แผ่นดินไหวในจังหวัดทตโตริ พ.ศ. 2543
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2000-10-06 04:30:20 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 1839998 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 6 ตุลาคม 2543 |
เวลาท้องถิ่น | 13:30:20 JST |
ขนาด | 6.7 Mw [1] |
ความลึก | 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์) [1] |
ศูนย์กลาง | 35°16′N 133°19′E / 35.27°N 133.31°E [1] |
ประเภท | ตามแนวระดับ[2] |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | ญี่ปุ่น |
ความเสียหายทั้งหมด | 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | VIII (อย่างรุนแรง)
[3] ชินโดะ 6+ |
แผ่นดินถล่ม | มี[2] |
ผู้ประสบภัย | บาดเจ็บ 130-182 คน[2][4] |
แผ่นดินไหวในจังหวัดทตโตริ พ.ศ. 2543 (ญี่ปุ่น: 鳥取県西部地震) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543 เวลา 13:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีขนาด 7.3 มีความรุนแรงของแรงสั่นสะเทือนสูงสุด VIII (รุนแรง) ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโยนาโกะ มีความเสียหายประมาณ 150 ล้านดอลลาร์ มีอาคารได้รับความเสียหาย 104 หลัง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 130 คน
แผ่นดินไหว
[แก้]แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงระดับ 6+ แผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณภูเขาซึ่งเป็นพื้นที่ไม่มีประชากรหนาแน่นจึงทำให้ไม่มีผู้เสียชีวิต แผ่นดินไหวก่อให้เกิดแผ่นดินเหลวในเมืองโยนาโกะ แผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางใกล้ภูเขาไฟโอยามะแต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดการปะทุขึ้น รอยเลื่อนของแผ่นดินไหวเป็นแบบรอยเลื่อนตามแนวระดับ เกิดรอยแตกจำนวนมากบนพื้นดินที่น่าจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนใต้ดิน พื้นที่ที่เกิดอาฟเตอร์ช็อกกระจายไปตามแนวรอยเลื่อนหลักตั้งแต่เมืองยาสุงิชิ จังหวัดชิมาเนะ จนถึง จังหวัดทตโตริ คาดว่าแนวรอยเลื่อนนี้น่าจะมีความยาว 30 กม. และลึกประมาณ 15 กม. ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้เกิดแผ่นดินไหวนำขนาด 5 ในพื้นที่ ในช่วงปี 1989, 1990 และ 1997 ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวหลักได้มีการตรวจพบแผ่นดินไหวขนาด 1.7 ถูกพบในบริเวณศูนย์กลางของแผ่นดินไหวประมาณ 12 ชั่วโมงก่อนเกิดเมนช็อก
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว
[แก้]ความรุนแรง ของแผ่นดินไหว |
จังหวัด | เมือง |
---|---|---|
6+ | ทตโตริ | ซาไกมินาโตะ |
6 - | ทตโตริ | ฮาคุ ไอมิ คิชิโมโตะ โยโด มิโซคุจิ・หมู่บ้านฮิเอสึ |
5 + | ทตโตริ | โยนาโกะ |
ชิมาเนะ | ยาสึงิ ชินจิ・มิซึนาริ | |
โอกายามะ | นีมิ โอซากาเบะ หมู่บ้านมิคาโมะ | |
คะงาวะ | โทโนะโช | |
5 - | ||
เฮียวโงะ | อาวาจิ | |
ฮิโรชิมา | ฟุคุยามะ | |
โทกูชิมะ | โทกูชิมะ |
ความเสียหาย
[แก้]จังหวัด | ผู้ได้รับผลกระทบ | อาคารที่ได้รับผลกระทบ | |||
---|---|---|---|---|---|
ตาย | บาดเจ็บ | เสียหายรุนแรง | เสียหายปลานกลาง | เสียหายเล็กน้อย | |
ทตโตริ | 0 | 141 | 394 หลัง | 2494 หลัง | 14134 หลัง |
อื่น ๆ | 0 | 41 | 41 หลัง | 607 หลัง | 4410 หลัง |
ทั้งหมด | 0 | 182 | 435 หลัง | 3101 หลัง | 18544 หลัง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ISC (2015), ISC-GEM Global Instrumental Earthquake Catalogue (1900–2009), Version 2.0, International Seismological Centre
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 USGS (September 4, 2009), PAGER-CAT Earthquake Catalog, Version 2008_06.1, United States Geological Survey
- ↑ USGS. "M6.7 - western Honshu, Japan". United States Geological Survey.
- ↑ Fethi Semmane, Fabrice Cotton, and Michel Campillo (2005). "The 2000 Tottori earthquake: A shallow earthquake with no surface rupture and slip properties controlled by depth". Journal of Geophysical Research: Solid Earth. 110 (B3). doi:10.1029/2004JB003194.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ 震度データベース検索[ลิงก์เสีย](観測点名は現在のもの。)
- ↑ 平成12年(2000年)鳥取県西部地震(確定報) เก็บถาวร 2013-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน消防庁、2002年10月10日。
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Ohmi, S.; Watanabe, K.; Shibutani, T.; Hirano, N.; Nakao, S. (2002), "The 2000 Western Tottori Earthquake—Seismic activity revealed by the regional seismic networks—" (PDF), Earth, Planets and Space, 54 (8): 819–830, Bibcode:2002EP&S...54..819O, doi:10.1186/BF03352075, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-16, สืบค้นเมื่อ 2022-09-02
- Umeda, K.; Asamori, K.; Negi, T.; Kusano, T. (2011), "A large intraplate earthquake triggered by latent magmatism", Journal of Geophysical Research, 116 (B1): B01207, Bibcode:2011JGRB..116.1207U, doi:10.1029/2010JB007963