จังหวัดซัมบาเลส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดซัมบาเลส
ศาลากลางจังหวัดซัมบาเลสในงานเทศกาลมะม่วง
ศาลากลางจังหวัดซัมบาเลสในงานเทศกาลมะม่วง
ธงของจังหวัดซัมบาเลส
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดซัมบาเลส
ตรา
สมญา: 
Chromite Capital of the Philippines[1]
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศ ฟิลิปปินส์
เขตกิตนางลูโซน
ก่อตั้งค.ศ. 1578
เมืองหลักอีบา
การปกครอง
 • ประเภทSangguniang Panlalawigan
 • ผู้ว่าราชการจังหวัดAmor Deloso (Partido Galing at Puso)
 • รองผู้ว่าราชการจังหวัดAngel Magsaysay-Cheng (Partido Galing at Puso)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด3,645.83 ตร.กม. (1,407.66 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 35 จาก 81
 (ไม่รวมนครโอลองกาโป)
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาตาปูเลา)2,037 เมตร (6,683 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2015) [3]
 • ทั้งหมด590,848 คน
 • อันดับอันดับที่ 50 จาก 81
 • ความหนาแน่น160 คน/ตร.กม. (420 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 54 จาก 81
 (ไม่รวมนครโอลองกาโป)
เขตการปกครอง
 • นครอิสระ1 (โอลองกาโปo)
 • นคร0
 • เทศบาล
 • บารังไกย์230
(รวมนครอิสระ: 247)
 • Districts1st and 2nd districts of Zambales (shared with Olongapo City)
ประชากรศาสตร์
 • กลุ่มชาติพันธุ์
 • ภาษา
เขตเวลาUTC+8 (PST)
รหัสไปรษณีย์2200–2213
ไอดีดี:รหัสโทรศัพท์+63 (0)47
รหัส ISO 3166PH
เว็บไซต์www.zambalesnow.com

จังหวัดซัมบาเลส (ตากาล็อก: Lalawigan ng Zambales; ซัมบัล: Probinsya nin Zambales; กาปัมปางัน: Lalawigan ning Zambales; ปังกาซีนัน: Luyag na Zambales) เป็นจังหวัดในเขตกิตนางลูโซน เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคืออีบา มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดปังกาซีนันทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดตาร์ลักทางทิศตะวันออก, จังหวัดปัมปังกาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, จังหวัดบาตาอันทางทิศใต้ และทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก จังหวัดมีพื้นที่ 3,830.83 ตารางกิโลเมตร (1,479.09 ตารางไมล์) (รวมนครอิสระโอลองกาโป) ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเขตกิตนางลูโซน รองจากจังหวัดนูเอวาเอซีฮา จังหวัดซัมบาเลสมีชื่อเสียงในด้านมะม่วง ซึ่งเพาะปลูกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน

จังหวัดซัมบาเลสไม่มีสนามบินพาณิชย์ แต่สนามบินที่ใกล้ที่สุดคือท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์กในจังหวัดปัมปังกา ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติซูบิกเบย์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดซูบิ เขตเมืองท่าปลอดภาษีซูบิกเบย์ ไม่มีการใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Mining Firms Seek to Export Black Sand Thru Subic Port". Dean Alegado Reality. PIA Press Release. 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-14. สืบค้นเมื่อ 23 March 2016. The miners told Salonga that Zambales was known before as the chromite capital of the Philippines, but with big developments in China today, magnetite iron ore has become more important than chromite.
  2. "List of Provinces". PSGC Interactive. Makati City, Philippines: National Statistical Coordination Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-21. สืบค้นเมื่อ 13 February 2013.
  3. Census of Population (2020). "Region III (Central Luzon)". Total Population by Province, City, Municipality and Barangay. PSA. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2021.
  4. Orejas, Tonnette (7 March 2012). "It's more fun than an airport in Subic". Inquirer. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แผนที่พิกัดทั้งหมดใน "Zambales" กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML