แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโอกูชิริ พ.ศ. 2536
ความเสียหายจากคลื่นสึนามิในอ่าวอาโอเนะ | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 1993-07-12 13:17:11 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 219326 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 |
เวลาท้องถิ่น | 22:17 |
ขนาด | 7.7 Mw |
ความลึก | 16.7 กิโลเมตร |
ศูนย์กลาง | 42°51′04″N 139°11′49″E / 42.851°N 139.197°E |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | ญี่ปุ่น จังหวัดฮกไกโด ชายฝั่งตะวันออกของรัสเซีย แนวชายฝั่งเกาหลีที่ติดกับทะเลญี่ปุ่น |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | VIII (อย่างรุนแรง) |
สึนามิ | สูงสุด 32 เมตร |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 201 - 230 คน |
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโอกูชิริ พ.ศ. 2536 (ญี่ปุ่น: 北海道南西沖地震; โรมาจิ: Hokkaidō Nansei Oki Jishin) หรือแผ่นดินไหวโอกูชิริ เกิดขึ้นในทะเลญี่ปุ่นใกล้กับจังหวัดฮกไกโดเมื่อเวลา 13:17 น. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ปี 1993 มีขนาด 7.7 มีความรุนแรงสูงสุด 6 (ชินโดะ) และ VIII (รุนแรง) (มาตราเมร์กัลลี) แผ่นดินไหวได้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่พัดถล่มตามแนวชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดฮกไกโดและทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศรัสเซีย แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 230 ราย ซึ่งผู้เสียชีวิตกว่า 165 ราย เสียชีวิตบนเกาะโอกูชิริเนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง[1][2]
เปลือกโลก
[แก้]ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะฮนชูซึ่งเป็นพื้นที่เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรที่เกิดจากแอ่งโค้งด้านหลัง ซึ่งเป็นแนวบรรจบกันของแผ่นแปซิฟิกและแผ่นโอค็อตสค์ ภูมิภาคนี้เป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้ง เช่น แผ่นดินไหวในจังหวัดนีงาตะ พ.ศ. 2507 และ แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในทะเลญี่ปุ่น พ.ศ. 2526 กลไกลดังกล่าวมีรอยเลื่อนแบบย้อนกลับ[3]
ความเสียหาย
[แก้]แรงสั่นสะเทือนก่อให้เกิดความรุนแรงในระดับ 6 (มาตราชินโดะ) VIII (มาตราเมร์กัลลี) คลื่นสึนามิได้พัดเข้าเกาะโอกูชิริ ประมาณ 2 - 7 นาที หลังจากแผ่นดินไหว คำเตือนสึนามิได้รับการแจ้งเตือนโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นหลังแผ่นดินไหว 5 นาที แผ่นดินไหวทำให้เกิดไฟไหม้ในเมืองโอกูชิริซึ่งทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก [4]คาดว่าสึนามิก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ [5]
พื้นที่ | เสียชีวิต | สูญหาย | บาดเจ็บสาหัส | อาคารเสียหายรุนแรง | อาคารเสียหายปานกลาง | อาคารเสียหายเล็กน้อย |
---|---|---|---|---|---|---|
เมืองโอกูชิริ | 175 | 27 | 48 | 426 | 55 | 345 |
อื่น ๆ | 26 | 2 | 18 | 164 | 292 | 3119 |
ทั้งหมด | 201 | 29 | 66 | 590 | 347 | 3464 |
ลักษณะ
[แก้]แผ่นดินไหว
[แก้]แผ่นดินไหวได้เกิดแรงสั่งสะเทือนสองครั้งครั้งแรกใช้เวลา 20 วินาทีในขณะที่ครั้งที่สองใช้เวลา 35 วินาที [6] รอยเลื่อนมีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร แผ่นดินไหวทำให้เกาะโอกูชิริจมลง 5–80 ซม.
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว | จังหวัด | สถานี |
---|---|---|
6 | ฮกไกโด | โอกูชิริ |
5 | ฮกไกโด | เอซาชิ , โอตารุ |
อาโอโมริ | ฟูกาอูระ | |
4 | ฮกไกโด | ฮาโกดาเตะ・มูโรราอิ・โทมาโกไม |
อาโอโมริ | สถานีอาโอโมริ・มุตสึ | |
3 | อาโอโมริ | สถานีซัปโปโระ・อิวามิซาวะ・โอบิฮิโระ |
อาโอโมริ | ฮาจิโนเฮะ | |
อากิตะ | อากิตะ |
สึนามิ
[แก้]สึนามิได้พัดทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะโอกูชิริซึ่งมีคลื่นสูง 32 เมตร ในทางตะวันออกของเกาะ สึนามิได้พัดกระจายไปทั่วทะเลญี่ปุ่นในจังหวัดอากิตะคลื่นสึนามิสูง 3.5 เมตร ทางตะวันออกของรัสเซียสูง 4 เมตร และชายฝั่งเกาหลีใต้สูง 2.6 เมตร [7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ปรากฏการณ์ภูเขาไฟทางอุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหวที่ตั้งชื่อโดยสํานักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น". jma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-29. สืบค้นเมื่อ 2022-02-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "ความคิดเห็นสําหรับแผ่นดินไหวที่สําคัญ". ngdc.noaa.gov. ngdc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-31. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Apel, E. V.; Bürgmann, R.; Steblov, G.; Vasilenko, N.; King, R.; Prytkov, A (2006), "Independent active microplate tectonics of northeast Asia from GPS velocities and block modeling" (PDF), Geophysical Research Letters, 33 (L11303): L11303, Bibcode:2006GeoRL..3311303A, doi:10.1029/2006GL026077, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-13, สืบค้นเมื่อ 2012-06-26
- ↑ "การอ้างอิงสําหรับแผ่นดินไหวที่สําคัญ". ngdc.noaa.gov. ngdc. สืบค้นเมื่อ 7 February 2022.
- ↑ "Tsunami Devastates Japanese Coastal Region". nctr.pmel.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 3 January 2023.
- ↑ "Pure and Applied Geophysics". เล่ม 157 หน้า 1115-1134. No. 6–8. ปี 2000. สืบค้นเมื่อ 7 February 2022.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "เอ็นจีดีซี". ngdc.noaa.gov. ngdc. สืบค้นเมื่อ 7 February 2022.