เกิดเมื่อเวลา 17:13 น. [45]
4 มีนาคม 1952 8.1 Mw 28 แผ่นดินไหวในจังหวัดฮกไกโด ค.ศ. 1952 1952年十勝沖地震 Sen-kyūhyaku-goūjūni-nen Tokachi-Oki Jishin 42°18′N 144°54′E / 42.3°N 144.9°E / 42.3; 144.9 แผ่นดินไหวในจังหวัดฮกไกโด ค.ศ. 1952 เกิดขึ้นประมาณวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1952 ในทะเลทางตะวันออกของจังหวัดฮกไกโด ขนาด 8.1 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหว [46]
19 สิงหาคม 1961 7.0 8 แผ่นดินไหวคิตะ–มิโนะ ค.ศ. 1961 北美濃地震 Kitamino Jishin 36°6′7″N 136°42′0″E / 36.10194°N 136.70000°E / 36.10194; 136.70000 เป็นแผ่นดินไหวที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งชื่อให้[47] มีผู้เสียชีวิต 8 คน[48]
16 มิถุนายน 1964 7.6 Mw 26 แผ่นดินไหวในจังหวัดนีงาตะ ค.ศ. 1964 新潟地震 Niigata Jishin ห่างจากเมืองนีงาตะไปทางเหนือ 50 กิโลเมตร แผ่นดินไหวก่อให้เกิดแผ่นดินเหลวเป็นวงกว้างในเมืองนีงาตะ ส่งผลให้อาคารเกิดความเสียหายในระดับที่สูงผิดปกติ เมื่อเทียบกับความรุนแรงของแรงสั่น[49]
1 เมษายน 1968 7.5 Mw 0 แผ่นดินไหวในทะเลฮีวงะ ค.ศ. 1968 1968年日向灘地震 Sen-kyūhyaku-rokujūhachi-nen Hyūga-nada Jishin ทะเลฮีวงะ [50]
16 พฤษภาคม 1968 8.2 Mw 52 แผ่นดินไหวโทกาจิ ค.ศ. 1968 1968年十勝沖地震 Sen-kyūhyaku-rokujūhachi-nen Tokachi-oki Jishin ในทะเลมิซาวะ จังหวัดอาโอโมริ แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นนอกชายฝั่งเกาะฮนชูใกล้กับเมืองมิซาวะ จังหวัดอาโอโมริ แผ่นดินไหวได้ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาทำให้มีผู้เสียชีวิต 52 คนและส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญในภาคเหนือของญี่ปุ่น [51][52]
17 มิถุนายน 1973 7.8 Mw 0 แผ่นดินไหวเนมูโระ ค.ศ. 1973 1973根室半島沖地震 Nemurohantō-oki Jishin คาบสมุทรเนมูโระ
9 พฤษภาคม 1974 6.5 Ms 25 แผ่นดินไหวในคาบสมุทรอิซุ ค.ศ. 1974 1974年伊豆半島沖地震 Sen-kyūhyaku-nanajūyo-nen Izu-hantō-oki Jishin คาบสมุทรอิซุ จังหวัดชิซูโอกะ
12 มิถุนายน 1978 7.7 Ms 28 แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ ค.ศ. 1978 宮城県沖地震 Miyagi-ken-oki jishin ในทะเล จังหวัดมิยางิ เกิดความเสียหายในนครเซ็นได แผ่นดินไหวก่อให้เกิดดินถล่มเป็นวงกว้าง [53][54]
26 พฤษภาคม 1983 7.8 Ms 104 แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น ค.ศ. 1983 日本海中部地震 Nihonkai-chubu jishin ในทะเลห่างจากนครโนชิโระ จังหวัดอากิตะ ไปทางตะวันตก 100 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เกิดสึนามิซัดตามแนวชายฝั่งโดยเฉพาะจังหวัดอาโอโมริและจังหวัดอากิตะและชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรโนโตะ คลื่นสึนามิที่สูงกว่า 10 เมตร พัดทำลายท่าเรือประมงเมืองวาจิมะบนคาบสมุทรโนโตะได้รับการออกอากาศทางโทรทัศน์ ในบางพื้นที่มีคลื่นสูงเกินกว่า 10 เมตร สึนามิยังส่งผลกระทบไปยังเกาหลีใต้ แผ่นดินไหวยังก่อให้เกิดแผ่นดินเหลวอย่างหนักในพื้นที่ได้รับผลกระทบ
14 กันยายน 1984 6.3 Ms 29 แผ่นดินไหวในจังหวัดนางาโนะ ค.ศ. 1984 長野県西部地震 Nagano-ken-seibu jishin ภูเขาอนตาเกะ โอตากิ จังหวัดนางาโนะ โดยรวม มีผู้เสียชีวิต 29 คน และบาดเจ็บ 10 คน
17 ธันวาคม 1987 6.7 Mw 2 แผ่นดินไหวในจังหวัดชิบะ ค.ศ. 1987 千葉県東方沖地震 Chiba Toho-oki jishin จังหวัดชิบะ มีผู้เสียชีวิต 2 คนและบาดเจ็บ 146 คน [55]
15 มกราคม 1993 7.6 Mw 2 แผ่นดินไหวคูชิโระ-โอกิ ค.ศ. 1993 釧路沖地震 Kushiro-Oki Jishin 43°00′00″N 143°41′28″E / 43.000°N 143.691°E / 43.000; 143.691
12 กรกฎาคม 1993 7.7 Mw 202 แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโอกูชิริ พ.ศ. 2536 北海道南西沖地震 Hokkaidō Nansei Oki Jishin 42°51′04″N 139°11′49″E / 42.851°N 139.197°E / 42.851; 139.197
28 ธันวาคม 1994 7.7 Mw 3 แผ่นดินไหวซันริกุ ค.ศ. 1994 三陸はるか沖地震 Sanriku-haruka-oki Jishin 40°27′04″N 143°29′28″E / 40.451°N 143.491°E / 40.451; 143.491 [56]
17 มกราคม 1995 7.3 Mj 6,434 แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิน ค.ศ. 1995 兵庫県南部地震
(阪神・淡路大震災)
Hyōgoken Nanbu Jishin
(Hanshin-Awaji Daishinsai )
เกาะอาวาจิตอนเหนือ
ความเสียหายในโคเบะ
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1995 เวลา 05:46 น. (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) มีจุดศูนย์กลางบริเวณทางใต้ของจังหวัดเฮียวโงะ วัดได้ขนาด 6.8 ในระดับมาตราขนาดโมเมนต์ [57] และวัดได้ขนาด 7.3 ในมาตราการวัดของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [58] เกิดแรงสั่นสะเทือนนาน 20 วินาที จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวลึก 16 กิโลเมตร [58] อยู่ห่างจากเมืองโคเบะ 20 กม. (12 ไมล์)
4 พฤษภาคม 1998 7.5 Mw 0 แผ่นดินไหวในหมู่เกาะเกาะริวกิว ค.ศ. 1998 石垣島南方沖地震 Ishigakijima nanpō-oki jishin 22°18′N 125°18′E / 22.30°N 125.30°E / 22.30; 125.30 จุดศูนย์กลางอยู่ในทะเลฟิลิปปินซึ่งอยู่ห่างจากเกาะอิชิงากิ 260 กม. ห่างจากเมืองบัสโก ประเทศฟิลิปปินส์ 400 กม. ห่างจากเทศมณฑลฮวาเหลียน ประเทศไต้หวัน 425 กม. [59]
24 มีนาคม 2001 6.7 Mw 2 แผ่นดินไหวเกโยะ ค.ศ. 2001 2001年芸予地震 Nisen-ichi-nen Gēyo Jishin 34°04′59″N 128°01′12″E / 34.083°N 128.020°E / 34.083; 128.020 มีอาคารประมาณ 3,700 หลังได้รับความเสียหาย แผ่นดินไหวยังก่อให้เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินเหลว [60] ในจังหวัดฮิโรชิมะ และจังหวัดเอฮิเมะ
