ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีรถไฟบ้านปิน"

พิกัด: 18°05′46″N 99°52′01″E / 18.096051°N 99.867053°E / 18.096051; 99.867053
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Paweeraphat Thasee (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูล และปรับหัวข้อเล็กน้อย
Paweeraphat Thasee (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขสถาปัตยกรรม จัดเรียงรูปภาพ และเพิ่มภาพ
บรรทัด 85: บรรทัด 85:


== สถาปัตยกรรม ==
== สถาปัตยกรรม ==
อาคารสถานีรถไฟบ้านปินมีสถาปัตยกรรมแบบบาวาเรียนทิมเบอร์เฟรมเฮาส์หรือแบบโครงไม้ ซึ่งได้รับความนิยมใน[[แคว้นบาวาเรีย]] [[ประเทศเยอรมนี]] ผสมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยอย่าง[[หลังคาทรงปั้นหยา|เรือนปั้นหยา]] สีของอาคารเป็นสีเหลืองส้ม
อาคารสถานีรถไฟบ้านปินมีสถาปัตยกรรมแบบบาวาเรียนทิมเบอร์เฟรมเฮาส์หรือแบบโครงไม้ ซึ่งได้รับความนิยมใน[[แคว้นบาวาเรีย]] [[ประเทศเยอรมนี]] ผสมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยอย่าง[[หลังคาทรงปั้นหยา|เรือนปั้นหยา]] สีของอาคารเป็นสีเหลืองส้ม

อาคารสถานีเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีการผสมผสานศิลปะตะวันตก และพื้นถิ่นล้านนาเช่นเดียวกับอาคาร[[สถานีรถไฟนครลำปาง]]ผังพื้นอาคารเป็นรูปตัวที (T) พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างเป็นที่ทำงานของนายสถานี พื้นที่จำหน่ายตั๋ว และห้องอาณัติสัญญาณ โดยมีโถงพักคอยชั้นเดียวแยกตัวออกจากอาคารด้านช่องจำหน่ายตั๋ว ด้านหลังของห้องทำงานนายสถานีมีห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่ และมีบันไดไม้สำหรับขึ้นลงตั้งอยู่ ส่วนชั้นบนมีห้องน้ำ ห้องพักของนายสถานี และห้องนั่งเล่น สำหรับหลังคาของอาคารส่วนที่เป็น 2 ชั้น เป็นหลังคาจั่ว ส่วนหลังคาของโถงพักคอยเป็นหลังคาปั้นหยา ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตู หน้าต่าง และหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลายสวยงาม จุดเด่นของอาคาร คือ ผนังภายนอกชั้นสองตกแต่งด้วยไม้คาดในแนวตั้งและแนวทแยงภายในโครงสร้างไม้กรอบสี่เหลี่ยม<ref>[https://web.facebook.com/222323771159492/photos/a.222336111158258/850843288307534/ "สถานีรถไฟบ้านปิน"] สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564</ref>


== ตารางเดินรถ ==
== ตารางเดินรถ ==
บรรทัด 98: บรรทัด 100:
== ระเบียงภาพ ==
== ระเบียงภาพ ==
<gallery>
<gallery>
ไฟล์:สถานีรถไฟบ้านปิน ตัวสถานีและผู้คนในอดีต.jpg|อาคารสถานีรถไฟบ้านปิน และผู้คนในสมัยนั้น ประมาณปี พ.ศ.2510
ไฟล์:บป6.jpg|ขบวนรถด่วนพิเศษอุตราวิถี 9 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ผ่านสถานีบ้านปินล้าช้าในช่วงกลางวัน เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุรถขนส่งน้ำมัน 636 ตกรางที่จังหวัดนครสวรรค์
ไฟล์:สถานีรถไฟบ้านปิน 2528-2530.jpg|สถานีรถไฟบ้านปิน ประมาณปี พ.ศ. 2528
ไฟล์:บป5.jpg|ขบวนรถชานเมือง 408 เชียงใหม่-นครสวรรค์ ขณะรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟบ้านปิน ถ่ายจากชั้นลอยขอหอเก็บน้ำ
ไฟล์:ขบวนรถไฟที่สถานีรถไฟบ้านปิน.jpg|alt=่วน่|ขบวนรถรวม 468 เชียงใหม่-พิษณุโลก ในชานชลาที่ 1 ขณะหลีกกับขบวนรถธรรมดา 97 พิษณุโลก-เชียงใหม่(ขบวนรถไฟในขณะนั้น) ในชาชลาที่2 ที่สถานีรถไฟบ้านปิน ในภาพเห็นถึงอาคารไม้เดิมทั้งตั้งอยู่หน้าหอเติมน้ำที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว กับวิถีชีวิตผู้คนที่โดยสารรถไฟในเวลานั้น ประมาณปี พ.ศ. 2528
ไฟล์:บป8.jpg|สถานีรถไฟบ้านปิน ในช่วงค่ำ
ไฟล์:บป3.jpg|สถานีรถไฟบ้านปิน เวลากลางวัน ในช่วงฤดูฝน
ไฟล์:อาคารสถานีรถไฟบ้านปิน 2547.jpg|อาคารสถานีรถไฟบ้านปิน ถ่ายจากรถด่วน 51 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2547
ไฟล์:หอสัญญาณบ้านปิน.jpg|หอสัญญาณควบคุมการเดินสถานีรถไฟบ้านปิน และอาคารไม้สำหรับซ่อมบำรุง ชั่งน้ำหนักรถไฟ(ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ถ่ายจากรถด่วน 51 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2547
ไฟล์:หอสัญญาณบ้านปิน.jpg|หอสัญญาณควบคุมการเดินสถานีรถไฟบ้านปิน และอาคารไม้สำหรับซ่อมบำรุง ชั่งน้ำหนักรถไฟ(ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ถ่ายจากรถด่วน 51 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2547
ไฟล์:อาคารสถานีรถไฟบ้านปิน 2547.jpg|อาคารสถานีรถไฟบ้านปิน ถ่ายจากรถด่วน 51 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2547
ไฟล์:สถานีรถไฟบ้านปิน 2552 (1-2).jpg|สถานีรถไฟบ้านปิน ถ่ายจากขบวน 51 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2552
ไฟล์:สถานีรถไฟบ้านปิน 2552 (1-2).jpg|สถานีรถไฟบ้านปิน ถ่ายจากขบวน 51 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2552
ไฟล์:สถานีรถไฟบ้านปิน 2552 (2-2).jpg|ผู้โดยสารที่ครึกครื้น ขณะรถจอด ถ่ายจากขบวน 51 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2552
ไฟล์:สถานีรถไฟบ้านปิน 2552 (2-2).jpg|ผู้โดยสารที่ครึกครื้น ขณะรถจอด ถ่ายจากขบวน 51 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2552
ไฟล์:ป้ายสถานีบ้านปิน รถเร็ว 102.jpg|ขบวนรถเร็ว 102 เชียงใหม่-กรุงเทพ จากป้ายสถานีรถไฟบ้านปินทางทิศเหนือ ช่วงที่มีการทาสีกรอบป้ายดำ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2556
ไฟล์:ป้ายสถานีบ้านปิน รถเร็ว 102.jpg|ขบวนรถเร็ว 102 เชียงใหม่-กรุงเทพ จากป้ายสถานีรถไฟบ้านปินทางทิศเหนือ ช่วงที่มีการทาสีกรอบป้ายดำ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2556
ไฟล์:บป5.jpg|ขบวนรถชานเมือง 408 เชียงใหม่-นครสวรรค์ ขณะรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟบ้านปิน ถ่ายจากชั้นลอยขอหอเก็บน้ำ
ไฟล์:สถานีรถไฟบ้านปิน 2528-2530.jpg|สถานีรถไฟบ้านปิน ประมาณปี พ.ศ. 2528
ไฟล์:บป8.jpg|สถานีรถไฟบ้านปิน ในช่วงค่ำ
ไฟล์:ขบวนรถไฟที่สถานีรถไฟบ้านปิน.jpg|alt=่วน่|ขบวนรถรวม 468 เชียงใหม่-พิษณุโลก ในชานชลาที่ 1 ขณะหลีกกับขบวนรถธรรมดา 97 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ในชาชลาที่2 (ขบวนรถไฟในขณะนั้น) ที่สถานีรถไฟบ้านปิน ในภาพเห็นถึงอาคารไม้เดิมทั้งตั้งอยู่หน้าหอเติมน้ำที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว กับวิถีชีวิตผู้คนที่โดยสารรถไฟในเวลานั้น ประมาณปี พ.ศ. 2528
ไฟล์:บป3.jpg|สถานีรถไฟบ้านปิน เวลากลางวัน ในช่วงฤดูฝน
ไฟล์:บป6.jpg|ขบวนรถด่วนพิเศษอุตราวิถี 9 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ผ่านสถานีบ้านปินล้าช้าในช่วงกลางวัน เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุรถขนส่งน้ำมัน 636 ตกรางที่จังหวัดนครสวรรค์
ไฟล์:บป2.jpg|ภาพถ่ายด้านหลังอาคารสถานีรถไฟบ้านปิน
ไฟล์:บป2.jpg|ภาพถ่ายด้านหลังอาคารสถานีรถไฟบ้านปิน
ไฟล์:สถานีรถไฟบ้านปิน ป้ายและย่านสถานีทางทิศใต้2020.jpg|ป้ายและย่านสถานีทางด้านใต้ของสถานี
</gallery>
</gallery>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:43, 8 ตุลาคม 2564

