แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2022
福島県沖地震 | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2022-03-16 14:36:33 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 622130446 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 16 มีนาคม ค.ศ. 2022 |
เวลาท้องถิ่น | 23:36 JST |
ขนาด | 7.4 |
ความลึก | 57.0 กิโลเมตร (JMA) 63.1 กิโลเมตร (USGS) |
ศูนย์กลาง | 37°42′07″N 141°35′13″E / 37.702°N 141.587°E |
ประเภท | รอยเลื่อนย้อน |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | ชินโดะ 6+ [1] VIII (อย่างรุนแรง) [2] |
สึนามิ | 30 เซนติเมตร[3] |
แผ่นดินไหวนำ | 6.1[4] 6.0[5] |
แผ่นดินไหวตาม | 5.6[6] 5.5[7] |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 225 คน[8][9][10] |
แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2022 (ญี่ปุ่น: 福島県沖地震; โรมาจิ: Fukushima-ken Oki Jishin) เกิดขึ้นนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2022 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)[1] แผ่นดินไหวมีขนาด 7.4 ตามรายงานของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ในขณะที่กรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) ประเมินค่าไว้ต่ำกว่าเล็กน้อยที่ขนาด 7.3 มีรายงานสึนามิขนาด 30 เซนติเมตรทันทีหลังแผ่นดินไหว มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และบาดเจ็บ 225 คน
เปลือกโลก
[แก้]แผ่นแปซิฟิกเกิดจากเปลือกโลกสมุทรมุดตัวลงใต้แผ่นโอค็อตสค์ตามร่องมุดตัวซึ่งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น[11] มีความยาวตั้งแต่คาบสมุทรโบโซและสิ้นสุดใกล้กับจังหวัดฮกไกโดเขตมุดตัวนี้เชื่อมต่อกับร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคา ที่ตำแหน่งนี้แผ่นแปซิฟิกจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกและมุดเข้ากับแผ่นอเมริกาเหนือด้วยความเร็ว 70 มม./ปี ซึ่งทำให้เกิดร่องลึกบาดาลญี่ปุ่น เขตมุดตัวนี้มีความสามารถในการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีขนาดมากกว่า 8.5 ได้ เห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น และเขตมุดตัวนี้ก็เป็นเขตมุดตัวเดียวกันที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เกิดการแตกหักครอบคลุมพื้นที่ 220 × 400 กม. บนเขตมุดตัว[12]
แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญใกล้กับวันครบรอบปีที่หนึ่งของการเกิดแผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ พ.ศ. 2564และแผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ มีนาคม พ.ศ. 2564 จากการวิเคราะห์แผ่นดินไหวในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 พบว่ามีรอยเลื่อนย้อนกลับภายในแผ่นแปซิฟิกรอยแตกนั้นอยู่ด้านล่างใต้รอยแยกของการมุดตัว[13] นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นกล่าวว่าแผ่นดินไหวได้ทำให้เกิดการแตกร้าวตามแนวรอยเลื่อนทางทิศเหนือและทางใต้มีความยาว 45 กม เอียงไปทางทิศตะวันออก[14]
แผ่นดินไหว
[แก้]จากข้อมูลของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นพบว่าแผ่นดินไหวมีขนาด 7.4 ลึก 57 กิโลเมตร และกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่าแผ่นดินไหวมีขนาด 7.3 ลึก 63 กิโลเมตร[2] ก่อนเกิดแผ่นดินไหวหลักได้มีแผ่นดินไหวนำขนาด 6.1 เกิดขึ้นก่อนมีความลึก 48.1 กิโลเมตร[5][4] สามารถบันทึกความรุนแรงสูงสุดได้ ชินโด 5+ [16]
แผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ในระดับตื้นเกิดจากรอยเลื่อนย้อนกลับที่ระดับความลึกประมาณ 57-63 กิโลเมตรในแผ่นแปซิฟิก[4][17] สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) กล่าวเพิ่มเติมว่ากลไกของแผ่นดินไหวแบบย้อนกลับที่มีขนาดใกล้เคียงกันเป็นผลมาจากการแตกบนระนาบของรอยเลื่อนที่วัดได้ครอบคลุมพื้นที่ 55 กม. × 30 กม.[2] จากลักษณะแบบจำลองรอยเลื่อนโดย USGS ระบุว่ารอยเลื่อนที่แตกออกมีพื้นที่เป็นรูปไข่ตั้งอยู่ที่ความลึก 50-70 กม. (40 × 20 ตร.กม.) ทำให้เกิดการลื่นไถลสูงสุด 1.9 เมตร[18]
แผ่นดินไหวครั้งนี้อาจเป็นแผ่นดินไหวตามจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้มีจุดศูนย์กลางใกล้เคียงกับแผ่นดินไหวครั้งก่อนคือแผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ พ.ศ. 2564ซึ่งเกิดในเดือนกุมภาพันธ์เช่นกัน และอาจมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างเหตุการณ์ทั้งสอง ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 2021 เป็นอาฟเตอร์ช็อกแต่ช่วงเวลาที่ห่างจากปี 2011 มาก ทำให้การระบุว่าเป็นแผ่นดินไหวตามหรือไม่นั้นเป็นไปได้ยากมาก การพิจารณาว่าแผ่นดินไหวในปี 2022 เป็นแผ่นดินไหวตามหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องยากไม่ต่างกันเนื่องจากแผ่นดินไหวมีกลไกการเกิดรอยเลื่อนที่ต่างกัน[19] แผ่นดินไหวครั้งนี้ต่างจากเหตุการณ์ในปี 2011 โดยที่แผ่นดินไหวในครั้งนี้อาจจะมีการเกิดมาจากรอยเลื่อนใต้แผ่นแปซิฟิก ในขณะที่เหตุการณ์ในปี 2011 เกิดขึ้นจากร่องลึกที่บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นแปซิฟิกและแผ่นโอค็อตสค์[20]
จาการประเมินจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 – 7.5 นอกชายฝั่งซันริกุทุก ๆ 40 ปี แม้หลังจากลำดับแผ่นดินไหวตามที่เกิดภายหลังแผ่นดินไหวใหญ่ในปี 2011 ได้สิ้นสุดลงแล้ว[17] ประมาณการก่อนเกิดแผ่นดินไหวมีโอกาส 60-70% ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0–7.5 อาจเกิดจากรอยเลื่อนที่แตกอยู่ภายในแผ่นแปซิฟิกและอยู่ใต้ภูมิภาคโทโฮกุ หลังการเกิดแผ่นดินไหวในปี 2011 โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวจากจุดกำเนิดที่ใกล้เคียงกันก็เพิ่มขึ้น[21]
นักแผ่นดินไหววิทยาระบุว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ร่วมกับแผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ พ.ศ. 2554 และแผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ พ.ศ. 2564 ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวในปี 2022 เกิดขึ้นห่างเพียง 7 กม. จากทางตะวันตกเฉียงใต้ของแผ่นดินไหวในปี 2021 ในขณะที่แรงสั่นสะเทือนปี 2021 สั่นไปทางใต้ตามรอยเลื่อน 45 กม. แรงสั่นสะเทือนในปี 2022 สั่นไปทางเหนือตามรอยเลื่อนที่มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่า การปลดปล่อยแรงสั่นสะเทือนทั้งสองครั้งถูกจัดประเภทเป็นแผ่นดินไหวคู่เนื่องจากตำแหน่งเวลาที่เกิดเหตุ และขนาดมีความใกล้เคียงกัน ช่องว่างแผ่นดินไหวในปี 2022 และแผ่นดินไหวในปี 2554 มีช่องว่างอยู่ การคาดคะเนจากการถ่ายโอนความเครียดคูลอมบ์คาดคะเนว่าพบว่าช่องว่างนอกชายฝั่งตอนกลางของมิยางิถูกสะสมพลังงานหนักขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นแหล่งที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต [22]
สถานีตรวจหาตำแหน่งของแผ่นดินไหวตั้งอยู่บริเวณทางตอนเหนือของเกาะฮนชูพบรอยเลื่อนที่เกิดจากกระบวนการแตกขนาดเล็กหลังเกิดแผ่นดินไหว สถานีตรวจวัดอิชิโนะมากิ และคาบสมุทรโอชิกะเคลื่อนไปทางทิศเหนือ 3 ซม. ในนครเซ็นไดและทางตอนเหนือของนครฟูกูชิมะเปลือกโลกเคลื่อนไปทางตะวันออก 1 ซม. ไปทางเดียวกันใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหว ในขณะเดียวกันในตอนใต้เปลือกโลกเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 1 ซม.[23]
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว
[แก้]สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่ามีความรุนแรงสูงสุด 6+ ในระดับมาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้รับการรายงานในจังหวัดมิยางิและฟูกูชิมะ ในขณะที่ USGS รายงานว่ามีความรุนแรงสูงสุด VIII (รุนแรง) สามารถรู้สึกได้ในนครนานาโอะและนครอาโอโมริ[24] กลไกความลึกของเหตุการณ์เช่นเดียวกับขนาดของเหตุการณ์นั้นส่งผลให้เกิดการสั่นไหวอย่างรุนแรงทั่วภูมิภาคโทโฮกุและคันโต[17] แผ่นดินไหวรู้สึกได้ไกลถึงจังหวัดฮกไกโดส่วนทางใต้นั้นสามารถรู้สึกได้ในเกาะคีวชูโดยสามารถวัดได้ชินโด 1[25]
ตามสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์โลกและการป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวบันทึกได้เกือบชินโดะ 7 ในโซมะและคุนิมิ จังหวัดฟูกูชิมะ[26] มีความเป็นไปได้ที่ชินโดะ 7 อาจถูกบันทึกในคุนิมิและโคริ จังหวัดฟูกูชิมะ[27]แผ่นดินไหวมีความเร่งสูงสุด 1,233 แกล ที่คาวาซากิ จังหวัดมิยางิ[28]
การเคลื่อนที่ภาคพื้นดิน
[แก้]ทางตอนเหนือของมิยางิมีระดับ IV ในระดับการเคลื่อนที่ภาคพื้นดินของ JMA การเคลื่อนที่ของพื้นดินเป็นเวลานานจะรู้สึกได้บนอาคารสูง ซึ่งมีช่วงคลื่นไหวสะเทือนที่การสั่นพ้อง ตามธรรมชาติของอาคาร ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ด้วยความถี่สั้นแต่มีพลังงานมากที่ชั้นบนสุดของอาคาร การเคลื่อนไหวภาคพื้นดินที่มีความเข้มข้นระดับ IV จะทำให้ไม่สามารถยืนได้[29] การเคลื่อนตัวของพื้นดินประเภทนี้จะทำให้เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มีตัวยึดถล่มลงมาและผนังห้องแตกร้าว[30]
สึนามิ
[แก้]ที่ตั้ง | เวลา (ท้องถิ่น) | ความสูง (เมตร) |
---|---|---|
อิวากิ, ฟูกูชิมะ | 17 มีนาคม 00:36 น. | "ขนาดเล็ก" |
อายูกาวะ, อิชิโนมากิ, มิยางิ | 17 มีนาคม 01:41 น. | 0.1 |
ท่าเรือเซ็นได มิยางิ | 17 มีนาคม 01:46 น. | 0.2 |
ท่าเรืออิชิโนมากิ มิยางิ | 17 มีนาคม 02:14 น. | 0.3 |
โซมะ ฟูกูชิมะ | 17 มีนาคม 03:15 | 0.2 น. |
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานสึนามิขนาด 20 ซม. ที่ท่าเรืออิชิโนมากิ จังหวัดมิยางิ เมื่อเวลา 00:29 น. ตามเวลาท้องถิ่น[32]ตามด้วยคลื่นลูกที่สองขนาด 30 ซม. เวลา 02:14 น. สึนามิขนาด 20 ซม. มาถึงที่ท่าเรือเซ็นไดเวลา 03:15 น. แผ่นดินไหวไม่สามารถสร้างคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ได้อันเป็นผลมาจากความลึกของมัน ซึ่งทำให้พื้นมหาสมุทรยกตัวขึ้นเล็กน้อยจึงทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเล็กน้อย[33]
ผลกระทบ
[แก้]ในคูนิมิได้มีอาคารถล่มทำให้หลังคาที่อยู่ด้านบนเลื่อนหลุดออกมาทำให้กระเบื้องมุงหลังคากระจายไปยังพื้นที่อยู่ข้างเคียง ทำให้ยานพาหนะถูกทับอยู่ใต้หลังคาที่ตกลงมา[34]ศาลเจ้าในมินามิโซมะก็ได้รับความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญและบางส่วนพังทลายลง ชั้นวางของในสำนักงานบางส่วนล้มลงมา ความเสียหายส่วนใหญ่คือผนังบ้านแตกมีรายงานหน้าต่างแตกด้วย ในเมืองยาบูกิผนังและประตูด้านนอกของโรงแรมได้รับความเสียหาย[9]
