จังหวัดโรมโบลน
จังหวัดโรมโบลน | |
---|---|
จังหวัด | |
จากซ้ายบนไปขวาล่าง:
| |
สมญา: เมืองหินอ่อนแห่งฟิลิปปินส์ | |
![]() ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์ | |
ประเทศ | ![]() |
เขต | มีมาโรปา |
ก่อตั้ง | 16 มีนาคม ค.ศ. 1901 |
เมืองหลัก | โรมโบลน |
การปกครอง | |
• ประเภท | ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน |
• ผู้ว่าราชการจังหวัด | Eduardo C. Firmalo (Liberal)[1] |
• รองผู้ว่าราชการจังหวัด | Jose Riano (Liberal)[1] |
• ผู้แทนราษฎร | Emmanuel F. Madrona (Nacionalista)[2] Lone District |
พื้นที่[3] | |
• ทั้งหมด | 1,533.45 ตร.กม. (592.07 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 68 จาก 81 |
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขากีติงกีติง) | 2,058 เมตร (6,752 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2015)[4] | |
• ทั้งหมด | 292,781 คน |
• อันดับ | 66 จาก 81 |
• ความหนาแน่น | 190 คน/ตร.กม. (490 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | 46 จาก 81 |
เขตการปกครอง | |
• นครอิสระ | 0 |
• นคร | 0 |
• เทศบาล | 17 |
• บารังไกย์ | 219 |
• Districts | Lone district of Romblon |
เขตเวลา | UTC+8 (PHT) |
รหัสไปรษณีย์ | 5500–5515 |
ไอดีดี : รหัสโทรศัพท์ | +63 (0)42 |
รหัส ISO 3166 | PH |
ภาษา | |
เว็บไซต์ | www |
จังหวัดโรมโบลน เป็นจังหวัดเกาะในเขตมีมาโรปา ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะหลักอย่างเกาะตาบลาส ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและครอบคลุมเทศบาลทั้งเก้าแห่ง และเกาะซีบูยัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเทศบาลโรมโบลน ศูนย์กลางของจังหวัด จังหวัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดมารินดูเกและเกซอน อยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดโอกซีเดนตัลมินโดโร ทิศเหนือของจังหวัดอักลันและคาปิซ และทิศตะวันตกของจังหวัดมัสบาเต ในปี ค.ศ. 2015 มีประชากร 292,781 คน
โรมโบลนเป็นถิ่นอาศัยของชาวฟิลิปปินส์พื้นเมือง ก่อนการเข้ามาของสเปนในปี ค.ศ. 1569 หลักฐานทางโบราณคดีที่เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 บ่งชี้ว่าชาวพื้นเมืองเคยมีวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองมาก่อน ต่อในยุคอาณานิคมสเปน โรมโบลนอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดอาเรบาโลซึ่งตั้งขึ้นใหม่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1716 ได้ถูกย้ายไปสังกัดในฟิลิปปินส์ และการเข้ามาของสหรัฐในปี ค.ศ. 1901 ทำให้โรมโบลนกลายเป็นจังหวัดภายใต้การปกครองของพลเมือง แต่ก็เสียสถานะจังหวัดในช่วงปี ค.ศ. 1907-1945 และกลับมาเป็นจังหวัดอีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง
ผู้อาศัยภายในจังหวัดนี้แบ่งได้สามกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ โรมโบลมาโนน, โอนฮัน และอาซี ซึ่งแต่ละกลุ่มมีภาษาและธรรมเนียมเป็นของตนเอง ภาษาโรมโบลมาโนนถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในเมืองโรมเบลนและซันอากุสตีน ภาษาโอนฮันใช้พูดกันในเทศบาลทางตอนใต้ของเกาะตาบลาสและเทศบาลซันโยเซ และภาษาอาซีใช้พูดกันในทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะตาบลาส และเกาะคอร์คูรา, บันตอน และคอนเซปซิอง
ปัจจุบันจังหวัดโรมโบลนยังคงพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก โดยปลูกข้าวและมะพร้าวแห้ง และมีการประมง นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมหินอ่อน จนได้รับฉายา "เมืองหินอ่อนแห่งฟิลิปปินส์" และในไม่กี่ปีที่ผ่านมา จังหวัดนี้ได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งมีชายหาดสีขาว จุดดำน้ำ ภูเขา และป่าฝน
ภูมิศาสตร์[แก้]
โรมโบลนตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยสามเกาะหลัก (ตาบลาส, ซีบูยัน และโรมโบลน) และ 17 เกาะเล็ก ล้อมรอบด้วยน้ำทะเลลึก อยู่ใกล้กับเกาะมัสบาเตทางทิศตะวันออก เกาะมินโดโรทางทิศตะวันตก เกาะมารินดูเกทางทิศเหนือ และเกาะปาไนทางทิศใต้ อยู่ห่างจากมะนิลาไปทางทิศใต้ประมาณ 187-169 กิโลเมตร การเดินทางไปยังเกาะต่าง ๆ ต้องใช้เรือ ยกเว้นเกาะตาบลาสที่มีสนามบินในประเทศ[5][6]
ภูมิประเทศ[แก้]
จังหวัดมีพื้นที่ 1,533.45 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของพื้นที่เขตมีมาโรปา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขามากถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่จังหวัด และเป็นที่ลาดเอียงมากกว่าร้อยละ 50 ภูมิประเทศอื่น ๆ ได้แก่ เนินเขาและที่ราบแคบริมชายฝั่ง[7][5][8]
