ข้ามไปเนื้อหา

แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ ค.ศ. 2007

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ ค.ศ. 2007
新潟県中越沖地震
แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ ค.ศ. 2007ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ ค.ศ. 2007
เวลาสากลเชิงพิกัด2007-07-16 01:13:22
รหัสเหตุการณ์ ISC12769769
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น16 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (2007-07-16) (พ.ศ. 2550)
เวลาท้องถิ่น10:13
ขนาด6.6 Mw[1]
ความลึก10 km
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้IX (ร้ายแรง) [1]

ชินโดะ 6+
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน1.04 g
1018.9 Gal
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 1120 คน

แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งชูเอ็ตสึ จังหวัดนีงาตะ ค.ศ. 2007 (ญี่ปุ่น: 新潟県中越沖地震โรมาจิNiigata-ken Chūetsu Oki Jishin)[2][3][4] เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.6 แมกนิจูด[1][5][6] เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) เวลา 10:13 ตามเวลาท้องถิ่น (01:13 UTC) มีจุดศูนย์กลางทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดนีงาตะ ของประเทศญี่ปุ่น แผ่นดินไหวเกิดจากรอยเลื่อนที่่ยังไม่ถูกค้นพบบริเวณนอกชายฝั่ง[7] แผ่นดินไหวสามารถรู้สึกได้ในจังหวัดนีงาตะและบริเวณใกล้เคียง แต่รุนแรงถึงระดับ 6+ ในเมืองคาชิวาซากิ หมู่บ้านอิซูนะ และหมู่บ้านคาริวะ มีรายงานผู้เสียชีวิต 11 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 1,000 คน อาคาร 342 หลังพังถล่ม อาคารที่ถล่มส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างไม้แบบเก่า[5][8][9] นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้ยกเลิกการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเพื่อไปเยี่ยมคาชิวาซากิ และสัญญาว่าจะ "พยายามทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูบริการต่าง ๆ เช่น ก๊าซและไฟฟ้า"[10]

เปลือกโลก

[แก้]

แผ่นดินไหวขนาด 6.6 ในครั้งนี้เกิดขึ้นห่างจากจังหวัดนีงาตะประเทศญี่ปุ่นไปในทะเล 17 กิโลเมตร (11 ไมล์) ในเขตการชนกันของแผ่นอามูร์และแผ่นโอค็อตสค์ ในเขตนี้แผ่นโอค็อตสค์จะมาชนกับแผ่นอามูร์ด้วยความเร็วประมาณ 9 มม. / ปีและอัตราการชนกันสูงสุด 24 มม. / ปี[11] แผ่นอามูร์และโอค็อตสค์เป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กซึ่งอยู่ระหว่างแผ่นยูเรเชียและแผ่นแปซิฟิก แผ่นแปซิฟิกชนกับแผ่นยูเรเซียทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วกว่า 90 มม. / ปี การชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกและยูเรเซียอยู่ในระยะประมาณ 400 กม. (250 ไมล์) ไปทางทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งมาจากการที่แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกอยู่ใต้แผ่นโอค็อตสค์[1]

ใน 13 ชั่วโมงต่อมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ความลึกประมาณ 330 กม. (210 ไมล์) ห่างจากจุดแรกไปทางทิศตะวันตก 350 กม. (220 ไมล์) แต่แผ่นดินไหวทั้งสองเกิดขึ้นจากลักษณะกลไกที่แตกต่างกัน แผ่นดินไหวครั้งแรกเกิดจากรอยเลื่อนในแผ่นโอค็อตสค์ แต่แผ่นดินไหวครั้งที่สองน่าจะเกิดจากรอยเลื่อนที่เกิดการแตกหักภายในแผ่นแปซิฟิกที่อยู่ใต้พื้นสมุทร ด้วยลักษณะกลไกการเกิดที่แตกต่างกัน แผ่นดินไหวครั้งที่สองไม่ถือว่ามีความเกี่ยวโยงกับแผ่นดินไหวครั้งแรก และไม่ได้เป็นอาฟเตอร์ช็อกของแผ่นดินไหวครั้งแรกเช่นกัน[1]

แผ่นดินไหวความลึกระดับตื้นสามารถสร้างความเสียหายมากกว่าแผ่นดินไหวความลึกระดับกลางและระดับลึก เนื่องจากพลังงานที่เกิดจากแผ่นดินไหวความลึกตื้น ๆ นั้น ถูกปล่อยออกมาใกล้กับพื้นผิวโลกมาก ดังนั้นจึงทําให้เกิดการสั่นที่แรงกว่าแผ่นดินไหวที่เกิดลึกลงไปภายในโลก[1][12] ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดินคือ 993 gal (1.01 g)[13]

ต่อมาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งแรกได้สองวัน ก็เกิดแผ่นดินไหวตามระดับชินโด 4 ในอิซูโมซากิ จังหวัดนีงาตะ[14]

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว

[แก้]
ความรุนแรง จังหวัด เมือง[15]
6+ จังหวัดนีงาตะ นางาโอกะ คาชิวาซากิ คาริวะ
จังหวัดนางาโนะ ไอซูนะ
6- จังหวัดนีงาตะ โจเอ็ตสึ โอจิยะ อิซูโมซากิ
5+ จังหวัดนีงาตะ ซันโจ โทกามาชิ มินามิอูโอนูมะ สึบาเมะ
จังหวัดนางาโนะ นางาโนะ อิยามะ ชินาโนะ
5- จังหวัดนีงาตะ คาโมะ มิสึเกะ คาวางูจิ ยูโอนูมะ ยาฮิโกะ นีงาตะ
จังหวัดนางาโนะ เมืองนางาโนะ
จังหวัดอิชิกาวะ วาจิมะ ซูซุ โนโตะ