สถานที่แข่งม้าในนครฟูกูชิมะระสบกับปัญหาน้ำรั่วและผนังเสียหาย สมาคมแข่งรถญี่ปุ่นเปิดเผยว่างานแข่งม้าในนครฟูกูชิมะต้องถูกยกเลิกเนื่องจากกำลังตรวจสอบความเสียหาย สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ยังได้รับความเสียหายระหว่างแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[35] ศาลเจ้าอินาริก็ได้รับผลกระทบเช่นกันโคมไฟหินสามดวงได้รับความเสียหายแต่ก็ถูกซ่อมในเวลาต่อมา มีรายงานว่ามีอาคารที่กระจกแตกและอิฐหักในใจกลางเมือง ที่สถานีรถไฟฟูกูชิมะมีความเสียหายเล็กน้อยอันได้แก่กระเบื้องแตกร้าวและน้ำรั่ว[36]
กำแพงหินบางส่วนของปราสาทอาโอบะในเขตอาโอบะในนครเซ็นไดได้พังถล่มลงมา[37] รูปปั้นขนาดใหญ่ของดาเตะ มาซามูเนะซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกันก็ได้รับความเสียหายเช่นกันโดยรูปปั้นเอียงลงมาหลังแผ่นดินไหว[38]ห้องแสดงคอนเสิร์ตและศูนย์กีฬาในนครชิโรอิชิก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากหลังคาฝาถล่มลงมาบางส่วน เศษแก้วและเศษฝาเพดานตกลงมากระจากไปทั่วห้องโถงรวมถึงระบบน้ำประปาในห้องโถงก็เสียหายเช่นกัน[39]
ในอิจิกาวะ จังหวัดชิบะ บ้านหลังหนึ่งไฟไหม้ทันทีหลังจากระบบไฟได้รับการซ่อม การดับไฟใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ใช้รถดับเพลิง 14 คัน[40]
พื้นที่เกษตรกรรมในนครยามางาตะ จังหวัดยามางาตะ, ท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ได้รับความเสียหายและทำให้เกิดท่อชำรุดและมีน้ำประปารั่วออกมา ทำให้ถนนที่อยู่ด้านบนพัง และเกิดหลุมยุบขนาดใหญ่บนถนน และเกิดน้ำท่วมขัง สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าและการเกษตรในบริเวณใกล้เคียงได้รับความเสียหายเล็กน้อย บ้านเรือน 47 หลังไม่สามารถใช้น้ำชั่วคราว ในฮิงาชิเนะศาลเจ้าในเมืองพังทลายลง[41]
กระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยว รายงานว่ามีผู้คน 25 คนติดอยู่ในลิฟต์ในโตเกียว[42] มีรายงานผู้คน 3 คนติดอยู่ในลิฟต์ในฟูกูชิมะ[43] และมีรายงานผู้ที่ติดอยู่ในลิฟต์อีก 9 คนในจังหวัดชิบะ จังหวัดคานางาวะ จังหวัดอิบารากิ และจังหวัดไซตามะ [42]
โรงเรียน
[แก้]มีโรงเรียนอย่างน้อย 344 แห่งในสิบเอ็ดจังหวัดได้รับความเสียหายเล็กน้อยความเสียหายส่วนใหญ่เกิดกับผนังและเพดาน โรงเรียน 476 แห่งได้ปิดตัวลงชั่วคราวในจังหวัดฟูกูชิมะ มิยางิ อิวาเตะ และยามางาตะ ขณะเดียวกันใน 6 จังหวัดก็มีการลดชั่วโมงเรียนใน 15 โรงเรียน[44]โรงเรียนหลายแห่งในฟูกูชิมะมีกำแพงแตกร้าวและหน้าต่างแตก มีเพียงไม่กี่โรงเรียนเท่านั้นที่มีท่อน้ำแตก น้ำไม่ไหล และเพดานทรุดตัว[45]
ภาคธุรกิจพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
[แก้]โรงงานหลายแห่งหยุดดำเนินการหลังจากเหตุการณ์ โรงงานผลิตเบียร์ซัปโปโรในนาโตริระงับการผลิตเบียร์หลังจากมีรายงานความเสียหายต่อเครื่องจักร โกดังในโรงงานคอมเพล็กซ์ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากตัวโกดังถล่มลงมาแต่ไม่มีผู้เสียชีวิต บริษัทระบุว่าการจัดส่งประสบกับความล่าช้าเนื่องจากความเสียหาย โรงงานของบริษัทคิรินในเซ็นไดได้ระงับการผลิตเครื่องดื่มเพื่อตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ในโมโตมิยะ จังหวัดฟูกูชิมะ บริษัทอาซาฮี กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัดก็ระงับการผลิตเช่นกัน[46]
โรงงาน 4 แห่งของบริษัท มูราตะ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในฟูกูชิมะและมิยางิกำลังดำเนินการซ่อมแซม ในวันที่ 17 มีนาคม ที่โรงงานโทเมะได้เกิดไฟไหม้ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายบางส่วน และได้เกิดน้ำระเบิดออกมาจากท่อทำให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญที่โรงงานเซ็นไดฮนมิยะและโคริยามะในโรงงานสามแห่งของของบริษัทโซนี่ซึ่งตั้งอยู่ในมิยางิสองแห่ง ยามางาตะหนึ่งแห่งซึ่งโรงงานดังกล่าวถูกปิดเพื่อการตรวจสอบความเสียหาย เบื้องต้นพบความเสียหายเล็กน้อยเท่านั้นและคาดว่าจะกลับมาดำเนินงานได้ในไม่ช้า การผลิตประเภทอื่นของโตโยต้า นิสสัน Kioxia และ เรเนซาส อิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ในไซตามะเกิดไฟไหม้ในโรงงานผลิตเศษเหล็กในเขตอิวัตสึกิ ไฟไหม้คาดว่าเกิดจากการจุดไฟแบตเตอรี่ ตลาดปลาโอนางาวะก็ประสบกับเหตุเพลิงไหม้สวิทช์บอร์ดขนาดเล็กในห้อง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน[47] คาดการกันว่าสวิตช์บอร์ดอาจสัมผัสกับน้ำที่มาจากท่อบนเพดานและเริ่มติดไฟ[9]
มีความเสียหายที่เกิดกับวัสดุจำนวนมากในคลังเก็บสินค้าในมิยางิ ฟูกูชิมะ และนีงาตะ ฐานการจัดส่งถูกยกเลิกเนื่องจากคำสั่งอพยพชั่วคราวเนื่องจากคำเตือนสึนามิ และสินค้าบางอย่างได้รับความเสียหาย การปิดทางหลวงสายหลักทำให้การขนส่งสินค้าล่าช้า ร้านเครื่องเสียงในเซ็นไดมีน้ำรั่วจากสปริงเกอร์ที่เปิดใช้งาน ร้านค้าอื่น ๆ เพดานถล่มและผลิตภัณฑ์ตกจากชั้นวาง เนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยร้านค้าหลายร้านจึงดำเนินธุรกิจโดยการออกมาขายของที่ทางเข้าแทน[48]
