ข้ามไปเนื้อหา

แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2021

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2021
福島県沖地震
แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2021ตั้งอยู่ในโทโฮกุ
แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ ค.ศ. 2021
เวลาสากลเชิงพิกัด2021-02-13 14:07:49
รหัสเหตุการณ์ ISC619834062
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น13 กุมภาพันธ์ 2564 (2564-02-13)
เวลาท้องถิ่น23:07 JST
ขนาด7.3 MJMA
7.1 Mw
ความลึก55.0 กิโลเมตร (34.2 ไมล์) (JMA)
44.0 กิโลเมตร (27 ไมล์) (USGS)
ศูนย์กลาง37°43′12″N 141°45′43″E / 37.720°N 141.762°E / 37.720; 141.762
รอยเลื่อนJapan Trench
ประเภทย้อน
ความเสียหายทั้งหมด138 พันล้านเยน (1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[1][2][3]
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ชินโดะ 6+ [4] หรืออาจมีถึงระดับ 7 ในบางพื้นที่[5]

VIII (อย่างรุนแรง)
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน1.46 g[6]
1432 gal[6]
สึนามิ20 เซนติเมตร (0.66 ฟุต)
แผ่นดินถล่มมี
แผ่นดินไหวตามหลายครั้ง ที่ใหญ่ที่สุดคือ 6.0 Mw[7]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 1 คน,[8]
บาดเจ็บ 186 คน,[9][10][11]
สาหัส 16 คน[12][13]

แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ (ญี่ปุ่น: 福島県沖地震โรมาจิFukushimaken Oki Jishin) เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดนอกชายฝั่งทางตะวันออกของโทโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น เกิดในวันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 23:07 น. ตามเวลาท้องถิ่น แผนดินไหวครั้งนี้มีขนาด 7.1 ถึง 7.3 แมกนิจูด มีจุดศูนย์กลางอยู่นอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิมะ 60 กิโลเมตร มีความลึกราว 51.9 กิโลเมตร[14] หลังแผ่นดินไหวครั้งนี้ก็เกิดแผ่นดินไหวตามอีกหลายครั้งภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง โดยมีแผ่นดินไหวตาม 3 ครั้งที่มีขนาดเกิด 5.3 แมกนิจูด[15] ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวตามจากแผ่นดินไหวใหญ่ในโทโฮกุเมื่อ 10 ปีที่แล้ว[16][17] และไม่มีรายงาน ความผิดปกติ เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใดในประเทศญี่ปุ่น

จากแผ่นดินไหวมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 186 คน[9][8] ไฟดับมากกว่า 9 แสนครัวเรือน[18] อาคาร หลายแห่งในโทโฮกุและคันโตได้รับความเสียหาย[19][13][20][21] มีรายงานการเกิดสึนามิในเช้าตรู่ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นสึนามิที่ไม่สร้างความเสียหายและมีความสูง 20 เซนติเมตร ที่ท่าเรือในจังหวัดมิยางิ[22] แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งทำให้มีข่าวความกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของรั่วไหลของรังสี ซึ่งภายหลังมีการระบุว่าไม่มีความผิดปกติบริเวณโรงไฟฟ้า ถึงแม้จะไม่มีการรั่วไหลหรือการเปลี่ยนแปลงระดับการแผ่รังสี แต่บ่อเก็บกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เกิดไหลท่วมพื้นที่แต่ไม่ได้รั่วไหลในโรงไฟฟ้า[23]

ภูมิหลัง

[แก้]

แผ่นดินไหวใหญ่ในโทโฮกุเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของโทโฮกุ โดยศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไป 29 กิโลเมตร[24] แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกเท่าที่เคยมีการบันทึก[25] แผ่นดินไหวในครั้งนี้ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิทำลายล้างซึ่งสูงที่สุดถึง 41 เมตร สูงที่สุดของญี่ปุ่น[26] สึนามินี้ทำให้บ้านเมืองในที่ราบคันโตเสียหายและทำให้เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง เหตุการแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต ประมาณ 20,000 คน สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 360 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงถือเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์[27]

แผ่นเปลือกโลก

[แก้]

แผ่นดินไหวขนาด 7.3 แมกนิจูด บริเวณชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอนชูประเทศญี่ปุ่นเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการมุดเข้าหากันของแผ่นแปซิฟิกและแผ่นโอค็อตสค์ การเคลือนที่เข้าหากันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นนี้ทำให้เกิดเขตมุดตัวที่เรียกว่าร่องลึกบาดาลญี่ปุ่น ซึ่งร่องลึกบาดาลญี่ปุ่นนี้สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ขึ้นได้ (แผ่นดินไหวขนาด 8.5 แมกนิจูดขึ้นไป) โดยดูได้จากรายงานการเกิดแผ่นดินไหว

14 พฤษภาคม ค.ศ. 2021

[แก้]