25 กันยายน 2003 8.3 Mw 1 แผ่นดินไหวในจังหวัดฮกไกโด ค.ศ. 2003 2003年十勝沖地震 Nisen-san-nen Tokachi-oki Jishin 41°47′N 143°52′E / 41.78°N 143.86°E / 41.78; 143.86 แผ่นดินไหวในจังหวัดฮกไกโด เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2003 วัดได้ 8.3 ในขนาดมาตราเมร์กัลลี แผ่นดินไหวสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อถนนทั่วฮกไกโด เกิดไฟฟ้าดับหลายครั้ง และเกิดดินถล่มส่งผลให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติม[61]
23 ตุลาคม 2004 6.9 Mw 68 แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ ค.ศ. 2004 新潟県中越地震 Chūetsu Jishin โอจิยะ จังหวัดนีงาตะ เกิดขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2004 เวลา 17.56 น. (เวลาท้องถิ่น) แผ่นดินไหวหลักก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่สามารถรู้สึกได้เกือบครึ่งหนึ่งของเกาะฮนชู
20 มีนาคม 2005 7.0 Mw 1 แผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูโอกะ ค.ศ. 2005 福岡県西方沖地震 Fukuoka-ken Seihō Oki Jishin ในทะเลเก็งไก ห่างจากเกาะเก็งไกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 กม. (3.7 ไมล์) แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดฟูกูโอกะ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2005 เวลา 10:53:40 น. JST แรงสั่นสะเทือนนาน 50 วินาที
16 สิงหาคม 2005 7.2 Mw 0 แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ ค.ศ. 2005 宮城県沖地震 Miyagi-ken Oki Jishin ในทะเลห่างจากคาบสมุทรโอชิกะ ในจังหวัดมิยางิ ประมาณ 55 กม. (34 ไมล์)
15 พฤศจิกายน 2006 8.3 Mw 0 แผ่นดินไหวในหมู่เกาะคูริล ค.ศ. 2006 2006年千島列島沖地震 Nisen-roku-nen Chishima Rettō Oki Jishin หมู่เกาะคูริล แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 เวลา 20:29 น. (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) ทำให้เกิดคลื่นสึนามิกระทบชายฝั่งทางเหนือของญี่ปุ่น
13 มกราคม 2007 8.1 Mw 0 แผ่นดินไหวในหมู่เกาะคูริล ค.ศ. 2007 2007年千島列島沖地震 Nisen-nana-nen Chishima Rettō Oki Jishin 46°28.8′N 154°04.48′E / 46.4800°N 154.07467°E / 46.4800; 154.07467 แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 13:23 น. เวลามาตรฐานญี่ปุ่น (04:23 UTC)[62] ส่งผลให้มีการเตือนภัยสึนามิ แต่คลื่นไม่ได้สร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด จุดศูนย์กลางห่างจาก แผ่นดินไหวในหมู่เกาะคูริล ค.ศ. 2006 ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 95 กม.
25 มีนาคม 2007 6.9 Mw 1 แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2007 能登半島地震 Noto Hantō Jishin ห่างจากเมืองวาจิมะไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 11 กม. (6.8 ไมล์)
16 กรกฎาคม 2007 6.6 Mw 11 แผ่นดินไหวในชูเอ็ตสึ ค.ศ. 2007 新潟県中越沖地震 Niigata-ken Chūetsu Oki Jishin ในทะเลห่างจากจังหวัดนีงาตะ ไปทางตะวันตกประมาณ 29 กม. (18 ไมล์) แผ่นดินไหว[63] ขนาด 6.6 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 เวลา 10:13 น. ตามเวลาท้องถิ่น (01:13 UTC) [64][65]แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ [64] มีรายงานผู้เสียชีวิต 11 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 1,000 คน บ้านเรือนและอาคารเสียหายอย่างรุนแรงกว่า 342 หลัง ซึ่งบ้านเรือนที่เสียหายส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างไม้เก่า[64][66][67]
14 มิถุนายน 2008 6.9 Mw 12 แผ่นดินไหวอิวาเตะ-มิยางิ ไนริกุ ค.ศ. 2008 岩手・宮城内陸地震 Iwate Miyagi Nairiku Jishin ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดอิวาเตะ แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในภูมิภาคโทโฮกุตอนกลาง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮนชูประเทศญี่ปุ่น[68]
11 สิงหาคม 2009 6.6 Mw 1 แผ่นดินไหวในจังหวัดชิซูโอกะ ค.ศ. 2009 駿河湾地震 Suruga-wan Jishin 33°48′N 138°30′E / 33.8°N 138.50°E / 33.8; 138.50 ลึก 20 กม. [69]
26 กุมภาพันธ์ 2010 7.0 Mw 1 แผ่นดินไหวในหมู่เกาะรีวกีว 沖縄本島近海地震 Okinawa-hontō-kinkai Jishin 25°54′07″N 128°25′01″E / 25.902°N 128.417°E / 25.902; 128.417 ลึก 22 กม. [70]
21 ธันวาคม 2010 7.4 Mw 0 แผ่นดินไหวในหมู่เกาะโองาซาวาระ 父島近海地震 Chichijima-kinkai Jishin 26°51′58″N 143°44′20″E / 26.866°N 143.739°E / 26.866; 143.739 ลึก 14.9 กม. [71]
9 มีนาคม 2011 7.2 Mw 0 แผ่นดินไหวนำของ แผ่นดินไหวในโทโฮกุ 東北地方太平洋沖地震 (Foreshock)
(東日本大震災)
Tōhokuchihō Taiheiyō Oki Jishin
(Higashi Nihon Dai-Shinsai)
38°25′26″N 142°50′10″E / 38.424°N 142.836°E / 38.424; 142.836 ลึก 32 กม. [72]
11 มีนาคม 2011
05:46:23 เวลาสากลเชิงพิกัด
(14:46 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
9.1 Mw 18,430 แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 東北地方太平洋沖地震
(東日本大震災)
Tōhokuchihō Taiheiyō Oki Jishin
(Higashi Nihon Dai-Shinsai)
38°30′36″N 142°47′31″E / 38.510°N 142.792°E / 38.510; 142.792 ลึก 29 กม.
ความเสียหายในเซ็นได

