แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ พ.ศ. 2554
2011年 宮城県沖地震
แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ พ.ศ. 2554ตั้งอยู่ในโทโฮกุ
แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ พ.ศ. 2554
แผ่นดินไหว 11 มีนาคม
แผ่นดินไหว 11 มีนาคม
เซ็นได
เซ็นได
เวลาสากลเชิงพิกัด2011-04-07 14:32:44
รหัสเหตุการณ์ ISC16413596
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น7 เมษายน ค.ศ. 2011 (2011-04-07)
เวลาท้องถิ่น23:32 JST
ขนาด7.1 Mw [1]
ความลึก49 กิโลเมตร (30 ไมล์)
ศูนย์กลาง38°15′11″N 141°38′24″E / 38.253°N 141.640°E / 38.253; 141.640พิกัดภูมิศาสตร์: 38°15′11″N 141°38′24″E / 38.253°N 141.640°E / 38.253; 141.640
ประเภทย้อนมุมต่ำ
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบญี่ปุ่น
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VIII (อย่างรุนแรง) [2]

ชินโดะ 6+ [3]
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน1.47 g [4]
ผู้ประสบภัยยืนยันเสียชีวิต 4 ราย, บาดเจ็บ 141 ราย[5]

แผ่นดินไหวในจังหวัดมิยางิ พ.ศ. 2554 (ญี่ปุ่น: 2011年に宮城県の地震โรมาจิ2011-Nen ni Miyagi-ken no jishin) ซึ่งวัดแรงสั่นสะเทือนได้แมกนิจูด 7.4 แต่สำนักงานธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาวัดแรงสั่นสะเทือนได้แมกนิจูด 7.1 เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 เมื่อเวลา 23.32 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น[6] หรือ 21.32 น. ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากชายฝั่งเมืองเซ็นได จังหวัดมิยางิ ภูมิภาคโทโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 66 กิโลเมตร (41 ไมล์) โดยเกิดลึกลงไปในใต้ทะเลประมาณ 40 กิโลเมตร (41 ไมล์)[7][8] ญี่ปุ่นเผชิญแผ่นดินไหวระลอกใหม่เสียชีวิต 2 คน โดยหลังจากการสั่นสะเทือนของแรงแผ่นดินไหว ได้มีประกาศเตือนคลื่นสึนามิในทันทีโดยระบุว่าจะเกิดขึ้นที่ชายฝั่งในทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮนชู แต่หลังจากนั้นได้มีการยกเลิกเตือนภัยคลื่นสึนามิใน 90 นาทีต่อมา[9] โดยมีรายงานการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บที่ยืนยันได้เป็นจำนวนมากคือมีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 คน บาดเจ็บอีก 141 คน[10]

แผ่นดินไหว[แก้]

เกิดแผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.1 ใต้ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ในเวลา 23.32 น. ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งศูนย์กลางการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวห่างจังชายฝั่งเมืองเซ็นได จังหวัดมิยางิ ภูมิภาคโทโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น ออกไปประมาณ 66 กิโลเมตร (41 ไมล์) ที่ระดับความลึก 49 กิโลเมตร (30.4 ไมล์) โดยแรงสั่นสะเทือนเป็นผลเนื่องมาจากแรงผลักดันของรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault) ซึ่งใกล้กับจุดที่มุดตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกระหว่างแผ่นแปซิฟิกกับแผ่นอเมริกาเหนือ โดยเริ่มแรกสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้มากถึง 7.4 แมกนิจูด โดยผลจากแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้มีการรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะฮนชู โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอาฟเตอร์ช็อกจากผลพวงในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา และตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมาได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกที่มีแรงสั่นสะเทือนมากกว่า 6.0 แมกนิจูด ถึง 63 ครั้ง และมากกว่า 7 แมกนิจูด มีจำนวน 2 ครั้ง[11] รวมอาฟเตอร์ช็อกทั้งหมดถึง 1,021 ครั้ง โดยแรงสั่นสะเทือนบางครั้งรับรู้ได้ที่กรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ[12] ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอนางาวะหยุดทำงานอัตโนมัติ[13]

ผลกระทบ[แก้]

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ประกาศแจ้งเตือนคลื่นสึนามิในหลายๆจังหวัดในภูมิภาคโทโฮกุ คือ จังหวัดมิยางิ จังหวัดอิวาเตะ จังหวัดฟูกูชิมะ จังหวัดอาโอโมริ และจังหวัดอิบารากิ รวมถึงกลุ่มประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกโดยเฉพาะเอเชียตะวันออก (Pacific Rim) โดยระบุไว้ว่าจะมีความสูงของคลื่น ประมาณ 0.5-1 เมตร จากนั้นอีก 90 นาทีต่อมาก็ได้ยกเลิกคำเตือนไปในที่สุด ในการเกิดอาฟเตอร์ช็อกครั้งนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟดับเป็นวงกว้างถึง 3.6 ล้านครัวเรือน[14] มีผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจำนวน 4 คน[15] โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ 141 คนและส่งผลให้หุ้นในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวลดลงเป็นจำนวนมาก[16]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Magnitude 7.1 – NEAR THE COAST OF HONSHU, JAPAN". earthquake.usgs.gov. USGS. 7 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  2. "PAGER – M 7.1 – NEAR THE EAST COAST OF HONSHU, JAPAN". earthquake.usgs.gov. USGS. 7 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-04-20.
  3. "震度データベース検索 (地震別検索結果)". Japan Meteorological Agency (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2020. สืบค้นเมื่อ 16 April 2021.
  4. "Archived copy". earthquake.usgs.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 January 2022.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. Staff Writer (8 April 2011). "4 killed, 141 injured after 7.4 quake hits Miyagi Pref, vicinity". Japan Today. สืบค้นเมื่อ 2011-04-08.
  6. http://www.ytwhw.com/2011/0408/Sendai-earthquake-attack-suffered-another-received-a-report-said-many-fire.html[ลิงก์เสีย]
  7. http://www.jma.go.jp/en/tsunami/
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-27. สืบค้นเมื่อ 2011-04-08.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-10. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-08. สืบค้นเมื่อ 2011-04-09.
  11. http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/recenteqsww/Quakes/usc0002ksa.php#details
  12. http://www.ibtimes.com/articles/131963/20110407/japan-earthquake-today-minor-damages-nuclear-plant-intact.htm
  13. http://content.usatoday.com/communities/ondeadline/post/2011/04/74-magnitude-earthquake-hits-japan-tsunami-alert-issued/1
  14. http://www.theage.com.au/world/aftershock-hits-japan-knocks-out-power-at-nuclear-plants-20110408-1d7s2.html
  15. http://www.japantoday.com/category/national/view/7-4-quake-jolts-miyagi-pref-vicinity-tsunami-warning-lifted
  16. http://www.sfgate.com/cgi-bin/article.cgi?f=/g/a/2011/04/08/bloomberg1376-LJB4IE0UQVI901-28LQRV1UCN89IE4RQ75LE8VODB.DTL