สถานีรถไฟบ้านปิน
สถานีรถไฟถ่ายจากทางทิศใต้ของสถานี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง203 บ้านใหม่ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สายแม่แบบ:SRT Lines
ชานชาลา2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลา2
ที่จอดรถลานจอดรถหน้าสถานี
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ054583480
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1172
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 มิถุนายน พ.ศ. 2457 (109 ปี)
ผู้โดยสาร
ไม่ต่ำกว่า 50 คน /วัน[ต้องการอ้างอิง]
บ้านปิน
Ban Pin
กิโลเมตรที่ 563.86
ห้วยแม่ต้า
Huai Mae Ta
−9.44 กม.
ผาคัน
Pha Khan
+14.60 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

สถานีรถไฟบ้านปิน (อังกฤษ: ฺBan Pin Railway Station) เป็นสถานีรถไฟระดับสองบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ–เชียงใหม่) ตั้งอยู่ในตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 563.86 กิโลเมตร สถานีบ้านปินตั้งอยู่ระหว่างที่หยุดรถไฟห้วยแม่ต้ากับสถานีรถไฟผาคัน โดยช่วงระหว่างสถานีบ้านปินกับสถานีผาคัน เป็นที่ตั้งของอุโมงค์ห้วยแม่ลานซึ่งมีความยาว 130.20 เมตร อยู่ห่างจากสถานีบ้านปินไปประมาณ 11 กิโลเมตร

สถานีบ้านปินก่อสร้างและเปิดเดินรถในสมัยรัชกาลที่ 6 อาคารสถานีมีรูปแบบสถาปัตยกรรมบาวาเรียนผสมอับสถาปัตยกรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ ตัวสถานีมีทางรถไฟ 5 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 3 ทาง ทางตัน 1 ทาง และมี 2 ชานชาลา ย่านสถานีมีหอประแจและหอเติมน้ำสำหรับรถจักรไอน้ำซึ่งปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว นอกจากนี้ยังเคยมีโรงซ่อมรถซึ่งใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 แต่ปัจจุบันถูกรื้อถอนแล้ว

สถานีรถไฟบ้านปินเป็นสถานีหนึ่งในโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย - เชียงใหม่

แต่เดิม ระหว่างสถานีรถไฟบ้านปินกับสถานีรถไฟผาคันเคยมีที่หยุดรถห้วยแม่ลาน ที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 ที่บริเวณปากอุโมงค์ห้วยแม่ลานทางทิศเหนือ(ฝั่งสถานีผาคัน) ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกยุบยกเลิกไปแล้ว[1]

ข้อมูลจำเพาะ

  • ประเภทเส้นทาง : ทางรถไฟทางไกลสายเหนือ
  • รหัส  : 1172
  • ชื่อภาษาไทย  : บ้านปิน
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Ban Pin
  • ชื่อย่อภาษาไทย : บป.
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : BAP.
  • ชั้นสถานี  : สถานีรถไฟชั้น 2
  • ระบบอาณัติสัญญาณ : หางปลา ไม่มีสัญญาณเตือน ใช้ห่วงทางสะดวก
  • พิกัดที่ตั้ง  : หลังสถานีมีแม่น้ำห้วยแม่ลานและติดตัวตำบลบ้านปิน ห่างจากถนน 1023 สายแพร่ - ลอง 1 กิโลเมตร
  • ที่อยู่  : 203 บ้านใหม่ หมู่ที่4 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
  • ขบวนรถ/วัน:จอด 10 ขบวน รถด่วนพิเศษดีเซลราง รถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว ท้องถิ่น
  • ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ไม่ต่ำกว่า 50 คน
  • สถานีก่อนหน้า : ที่หยุดรถห้วยแม่ต้า
  • สถานีก่อนหน้า(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : สถานีรถไฟแก่งหลวง
  • สถานีถัดไป : สถานีรถไฟผาคัน
  • ห่างจากสถานีกรุงเทพ : 563.86 กิโลเมตร

ประวัติ

สถานีรถไฟบ้านปินก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2457 โดยเส้นทางช่วงห้วยแม่ต้า-บ้านปิน ซึ่งมีระยะทาง 13 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

สถาปัตยกรรม

อาคารสถานีรถไฟบ้านปินมีสถาปัตยกรรมแบบบาวาเรียนทิมเบอร์เฟรมเฮาส์หรือแบบโครงไม้ ซึ่งได้รับความนิยมในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ผสมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างเรือนปั้นหยา สีของอาคารเป็นสีเหลืองส้ม

อาคารสถานีเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีการผสมผสานศิลปะตะวันตก และพื้นถิ่นล้านนาเช่นเดียวกับอาคารสถานีรถไฟนครลำปางผังพื้นอาคารเป็นรูปตัวที (T) พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างเป็นที่ทำงานของนายสถานี พื้นที่จำหน่ายตั๋ว และห้องอาณัติสัญญาณ โดยมีโถงพักคอยชั้นเดียวแยกตัวออกจากอาคารด้านช่องจำหน่ายตั๋ว ด้านหลังของห้องทำงานนายสถานีมีห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่ และมีบันไดไม้สำหรับขึ้นลงตั้งอยู่ ส่วนชั้นบนมีห้องน้ำ ห้องพักของนายสถานี และห้องนั่งเล่น สำหรับหลังคาของอาคารส่วนที่เป็น 2 ชั้น เป็นหลังคาจั่ว ส่วนหลังคาของโถงพักคอยเป็นหลังคาปั้นหยา ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตู หน้าต่าง และหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลายสวยงาม จุดเด่นของอาคาร คือ ผนังภายนอกชั้นสองตกแต่งด้วยไม้คาดในแนวตั้งและแนวทแยงภายในโครงสร้างไม้กรอบสี่เหลี่ยม[2]

ตารางเดินรถ

ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564

เที่ยวไป

แม่แบบ:เริ่มตารางเวลารถไฟแม่แบบ:ดพ13แม่แบบ:ด51แม่แบบ:ท407แม่แบบ:ดพ7แม่แบบ:ร109แม่แบบ:ดพ9แม่แบบ:จบตารางเวลารถไฟ

เทียวกลับ

แม่แบบ:เริ่มตารางเวลารถไฟแม่แบบ:ร102แม่แบบ:ดพ8แม่แบบ:ท408แม่แบบ:ด52แม่แบบ:ดพ14แม่แบบ:ดพ10แม่แบบ:จบตารางเวลารถไฟ

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. บันทึกจาก Black express สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564
  2. "สถานีรถไฟบ้านปิน" สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564
  • จาก "เที่ยวเก๋าไหม ไป "ลอง" กัน": สถานีรถไฟบ้านปิน ประตูสู่เมืองลอง. อ.ส.ท. กุมภาพันธ์ 2561. pp. 26–39. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  • ถ้าวันหนึ่ง ฉันจะนั่งรถไฟ. กองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยวศูนย์ประชาสัมพันธ์. p. 124-127. {{cite book}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

18°05′46″N 99°52′01″E / 18.096051°N 99.867053°E / 18.096051; 99.867053