ไฟดับ
[แก้]ได้เกิดไฟดับครั้งใหญ่ทั่วภูมิภาคโทโฮกุและคันโต มีครัวเรือนได้รับผลกระทบกว่า 2.2 ล้านครัวเรือนจาก 13 จังหวัดและ 1 มหานคร[49]ทีปโกรายงานว่ามีไฟฟ้าดับ 300,000 ครั้ง เกิดเหตุไฟฟ้าดับประมาณ 120,000 ครัวเรือนในโตเกียว 60,000 ครัวเรือนในจังหวัดคานางาวะ และ 50,000 ครัวเรือนในจังหวัดชิบะ ขณะที่ บริษัทโทโฮกุ อิเล็คทริก เพาเวอร์ จำกัด (TEP) ระบุว่า เกิดไฟฟ้าดับประมาณ 153,200 ครั้ง โดยมี 90,000 ครัวเรือนในฟูกูชิมะ และ 50,000 ครัวเรือน ในจังหวัดมิยางิ[50]
ทีปโกสามารถคืนไฟฟ้าให้กับครัวเรือนส่วนใหญ่ก่อนเช้าในวันที่ 17 มีนาคม แต่ยังมีอีก 33,600 ครัวเรือนในจังหวัดมิยางิและฟูกูชิมะยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้[51] ทีพีพีระบุว่าเมื่อเวลา 10:55 น. มีครัวเรือนประมาณ 3,100 ครัวเรือนในมิยางิและฟูกูชิมะยังคงไม่มีไฟฟ้า มีครัวเรือนได้รับผลกระทบอย่างน้อย 2,100 ครัวเรือนในโซมะในขณะที่ 1,200 ครัวเรือนอยู่ในโทเมะ โรงไฟฟ้าหลายแห่งที่ทำงานร่วมกับ TEP รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนฮารามาจิและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนชินเซ็นไดได้หยุดดำเนินการ ซึ่งคาดว่าคาดว่าจะกลับมาดำเนินการอีกครั้งเมื่อการตรวจสอบความปลอดภัยเสร็จสมบูรณ์[52]
ไฟฟ้าดับส่งผลให้บริการโทรศัพท์มือถือหยุดชะงักทั่วมิยากิและฟูกูชิมะ[53]
ไฟฟ้าดับส่งผลกระทบต่อ 29 เมืองในจังหวัดไซตามะรวมถึงนครชิจิบุและนครคูมางายะ ทีปโกระบุว่าการขัดข้องของไฟเกิดจากการเปิดใช้งานกลไกความปลอดภัยที่โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนฮิโรโนะ ในช่วงแผ่นดินไหวซึ่งทำให้หยุดการทำงานชั่วคราว นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าอื่น ๆ และทำให้เกิดไฟดับในภูมิภาค[54]
ระบบขนส่ง
[แก้]บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกยืนยันว่ารถไฟโทโฮกุชิงกันเซ็งตกรางระหว่างสถานีฟูกูชิมะและสถานีชิโรอิชิซาโอ บริษัทระบุว่าบริการรถไฟยามาบิโกะก็ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ มีผู้โดยสารเก้าสิบหกคนอยู่บนตู้รถไฟขณะเกิดเหตุแต่ ผู้โดยสารและลูกเรือทุกคนไม่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[55] มีเสาไฟใกล้กับจุดเกิดเหตุเอียงลงมา[56] มีรายงานความเสียหายจำนวนมากบนรางรถไฟขบวนที่ตกราง และมีเสาสาธารณูปโภคอย่างน้อย 17 แห่งตรงข้ามเส้นทางโทโฮกุได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ความเสียหายเล็กน้อยเกิดขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของสายการผลิต และคาดว่าจะสามารถเปิดได้อีกครั้งในไม่ช้าหลังจากงานซ่อมแซมเสร็จสิ้น[57]
บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกระบุเมื่อเช้าวันที่ 17 มีนาคมว่าบริการรถไฟระหว่างสถานีนาซูชิโอบาระและสถานีโมริโอกะสายโทโฮกุและฮกไกโดชิงกันเซ็งจะถูกระงับจนถึงวันที่ 21 มีนาคมเนื่องรถไฟตกราง[57] บริการบนรถไฟก็ช้าลงเช่นกัน ชิงกันเซ็งในจังหวัดยามางาตะและจังหวัดอากิตะก็หยุดดำเนินการเช่นกัน รถไฟได้หยุดให้บริการในส่วนต่าง ๆ ของสายโจบัง สายหลักโทโฮกุ และสายหลักโออุ เนื่องจากไฟฟ้าดับ[58] เช่นเดียวกันกับโฮกูริกุชิงกันเซ็งและโจเอ็ตสึชิงกันเซ็งก็ถูกกระงับชั่วคราว จะ เริ่มให้บริการอีกครั้งเวลา 01:30 น. ของวันที่ 17 มีนาคม[59]
เพื่อตอบสนองต่อการระงับการให้บริการทางรถไฟออล นิปปอน แอร์เวย์และเจแปนแอร์ไลน์ จะบินเส้นทางพิเศษจากท่าอากาศยานเซ็นไดและฟูกูชิมะไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวชั่วคราว[60]
มีการตรวจพบรอยแตกและโซนที่ถูกยกระดับยาว 100 เมตรในทางด่วนโทโฮกุ ระหว่างทางแยกชิโรอิชิและจุดเก็บค่าผ่านทางคุนิมิ มีรายงานว่าพบรอยแตก 30-50 ซม. และลึก50 ซม. ในพื้นที่ยกระดับ[61] มีรถยนต์สองคันได้รับความเสียหายจากลิ่มระหว่างทางทำให้ยางถูกเจาะเมื่อขับผ่านรอยแตก[62] ในมิยากิโนะได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในคอนโดมิเนียม[63] และมีคนติดยู่ภายในลิฟต์ทั่วจังหวัด 4 คน.[43]
สะพานสายทาดามิที่ข้ามแม่น้ำอาบูคูมะในนครดาเตะถูกยกขึ้นหลายสิบเซนติเมตรทำให้ไม่สามารถผ่านได้ สะพานที่เมืองโคโอริที่ควรจะสามารถเปิดได้ในวันที่ 19 มีนาคมก็ได้รับความเสียหาย[44]เจ้าหน้าที่จากจังหวัดฟูกูชิมะระบุว่าการซ่อมอาจใช้เวลาถึงสามปี[64]
ผู้ได้รับผลกระทบ
[แก้]ชายวัย 60 ปีจากนครโซมะ จังหวัดฟูกูชิมะ เสียชีวิตหลังจากกระโดดลงมาจากหน้าต่างหลังจากพยายามหลบหนีแผ่นดินไหว[65] มีรายงานผู้เสียชีวิตรายที่สองในนครโทเมะ จังหวัดมิยางิ ชายอายุ 70 ปีเสียชีวิตจากอาการหัวใจวาย[66] มีรายงานการเสียชีวิตรายที่สามในเมืองชิจิงาฮามะ จังหวัดมิยางิ; ชายวัย 70 ปี ล้มลงและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลแต่เสียชีวิตในเวลาต่อมา[67][68] นายฟูมิโอะ คิชิดะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวเมื่อวันที่ 17 มีนาคมว่ามีผู้เสียชีวิต 4 ราย[8] การสืบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)ได้ข้อสรุปว่าแผ่นดินไหวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียวเท่านั้นที่โทเมะ ผู้เสียชีวิตรายที่ 4 ในชิโองามะไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหวโดยตรง มีผู้เสียชีวิตอีก 2 ราย ที่ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน ณ วันที่ 17 มีนาคม[44]
เอ็นเอชเครายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 225 คน จากจังหวัดมิยางิ 104 คน จากจังหวัดฟูกูชิมะ 91 คนหนึ่งในนั้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสรวมอยู่ด้วย[9][10][51] ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ในมิยางิได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเนื่องจากวัตถุตกลงมา[66]และมีผู้บาดเจ็บอีกในไซตามะ 6 คน ในคานางาวะ 5 คน ในอิวาเตะ ยามางาตะ และอิบารากิ 2 คน และมีอีก 1 คนในโทจิงิ อากิตะและยามานาชิตามลำดับ[67][10] ที่มหาวิทยาลัยยามางาตะนักศึกษาได้รับบาดเจ็บขณะอพยพออกจากอาคาร ผู้สูงอายุหกคนในจังหวัดไซตามะได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[54]
การตอบสนอง
[แก้]คำเตือนแผ่นดินไหวและสึนามิ
[แก้]ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าออกคําเตือนเมื่อเวลา 23:36:55.6 ตามเวลาท้องถิ่น ใช้เวลา 9.6 วินาทีหลังจากการตรวจพบคลื่นแผ่นดินไหวครั้งแรกจากแผ่นดินไหวหลัก แผ่นดินไหวถูกตรวจพบครั้งแรก 1.6 วินาทีหลังจากเกิดขึ้นตรวจพบความรุนแรงของแผ่นดินไหวชินโด 3 ต่อมามีการออกคําเตือนล่วงหน้าใน 9.6 วินาทีต่อมา เมื่อเครื่องมือวัดระบบความเข้มตรวจพบความรุนแรงของแผ่นดินไหวในระดับ 5 และการออกคำเตือนอีกครั้งเมื่อตรวจพบความรุนแรงชินโดะ 6+[69]
มีการออกคําเตือนสึนามิตามแนวชายฝั่งของจังหวัดมิยางิและฟูกูชิมะหลังเกิดแผ่นดินไหวทําให้เกิดการอพยพของคนในพื้นที่ คําเตือนสึนามิถูกยกเลิกเมื่อเวลา 05:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นหลังจากพบเพียงคลื่นลูกเล็ก ๆ เท่านั้น เจ้าหน้าที่ระบุว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำขึ้นน้ำลงเล็กน้อยที่ชายฝั่งของจังหวัดฟูกูชิมะ มิยางิและอิวาเตะโดยไม่มีความเสียหาย[3]
ในประเทศ
[แก้]นายฮิโรคาซุ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 17 มีนาคมว่าพระราชบัญญัติบรรเทาสาธารณภัยจะมีผลบังคับใช้ในทุกเขตเทศบาลจังหวัดฟูกูชิมะและจังหวัดมิยางิ[70] กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกส่งไปยังจังหวัดฟูกูชิมะและมิยางิตามคําร้องขอของผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อฟื้นฟูเส้นทางและบรรเทาสาธารณภัยที่จําเป็น[71]
คนงานของบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ได้เข้าตรวจสอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งที่เคยเสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2011[72]ต่อมาเจ้าหน้าที่รายงานว่าไม่มีความผิดปกติในโรงไฟฟ้า[73] แต่ไม่นานก็มีรายงานเกี่ยวกับระบบเตือนไฟไหม้ได้ดังขึ้นที่ห้องโถงของหน่วย 5 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิจิแต่กลับไม่มีไฟไหม้เกิดขึ้น เวลา 01:00 น. คนงานได้ตรวจสอบโครงสร้างห้องกักกันรังสีที่ใช้แล้วของหน่วยที่ 1, 2 และ 3 รวมถึงสิ่งอํานวยความสะดวกในการทําความเย็นในสระที่ใช้เก็บเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว ระดับของเชื้อเพลิงในสระของหน่วย 2 ลดลงชั่วขณะหนึ่งและกลับสู่ภาวะปกติในเวลาต่อมา[74]ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่สองปั๊มในสระเก็บเชื้อเพลิงของหน่วยที่ 1 และ 3 หยุดทํางานชั่วขณะ[74]
รัฐบาลของจังหวัดฟูกูชิมะได้ร้องขอให้รัฐบาลกลางให้ความช่วยเหลือด้านระบบน้ำประปา[70]
มีการออกคําสั่งอพยพ 1,961 ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งในวาตาริ จังหวัดมิยางิ ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย 6,820 คน[75] ในนครอิชิโนมากิได้เปิดสถานพักพิงเจ็ดแห่ง เพื่อผู้อพยพ จากนั้นทางด่วนโทโฮกุที่เสียหายก่อนหน้านี้ได้รับการซ่อมแซมและเปิดการจราจรอีกครั้งเมื่อเวลา 15:30 น. ตามรายงานของตํารวจในมิยางิ[76]
แผ่นดินไหวทำให้เกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับอันตรายจากดินถล่มและหิมะถล่มเนื่องจากฝนตกหนักและหิมะซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในภูมิภาคโทโฮกุจนถึงวันที่ 19 มีนาคม Weathernews ระบุว่าเนื่องจากแผ่นดินไหวทำให้เนินเขาสูงชันไม่มีเสถียรภาพและพื้นที่ที่มีหิมะตกหนักมีความเสี่ยงที่จะประสบหิมะถล่มมากกว่าปกติ บ้านที่ได้รับความเสียหายจากแรงสั่นจะได้รับความเสียหายซ้ำเติมจากองค์ประกอบของสภาพอากาศในช่วงเวลานี้เช่นกัน[77]
นานาชาติ
[แก้]ทันทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหวการสํารวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกาได้ออก เพจเจอร์ ในระดับสีเหลือง ซึ่งประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น มีโอกาส 37% ที่ความเสียหายจากแผ่นดินไหวจะส่งผลให้เกิดการสูญเสีย 10-100 ล้านเหรียญสหรัฐ มีโอกาส 30% ที่ความเสียหายจะมีถึง 100 ล้านถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขเป็นระดับสีส้มซึ่งมีโอกาส 35%ที่จะเกิดความเสียหายในระดับ 100 ล้านเหรียญสหรัฐถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีโอกาส 34% ที่จะเกิดความเสียหายทางการเงิน 10-100ล้านเหรียญสหรัฐ และยังออกเพจเจอร์สีเขียวที่เกี่ยวกับผู้เสียชีวิต หน่วยงานประเมินว่ามีโอกาส 65% ที่จะไม่เกิดผู้เสียชีวิต และมีโอกาส 30% ที่จะมีผู้เสียชีวิต 1 ถึง 10 คนจากแผ่นดินไหว[2]
คำเตือนสึนามิก็ถูกออกโดยศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิก คำเตือนดังกล่าวรายงานว่าเหตุการณ์สึนามิไม่เป็นอันตรายต่อชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา รัฐอะแลสกา และรัฐบริติชโคลัมเบีย[78]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Earthquake information : Detail information Issued on 2022/03/16 15:11". Japan Meteorological Agency. 16 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "M 7.3 - 57 km ENE of Namie, Japan". earthquake.usgs.gov. U.S. Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "震度6強 宮城・福島の「津波注意報」解除" [Seismic intensity 6 strong Miyagi / Fukushima "Tsunami warning" canceled]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "令和4年3月 16 日 23 時 36 分頃の福島県沖の地震の 震源要素更新について" [About the renewal of the epicenter element of the earthquake off the coast of Fukushima Prefecture around 23:36 on March 16, 4th year of Reiwa.] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. 17 March 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 5.0 5.1 "M 6.0 - 62 km ENE of Namie, Japan". earthquake.usgs.gov. U.S. Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "Earthquake information : Detail information Issued on 2022/03/16 15:56". Japan Meteorological Agency. 16 มีนาคม ค.ศ. 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "M 5.5 - 77 km SE of Ishinomaki, Japan". earthquake.usgs.gov. U.S. Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 8.0 8.1 "地震による原発の異常なし、4人死亡・97人負傷…参院予算委で首相" [No abnormalities in the nuclear power plant due to the earthquake, 4 people died, 97 people injured ... Prime Minister at the House of Councilors Budget Committee]. Yahoo News Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "地震【随時更新】宮城・福島で震度6強 被害状況は" [Earthquake [Updated from time to time] Seismic intensity 6 strong in Miyagi and Fukushima]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "地震 宮城 福島で震度6強 3人死亡 225人けが(19:00)" [Earthquake Miyagi Fukushima with a seismic intensity of over 6 killed 3 people 225 injured (19:00)]. NHK. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ James D. Kirkpatrick Christie D. Rowe Kohtaro Ujiie J. Casey Moore Christine Regalla Francesca Remitti Virginia Toy Monica Wolfson‐Schwehr Jun Kameda Santanu Bose Frederick M. Chester (2014). "Structure and lithology of the Japan Trench subduction plate boundary fault". Tectonics. 34 (1): 53–69. doi:10.1002/2014TC003695.
- ↑ Lay, Thorne (2018). "A review of the rupture characteristics of the 2011 Tohoku-oki Mw 9.1 earthquake". Tectonophysics. 733: 4–36. Bibcode:2018Tectp.733....4L. doi:10.1016/j.tecto.2017.09.022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2022. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
- ↑ "福島県沖 震度6強の地震で気象庁会見 東日本大震災の余震" [Aftershock of the Great East Japan Earthquake at the Japan Meteorological Agency's interview with an earthquake with a seismic intensity of 6 or higher off the coast of Fukushima Prefecture]. ウェザーニュース (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
- ↑ General Incorporated Association Kyodo News (14 February 2021). "震源は南北40キロの断層" [The epicenter is a 40km north-south fault]. Kyodo (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2021. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
- ↑ "Evaluation of Major Subduction-zone Earthquake". Headquarters for Earthquake Research Promotion. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "宮城県と福島県で震度5弱" [Seismic intensity 5 lower in Miyagi and Fukushima prefectures]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 16 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 "「太平洋プレート逆断層型」「東日本大震災の余震ではない」 古村孝志・東大地震研教授" ["Pacific plate reverse fault type" "Not an aftershock of the Great East Japan Earthquake" Takashi Furumura, Professor, Earthquake Research Institute, The University of Tokyo]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "Finite Fault". earthquake.usgs.gov. U.S. Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ Takahara, Kanako (17 March 2022). "Japan's latest quake evokes memories of 3/11. Was it an aftershock?". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 19 March 2022.
- ↑ "日東北規模7.3強震 恐是11年前「311大地震餘震」" [Tohoku earthquake with a magnitude of 7.3 may be the "aftershock of the 311 earthquake" 11 years ago]. Central News Agency (ภาษาจีน). Sanli News Network. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "宮城・福島震度6強地震 深い震源、「東日本」と異なるメカニズム" [Miyagi / Fukushima Seismic Intensity 6 Strong Earthquake Deep epicenter, different mechanism from "Eastern Japan"]. Yahoo News Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ Shinji Toda; Ross Stein (19 March 2022). "'Triplet' earthquakes strike near Tohoku, Japan, but a rupture gap remains". Temblor, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2022. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ "令和4年(2022年)3月16日23時36分頃の福島県沖の地震に伴う地殻変動(第2報)" (ภาษาญี่ปุ่น). Tsukuba City, Ibaraki: Geospatial Information Authority of Japan. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ 24.0 24.1 "宮城県、福島県で震度6強の地震 津波発生のおそれ" [Earthquakes with a seismic intensity of 6 or higher in Miyagi and Fukushima prefectures Risk of tsunami]. tenki.jp. 16 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "「1週間は最大震度6強の地震に注意を」気象庁会見" ["Beware of earthquakes with a maximum seismic intensity of 6 or higher for a week" Japan Meteorological Agency interview]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "相馬市と国見町のデータ解析「震度7に近い激しい揺れ」". Nippon News Network (ภาษาญี่ปุ่น). 16 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ "防災クロスビュー: 福島県沖を震源とする地震" (ภาษาญี่ปุ่น). National Research Institute for Earth Science and Disaster Prevention. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ "2022年3月16日福島県沖の地震の評価(令和4年3月17日)" (PDF). jishin.go.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Headquarters for Earthquake Research Promotion. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2022. สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ Ikeda, Tomohiro (9 October 2021). "News Navigator: What is 'long-period ground motion' in earthquakes?". Mainichi Shimbun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2021. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ JMA. "長周期地震動階級および長周期地震動階級関連解説表について" [About the long-period ground motion class and the long-period ground motion class related commentary table.]. Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2021. สืบค้นเมื่อ 26 March 2021.
- ↑ "Tsunami Information-Yahoo! Weather / Disaster". Yahoo! Japan. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "【津波観測】 宮城 石巻港で20cm" [[Tsunami observation] 20 cm at Miyagi Ishinomaki Port]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "東日本大震災と別タイプ 太平洋プレート内の逆断層型" [Different type from the Great East Japan Earthquake Reverse fault type in the Pacific plate]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "【動画】福島 国見町 建物の屋根の部分が倒れ 瓦が散乱" [[Video] Fukushima Kunimi Town The roof of the building collapsed and the tiles were scattered.]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "福島競馬、4月9〜10日は中止 地震で施設点検" [Fukushima Horse Racing Canceled April 9-10 Facility inspection due to earthquake]. Kahoku News (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "宮城、福島で震度6強、「東日本大震災よぎる」 ビルの壁はがれ、観光地も被害" [Seismic intensity 6 upper in Miyagi and Fukushima, "Great East Japan Earthquake" Building wall peeled off, tourist spots damaged]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "【速報】仙台城の石垣崩落 地震の影響か" [[Breaking news] Is it the effect of the stone wall collapse earthquake in Sendai Castle?]. Kahoku News (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "【地震 仙台城跡「伊達政宗騎馬像」傾く 馬の足が破断する被害" [Earthquake Sendai Castle Ruins "Date Masamune Horse-riding Statue" Damage to a tilted horse's leg breaking]. NHK News (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "地震 コンサートホールの天井 一部崩れるなど被害 宮城 白石" [Damage such as partial collapse of the ceiling of the earthquake concert hall Miyagi Shiroishi]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "地震 停電復旧直後に住宅全焼 "通電火災"可能性も 千葉 市川" [Immediately after the earthquake and power outage are restored, the house may be completely burned down.]. NHK. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "福島県沖の地震 県内でも建物倒壊や道路陥没など被害多数 山形" [Earthquake off the coast of Fukushima Prefecture, many damages such as collapsed buildings and collapsed roads in Yamagata]. FNN Prime Online (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 42.0 42.1 "地震でエレベーター閉じ込め 1都6県で41件" [Elevator confinement due to earthquake 41 cases in 1 metropolitan area and 6 prefectures]. Nagoya TV (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 43.0 43.1 "地震によるエレベーター閉じ込め1都6県で30件" [Elevator confinement due to earthquake 30 cases in 1 metropolitan area and 6 prefectures]. khb-tv.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 44.0 44.1 44.2 "【速報中】警察庁、死者数を修正 宮城・塩釜の1人は地震と関連なし" [[Breaking news] Police Agency corrects the number of deaths One of Miyagi and Shiogama is not related to the earthquake]. The Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "地震で壁や窓ガラスに被害 福島県内の県立学校など" [Damage to walls and windowpanes due to the earthquake: Prefectural schools in Fukushima Prefecture, etc.]. Fukushima Minposha News (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "設備破損、ビール製造を一時停止 サッポロ" [Equipment damage, beer production suspended Sapporo]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ Reuters Staff (17 March 2022). "企業活動に地震の影響、トヨタ東北3工場停止 荷物集配に遅れも" [Impact of earthquake on corporate activities, Toyota Tohoku 3 factories suspended, delay in baggage collection and delivery]. Reuters (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "新潟県内企業現地店舗が大きな被害" [Major damage to local stores of companies in Niigata Prefecture]. Niigata Nippo (ภาษาญี่ปุ่น). 18 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 18 March 2022.
- ↑ "宮城、福島で震度6強 けが人、搬送相次ぐ" [Injured people with seismic intensity 6 or higher in Miyagi and Fukushima, one after another]. Kyodo News (ภาษาญี่ปุ่น). Okinawa Times. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "東京電力の管内で約86万軒の停電発生 東京港区の新橋駅から報告" [Approximately 860,000 power outages occurred within the jurisdiction of TEPCO Reported from Shimbashi Station in Minato-ku, Tokyo]. khb-tv.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ 51.0 51.1 "宮城、福島で震度6強 両県に津波、最大30センチ―4人死亡、東北新幹線脱線" [Tsunami in Miyagi and Fukushima with a seismic intensity of 6 or higher, killing up to 30 cm-4 people, derailing the Tohoku Shinkansen]. Jiji Press (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "地震【停電】福島県と宮城県で計約3500戸(午前10時55分現在)" [Earthquake [Power outage] A total of about 3,500 households in Fukushima and Miyagi prefectures (as of 10:55 am)]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "携帯電話、宮城・福島の一部で通信障害 停電や設備被害が原因" [Communication failure in mobile phones, parts of Miyagi and Fukushima Caused by power outages and equipment damage]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 54.0 54.1 "埼玉県内最大震度4 29万8000軒が一時停電 6人負傷 住宅被害確認されず" [Maximum seismic intensity of 4298,000 houses in Saitama prefecture temporarily outage 6 people injured No damage to houses confirmed]. Tokyo Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 18 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "東北新幹線下り「やまびこ223号」脱線確認 乗客96人けがなし" [Southbound Tohoku Shinkansen "Yamabiko 223" confirmed derailed; 96 passengers uninjured]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "宮城、福島で震度6強=死者4人、東北新幹線脱線―両県に津波、最大30センチ" [Seismic intensity 6+ in Miyagi and Fukushima = 4 dead, Tohoku-Hokkaido derailment-tsunami in both prefectures, up to 30 cm]. Jiji Press (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 57.0 57.1 "東北新幹線運休は21日まで継続 3月中の全面再開は困難か" [Tohoku Shinkansen suspension will continue until 21st Is it difficult to fully resume in March?]. Kahoku News (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ Yokoyama, Erika (17 March 2022). "JR東日本:東北新幹線運転見合わせ、再開のめど立たず-地震で脱線" [JR East: Tohoku-Hokkaido Shinkansen operation suspended, no prospect of resumption-derailment due to earthquake]. Bloomberg News Japan (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "北陸新幹線と上越新幹線が運転再開 運行に遅延も JR東日本" [Hokuriku Shinkansen and Joetsu Shinkansen resume operation JR East]. khb-tv.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "地震 東北新幹線脱線 航空各社が羽田と東北を結ぶ臨時便を運航" [Earthquake Tohoku-Hokkaido Derailment Airline companies operate special flights connecting Haneda and Tohoku]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "東北道 下り線 白石IC~国見SA間で約100mにわたりひび割れ" [Cracks over about 100m between Shiroishi IC and Kunimi SA on the Tohoku Expressway]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "東北道でひび割れ、けが人確認されず" [Cracks on the Tohoku Expressway, no injuries confirmed]. Goo News (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "宮城・福島で震度6強 仙台市のマンションで火災" [Seismic intensity 6 strong in Miyagi / Fukushima Fire in a condominium in Sendai]. FNN Prime Online (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "地震で橋損傷、通行止め相次ぐ 福島県の県北地方". Fukushima Minposha News (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "【地震速報】地震1人死亡" [Earthquake bulletin: One earthquake died]. minpo.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ 66.0 66.1 "【速報中】東北南部で震度6強、2人死亡 津波注意報は解除" [[Breaking news] Seismic intensity 6 upper, 2 dead in southern Tohoku Tsunami warning canceled]. The Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ 67.0 67.1 "地震 宮城 福島で震度6強 3人死亡 174人けが(午前11時)" [Earthquake Miyagi Fukushima with a seismic intensity of over 6 killed 3 people 174 injured (11:00 am)]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "宮城県と福島県で合わせて3人が死亡 震度6強を観測した地震" [Three people died in Miyagi Prefecture and Fukushima Prefecture. An earthquake observed with a seismic intensity of 6 or higher]. news.yahoo.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "令和4年3月16日23時36分頃の福島県沖の地震について" [About the earthquake off the coast of Fukushima Prefecture around 23:36 on March 16, 4th year of Reiwa] (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ 70.0 70.1 "東北地震 宮城、福島に災害救助法適用" [Tohoku Earthquake Miyagi and Fukushima apply Disaster Relief Act]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "政府、被害把握と復旧急ぐ 福島沖地震、自衛隊を派遣" [Government dispatches Fukushima-oki earthquake, Self-Defense Forces to grasp damage and recover]. Jiji Press (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo! Japan. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "東京電力 福島第一原発と第二原発 新たな異常ないか確認中" [TEPCO Fukushima Daiichi and Daini Nuclear Power Plants Checking for new abnormalities]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "福島第一・福島第二・女川原発など、異常確認されず" [No abnormalities were confirmed such as Fukushima Daiichi, Fukushima Daini, Onagawa Nuclear Power Plant, etc.]. Yomiuri Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ 74.0 74.1 "福島第一原発 5号機タービン建屋で火災報知器作動 状況確認中" [Fire alarm operation status is being confirmed at the Fukushima Daiichi Nuclear Power Plant Unit 5 turbine building]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "宮城県亘理町 1961世帯に避難指示" [Evacuation order to 1961 households in Watari Town, Miyagi Prefecture]. NHK. 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2022.
- ↑ "地震 宮城・福島の東北自動車道 通行可能に" [Earthquake Miyagi / Fukushima Tohoku Expressway made passable]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 17 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "今日は大きな地震のあった東北で雨や雪 土砂災害や雪崩に注意" [Beware of rain, snow and landslides and avalanches in Tohoku, where there was a big earthquake today.]. Weathernews (ภาษาญี่ปุ่น). 18 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 17 March 2022.
- ↑ "Tsunami Information Statement Number 1". tsunami.gov. Pacific Tsunami Warning Center. 16 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Damage caused by the earthquake with the epicenter off Miyagi and Fukushima (as of 2:20 on Thursday, March 17) Damage summary by the Ministry of Economy, Trade and Industry (in Japanese)
- Fukushima Japan earthquake Live Update – The New York Times
- M6.5 & 7.3 Earthquakes Hit Fukushima, Japan - Mar. 16, 2022 日本の地震 - Disaster Compilations on YouTube
- The International Seismological Centre has a bibliography and authoritative data for this event.