ข้ามไปเนื้อหา

ยุคโจมง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ยุคโจมง (ญี่ปุ่น: 縄文時代โรมาจิJōmon jidai) เป็นช่วงเวลาระหว่าง ป. 14,000 ถึง 300 ปีก่อน ค.ศ.[1][2][3] ในช่วงนั้น ญี่ปุ่นมีประชากรเก็บของป่าล่าสัตว์และเกษตรกรยุคแรกหลายกลุ่มอาศัยอยู่ ซึ่งอยู่ร่วมกับผ่านวัฒนธรรมโจมง คำว่า "ลายเชือก" ใช้งานครั้งแรกโดยเอ็ดเวิร์ด เอส. มอร์ส นักสัตววิทยาและนักบูรพาคดีชาวอเมริกันที่ค้นพบชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาใน ค.ศ. 1877 และภายหลังแปล "ลายเชือก" ไปเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า โจมง[4] ลักษณะเครื่องปั้นดินเผาของวัฒนธรรมโจมงระยะแรกได้รับการตกแต่งด้วยการร้อยเชือกลงบนพื้นผิวดินเหนียวเปียก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[5]

ยุคโจมงอุดมไปด้วยเครื่องมือและเครื่องประดับที่ทำจากกระดูก หิน เปลือกหอย และเขากวาง รูปแกะสลักเครื่องปั้นดินเผาและภาชนะ และเครื่องเขิน[6][7][8][9] มักเทียบกับวัฒนธรรมก่อนโคลัมบัสในอเมริกาเหนือฝั่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และโดยเฉพาะวัฒนธรรมบัลดีเบียในประเทศเอกวาดอร์ เนื่องจากในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ความซับซ้อนทางวัฒนธรรมพัฒนาขึ้นจากบริบทการเก็บของป่าล่าสัตว์เป็นหลัก โดยมีการใช้พืชกรรมสวนอย่างจำกัด[10][11][12][13]

เส้นเวลา

[แก้]

ยุคโจมงที่กินระยะเวลาประมาณ 14,000 ปีแบ่งออกเป็นหลายระยะ แต่ละระยะสั้นกว่าระยะก่อนหน้า: ตั้งเค้า (13,750–8,500), เริ่มแรก (8,500–5,000), ตอนต้น (5,000–3,520), ตอนกลาง (3,520–2,470), ตอนปลาย (2,470–1,250) และ ท้ายสุด (1,250–500 ปีก่อน ค.ศ.)[14] ข้อเท็จจริงที่ว่านักโบราณคดีตั้งชื่อช่วงเวลาทั้งหมดให้เหมือนกันไม่ควรถือว่ายุคนี้ไม่มีความหลากหลายทางภูมิภาคและเวลามากนัก ช่วงเวลาระหว่างเครื่องปั้นดินเผาโจมงแรกสุดกับสมัยโจมงตอนกลางที่เป็นที่รู้จักมากกว่า มีระยะห่างนานกว่าการสร้างมหาพีระมิดแห่งกีซาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ประมาณสองเท่า

การระบุระยะย่อยโจมงโดยหลักอิงจากการจัดจำแนกวัตถุเครื่องปั้นดินเผา และการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีในระดับที่น้อยกว่า

การค้นคว้าล่าสุดได้ปรับเปลี่ยนระยะสุดท้ายของยุคโจมงที่ 300 ปีก่อน ค.ศ.[1][2][3] ตามหลักฐานจากคาร์บอนกัมมันตรังสี ยุคยาโยอิเริ่มต้นระหว่าง 500 ถึง 300 ปีก่อน ค.ศ. ในขณะที่เครื่องปั้นดินเผาแบบยาโยอิพบในพื้นที่โจมงในคีวชูเหนือมีอายุที่ 800 ปีก่อน ค.ศ.[15][16][17]

เครื่องปั้นดินเผา

[แก้]

เส้นเวลาการจำแนกเครื่องปั้น

[แก้]

ยุคโจมงตั้งเค้า (14,000–7,500 ปีก่อน ค.ศ.)[18]

  • ลายปั้นแปะ
  • ลายเล็บกด
  • ลายเชือกทาบ
  • มูโรยะล่าง

ยุคโจมงเริ่มแรก (7,500–4,000 ปีก่อน ค.ศ.)[19][20]