มีรายงานว่าจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งนี้ เกิดขึ้นนอกคาบสมุทรโอชิกะ ซึ่งเป็นคาบสมุทรทางตะวันออกของภูมิภาคโทโฮกุ[73] แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวที่วใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในห้าแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดในโลกนับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บบันทึกข้อมูลแผ่นดินไหว [74][75][76]แผ่นดินไหวก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ สูงถึง 40 เมตร (130 ฟุต) ตามมาเข้าทำลายแนวชายฝั่งซันริกุ และบริเวณอื่น ๆ [77] ภัยพิบัติดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคนและสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางต่ออาคารและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง

11 มีนาคม 2011
06:25:50 UTC
7.1 Mw 0 แผ่นดินไหวตามของแผ่นดินไหวในโทโฮกุ 東北地方太平洋沖地震
(東日本大震災)
Tōhokuchihō Taiheiyō Oki Jishin
(Higashi Nihon Dai-Shinsai)
38°06′22″N 144°33′11″E / 38.106°N 144.553°E / 38.106; 144.553, ลึก 19.7 กม. [78]
7 เมษายน 2011
23:30:00 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
7.1 Mw 4 แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ พ.ศ. 2554 宮城県沖地震 Miyagi-ken Oki Jishin 38°15′11″N 141°38′24″E / 38.253°N 141.640°E / 38.253; 141.640 ลึก 49 กม. เป็นแผ่นดินไหวตามของแผ่นดินไหวในโทโฮกุ [79]
11 เมษายน 2011
17:16:13 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
6.6 Mw 6 แผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ เมษายน พ.ศ. 2554 福島県浜通り地震 Fukushima-ken Hamadori Jishin 37°00′25″N 140°28′37″E / 37.007°N 140.477°E / 37.007; 140.477 ลึก 10 กม. เป็นแผ่นดินไหวตามของแผ่นดินไหวในโทโฮกุ [80]
10 กรกฎาคม 2011
10:57:12 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
7.0 Mw 0 แผ่นดินตามของแผ่นดินไหวในโทโฮกุ 福島県浜通り地震 Fukushima-ken Hamadori Jishin 38°02′24″N 143°17′13″E / 38.040°N 143.287°E / 38.040; 143.287 ลึก 49 กม. ห่างจากเกาะฮาจิโจจิมะไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 242 กม. [81][82]
1 มกราคม 2012
14:27:54 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
6.8 Mw 0 แผ่นดินไหวหมู่เกาะอิซุ 鳥島近海地震 Torishima-kinkai Jishin 31°24′58″N 138°09′18″E / 31.416°N 138.155°E / 31.416; 138.155 ลึก 348.5 กม. ห่างจากเกาะฮาจิโจจิมะไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 242 กม. ห่างจากหมู่เกาะอิซุ 365 กม.
7 ธันวาคม 2012
17:18:24 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
7.3 Mw 3 แผ่นดินไหวซันริกุ ค.ศ. 2012 三陸沖地震 Sanriku Oki Jishin 37°42′00″N 144°36′00″E / 37.700°N 144.600°E / 37.700; 144.600, ลึก 32 กม. ห่างจากคาไมชิไปทางทิศตะวันออก 293 กม. (182 ไมล์)
ห่างจากโตเกียว 492 กม. (306 ไมล์)[83]
26 ตุลาคม 2013
02:10:19 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
7.1 Mw 0 แผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ 福島県沖地震 Fukushima-ken oki jishin 37°09′22″N 144°39′40″E / 37.156°N 144.661°E / 37.156; 144.661 ลึก 35 กม. [84]
22 พฤศจิกายน 2014