การผลิตยานยนต์

[แก้]

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม โตโยต้าประกาศหยุดการผลิตในโรงงานทั้งหมดในคาชิวาซากิ จังหวัดนีงาตะ เนื่องจากโรงงานชิ้นส่วนรถยนต์ได้รับความเสียหาย ซึ่งนิสสันยังต้องปิดโรงงานสองแห่ง การผลิตกลับมาดําเนินการอีกครั้งในวันที่ 25 กรกฎาคม หลังจากมีการซ่อมแซมระบบก๊าซและระบบน้ำ[16] โตโยต้าสูญเสียการผลิตรถยนต์ไปถึง 46,000 ถึง 55,000 คัน และนิสสันสูญเสียการผลิตไป 12,000 คัน[17]

เหตุการณ์การรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริวะ

[แก้]

แผ่นดินไหวทําให้เกิดการรั่วไหลของก๊าซกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริวะ มีน้ำรังสีจำนวนเล็กน้อยรั่วไหลออกจากสระเก็บเชื้อเพลิง แต่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กล่าวว่า "การรั่วไหลนั้นไม่มีนัยสําคัญและไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม"[5][9] แผ่นดินไหวยังทําให้เกิดไฟไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นเวลาสองชั่วโมง

รัฐบาลมีการขอร้องให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริวะปิดชั่วคราวเพื่อรอการตรวจสอบความปลอดภัย ต่อมาทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเสนอให้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญไปตรวจสอบโรงงาน[18] ในตอนแรกรัฐบาลญี่ปุ่นปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว แต่ต่อมาก็ยอมรับข้อเสนอดังกล่าวหลังจากสภานิติบัญญัติจังหวัดนีงาตะขอให้มีความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่น เพื่อทลายความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับเครื่องปฏิกรณ์[19] หลังจากเหตุการณ์นี้ ด็อกเตอร์ คิโยโอะ โมกิ ประธานคณะกรรมการประสานงานการทํานายแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้ปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฮามาโอกะ ซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางแผ่นดินไหวในแอ่งนันไกที่คาดว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นในอนาคต[20][21]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ANSS. "2007 Chūetsu offshore: M 6.6 - near the west coast of Honshu, Japan". Comprehensive Catalog. U.S. Geological Survey. สืบค้นเมื่อ July 14, 2020
  2. 2007 年7月16 日10 時13 分ころ新潟県上中越沖で発生した地震について (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. July 16, 2007. สืบค้นเมื่อ July 19, 2007.
  3. 小項目事典, 知恵蔵,デジタル大辞泉,ブリタニカ国際大百科事典. "新潟県中越沖地震とは". コトバンク (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-07-08.
  4. "気象庁 | 気象庁が名称を定めた気象・地震・火山現象一覧". www.jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-07-08.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Powerful earthquake strikes Niigata, causes leak at nuclear power plant". Japan News Review. July 16, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2011. สืบค้นเมื่อ July 16, 2007.
  6. asahi.com:新潟、長野で震度6強 8人死亡、908人がけが – 社会 เก็บถาวร สิงหาคม 31, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Alex K. Tang, P.E. and Anshel J. Schiff, บ.ก. (February 2, 2010). Kashiwazaki, Japan Earthquake of July 16, 2007. Reston, VA: ASCE, Technical Council on Lifeline Earthquake Engineering. p. 11. ISBN 9780784410622. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2013. สืบค้นเมื่อ July 11, 2012.
  8. Niigata earthquake death toll rises to eleven เก็บถาวร กรกฎาคม 29, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan News Review เก็บถาวร ตุลาคม 19, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, July 23
  9. 9.0 9.1 "Japanese nuke plant leaked after earthquake". Associated Press. July 16, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2007. สืบค้นเมื่อ July 16, 2007.
  10. "Nuclear scare after Japan quake". BBC. July 16, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2007. สืบค้นเมื่อ July 16, 2007.
  11. Alex K. Tang, P.E. and Anshel J. Schiff, บ.ก. (2007). "2". Kashiwazaki, Japan Earthquake of July 16, 2007. ASCE, Technical Council on Lifeline Earthquake Engineering. p. 7. ISBN 9780784410622. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-01-08.
  12. "Aftershock strikes Niigata Pref". Mainichi Daily News. July 16, 2007. สืบค้นเมื่อ July 16, 2007.[ลิงก์เสีย]
  13. Katsuhiko, Ishibashi (August 11, 2001). "Why Worry? Japan's Nuclear Plants at Grave Risk From Quake Damage". Japan Focus. Asia Pacific Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2011. สืบค้นเมื่อ March 15, 2011.
  14. "Aftershock hits Niigata – Japan News Review". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2007. สืบค้นเมื่อ July 18, 2007.
  15. "震度データベース検索". www.data.jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-07-08.
  16. USA Today. Earthquake puts brakes on auto production in Japan,
  17. Caranddriver.com. Japan's Auto Plants Reopen After Earthquake Shutdown – Daily Auto Insider เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. July 25.
  18. IAEA Offers to Send Expert Team to Japan Following Earthquake
  19. Japan accepts IAEA inspectors after quake troubles
  20. Quake shuts world's largest nuclear plant Nature, vol 448, 392–393, doi:10.1038/448392a, published July 25, 2007. Retrieved March 18, 2011.
  21. Nuclear crisis in Japan as scientists reveal quake threat to power plants เก็บถาวร 2010-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Times, published July 19, 2007. Retrieved March 18, 2011.