  • โบตาซาวะ
  • อิงูซะ
  • อินาริได
  • มิโตะ
  • โนจิมะ
  • ทาโดะล่าง
  • ทาโดะบน
  • ชิโบงูจิ
  • คายามะ
  • อูงาชิมะ

ยุคโจมงตอนต้น (5,000–3,520 ปีก่อน ค.ศ.)[21]

  • โกเรียวงาได
  • จูซัมโบได
  • คิตะ-ชิรากาวะ
  • โมโรอิโซะ
  • โอกิตสึ
  • อูกิชิมะ

ยุคโจมงตอนกลาง (3,520–2,470 ปีก่อน ค.ศ.)[22]

  • คาโซริ อี
  • คัตสึซากะ
  • โอตามาได

ยุคโจมงตอนปลาย (2,470–1,250 ปีก่อน ค.ศ.)

  • โฮริโนอูจิ[23]
  • คาโซริ บี[24]

ยุคโจมงท้ายสุด (1,250–500 ปีก่อน ค.ศ.)[25]

  • อังเงียว[26]
  • ฟูเซ็มมง
  • โฮกูริกูบันกิ
  • คาเมงาโอกะ
  • มาเออูระ
  • นางาตาเกะ
  • นิชิฮมมาเก็ง
  • นูซาไม
  • ชิโมโนะ

ยุคโจมงตั้งเค้าและโจมงเริ่มแรก (10,000 – 4,000 ก่อน ค.ศ.)

[แก้]

รูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่เริ่มมีรูปแบบคงที่นั้น เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึงยุคหินกลาง หากแต่นักวิชาการบางคนเสนอว่าเป็นยุคหินใหม่ที่มีคุณลักษณะบางอย่างของทั้งยุคหินกลางและหินใหม่ ในยุคดังกล่าวนี้ สมาชิกของวัฒนธรรมโจมงซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม และเป็นไปได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวไอนุในญี่ปุ่นปัจจุบัน ได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้อย่างชัดเจนที่สุด วัฒนธรรมโจมงนี้อาจนับได้อย่างคร่าว ๆ ว่าอยู่ร่วมสมัยกับอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย ลุ่มแม่น้ำไนล์ และลุ่มแม่น้ำสินธุ

เครื่องดินเผายุคแรก

[แก้]
เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง ราว 10,000 - 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว

โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดี ชาวโจมงอาจเป็นคนพวกแรกในโลกที่ทำภาชนะดินเผาขึ้นเมื่อสหัสวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช อีกทั้งยังเป็นพวกแรกที่ทำเครื่องมือหินอีกด้วย ความเก่าแก่ของเครื่องดินเผาเหล่านี้ได้รับการระบุภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยวิธีการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี อย่างไรก็ตาม นักวิชาการชาวญี่ปุ่นบางคนเชื่อว่าการผลิตเครื่องดินเผาน่าจะเกิดขึ้นบนแผ่นดินใหญ่ก่อน เนื่องจากแหล่งเครื่องดินเผาในบริเวณซึ่งอยู่ในประเทศจีนและรัสเซียปัจจุบันนั้นได้ผลิตเครื่องดินเผาซึ่ง "อาจจะเก่าพอ ๆ กับเครื่องดินเผาถ้ำฟุกุอิ แม้จะไม่เก่ากว่าก็ตาม" ชาวโจมงได้ปั้นตุ๊กตาและภาชนะจากดินเหนียวและทำลวดลายอย่างซับซ้อนด้วยการกดดินที่ยังหมาดอยู่ด้วยเชือกทั้งแบบที่ฟั่นเป็นเกลียวและไม่ฟั่น และกิ่งไม้

รูปแบบของยุคหินใหม่

[แก้]