22:08:18 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

6.2 Mw

6.7 MJMA

แผ่นดินไหวในจังหวัดนางาโนะ ค.ศ. 2014 長野県地震 Nagano-ken jishin 36°38′28″N 137°53′17″E / 36.641°N 137.888°E / 36.641; 137.888

ลึก 9.0 กม.

แผ่นดินไหวทำให้มีผู้บาดเจ็บ 41 คน แรงสั่นสะเทือนยังส่งผลกระทบต่อภูมิภาคชูบุทั้งหมด แผ่นดินไหวยังทำให้เกิดรอยแตกตามพื้นดินจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใกล้กับหมู่บ้านฮากุบะ[85][86]
30 พฤษภาคม 2015
20:24 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
7.8 Mw 0 แผ่นดินไหวในหมู่เกาะโองาซาวาระ ค.ศ. 2015 小笠原諸島西方沖地震 Ogasawara-shoto Seihō Oki Jishin 27°49′52″N 140°29′35″E / 27.831°N 140.493°E / 27.831; 140.493 ลึก 677.6 กม. ห่างจากเกาะชิจิจิมะ 189 กม. (117 ไมล์) [87]
14 เมษายน 2016
21:26:39 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
6.2 Mw 9 แผ่นดินไหวนำของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016 平成28年(2016年)熊本地震 Heisei-28-nen (2016-nen) Kumamoto jishin ลึก 10 กม. ห่างจากเมืองอูเอกิ จังหวัดคูมาโมโตะ 7 กม. (4.34 ไมล์) [88]
16 เมษายน 2016
1:25 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
7.0 Mw 41 แผ่นดินไหวหลักของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016 平成28年(2016年)熊本地震 Heisei-28-nen (2016-nen) Kumamoto jishin 32°47′28″N 130°45′14″E / 32.791°N 130.754°E / 32.791; 130.754, ลึก 10.0 กม. ห่างจากเมืองคูมาโมโตะ 1 กม. (0.62 ไมล์) [89]
22 พฤศจิกายน 2016
05:59:49 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
6.9 Mw 0 แผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ พ.ศ. 2559 福島県沖地震 Fukushima-ken oki jishin 37°23′31″N 141°24′11″E / 37.392°N 141.403°E / 37.392; 141.403 ลึก 11.4 กม. ห่างจากเมืองนามิเอะ 37 กม. [90]
18 มิถุนายน 2018

07:58:35 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

5.5 Mw 4 แผ่นดินไหวในจังหวัดโอซากะ พ.ศ. 2561 大阪府北部地震 Ōsaka-fu Hokubu Jishin 34°50′02″N 135°36′22″E / 34.834°N 135.606°E / 34.834; 135.606 ลึก 13.2 กม. ห่างจากนครฮิรากาตะ 2 กม.[91]
6 กันยายน 2018

03:08 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

6.6 Mw 41 แผ่นดินไหวในจังหวัดฮกไกโด พ.ศ. 2561 北海道胆振東部地震 Hokkaido Iburi Tōbu Jishin 42°40′16″N 141°55′59″E / 42.671°N 141.933°E / 42.671; 141.933 ลึก 33.4 กม. ห่างจากเมืองโทมาโกไม 27 กม. [92]
19 มิถุนายน 2019
22:22 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น
6.4 Mw 0 แผ่นดินไหวในจังหวัดยามางาตะ ค.ศ. 2019 山形県沖地震 Yamagata-ken Oki jishin 38°38′06″N 139°27′15″E / 38.635°N 139.4543°E / 38.635; 139.4543, ลึก 16.1 กม. ห่างจากสึรูโอกะ 33 กม.
13 กุมภาพันธ์ 2021

23:07 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

7.1 Mw 1 แผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ พ.ศ. 2564 福島県沖地震 Fukushima-ken Oki Jishin 37°42′07″N 141°45′43″E / 37.702°N 141.762°E / 37.702; 141.762 ลึก 55 กม. ห่างจากนครอิชิโนมากิ 2 กม.
20 มีนาคม 2021

18:09:45 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

7.0 Mw 0 แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ มีนาคม ค.ศ. 2021 宮城県沖地震 Miyagi-ken Oki Jishin 38°28′30″N 141°36′25″E / 38.475°N 141.607°E / 38.475; 141.607 ลึก 54 กม. ห่างจากนครอิชิโนมากิ 27 กม.
7 ตุลาคม 2021

22:41 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

5.9 MW 0 แผ่นดินไหวในจังหวัดชิบะ ค.ศ. 2021 千葉県北西部地震 Chiba-ken Hokuseibu Jishin 35°34′37″N 140°04′12″E / 35.577°N 140.070°E / 35.577; 140.070 ลึก 80 กม. ห่างจากเมืองชิบะ 4 กม.
16 มีนาคม 2022

23:36 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

7.3 MW 4 แผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2022 福島県沖地震 Fukushima-ken'Oki Jishin 37°42′07″N 141°35′13″E / 37.702°N 141.587°E / 37.702; 141.587 ลึก 63.1 กม. ห่างจากเมืองนามิเอะ 57 กม.
5 พฤษภาคม 2023

14:42 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

6.5 MW 1 แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2023 石川・能登地方地震 Ishikawa-ken Noto-hantō Jishin 37°32′24″N 137°18′18″E / 37.540°N 137.305°E / 37.540; 137.305 ลึก 8.7 กม. มีความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือน 6+ (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.1) ในเมืองซูซุ จังหวัดอิชิกาวะ
1 มกราคม 2024

16:10 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

7.6 MW 241 แผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น ค.ศ. 2024 (แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะเรวะ 6 ) 令和6年能登半島地震 Ishikawa-ken Noto-hantō Jishin 37°29′53″N 137°14′31″E / 37.498°N 137.242°E / 37.498; 137.242 ลึก 10 กม. มีความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือน 7 ในเมืองชิกะ จังหวัดอิชิกาวะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. USGS Earthquake Catalog Search
  2. Hammer, Joshua. (2006). Yokohama Burning: The Deadly 1923 Earthquake and Fire that Helped Forge the Path to World War II, p. 62–63.
  3. 3.0 3.1 3.2 Ishibashi, K. (2004) ; "Status of historical seismology in Japan" (30 pages) ; Earthquake catalogue 47 (2–3) ; Collections: 04.06.05. Historical seismology; Annals of Geophysics, accessed 2011-03-19 (English summary)
  4. 4.0 4.1 Tatsuo Usami "Historical earthquakes in Japan", In: William H.K. Lee, Hiroo Kanamori, Paul C. Jennings and Carl Kisslinger, (Eds.), International Geophysics, Academic Press, 2002, Volume 81, Part 1, International Handbook of Earthquake and Engineering Seismology, pp. 799–802, ISSN 0074-6142, ISBN 978-0-12-440652-0, doi:10.1016/S0074-6142 (02) 80254-6
  5. 5.0 5.1 "Earthquakes". Japan Guide. สืบค้นเมื่อ August 11, 2009.
  6. Kawasumi, H., 1951, Measures of earthquakes danger and expectancy of maximum intensity throughout Japan as inferred from the seismic activity in historical times, Bull. Earthq. Res. Inst., Univ. Tokyo, 29, pp.469–482
  7. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) : NCEI/WDS Global Significant Earthquake Database. NOAA National Centers for Environmental Information. (1972). "Significant Earthquake: Japan 684". NOAA National Centers for Environmental Information. doi:10.7289/V5TD9V7K. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2016. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  8. National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) : NCEI/WDS Global Significant Earthquake Database. NOAA National Centers for Environmental Information. (1972). "Significant Earthquake: Japan: Mino 745". NOAA National Centers for Environmental Information. doi:10.7289/V5TD9V7K. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2016. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. Satake, K; Sawai, Y.; Shishikura, M.; Okamura, Y.; Namegaya, Y.; Yamaki, S (2007). "Tsunami source of the unusual AD 869 earthquake off Miyagi, Japan, inferred from tsunami deposits and numerical simulation of inundation". American Geophysical Union, Fall Meeting 2007, Abstract #T31G-03. 2007: T31G–03. Bibcode:2007AGUFM.T31G..03S.
  10. "Before 1600", Higai, JP, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-22.
  11. 11.0 11.1 National Geophysical Data Center / World Data Service (NGDC/WDS) : NCEI/WDS Global Significant Earthquake Database. NOAA National Centers for Environmental Information. (1972). "Significant Earthquake: Japan_1293". NOAA National Centers for Environmental Information. doi:10.7289/V5TD9V7K. สืบค้นเมื่อ May 31, 2021. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  12. IISEE. "Search parameters page". Catalog of Damaging Earthquakes in the World (from ancient times through June, 2009). สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  13. NGDC. "Comments for the Tsunami Event". สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  14. Haeing Yoong, K. (2010). "Past three Kanto earthquakes inferred from the tsunami deposits survey in the southern Miura Peninsula, Central Japan". Geological Society of America Abstracts with Programs 42. p. 106. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  15. HIGAI. "日本被害地震年表:before1600" [Japan Damage Earthquake Chronology: before1600]. Seismological Society of Japan (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-22.
  16. Shishikura, M.; Echigo, T.; Maemoku, H.; Ishiyama, T.; Nagai, A. (2008). "Uplifted sessile assemblages on the southern coast of the Kii Peninsula, related to historical earthquakes along the Nankai Trough" (PDF). 歴史地震. 23: 21–26.
  17. 17.0 17.1 Paula Dunbar. "Significant Earthquake". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  18. reported.http://www.ngdc.noaa.gov/nndc/struts/results?eq_0=7383&t=101650&s=18&d=99,91,95,93&nd=display
  19. Yuji Kanaori; Kazuhiro Tanaka; Masahiro Chigira (2000). Engineering geological advances in Japan for the new millennium. Elsevier. ISBN 9780080530925.
  20. Toshihiko Sugai; Yuichiro Fusejima; Yasuo Awata; Takashi Azuma; Yoshihiko Kariya; Yasuhiro Suzuki. "Late Holocene paleoseismicity of the Yoro fault system". National Institute of Advanced Industrial Science and Technology.
  21. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 2011-11-23.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  22. Ishibashi, K. (2004). "Status of historical seismology in Japan" (PDF). Annals of Geophysics. 47 (2/3): 339–368. สืบค้นเมื่อ 2009-11-22.
  23. "History News Network - Danger in the Lowground: The Japan Earthquake in Historical Context". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  24. 報告書(1662 寛文近江・若狭地震) Cebinet Office(Japan)Retrieved 2018-03-05
  25. Susumu Yamaga「日本列島の地震・津波・噴火の歴史」pp. 72-73.2018-03-05 Reading. ISBN 978-4-86064-476-5
  26. https://royalsocietypublishing.org/doi/pdf/10.1098/rsta.2014.0375 Geological and historical evidence of irregular recurrent earthquakes in Japan
  27. "Scientists warn Hokkaido about 'imminent' megaquake:The Asahi Shimbun". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
  28. Yanagisawa, H.; Goto, K.; Sugawara, D.; Kanamaru, K.; Iwamoto, N.; Takamori, Y. (2016). "Tsunami earthquake can occur elsewhere along the Japan Trench—Historical and geological evidence for the 1677 earthquake and tsunami". Journal of Geophysical Research: Solid Earth. 121 (5): 3504–3516. Bibcode:2016JGRB..121.3504Y. doi:10.1002/2015JB012617.
  29. Hammer, Joshua (2006). "Yokohama Burning: The Deadly 1923 Earthquake and Fire that Helped Forge the Path to World War II" (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. สืบค้นเมื่อ 30 September 2022.
  30. Miyazawa, M.; Mori J. (2005). "Historical maximum seismic intensity maps in Japan from 1586 to 2004: construction of database and application" (PDF). Ann. Disaster Prev. Res. Inst. Kyoto Univ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 30 January 2010.
  31. 31.0 31.1 Paula Dunbar. "Significant Earthquake". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  32. 32.0 32.1 Paula Dunbar. "Significant Earthquake". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  33. Usami, T. (1979). "Study of Historical Earthquakes in Japan" (PDF). Bulletin of the Earthquake Research Institute. 54: 399–439. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2009-11-13.
  34. Kawade Shobō Shinsha Editorial Team (eds.). "Ansei Daijishin" (安政大地震, "Great Earthquakes of Ansei"). Ō-Edo Rekishi Hyakka (大江戸歴史百科, "Historical Encyclopedia of Great Edo"). Tokyo: Kawade Shobō Shinsha Publishers, 2007, p. 253.
  35. 横浜地震(1880年) Japan,Yahoo(Japanese)Retrieval 2018/04/06
  36. Clancey, Greg (1 May 2006). "Earthquake Nation: The Cultural Politics of Japanese Seismicity, 1868-1930" (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. สืบค้นเมื่อ 6 October 2022.
  37. "Today in Earthquake History". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  38. "Research describes origin of devastating tsunami". American Geophysical Union. 1996-06-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-15. สืบค้นเมื่อ 2009-05-19.
  39. "Historic Earthquakes: Sanriku, Japan, 1896 June 15 UTC , Magnitude 8.5". US Geological Survey. 2009-01-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-09. สืบค้นเมื่อ 2009-05-19.
  40. "Today in Earthquake History". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  41. "Historic Earthquakes: Tango, Japan, 1927 March 07 09:27 UTC, Magnitude 7.6". USGS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-09. สืบค้นเมื่อ 2009-05-19.
  42. Kanamori, H. ( 1977), The energy release in great earthquakes, J. Geophys. Res., 82 ( 20), 2981– 2987, doi:10.1029/JB082i020p02981.
  43. Paula Dunbar. "Significant Earthquake". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  44. "The 1946 Nankaido earthquake". USGS. 13 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-01. สืบค้นเมื่อ 2008-06-29.
  45. Japan Meteorological Agency[ลิงก์เสีย] Shindo Database Search Retrieved August 16, 2008
  46. "Today in Earthquake History". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  47. 気象庁が命名した気象及び地震火山現象 เก็บถาวร 2018-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Meteorological Agency(Japanese)Retrieval 2018/04/06
  48. 岐阜県の地震災害 เก็บถาวร 2018-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gifu Prefecture Official Site(Japanese)Retrieval 2018/04/06
  49. Kawasumi, H. (1968). "1. Introduction" (PDF). ใน Kawasumi H. (บ.ก.). General Report on the Niigata Earthquake of 1964. Tokyo, Japan: Tokyo Electrical Engineering College Press.
  50. "jb000139 1..16" (PDF).
  51. "Maps of Pacific Ocean Tsunami Travel Times". NOAA. สืบค้นเมื่อ 20 March 2011.
  52. "History of Misawa Air Base". MisawaJapan.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2011.
  53. USGS. "Significant Earthquakes of the World 1978". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2010. สืบค้นเมื่อ 6 July 2010.
  54. Sidle, R.C.; Pearce, A.J.; O'Loughlin, C.L. (1985). "1 Significance of Soil Mass Movement". Hillslope stability and land use. Vol. 11. American Geophysical Union. pp. 1–9. ISBN 978-0-87590-315-6.
  55. "千葉県東方沖地震". สืบค้นเมื่อ 12 April 2022.
  56. Paula Dunbar. "Significant Earthquake". สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  57. U.S. Geological Survey. "Significant Earthquakes of the World: 1995". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-01. สืบค้นเมื่อ 2008-05-22.
  58. 58.0 58.1 The City of Kobe (2008-01-01). "STATISTICS" (PDF). The Great Hanshin-Awaji Earthquake: Statistics and Restoration Progress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-06-25. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
  59. "USGS Earthquake Hazards Program: Earthquake Report: Southeast of Taiwan". Neic.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-02. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
  60. "Significant Earthquakes of the World". web.archive.org. 25 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-25. สืบค้นเมื่อ 24 October 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  61. USGS Earthquake Hazards Program: Earthquake Report: HOKKAIDO, JAPAN REGION เก็บถาวร 2008-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  62. staff. "Giant Earthquake Jolts Japan, But Tsunami Warnings Cancelled". www.ens-newswire.com.
  63. "2007 年7月16 日10 時13 分ころ新潟県上中越沖で発生した地震について" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. 2007-07-16. สืบค้นเมื่อ 2007-07-19.
  64. 64.0 64.1 64.2 "Powerful earthquake strikes Niigata, causes leak at nuclear power plant". Japan News Review. 2007-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17.
  65. "asahi.com:新潟、長野で震度6強 8人死亡、908人がけが - 社会". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-31. สืบค้นเมื่อ 2022-11-03.
  66. Niigata earthquake death toll rises to eleven เก็บถาวร 2013-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan News Review, July 23
  67. "Japanese nuke plant leaked after earthquake". AP via CNN. 2007-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
  68. "Result of searching the database of felt earthquakes" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency.[ลิงก์เสีย]
  69. "M6.5 quake jolts Shizuoka Pref, injuring more than 20". Kyodo. 2009-08-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-15. สืบค้นเมื่อ 2009-08-11.
  70. "Magnitude 7.0 - RYUKYU ISLANDS, JAPAN". USGS. 2010-02-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-28. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  71. "Magnitude 7.4 - BONIN ISLANDS, JAPAN REGION". Earthquake.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-23. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
  72. "Magnitude 7.2 - East Coast of Honshu, JAPAN REGION". Earthquake.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-03-09.
  73. "Tsunami hits north-eastern Japan after massive quake". BBC News. 11 March 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  74. "Magnitude 8.9 – Near the East coast of Honshu, Japan 2011 March 11 05:46:23 UTC". United States Geological Survey (USGS). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  75. "8.9 Earthquake in Japan, Tsunami Warning to Russia, Taiwan and South East Asia". 11 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  76. "Japan quake – 7th largest in recorded history". 11 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  77. Akahisa, Kitamura (12 May 2016). "Examination of the largest-possible tsunamis (Level 2) generated along the Nankai and Suruga troughs during the past 4000 years based on studies of tsunami deposits from the 2011 Tohoku-oki tsunami". Progress in Earth and Planetary Science. 3 (12): 12. Bibcode:2016PEPS....3...12K. doi:10.1186/s40645-016-0092-7. S2CID 130694321.
  78. "Magnitude 7.1 - Off the East Coast of Honshu, JAPAN REGION". Earthquake.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  79. "Magnitude 7.1 - Near the East Coast of Honshu, JAPAN REGION". Earthquake.usgs.gov. 7 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-04-10.
  80. 37°00′25″N 140°28′37″E / 37.007°N 140.477°E / 37.007; 140.477 ลึก 10 กม.||"Magnitude 6.6 - East Honshu, JAPAN REGION". Earthquake.usgs.gov. 11 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
  81. "Magnitude 7.0 - Off the East Coast of Honshu, JAPAN". Earthquake.usgs.gov. 10 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-02. สืบค้นเมื่อ 2011-07-11.
  82. Harlan, Chico (9 July 2011), "7.0 aftershock hits off Japan coast; no damage reported", The Washington Post, Washington, D.C., คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2011
  83. "Magnitude 7.3 - 293km SE of Kamaishi, Japan". United States Geological Survey (USGS). 7 December 2012. สืบค้นเมื่อ 7 December 2012.
  84. "M 7.1 - Off the east coast of Honshu, Japan". United States Geological Survey. 2013-10-25. สืบค้นเมื่อ 2017-09-26.
  85. Yamaguchi, Ken Moritsugu and Mari (2014-11-23). "Japan earthquake destroyed 50 homes, injured more than 40 people". CTVNews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-17.
  86. "M 6.2 - 6 km SSE of Hakuba, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-10-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  87. "M7.8 - 189 WNW of Chichi-shima, Japan". United States Geological Survey. May 30, 2015. สืบค้นเมื่อ May 30, 2015.
  88. "M6.2 - 7km SW of Ueki, Japan". United States Geological Survey. April 14, 2016. สืบค้นเมื่อ April 14, 2016.
  89. "M 7.0 - 1km E of Kumamoto-shi, Japan". United States Geological Survey. April 15, 2016. สืบค้นเมื่อ April 15, 2016.
  90. "M6.9 - 37km ESE of Namie, Japan". United States Geological Survey. November 22, 2016. สืบค้นเมื่อ November 22, 2016.
  91. "M 5.5 - 1km NW of Hirakata, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18.
  92. "M 6.6 - 27km E of Tomakomai, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-06.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Quake measuring 6.9 off Japan's Honshū coast
Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
2011 Sendai Earthquake
ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก
image icon แผนที่ทางสถิติแสดงตำแหน่ง ขนาด และความลึกของแผ่นดินไหวใกล้ประเทศญี่ปุ่น