ภูเขาส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับความสูง 400 เมตร (1,300 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ชายฝั่งตะวันตกของเกาะตาบลาสเป็นแนวลูกคลื่น ส่วนฝั่งตะวันออกจะค่อนข้างขรุขระ พื้นที่ทางตอนใต้และตะวันตกเป็นที่ราบลูกฟูก ส่วนพื้นที่ขรุขระพบได้ทางตอนกลางของเกาะ ระดับความสูงที่สูงที่สุดอยู่ที่ 500 เมตร (1,600 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล
เกาะซีบูยันมีภูมิประเทศเป็นภูเขาป่าทึบ พื้นที่ทางตะวันตกของเกาะค่อนข้างขรุขระ ส่วนทางตะวันออกจะเป็นลูกฟูก จุดสูงสุดอยู่ที่ภูเขากีติงกีติง ซึ่งสูง 2,058 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล[7][5][8][9]
พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่จะอบู่บนเกาะตาบลาส (เทศบาลโอดีออนกัน, ซันอันเดรส, ลูค และซันตาเฟ) และซีบูยัน ซึ่งจะลาดเอียงเล็กน้อย พื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้อยู่ที่ร้อยละ 13 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[7][5][8]
ความหลากหลายทางชีวภาพ[แก้]
โรมโบลน โดยเฉพาะบนเกาะซีบูยัน เป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศที่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์อย่างดี โดยมีป่าฝนที่ไม่ถูกรุกรานถึง 75% ของเกาะ และมีแม่น้ำคันตีกัสกับน้ำตก 34 แห่ง[10] ซีบูยันเป็นที่รู้จักกันในฉายา "กาลาปากอสแห่งเอเชีย" เพราะมีพืชและสัตว์เฉพาะถิ่นจำนวนมาก บางชนิดก็เพิ่งถูกค้นพบ โดยชนิดท้องถิ่นเหล่านี้ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 9 ชนิด, กิ้งก่า 7 ชนิด, สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 2 ชนิด, นก 3 ชนิด และพืชที่มีท่อลำเลียง 112 ชนิด[10] ชนิดที่สำคัญ อาทิ Nepenthes argentii,[11][12] Nepenthes sibuyanensis,[11][12] Nepenthes armin,[11][12] หนูตะเภาลายซีบูยัน,[13] หนูผีซีบูยัน,[14] ค้างคาวผลไม้จมูกท่อฟิลิปปิน,[15] นกหัวขวานแถบคราม[16] และนกฮูกเหยี่ยวโรมโบลน[17] ส่วนบนเกาะตาบลาส มีนกท้องถิ่นอย่างน้อยสองชนิดที่ถูกค้นพบ ได้แก่ นกแซงแซวตาบลาส และนกแฟนเทลตาบลาส[18][19]
ภูมิอากาศ[แก้]
โรมโบลนมีภูมิอากาศแบบที่สามจากการแบ่งของโคโรนา ซึ่งถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1920 ภูมิอากาศแบบนี้ไม่มีการแบ่งฤดูแล้งกับฤดูฝนที่ชัดเจน โดยฤดูฝนจะอยู่ประมาณเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และอาจขยายไปถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม แต่ก็มีฝนตกบ้าง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส (81 องศาฟาเรนไฮต์) เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่หนาวที่สุดที่ 20 องศาเซลเซียส (68 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดที่ 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) ลมมรสุมฮาบากัต จะพัดผ่านในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ส่วนลมอามีฮัน จะพัดผ่านในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์[7][5][8]
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลโรมโบลน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 28.5 (83.3) |
29.2 (84.6) |
30.2 (86.4) |
31.7 (89.1) |
32.7 (90.9) |
32.3 (90.1) |
31.3 (88.3) |
28.7 (83.7) |
31.2 (88.2) |
30.8 (87.4) |
30.0 (86) |
28.9 (84) |
30.46 (86.83) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 23.6 (74.5) |
23.7 (74.7) |
24.3 (75.7) |
25.4 (77.7) |
25.7 (78.3) |
25.1 (77.2) |
28.7 (83.7) |
24.8 (76.6) |
24.7 (76.5) |
24.5 (76.1) |
24.6 (76.3) |
24.2 (75.6) |
24.94 (76.9) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 95 (3.74) |
59 (2.32) |
54 (2.13) |
61 (2.4) |
130 (5.12) |
262 (10.31) |
312 (12.28) |
355 (13.98) |
292 (11.5) |
271 (10.67) |
236 (9.29) |
169 (6.65) |
2,296 (90.39) |
ความชื้นร้อยละ | 79 | 77 | 73 | 72 | 75 | 80 | 83 | 83 | 84 | 83 | 82 | 81 | 79.3 |
แหล่งที่มา: Weather-Averages.com[20] |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "Provincial Election Results: Romblon". May 13, 2013 National and Local Elections. Manila: Commission on Elections. 12 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 September 2015.