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเวลา 08:58 น. (เวลาท้องถิ่น) ของวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 มีขนาด 6.0 แมกนิจูด มีศูนย์กลางอยู่ในจังหวัดฟุกุชิมะลึก 40 กิโลเมตร และไม่มีประกาศเตือนเกี่ยวกับสึนามิ ความรุนแรงที่รู้สึกได้สูงสุดคือ ชินโดะระดับ 4[28] VIII (อย่างรุนแรง) (USGS)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Key figures related to the insurance claims paid for earthquakes in fiscal 2020 as of April 16, 2021". General Insurance Association of Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2021. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
  2. "福島県災害対策本部員会議(第23回" [Meeting of Fukushima Prefecture Disaster Management Headquarters (23rd)] (PDF). pref.fukushima.lg.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Fukushima Prefecture Disaster Management Headquarters Conference. 12 April 2021. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  3. "令和3年2月13日福島県沖を震源とする地震に伴う被害状況等について(令和3年4月9日)" [Reiwa 3 February 13, Fukushima prefectural earthquake source and the damage situation of the earthquake and its victims, etc. (Reiwa 3 April 9)] (PDF). pref.miyagi.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Miyagi Prefecture Disaster Management Headquarters Office. 9 April 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  4. "2022年3月16日福島県沖の地震に関する情報 | 地震調査研究推進本部". www.jishin.go.jp. สืบค้นเมื่อ 28 October 2022.
  5. "令和3年福島県沖を震源とする地震 クライシスレスポンスサイト". Crisis Response (ภาษาญี่ปุ่น). NIED-CRS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2021. สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.
  6. 6.0 6.1 "「M8余震あり得る」 福島・宮城震度6強、揺れは熊本地震超え". Mainichi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 14 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.
  7. "M 6.0 - 68 km ENE of Namie, Japan". earthquake.usgs.gov. USGS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2021. สืบค้นเมื่อ 14 May 2021.
  8. 8.0 8.1 "1st death confirmed in Feb. 13 northeastern Japan earthquake". Kyodo News. 25 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021.
  9. 9.0 9.1 Fire and Disaster Management Agency. "福島県沖を震源とする地震による被害及び 消防機関等の対応状況(第16報)" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2021. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
  10. "(Update 8) 157 People Injured in Sat. Quake in Japan". Jiji Press. 15 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2021.
  11. "Government scrambles to assess damage after strong quake wreaks havoc in northeastern Japan". japantimes.co.jp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 13 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2021. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.
  12. "153 people injured in quake, most in Fukushima and Miyagi". The Asahi Shimbun. 15 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2021.
  13. 13.0 13.1 "2300 buildings damaged in Fukushima / Miyagi Seismic intensity 6+, 173 injured". Asahi Shimbun Digital. Asahi Shimbun Digital. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2021. สืบค้นเมื่อ 18 February 2021.
  14. "M 7.1 - 70 km ENE of Namie, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "M 5.3 - 69 km ENE of Namie, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. เจ็บมากกว่า 100 คน จากเหตุแผ่นดินไหวแรงที่ญี่ปุ่น.
  17. Rich, Motoko; Dooley, Ben (13 February 2021). "Powerful Earthquake Strikes Japan". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
  18. ไทยโพสต์. (2564) แผ่นดินไหว7.3นอกฝั่งฟุกุชิมะ อาฟเตอร์ช็อกเกือบ10ปีมหาสึนามิ. ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ: 6 เมษายน พ.ศ. 2564
  19. "CAT-i Bulletin: Mw 7.1 Fukushima Earthquake, Japan February 13". gccapitalideas.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-20. สืบค้นเมื่อ 20 February 2021.
  20. "Government scrambles to assess damage after strong quake wreaks havoc in northeastern Japan". The Japan Times. 14 February 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-15. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.
  21. "福島・宮城で震度6強、151人がけが 建物や交通に被害" (ภาษาญี่ปุ่น). TBS News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-14. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.
  22. "東北、関東で155人負傷 常磐道土砂崩れ、死者確認されず―停電解消・福島沖地震". Jiji.com. Jiji. 14 February 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-22. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.
  23. ซินหัว. (2564) ยอดเจ็บเหตุแผ่นดินไหว 7.3 ใน ณี่ปุ่น พุ่งเกิน 150.ซินหัวภาคภาษาไทย. สืบค้นเมื่อ: 6 เมษายน พ.ศ. 2564
  24. "M 9.1 - 2011 Great Tohoku Earthquake, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. AP (14 March 2011). "New USGS number puts Japan quake at 4th largest". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. July 2011, OurAmazingPlanet Staff 01. "Massive Japan Tsunami Topped 130 Feet". livescience.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
  27. "2011 Japan earthquake and tsunami: Facts, FAQs, and how to help". World Vision (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
  28. เกิดแผ่นดินไหวเวลา 08:58 น. ของวันที่ 14 ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ สืบค้นเมื่อ 5/15/2021