โดยทั่วไป การผลิตเครื่องดินเผาสามารถบอกเป็นนัยได้ถึงรูปแบบการดำรงชีวิตแบบอยู่ติดที่ ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าเครื่องดินเผานั้นแตกหักได้ง่ายและย่อมไม่มีประโยชน์กับผู้ดำรงชีวิตแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ซึ่งต้องย้ายถิ่นฐานอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ ชาวโจมงจึงน่าจะเป็นคนพวกแรกในโลกที่ดำรงชีวิตแบบอยู่ติดที่ หรืออย่างน้อยก็เป็นแบบกึ่งติดที่ ชาวโจมงใช้เครื่องมือหินทั้งแบบที่ขึ้นรูปด้วยการสกัดและการบด และใช้ธนู อีกทั้งยังน่าจะชำนาญในการหาของป่า-ล่าสัตว์และการประมงทั้งชายฝั่งและน้ำลึก ชาวโจมงได้เริ่มทำการเกษตรขั้นตั้นและอาศัยในถ้ำ ซึ่งภายหลังได้ย้ายมาอาศัยในหลุมขุดตื้น ๆ และบ้านที่สร้างขึ้นบนพื้นดิน ร่องรอยที่เหลือของที่อาศัยเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาทางโบราณคดีในภายหลัง ร่องรอยเหล่านี้เองเป็นเหตุให้นักวิชาการส่วนหนึ่งยกให้ญี่ปุ่นเป็นแหล่งที่เริ่มต้นทำการเกษตรเป็นที่แรกในโลกเมื่อ 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก่อนที่เกษตรกรรมจะแพร่หลายในตะวันออกกลางถึงสองพันปี อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางโบราณคดีบางอย่างชี้ว่าการทดลองทำการเกษตรบนเนินเขาและในหุบเขาต่าง ๆ ของเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นประเทศซีเรีย จอร์แดน ตุรกี และอิรักนั้น มีมาแล้วตั้งแต่ประมาณ 11,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

การขยายตัวของประชากร

[แก้]

วัฒนธรรมแบบกึ่งอยู่ติดที่นี้ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างสำคัญ จนกระทั่งมีหลักฐานว่าวัฒนธรรมโจมงมีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดากลุ่มประชากรที่ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ การศึกษาแผนที่ทางพันธุกรรมโดยลุยจี ลูกา กาวัลลี-สฟอร์ซา ได้แสดงให้เห็นรูปแบบของการขยายตัวทางพันธุกรรมจากพื้นที่ในทะเลญี่ปุ่นไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก การขยายตัวครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับสามของเอเชียตะวันออก (รองจาก "การขยายตัวครั้งใหญ่" จากทวีปแอฟริกา และการขยายตัวครั้งที่สองจากตอนเหนือของไซบีเรีย) ซึ่งสื่อถึงการขยายตัวทางภูมิศาสตร์ในยุคโจมงตอนต้น การศึกษาเหล่านี้ยังชี้ว่าการขยายตัวของกลุ่มประชากรชาวโจมงครั้งนี้อาจแผ่ไปจนถึงทวีปอเมริกาผ่านเส้นทางเลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก

ยุคโจมงตอนต้นถึงท้ายสุด (4,000 – 400 ก.ค.ศ.)

[แก้]
โดะงู ที่พบในจังหวัดมิยะงิ

ยุคโจมงตอนต้นและตอนกลางนั้นมีการขยายตัวของประชากรอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากปริมาณของหลักฐานที่ขุดพบได้จากสองยุคนี้ ทั้งสองยุคดังกล่าวสอดคล้องกับกับช่วงภูมิอากาศร้อนสุดในยุคโฮโลซีน (ระหว่าง 4,000 ถึง 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยขึ้นสูงกว่าปัจจุบันหลายองศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 5 ถึง 6 เมตร งานศิลปะที่งดงามเช่นภาชนะดินเผารูปเปลวไฟซึ่งประดับประดาอย่างซับซ้อนนั้นเกิดขึ้นในยุคนี้ หลังจาก 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภูมิอากาศเริ่มเย็นลง และประชากรเริ่มหดตัวลงอย่างมาก การค้นพบแหล่งทางโบราณคดีหลัง 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชมีจำนวนน้อยลง

เมื่อถึงช่วงท้ายของยุคโจมง ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญเกิดขึ้นในแง่โบราณคดี โดยการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้พัฒนาจากแบบเริ่มต้นมาเป็นนาข้าวแบบซับซ้อนและเกิดระบบการปกครองขึ้น องค์ประกอบอื่น ๆ หลายอย่างของวัฒนธรรมญี่ปุ่นอาจนับย้อนไปได้ถึงยุคนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสะท้อนถึงการอพยพเข้ามาผสมปนเปกันของชาวแผ่นดินใหญ่จากเอเชียตอนเหนือและชาวแปซิฟิกตอนใต้ องค์ประกอบเหล่านั้นมีทั้งเทพปกรณัมชินโต ประเพณีการแต่งงาน ลีลาทางสถาปัตยกรรม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ภาชนะเคลือบเงา สิ่งทอ คันธนูที่ทำโดยการอัดไม้ต่างชนิดเข้าด้วยกัน งานโลหะ และงานแก้ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Perri, Angela R. (2016). "Hunting dogs as environmental adaptations in Jōmon Japan" (PDF). Antiquity. 90 (353): 1166–1180. doi:10.15184/aqy.2016.115. S2CID 163956846.
  2. 2.0 2.1 Timothy Jinam; Hideaki Kanzawa-Kiriyama; Naruya Saitou (2015). "Human genetic diversity in the Japanese Archipelago: dual structure and beyond". Genes & Genetic Systems. 90 (3): 147–152. doi:10.1266/ggs.90.147. PMID 26510569.
  3. 3.0 3.1 Robbeets, Martine (2015), Diachrony of Verb Morphology: Japanese and the Transeurasian Languages, De Gruyter, p. 26, ISBN 978-3-11-039994-3
  4. Mason, 14
  5. Kuzmin, Y.V. (2006). "Chronology of the Earliest Pottery in East Asia: Progress and Pitfalls". Antiquity. 80 (308): 362–371. doi:10.1017/s0003598x00093686. S2CID 17316841.
  6. Birmingham Museum of Art (2010). Birmingham Museum of Art : Guide to the Collection. Birmingham, AL: Birmingham Museum of Art. p. 40. ISBN 978-1-904832-77-5.
  7. Imamura, K. (1996) Prehistoric Japan: New Perspectives on Insular East Asia. Honolulu: University of Hawaiʻi Press
  8. Mizoguchi, Koji (2002). An Archaeological History of Japan, 30,000 B.C. to A.D. 700. University of Pennsylvania Press, Incorporated. ISBN 978-0-8122-3651-4.
  9. 長野県立歴史館 (1996-07-01). "縄文人の一生". Comprehensive Database of Archaeological Site Reports in Japan. สืบค้นเมื่อ 2016-09-02.
  10. Koyama, Shuzo, and David Hurst Thomas (eds.). (1979). Affluent Foragers: Pacific Coasts East and West. Senri Ethnological Studies No. 9. Osaka: National Museum of Ethnology.
  11. Aikens, C. Melvin (1992). Pacific northeast Asia in prehistory: hunter-fisher-gatherers, farmers, and sociopolitical elites. WSU Press. ISBN 978-0-87422-092-6.
  12. Fiedel, Stuart J. (1992). Prehistory of the Americas (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9780521425445.
  13. "Archaeology | Studies examine clues of transoceanic contact". The Columbus Dispatch (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-04.
  14. Sakaguchi, Takashi. (2009). Storage adaptations among hunter–gatherers: A quantitative approach to the Jomon period. Journal of anthropological archaeology, 28(3), 290–303. SAN DIEGO: Elsevier Inc.
  15. Silberman et al., 154–155.
  16. Schirokauer et al., 133–143.
  17. Shōda, Shinya (2007). "A comment on the Yayoi Period dating controversy". Bulletin of the Society for East Asian Archaeology. 1.
  18. Dresner, Melvyn. 2016. Jomon pottery as hunter-gatherer technology. UCL Institute of Archaeology. Pristupljeno 18. studenoga 2023.
  19. Kudo, Yuichiro (June 2007). "The Temporal Correspondences between the Archaeological: Chronology and Environmental Changes from to 11,500 to 2,800 cal BP on the Kanto Plain, Eastern Japan". The Quaternary Research. 46 (3): 187–194. doi:10.4116/jaqua.46.187 – โดยทาง J-Stage.
  20. Motohashi, Emiko (25 January 1996). "Jomon Lithic Raw Material Exploitation in the Izu Islands, Tokyo, Japan". Bulletin of the Indo-Pacific Prehistory Association. 2 (15): 131–137. สืบค้นเมื่อ 18 November 2023 – โดยทาง Open Journal Systems.
  21. Habu, Junko; Hall, Mark E. (1999). "Jomon Pottery Production in Central Japan". Asian Perspectives. 38 (1): 90–110. ISSN 0066-8435. JSTOR 42928448.
  22. "Japanese art – Jomon, Pottery, Sculpture | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
  23. "Jōmon Pottery at the World's Columbian Exposition". web.sas.upenn.edu. สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
  24. Hall, Mark E (2004-10-01). "Pottery production during the Late Jomon period: insights from the chemical analyses of Kasori B pottery". Journal of Archaeological Science. 31 (10): 1439–1450. doi:10.1016/j.jas.2004.03.004. ISSN 0305-4403.
  25. Kobayashi, Seiji (24 January 2008). "Eastern Japanese pottery during the Jomon-Yayoi transition: a study in forager-farmer interaction". Bulletin of the Indo-Pacific Prehistory Association. 5 (21): 37–42. สืบค้นเมื่อ 17 November 2023 – โดยทาง Open Journal Systems.
  26. Kushihara, Koichi (2014). "Jomon Period" (PDF). Archaeologia Japonica. 2: 74–77. สืบค้นเมื่อ 17 November 2023.

ข้อมูล

[แก้]
  • Aikens, C. Melvin, and Takayasu Higuchi. (1982). Prehistory of Japan. Studies in Archaeology. New York: Academic Press. (main text 337 pages; Jōmon text 92 pages) ISBN 0-12-045280-4
  • Craig, O.E; Saul, H. (2013). "Earliest evidence for the use of pottery". Nature. 496 (7445): 351–4. Bibcode:2013Natur.496..351C. doi:10.1038/nature12109. PMID 23575637. S2CID 3094491.
  • Habu, Junko (2004). Ancient Jomon of Japan. Cambridge, MA: Cambridge Press. ISBN 978-0-521-77670-7.
  • Habu, Junko, "Subsistence-Settlement systems in intersite variability in the Moroiso Phase of the Early Jōmon Period of Japan"
  • Hudson, Mark J., Ruins of Identity: Ethnogenesis in the Japanese Islands, University of Hawai`i Press, 1999, ISBN 0-8248-2156-4
  • Imamura, Keiji, Prehistoric Japan, University of Hawai`i Press, 1996, ISBN 0-8248-1852-0
  • Kobayashi, Tatsuo. (2004). Jōmon Reflections: Forager Life and Culture in the Prehistoric Japanese Archipelago. Ed. Simon Kaner with Oki Nakamura. Oxford, England: Oxbow Books. (main text 186 pages, all on Jōmon) ISBN 978-1-84217-088-5
  • Koyama, Shuzo, and David Hurst Thomas (eds.). (1979). Affluent Foragers: Pacific Coasts East and West. Senri Ethnological Studies No. 9. Osaka: National Museum of Ethnology.
  • Mason, Penelope E., with Donald Dinwiddie, History of Japanese art, 2nd edn 2005, Pearson Prentice Hall, ISBN 0-13-117602-1, 9780131176027
  • Michael, Henry N., "The Neolithic Age in Eastern Siberia." Henry N. Michael. Transactions of the American Philosophical Society, New Ser., Vol. 48, No. 2 (1958), pp. 1–108. (laminated bow from Korekawa, Aomori)
  • Mizoguchi, Koji, An Archaeological History of Japan: 10,000 B.C. to A.D. 700, University of Pennsylvania Press, 2002, ISBN 0-8122-3651-3
  • Pearson, Richard J., Gina Lee Barnes, and Karl L. Hutterer (eds.). (1986). Windows on the Japanese Past: Studies in Archaeology and Prehistory. Ann Arbor, Michigan: Center for Japanese Studies, The University of Michigan. (main text 496 pages; Jōmon text 92 pages)
  • Schirokauer, Conrad (2013). A Brief History of Chinese and Japanese Civilizations. Boston: Wadsworth Cengage Learning.
  • Silberman, Neil Asher (2012). The Oxford Companion to Archaeology. New York: Oxford University Press.
  • Temple, DH (2007). "Stress and dietary variation among prehistoric Jomon foragers". American Journal of Physical Anthropology. 133 (4): 1035–1046. doi:10.1002/ajpa.20645. PMID 17554758.
  • Temple, DH (2008). "What can stature variation reveal about environmental differences between prehistoric Jomon foragers? Understanding the impact of developmental stress on environmental stability". American Journal of Human Biology. 20 (4): 431–439. doi:10.1002/ajhb.20756. PMID 18348169. S2CID 8905568.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]