- ↑ "Congressional Election Results: Romblon". May 13, 2013 National and Local Elections. Manila: Commission on Elections. 12 May 2014. สืบค้นเมื่อ 18 September 2015.
- ↑ "List of Provinces". PSGC Interactive. Makati City, Philippines: National Statistical Coordination Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-21. สืบค้นเมื่อ 31 January 2013.
- ↑ https://www.psa.gov.ph/sites/default/files/attachments/hsd/pressrelease/2015%20population%20counts%20Summary_0.xlsx
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "History" (PDF). Profile of Romblon Province. Romblon: Philippine Statistical Authority. 2013. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
- ↑ "Location, Geography and Climate". Romblon Profile. Calapan City: National Economic and Development Authority (NEDA) MIMAROPA Region. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-05. สืบค้นเมื่อ 9 September 2015.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "History". Romblon Province. Romblon Provincial Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2013. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Geo-Physical Environment. Status Report on the Millennium Development Goals (MDGs) using CBMS data. Romblon: Provincial Government of Romblon. 2010.
- ↑ Lasco, Gideon (26 March 2008). "Mount Guiting-Guiting". Pinoy Mountaineer. สืบค้นเมื่อ 9 September 2015.
- ↑ 10.0 10.1 Licap, Enzo (16 April 2013). "The Galapagos of Asia: Sibuyan Island". Choose Philippines. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Jebb, M.H.P.; M.R. Cheek (1997). A skeletal revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea. pp. 42(1): 1–106.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|lastauthoramp=
ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=
) (help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 McPherson, S.R. (2009). Pitcher Plants of the Old World (2 volumes). Redfern Natural History Productions, Poole.
- ↑ Rickart, E.A.; Heaney, L.R.; Goodman, S.M.; Jansa, S. (2005). Review of the Philippine genera Chrotomys and Celaenomys (Murinae) and description of a new species. Journal of Mammalogy. pp. 86 (2): 415–428.
- ↑ Esselstyn, Jacob A.; Goodman, Steven M. (2010). New species of shrew (Soricidae: Crocidura) from Sibuyan Island, Philippines. Journal of Mammalogy. pp. 91 (6): 1467–1472.
- ↑ Ong, P.; Rosell-Ambal, G.; Tabaranza, B.; Heaney, L.; Ingle, N.; Cariño, A.B.; Pangulatan, L.M.; Pedregosa, M.; Alcala, E.; Helgen, K. (2008). "Nyctimene rabori". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2008: e.T14953A4482609. doi:10.2305/IUCN.UK.2008.RLTS.T14953A4482609.en. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|last-author-amp=
ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=
) (help) - ↑ Woodall, Peter (2001), "Family Alcedinidae (Kingfishers)", ใน del Hoyo, Josep; Elliott, Andrew; Sargatal, Jordi (บ.ก.), Handbook of the Birds of the World. Volume 6, Mousebirds to Hornbills, Barcelona: Lynx Edicions, pp. 103–187, ISBN 978-84-87334-30-6
- ↑ Kennedy, R.S.; Gonzales P.C.; Dickinson E.C.; Miranda Jr., H.C.; Fisher T.H. (2000). A Guide to the Birds of the Philippines. Oxford: Oxford University Press.
- ↑ BirdLife International (2013). "Dicrurus menagei". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
- ↑ Sánchez-González, L.A.; R.G. Moyle (2011). Molecular systematic and species limits in the Philippine fantails (Aves: Rhipidura). Molecular Phylogenetics and Evolution. pp. 61: 290–299.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|lastauthoramp=
ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=
) (help) - ↑
"Weather averages for Romblon, Philippines". Weather-Averages.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2015. สืบค้นเมื่อ July 9, 2015.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จังหวัดโรมโบลน
จังหวัดโรมโบลน คู่มือการท่องเที่ยวจากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Official Website of the Romblon Provincial Government
ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ จังหวัดโรมโบลน ที่ OpenStreetMap
- Local Governance Performance Management System เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน