ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จรัล มโนเพ็ชร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 139: บรรทัด 139:
* [[ด้วยเกล้า]] (2530)
* [[ด้วยเกล้า]] (2530)
* 2482 นักโทษประหาร (2531)
* 2482 นักโทษประหาร (2531)
* ยิ้มนิดคิดเท่าไหร่ (2532)
* ยิ้มนิดคิดเท่าไหร่ (2533)
* [[วิถีคนกล้า]] (2534)
* [[วิถีคนกล้า]] (2534)
* [[เวลาในขวดแก้ว]] (2534)
* [[เวลาในขวดแก้ว]] (2534)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:16, 15 กรกฎาคม 2563

จรัล มโนเพ็ชร
ไฟล์:14764083dt2.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2494
จรัล มโนเพ็ชร
เสียชีวิต3 กันยายน พ.ศ. 2544 (50 ปี)
จังหวัดลำพูน
อาชีพนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักแสดง
ผลงานเด่นด้วยเกล้า , บุญชูผู้น่ารัก
พระสุรัสวดีเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2531 - บุญชูผู้น่ารัก

พ.ศ. 2532 - บุญชู 2 น้องใหม่
สุพรรณหงส์นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2530 - ด้วยเกล้า
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2534 - เวลาในขวดแก้ว (เข้าชิง)
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

จรัล มโนเพ็ชร (1 มกราคม พ.ศ. 2494[1] — 3 กันยายน พ.ศ. 2544) เป็นศิลปินชาวไทย ผู้เป็นทั้งนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง และนักแสดง ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย

งานดนตรีของจรัลมีเอกลักษณ์จากการสร้างสรรค์ภาษาถิ่นเหนือ คำเมือง ของเขาซึ่งเรียกว่า “โฟล์คซองคำเมือง” ที่ก่อเกิดขึ้นนับแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับความสนใจจนเป็นที่ยอมรับ และกลายเป็นแบบอย่างบนแนวทางดนตรีท้องถิ่นร่วมสมัยในปัจจุบัน

โฟล์คซองคำเมืองของจรัลไม่เพียงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวเหนือหรือชาวล้านนา ซึ่งเข้าใจภาษาคำเมืองภาษาท้องถิ่นของตน แต่ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยภาคอื่น ๆ ไปจนถึงชาวต่างชาติที่สนใจในศิลปะการดนตรี เอกลักษณ์ของเขาทั้งในการแต่งเพลง ร้องเพลง และเล่นดนตรี ทำให้จรัลได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาโฟล์คซองคำเมือง” จรัลแต่งเพลงไว้กว่าสองร้อยเพลงในช่วงเวลาราวยี่สิบห้าปีของชีวิตศิลปินของเขา เป็นบทเพลงที่งดงามด้วยการใช้ภาษาเยี่ยงกวี จนทำให้เขาได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. 2537 ในฐานะ “บุคคลดีเด่นทางด้านการใช้ภาษา”

แม้จรัลจะเสียชีวิตไปแล้วแต่บทเพลงของเขานับร้อยเพลงนั้นยังคงเป็นอมตะ ผู้คนยังคงฟังเพลงของเขาอยู่ไม่เสื่อมคลาย

ประวัติ

จรัล มโนเพ็ชร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ ในย่านที่เรียกว่าประตูเชียงใหม่ พ่อของเขาเป็นข้าราชการอยู่ที่แขวงการทางจังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ส่วนแม่ชื่อ เจ้าต่อมคำ (ณ เชียงใหม่) มโนเพ็ชร สืบเชื้อสายมาจากราชตระกูล ณ เชียงใหม่

จรัลเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2494[2] เป็นลูกคนที่สอง มีพี่น้องชายหญิงรวมทั้งหมด 7 คน ครอบครัวเป็นชนชั้นกลาง มีชีวิตเรียบง่ายสมถะตามแบบวิถีชีวิตชาวเหนือทั่วไป ใฝ่ใจในพุทธศาสนา ทั้งพ่อและแม่ของจรัลจะไปทำบุญและร่วมงานพิธีทางศาสนาอยู่เสมอที่วัดใกล้บ้าน คือ วัดฟ่อนสร้อย ซึ่งเป็นวัดที่ครอบครัวนี้มีศรัทธาอย่างยิ่ง ด้วยครอบครัวมโนเพ็ชรเป็นครอบครัวใหญ่ พ่อของจรัลจึงต้องหารายได้พิเศษ ความที่เป็นคนมีฝีมือในด้านงานศิลปะหัตถกรรมท้องถิ่นที่สืบทอดตกมาจากบรรพบุรุษชาวเหนือ ทั้งการเขียนรูป และการแกะสลักไม้ พ่อของจรัลจึงมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว จรัลเองในเวลานั้นแม้จะอยู่ในวัยเด็ก แต่บางครั้งเมื่อพ่อมีงานพิเศษล้นมือจรัลจะเป็นผู้ช่วยพ่อของเขา ทั้งงานเขียนรูปและงานแกะสลักไม้

การศึกษา

จรัลเข้าเรียนหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนพุทธิโสภณ แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนเมตตาศึกษา จากนั้นจึงสอบเข้าเรียนในขั้นอุดมศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลฝึกเล่นกีตาร์มาตั้งแต่เด็กเพราะความชอบในดนตรี ทั้งจากที่เขาได้ฟังทางสถานีวิทยุในเชียงใหม่ และจากพวกมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภาคเหนือ ระหว่างที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวด้วยการทำงานเพื่อหารายได้พิเศษโดยไม่ต้องรบกวนเงินทองจากทางบ้าน เขาเริ่มต้นด้วยการรับจ้างร้องเพลงและเล่นกีตาร์ตามร้านอาหาร หรือตามคลับตามบาร์ในเชียงใหม่ ซึ่งในเวลานั้นยังมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง แนวดนตรีที่เขาชอบเป็นพิเศษคือดนตรีโฟล์ค คันทรี และบลูส์ ที่ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจและมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแต่งเพลงของเขา

เมื่อจบการศึกษาจากวิทยาลัย จรัลเข้าทำงานรับราชการเป็นงานแรกที่แขวงการทางอำเภอพะเยา (เวลานั้นพะเยายังไม่ได้รับการยกให้เป็นจังหวัดเหมือนในปัจจุบัน) ต่อมาจึงย้ายไปทำงานที่บริษัทไทยฟาร์มมิ่ง และที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จรัลยังคงทำงานประจำไปด้วยควบคู่กับการร้องเพลงตามร้านอาหาร ตามโรงแรมและคลับบาร์ในเชียงใหม่

ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2520 เมื่อบทเพลงโฟล์คซองคำเมืองของเขาเผยแพร่ไปทั่วประเทศ เพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเพลงที่ชื่อ อุ๊ยคำ ซึ่งเวลานั้นเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทเพลงของ ปีเตอร์ พอล แอนด์ แมรี นอกจากนั้นยังมีศิลปินต่างชาติอีกหลายคนที่เป็นต้นแบบการเล่นดนตรีของจรัล เช่น บ็อบ ดีแลน, จอห์น เดนเวอร์, นิตตี้ กริทที้ เดิร์ท แบนด์, วิลลี่ เนลสัน, จิม โครเชต์ และ พอล ไซมอน & อาร์ท การ์ฟังเกล ซึ่งส่งผลไปถึงการทำงานโฟล์คซองคำเมืองอันเป็นดนตรีในรูปแบบของจรัลเอง

จรัลก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไปในยุคนั้นที่ได้ยินได้ฟังดนตรีจากอเมริกาและอังกฤษที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยตามสมัยนิยม แต่จรัลไม่เพียงชื่นชอบเสียงดนตรีจากต่างประเทศ เขายังชื่นชอบบทเพลงสมัยก่อนแต่โบราณของชาวล้านนาอย่างยิ่ง เมื่อจรัลเริ่มต้นแต่งเพลง บทเพลงของเขาจึงเป็นการผสมผสานแนวดนตรีตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้จะเป็นการผสมผสานศิลปะดนตรีของตะวันออกกับตะวันตกก็ตาม แต่งานดนตรีของจรัลก็แฝงด้วยลักษณะท้องถิ่นล้านนาที่ชัดเจน ทั้งท่วงทำนองและเนื้อหาของบทเพลงที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวล้านนาตั้งแต่ยุคแรกที่ทำให้จรัลมีชื่อเสียงขึ้นมา และแม้เวลาจะผ่านไป บทเพลงของจรัลเริ่มที่จะเป็นลักษณะสากลแต่เขาก็ไม่เคยละทิ้งบทเพลงพื้นบ้านของล้านนา

ยุคแรก

บทเพลงคำเมืองของเขาแพร่กระจายไปทั่วในปี พ.ศ. 2520 แต่บรรดาครูเพลงในล้านนาที่จรัลมักเรียกว่า ฤๅษีทางดนตรี ต่างก็พากันวิพากษ์วิจารณ์งานของเขาซึ่งแปลกแตกต่างไปจากดนตรีล้านนาที่เคยได้ยินได้ฟังกันมา เพราะจรัลใช้กีตาร์ และแมนโดลินมาแทนเสียงซึง ใช้ขลุ่ยฝรั่งแทนขลุ่ยไทย และเขายังใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่อีกมากมายมาบรรเลงบทเพลงเก่าแก่ของล้านนาตามแบบฉบับโฟล์คซองคำเมืองของเขา จรัลพูดว่า “บทเพลงแบบเก่าๆนั้นมีคนทำอยู่มากแล้วและก็ไม่สนุกสำหรับผมที่จะไปเลียนแบบของเก่าเสียทุกอย่าง”

การเป็นคนนอกคอกที่กล้าพอที่จะสร้างสรรงานดนตรีซึ่งแตกต่างจากงานเก่า ๆ ตามแบบของศิลปินนี้เอง ที่ส่งผลให้บทเพลงเก่าแก่ของล้านนากลับมาได้รับความสนใจจากวัยรุ่นในยุคนั้น แทนที่จะหายไปตามกาลเวลาและสมัยนิยม จรัลได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็นนักแต่งเพลงฝีมือเยี่ยม ที่แม้บรรดาศิลปินเพลงด้วยกันต่างก็ยอมรับ เขาเชียวชาญการแต่งเพลงหลายรูปแบบแต่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือบทเพลงแบบบัลลาด ซึ่งเป็นบทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนของท้องถิ่นล้านนาอันเป็นบ้านเกิดของเขา จรัลพูดถึงการแต่งเพลงเองร้องเพลงเองของเขาว่า….. '“มันเป็นงานที่เป็นตัวตนจริงๆแท้ๆจากใจ ในเมื่อผมเป็นนักร้องแต่ไม่อยากร้องเพลงของคนอื่น ผมจึงต้องเขียนเพลงของตัวเอง เป็นเพลงที่ผมอยากร้อง มันทำให้ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ ไม่ต้องอาศัยให้ใครมาสร้างภาพลักษณ์”'

ในยุคแรกๆนั้นจรัลทำงานดนตรีร่วมกับพี่น้องและญาติๆของเขาในตระกูลมโนเพ็ชร คือน้องชายสามคนที่ชื่อ กิจจา – คันถ์ชิด และเกษม รวมทั้งมักจะมีนักร้องหญิงชื่อสุนทรี เวชานนท์ ร่วมร้องเพลงด้วย แต่ต่อมาทั้งหมดก็แยกทางกันไปตามวิถีของแต่ละคน น้องชายทั้งสามของเขาต่างก็ยังคงเล่นดนตรีและร้องเพลง โดยที่ส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯนั่นเอง ส่วนสุนทรี เวชานนท์ แต่งงานกับชายชาวออสเตรเลียจึงโยกย้ายไปอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่ง เมื่อกลับมาเมืองไทยอีกครั้งก็ได้เกิดเรื่องความบาดหมางระหว่างจรัลกับสุนทรีจนทำให้ไม่อาจร่วมงานกันได้อีกต่อไป จรัลเองถึงกับประกาศว่าจะไม่ขอขึ้นเวทีร้องเพลงร่วมกับสุนทรีอีก และเขาก็ได้ทำเช่นนั้นตราบจนวันตายจริงๆ

ยุคหลัง

ในช่วงบั้นปลายของชีวิตราวสิบปีก่อนที่จรัลจะเสียชีวิต งานดนตรีของเขาจึงเป็นการทำงานเพียงลำพังอย่างแท้จริง แต่ด้วยความสามารถอันสูงส่งของเขา งานดนตรีของจรัลกลับพัฒนายิ่งขึ้น โดยที่เขายังคงแต่งเพลงเอง ร้องเอง เล่นดนตรีเอง และจรัลยังเรียบเรียงเสียงดนตรีเองอีกด้วย จนทำให้เขาได้รับรางวัลดนตรี สีสันอวอร์ด ในปี พ.ศ. 2538 โดยเป็นศิลปินชายเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลถึงสามรางวัลในครั้งนั้น นั่นก็คือในฐานะนักร้องชายยอดเยี่ยม จากเพลงศิลปินป่า อัลบั้มยอดเยี่ยม จากอัลบั้มชุดศิลปินป่า และบทเพลงยอดเยี่ยมจากงานชุดศิลปินป่า

เมื่อจรัลโยกย้ายจากจังหวัดเชียงใหม่ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ นอกจากมีกิจการร้านอาหารและทำงานเพลงแล้ว บางครั้งจรัลยังรับแสดงหนังและละคร อีกทั้งยังแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์และละครเหล่านั้นด้วย ความสามารถในด้านนี้ทำให้ต่อมาจรัลได้รับรางวัลทางด้านการแสดงอีกหลายรางวัลทีเดียว ในปี พ.ศ. 2539 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการจัดทำดนตรีเรียกว่าดนตรีจตุรภาค โดยรวบรวมนักดนตรีฝีมือเยี่ยมจากทั่วทุกภาคในประเทศมาแต่งเพลงเพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสนี้ จรัลเองขณะนั้นมีอายุเพียงสี่สิบห้าปีเท่านั้นแต่ก็ได้รับเชิญในฐานะครูเพลงภาคเหนือ เขาแต่งเพลงชื่อว่า ฮ่มฟ้าปารมี เป็นเพลงที่ไพเราะมาก จนทำให้ต่อมาแพร่หลายในวงกว้าง และในที่สุดสถาบันการศึกษาด้านศิลปะการดนตรีในจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเพลงนี้ไปใช้ประกอบการสอนในสาขานาฏศิลป์ด้วย และปัจจุบันนี้ได้มีผู้คิดท่าฟ้อนรำสำหรับบทเพลงนี้เช่นกัน เรียกว่า ฟ้อนฮ่มฟ้าปารมี ช่วงชีวิตการทำงานศิลปะการดนตรีของจรัลเริ่มในปี พ.ศ. 2520 และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2544 เมื่อจรัลเสียชีวิตจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน โดยที่ก่อนเสียชีวิตนั่นเองจรัลกำลังตั้งใจที่จะทำงานเพลงในโอกาสที่โฟล์คซองคำเมืองของเขายืนยาวมาถึงยี่สิบห้าปีแห่งการทำงานเพลง เขาตั้งใจใช้ชื่อว่า 25 ปี โฟล์คซองคำเมือง จรัล มโนเพ็ชร

การเสียชีวิต

ข่าวการเสียชีวิตของจรัลจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 จังหวัดลำพูน สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วประเทศ ผู้คนจำนวนมากจากทุกวงการเดินทางไปคารวะศพของเขา ซึ่งตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารเป็นเวลาห้าวัน พวงหรีดที่มีผู้นำไปแสดงความเคารพและคารวะศพของจรัลมีเป็นจำนวนมากจนกระทั่งไม่มีที่วาง ทางวัดจึงต้องนำไปแขวนไว้บนกำแพงวัดทั้งด้านในและด้านนอก นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นคือ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ส่งพวงหรีดดอกไม้สดมา และรวมทั้งอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย หรือแม้แต่รัฐมนตรีตามกระทรวงต่าง ๆ และสมาชิกรัฐสภา

หลังการเสียชีวิตของจรัล มโนเพ็ชร นอกจากการขนานนามที่เขาได้รับมาตลอดว่าเป็น ราชาโฟล์คซองคำเมือง แล้ว ผู้คนได้ยกย่องและเรียกเขาด้วยชื่อต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ศิลปินล้านนาแห่งยุคสมัย ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ มหาคีตกวีล้านนา ราชันย์แห่งดุริยะศิลป์ นักวิชาการและนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมยกย่องให้ จรัล มโนเพ็ชร เป็นนักรบวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น

ก่อนเสียชีวิตไม่นานจรัล มโนเพ็ชร ได้รับเชิญจากรัฐบาลให้เป็นที่ปรึกษางานด้านวัฒนธรรม ซึ่งจรัลได้ตอบตกลงไปแล้ว แต่ก่อนที่การประชุมครั้งแรกจะเกิดขึ้นจรัลก็เสียชีวิตไปก่อน

ผลงาน

ผลงานการแสดง (พ.ศ. 2522 – 2544)

ภาพยนตร์

ละครโทรทัศน์

ละครเวที

  • สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ (2530)
  • จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า จะไม่ขอข้าว ขอแกง (2534)

พากย์

ดนตรีประกอบภาพยนตร์ , ละครโทรทัศน์ และสารคดี

  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง เสียงซึงที่สันทราย (2523)
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง บุญชูผู้น่ารัก ภาค 1-8 (2531-2538) ใน ภาค 9 (2551) เป็นหน้าที่ของ ยืนยง โอภากุล และ ภาค 10 (2553) ได้นำบทเพลงจาก ภาค 1 มาใช้เป็นเพลงปิด
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ (2531)
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง คนทรงเจ้า (2532)
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง ยิ้มนิดคิดเท่าไหร่ (2532)
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง วิถีคนกล้า (2534)
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง โก๊ะจ๋า…ป่านะโก๊ะ (2534)
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง อนึ่ง…คิดถึงพอสังเขป (2535)
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง กาเหว่าที่บางเพลง (2537)
  • ดนตรีประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง เหตุเกิดเมื่อคืนหนึ่ง (2530)
  • ดนตรีประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง เวลาในขวดแก้ว (2535)
  • ดนตรีประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง ระเริงชล (2537)
  • ดนตรีประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง เจ้านาง (2537)
  • ดนตรีประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง เมื่อดอกรักบาน (2550)
  • ดนตรีประกอบสารคดีขององค์การยูนิเซฟ เพื่อรณรงค์ต่อต้านการประกอบอาชีพโสเภณีของสาวเหนือ (2522)
  • ดนตรีประกอบสารคดีโทรทัศน์ โลกสลับสี ตอน พุกามประเทศ (2534) และ ชนกลุ่มน้อย ตอนที่ 2 (2535)
  • ดนตรีประกอบสารคดีโทรทัศน์ มาลัยหลากสี (2538)

อัลบั้ม

ออกผลงานชุดแรก จนถึง ชุดสุดท้าย ประมาณปี 2519 - 2544 , 2557 , 2559

โฟล์คซองคำเมืองชุดที่ 2 จรัญ มโนเพ็ชร โดย ท่าแพบรรณาคาร (พ.ศ. 2519 - 2520) ผลงานชุดแรกอย่างไม่เป็นทางการ

  1. น้อยไจยา
  2. แอ่วสาว
  3. พี่สาวครับ
  4. พ่อเมียขี้จิ๊
  5. ฮักอ้ายสักคน
  6. แก๋งเนื้อ
  7. ดักไซ
  8. ท่าสะต๋อย
  9. Seven Daffodils
  10. The First Time
  11. See The Funny Little Clown
  12. Early Morning Rain
  13. I'll Have To Say I Love You In A Song
  14. Blue Water Line
  15. For Lovin' Me
  16. What Have They Does To The Rain
  17. Nobody Knows


โฟล์คซองคำเมืองชุดที่ 4 จรัล-เกษม มโนเพ็ชร โดย ท่าแพบรรณาคาร (พ.ศ. 2519 - 2520)

  1. ของกิ๋นคนเมือง
  2. เปิ้นฮักตั๋ว
  3. อุ๊ยคำ
  4. ลานนา
  5. จะโทษไผ
  6. ยุ่งตายห่า
  7. บ้านป่าเมืองดอย
  8. เจียงใหม่
  9. ในอ้อมกอดรัก
  10. อดีตที่ไม่เคยลืม
  11. เรากับความรัก
  12. สาวเอย
  13. มนต์แห่งเพลง
  14. ยอดปรารถนา
  15. หัดกีตาร์
  16. ละเมอ
  17. รักแต่เธอเพียงผู้เดียว
  18. กลิ่นปราง


โฟล์คซองคำเมือง ชุดอมตะ (พ.ศ. 2520) ผลงานชุดแรกอย่างเป็นทางการ

  1. น้อยไจยา
  2. เสเลเมา
  3. ลืมอ้ายแล้วกา
  4. คนสึ่งตึง
  5. ผักกาดจอ
  6. สาวมอเตอร์ไซค์
  7. อุ๊ยคำ
  8. ของกิ๋นคนเมือง
  9. พี่สาวครับ


โฟล์คซองคำเมืองอมตะ ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2521)

  1. ก้ายง่าว
  2. หยุบมือกำ
  3. จิ๊กโก๋สะหมังเคิ้ม
  4. ลักเตี่ยว
  5. คนแหลวแตว
  6. เปิ้นฮักตั๋ว
  7. แอ่วสาว
  8. ลานนา
  9. บ้านป่าเมืองดอย
  10. แก๋งเนี้ย


เพลงจากภาพยนตร์ เสียงซึงที่สันทราย (พ.ศ. 2523)

  1. เมืองเหนือ
  2. กลิ่นเอื้องเสียงซึง (จรัล มโนเพ็ชร)
  3. ขอน้ำตาสักหยด (จรัล มโนเพ็ชร)
  4. เสียงซึงสิ้นมนต์
  5. สิ้นเวร
  6. กลิ่นเอื้องเสียงซึง (ปราณี ตะติยา)
  7. ขอน้ำตาสักหยด (ปราณี ตะติยา)
  8. ในอ้อมกอดรัก
  9. เชียงรายรำลึก
  10. ไม่มีคำลา


เพลงพระราชทาน จากยอดดอย (พ.ศ. 2523)

  1. จากยอดดอย
  2. ดอกฝิ่น
  3. มิดะ
  4. ทำไม
  5. โลกสบาย
  6. รักสับสน
  7. ใบไม้กับสายน้ำ
  8. ถึงใครคนหนึ่ง
  9. ท้องที่ไม่มีวันอิ่ม
  10. ปีศาจราตรี


โฟล์คซองคำเมือง ลูกข้าวนึ่ง (พ.ศ. 2524)

  1. ลูกข้าวนึ่ง
  2. สาวโรงบ่ม
  3. สาวเชียงใหม่
  4. เลี้ยงควาย
  5. คนหน้าง่าว
  6. ซอของแปง
  7. ตากับหลาน
  8. สามล้อ
  9. เงี้ยว
  10. มะเมี๊ยะ


โฟล์คซองคำเมือง แตกหนุ่ม (พ.ศ. 2525)

  1. แตกหนุ่ม
  2. เสร็จมะก้องด้อง
  3. คุณนาย คายนุน
  4. บ้าน
  5. จ้างมันเต้อะ
  6. ดอกฝ้าย
  7. ขมุไล่ควาย
  8. ผ่างหาย ผ่างเบื่อ
  9. ดวง
  10. ความจริงใจ


โฟล์คซองคำเมือง อื่อ...จา..จา (พ.ศ. 2525 - 2526)

  1. อื่อ..จา..จา
  2. ไล่เหล่า
  3. ฮานี้บ่าเฮ้ย
  4. ยินดีต้อนรับ
  5. บ้านนาชาวนา
  6. หนุ่มเชียงใหม่
  7. สะเอิงย้ายบ้าน
  8. โธ่เอ๋ย
  9. ใบไม้ไหว
  10. ต้องใช้เวลา


จรัลกับแคนเดิ้ล บ้านบนดอย (พ.ศ. 2526 - 2527)

  1. บ้านบนดอย
  2. ม่อฮ่อม
  3. ฟ้าใสใส
  4. สุดแต่ใจเธอต้องการ
  5. รักเงียบเงียบ
  6. น้อง
  7. ล่องแม่ปิง
  8. ก็เลยก็แล้วกัน
  9. ฉัน...เมื่อพบเธอ
  10. รักสับสน
  11. ลุงต๋าคำ
  12. เพลง


จรัลกับแคนเดิ้ล เอื้องผึ้ง-จันผา (พ.ศ. 2527 - 2528)

  1. เอื้องผึ้ง-จันผา
  2. น้ำนอง
  3. แม่ค้าปลาจ่อม
  4. ฝันชั่วคืน
  5. นายบุญทัน
  6. เซาะว่าหากิ๋น
  7. ลูกข้าวนึ่ง
  8. จะรอดูใจ
  9. รางวัลแด่คนช่างฝัน
  10. หนุ่มสาวชาวดอย
  11. ปราสาทไหว (บรรเลง)
  12. เอื้องผึ้ง-จันผา (บรรเลง)


เสียงซึงสู่พิณเปี๊ยะ (พ.ศ. 2528) ผลงานชุดพิเศษ

  1. ล่องแม่ปิง (บรรเลงซึง)
  2. เดือนเพ็ญ (บรรเลงซึง)
  3. ปั่นฝ้าย (บรรเลงซึง)
  4. สร้อยลำปาง (บรรเลงซึง)
  5. เด็กปั๊ม (บรรเลงซึง)
  6. เอื้องผึ้ง-จันผา (บรรเลงซึง)
  7. น้อยไจยา (บรรเลงซึง)
  8. อุ๊ยคำ (บรรเลงซึง)
  9. สามหมอก (บรรเลงซึง)
  10. ล่องปาย (บรรเลงซึง)


ไม้กลางกรุง (พ.ศ. 2528 - 2529)

  1. หมู่เฮา
  2. มิดะ
  3. ก่อนเที่ยงคืน
  4. ภาพชีวิต
  5. วังบัวบาน
  6. รักเขาเถิด
  7. เจ็บแล้วปลง
  8. หรือว่าฉันเหงา
  9. เจ้าดวงดอกไม้
  10. บ่มีหยังสักอย่าง
  11. บ้านนาชาวนา
  12. สาวบ้านป่า


ตำนานโฟล์ค (พ.ศ. 2529) ผลงานชุดพิเศษ

  1. รางวัลแด่คนช่างฝัน
  2. อุ๊ยคำ
  3. มะเมี๊ยะ
  4. ลุงต๋าคำ
  5. ตากับหลาน
  6. แม่ค้าปลาจ่อม
  7. เดือนดวงเดียว
  8. สาวมอเตอร์ไซค์
  9. คนหน้าง่าว
  10. ผักกาดจอ
  11. ไล่เหล่า
  12. หนุ่มเชียงใหม่


ฉันมีความรักมาให้ (พ.ศ. 2530 - 2531)

  1. ฉันมีความรักมาให้
  2. คืนหนึ่ง
  3. แล้วคงพบกันอีก
  4. กี่ปีก็คอยได้
  5. ยินดีต้อนรับ
  6. สวาทเธอ
  7. คนใกล้ชิด
  8. เมียวเมียว มูมู
  9. หา...ดวงเดือน
  10. กระท่อมไพรวัลย์


จรัล-ไหมไทย ลำนำแห่งขุนเขา (พ.ศ. 2531) ผลงานชุดพิเศษ

  1. เรามาร้องเพลงกัน
  2. ลำนำแห่งขุนเขา
  3. ซื้อฝัน
  4. ปั่นฝ้าย (บรรเลง)
  5. ขลุ่ยผิว
  6. อุ๊ยคำ
  7. ล่องแม่ปิง
  8. ไม้กลางกรุง
  9. ป่าลั่น
  10. รางวัลแด่คนช่างฝัน


จรัลแจ๊ส (พ.ศ. 2533)

  1. ไม่กวนใคร
  2. ใครก่อ
  3. ผ่านแล้วผ่านเลย
  4. อย่างนี้ดีอยู่แล้ว
  5. คนละอย่าง
  6. ร้องตามเพลง
  7. ขอโอกาส
  8. ถนนสายยาว
  9. เบาๆ สบาย
  10. ปล่อย


โฟล์ค 1991 จากใจเป็นบทเพลง (พ.ศ. 2534)

  1. ทียาลี
  2. กาสะลองร่วงแล้ว
  3. ควายหงาน
  4. สัปปะลี่ขี้คุย
  5. แพงพวยบานตลอด
  6. แห่ล่องกอง (บรรเลง)
  7. ดอยแล้ง
  8. คิดถึงบ้าน
  9. มิดะ
  10. กุหลาบดอย
  11. อาขยานล้านนา
  12. น้อยไจยา (บรรเลง)


ศิลปินป่า (พ.ศ. 2537)

  1. ให้ฉันฝันต่อ
  2. กลับบ้านไม่ได้
  3. ลมเหนือ
  4. ศิลปินป่า
  5. หัดบิน
  6. เจ้านาง
  7. สองเฒ่า
  8. น้ำแม่ปิง
  9. คนลุงลัง
  10. เจ็ดร้อยปีเชียงใหม่


หวังเอย หวังว่า (พ.ศ. 2537 - 2538)

  1. สัญญา
  2. ผู้ชาย
  3. ทำอะไรก็ทำเถอะ
  4. ธุลี
  5. ให้เธอ
  6. พ่อ..แม่..พี่..น้อง
  7. เธอคนนั้น
  8. ลอย
  9. คนบัดซบ
  10. ตัวเลื้อยคลาน
  11. อยากเป็นคนดี
  12. โลกมืด
  13. เธอ
  14. เด็กเลว
  15. น้อง
  16. ผู้หญิง
  17. แด่หนุ่มสาวผู้ร้าวราน


ความหวัง ความฝัน ของวันนี้ (พ.ศ. 2541)

  1. ความหวัง ความฝัน ของวันนี้
  2. ดาวบนดอย
  3. ฝากไว้ให้กันและกัน
  4. คิดถึง
  5. หัวใจพเนจร
  6. ล้านนา
  7. เดินดง (ซอพระลอ)
  8. หล่ายดอย
  9. ฉันจะกลับมา
  10. ใครเป็นใคร
  11. กระแสธรรม
  12. ความหวัง ความฝัน ของวันนี้ (บรรเลง)


สี่เหน่อผู้ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 2543)

  1. อุ๊ยคำ (จรัล มโนเพ็ชร)
  2. สาวมอเตอร์ไซค์ (จรัล มโนเพ็ชร กับ ทอม ดันดี)
  3. พี่สาวครับ (จรัล มโนเพ็ชร)
  4. บ้านบนดอย (จรัล มโนเพ็ชร กับ ชาย เมืองสิงห์)
  5. รางวัลแด่คนช่างฝัน (จรัล มโนเพ็ชร , ทอม ดันดี , ชาย เมืองสิงห์ และ สามารถ พยัคฆ์อรุณ)
  6. มะเมี๊ยะ (จรัล มโนเพ็ชร)
  7. ลูกข้าวนึ่ง (จรัล มโนเพ็ชร กับ ทอม ดันดี)
  8. คนหน้าง่าว (จรัล มโนเพ็ชร กับ ทอม ดันดี)
  9. มิดะ (จรัล มโนเพ็ชร)
  10. มะเมี๊ยะ (เวอร์ชันใหม่)


ล้านนาซิมโฟนี (พ.ศ. 2544) ผลงานชุดสุดท้าย

  • แม่ปิงซิมโฟนี
  • อินทนนท์ซิมโฟนี


โฟล์คซองคำเมือง Audiophile Remastered Version (พ.ศ. 2557) ผลงานชุดพิเศษ

  1. ม่วนขนาด
  2. พี่สาวครับ
  3. ลูกข้าวนึ่ง
  4. ฮานี้บ่าเฮ้ย
  5. บ้านบนดอย
  6. สาวมอเตอร์ไซค์
  7. ของกิ๋นคนเมือง
  8. ผักกาดจอ
  9. ลืมอ้ายแล้วกา
  10. คนสึ่งตึง
  11. สาวเชียงใหม่
  12. มะเมี๊ยะ
  13. อุ๊ยคำ
  14. เสเลเมา
  15. ล่องแม่ปิง
  16. น้อยไจยา


สู่ฝันอันยิ่งใหญ่ : เพลงหนัง-ละคร และสารคดี (พ.ศ. 2559) ผลงานชุดพิเศษ

  1. จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า
  2. กลิ่นเอื้องเสียงซึง
  3. สู่ฝันอันยิ่งใหญ่
  4. เวลาในขวดแก้ว
  5. พู่กันวาดโลกสวย
  6. น้ำค้างบนหลังคา
  7. รางวัลแด่คนช่างฝัน
  8. เพื่อน
  9. ซื้อฝัน
  10. เก็บไว้เพื่อจำ
  11. มะเมี๊ยะ
  12. ปลายทางแห่งความฝัน
  13. พุกาม (บรรเลง)
  14. ย่ำสันดอย (บรรเลง)


อัลบั้มรวมเพลง , เพลงประกอบภาพยนตร์ , อัลบั้มพิเศษรวมศิลปิน

ออกผลงานโดยการนำเพลงจากบางอัลบั้มมารวมกัน บางผลงานทำออกมาในช่วงที่จรัล มโนเพ็ชรยังมีชีวิตอยู่ และบางผลงานทำออกมาหลังจากจรัล มโนเพ็ชรเสียชีวิต

จรัล มโนเพ็ชร กับ สุนทรี เวชานนท์ ชุด

โฟล์ก สเปเชียล

  1. คิดถึงบ้าน (จรัล มโนเพ็ชร)
  2. ควายหงาน (จรัล มโนเพ็ชร)
  3. มิดะ (จรัล มโนเพ็ชร)
  4. ดอกฝิ่น (สุนทรี เวชานนท์)
  5. รางวัลแด่คนช่างฝัน (สุนทรี เวชานนท์)
  6. รักสับสน (จรัล-สุนทรี)
  7. อาขยานล้านนา (จรัล มโนเพ็ชร)
  8. สัปปะลี่ขี้คุย (จรัล มโนเพ็ชร)
  9. กุหลาบดอย (จรัล มโนเพ็ชร)
  10. แด่หนุ่มสาวผู้ร้าวราน (สุนทรี เวชานนท์)
  11. อ้างว้าง (สุนทรี เวชานนท์)
  12. เพื่อน (สุนทรี เวชานนท์)
  13. น้อยไจยา (บรรเลง)


จรัล มโนเพ็ชร ชุด ของกิ๋นคนเมือง

  1. ของกิ๋นคนเมือง
  2. น้อยไจยา
  3. สามล้อ
  4. เมียวเมียว มูมู
  5. สวาทเธอ
  6. ยินดีต้อนรับ
  7. รักสับสน
  8. ดอกฝิ่น
  9. ซอของแปง
  10. ฉันมีความรักมาให้
  11. มะเมี๊ยะ (สุนทรี เวชานนท์)
  12. มะเมี๊ยะ (จรัล มโนเพ็ชร)
  13. สาวเชียงใหม่
  14. หนุ่มเชียงใหม่
  15. เพลงเงี้ยว


จรัล มโนเพ็ชร ชุด คอลเลคชั่น

  1. มะเมี๊ยะ
  2. อุ๊ยคำ
  3. ภาพชีวิต
  4. สาวมอเตอร์ไซค์
  5. บ้านบนดอย
  6. เดือนดวงเดียว
  7. รางวัลแด่คนช่างฝัน
  8. เอื้องผึ้ง-จันผา
  9. ปราสาทไหว (บรรเลง)
  10. มิดะ
  11. ตากับหลาน
  12. หนุ่มเชียงใหม่
  13. ผักกาดจอ
  14. ลูกข้าวนึ่ง
  15. ฝันชั่วคืน
  16. ฉันมีความรักมาให้
  17. คืนหนึ่ง
  18. เอื้องผึ้ง-จันผา (บรรเลง)


จรัล มโนเพ็ชร ชุด ไตรภาค โฟล์คซองคำเมือง

(แผ่นที่ 1)

  1. มะเมี๊ยะ
  2. อุ๊ยคำ
  3. มิดะ
  4. เอื้องผึ้ง-จันผา
  5. ตากับหลาน
  6. เจ้าดวงดอกไม้
  7. ลุงต๋าคำ
  8. เมียวเมียว มูมู
  9. แม่ค้าปลาจ่อม
  10. นายบุญทัน
  11. เลี้ยงควาย
  12. หนุ่มสาวชาวดอย
  13. หมู่เฮา


(แผ่นที่ 2)

  1. ซึงสุดท้าย
  2. ล่องแม่ปิง
  3. ล่องแม่วัง
  4. ดอกไม้เมือง
  5. สาวมอเตอร์ไซค์
  6. ผักกาดจอ
  7. ลูกข้าวนึ่ง
  8. บ้านบนดอย
  9. สาวเชียงใหม่
  10. หนุ่มเชียงใหม่
  11. ของกิ๋นคนเมือง (Version 1)
  12. ของกิ๋นคนเมือง (Version 2)
  13. น้อยไจยา


(แผ่นที่ 3)

  1. รางวัลแด่คนช่างฝัน
  2. ความหวัง ความฝัน ของวันนี้
  3. ภาพชีวิต
  4. เดือนดวงเดียว
  5. ฝันชั่วคืน
  6. ฉันมีความรักมาให้
  7. สัญญา
  8. บ้านนาชาวนา
  9. หรือว่าฉันเหงา
  10. สวาทเธอ
  11. แด่หนุ่มสาวผู้ร้าวราน
  12. ดาวบนดอย
  13. ฉันจะกลับมา


จรัล มโนเพ็ชร ชุด ซึงสุดท้าย

(แผ่นที่ 1)

  1. ซึงสุดท้าย
  2. ความหวัง ความฝัน ของวันนี้
  3. สัญญา
  4. เพื่อน
  5. รางวัลแด่คนช่างฝัน
  6. เมียวเมียว มูมู
  7. สาวเชียงใหม่
  8. หรือว่าฉันเหงา
  9. อดีตที่ไม่เคยลืม
  10. ฝันชั่วคืน
  11. กาเหว่าที่บางเพลง
  12. แม่ปิงซิมโฟนี


(แผ่นที่ 2)

  1. จากยอดดอย
  2. รอยพระบาท
  3. สดุดีแม่เจ้าเหลวง
  4. ศิลปินป่า
  5. มิดะ
  6. ลุงต๋าคำ
  7. อุ๊ยคำ
  8. ล่องแม่วัง
  9. ล่องแม่ปิง
  10. ก่อนเที่ยงคืน
  11. ฮ่มฟ้าบารมี


จรัล มโนเพ็ชร ชุด ม่านไหมใยหมอก

ชุด 1 บ้านบนดอย

  1. บ้านบนดอย
  2. ฟ้าใสใส
  3. ล่องแม่ปิง
  4. ลุงต๋าคำ


ชุด 2 เอื้องผึ้ง-จันผา

  1. เอื้องผึ้ง-จันผา
  2. ลูกข้าวนึ่ง
  3. รางวัลแด่คนช่างฝัน


ชุด 3 ตำนานโฟล์ค

  1. อุ๊ยคำ
  2. มะเมี๊ยะ
  3. สาวมอเตอร์ไซค์
  4. ผักกาดจอ
  5. คนหน้าง่าว


ชุด 4 ไม้กลางกรุง

  1. มิดะ
  2. เจ็บแล้วปลง


ชุด 5 ฉันมีความรักมาให้

  1. ฉันมีความรักมาให้
  2. เมียวเมียว มูมู

ผลงาน เพลงประกอบภาพยนตร์โดยบางเรื่องจรัล มโนเพ็ชรจะแสดงในเรื่องนั้นและแต่งเพลงประกอบ และบางเรื่องแค่แต่งเพลงประกอบ

ภาพยนตร์เรื่อง ดอกไม้ร่วงที่แม่ริม (2522) ออกผลงานอย่างไม่เป็นทางการ

  1. ดอกไม้ร่วง
  2. ของกิ๋นคนเมือง
  3. มอบใจรัก
  4. รักมายา


ภาพยนตร์เรื่อง เสียงซึงที่สันทราย (2523)

  1. กลิ่นเอื้องเสียงซึง
  2. เมืองเหนือ
  3. เสียงซึงสิ้นมนต์
  4. ขอน้ำตาสักหยด


ภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ (2531)

  • ซื้อฝัน


ภาพยนตร์เรื่อง บุญชูผู้น่ารัก (2531)

  1. ฉันคือบุญชู
  2. แก๊งกวนใจ
  3. โอ้ลัลลา..คุณโม
  4. เพ้อ
  5. หลงรักเข้าแล้ว
  6. หวาน
  7. สบายใจ
  8. รอ
  9. ช้ำใจ
  10. สวัสดีครับ
  11. มาแล้วครับ
  12. รักหรือเรียนดี
  13. สุขสันต์วันเกิด
  14. โธ่เอ๋ย
  15. เสียใจ
  16. คนคอนกรีต
  17. น้ำตาจะเช็ดหัวเข่า
  18. ยิ่งกว่าเสียใจ
  19. บทเรียน
  20. ความหวังยังไม่สาย


ภาพยนตร์เรื่อง บุญชู 2 น้องใหม่ (2532)

  1. เพื่อน
  2. กาลเวลา
  3. ความหวังยังไม่สาย
  4. เปลี่ยนรัก
  5. ทุ้งกว้างทางไกล
  6. ให้เธอ
  7. โลกและเวลา
  8. เปลี่ยนรัก (ดนตรี)
  9. แล้วเราก็เจอกันอีก
  10. รอคอยอะไรกัน
  11. คนกับคน
  12. ทำดีต้องได้ดี
  13. ไชโย
  14. เพื่อน (อีกครั้ง)


ภาพยนตร์เรื่อง ยิ้มนิดคิดเท่าไหร่ (2532)

  • ปลายทางแห่งความฝัน
  • น้ำค้างบนหลังคา


ภาพยนตร์เรื่อง โก๊ะจ๋า...ป่านะโก๊ะ (2534)

  • แพงพวยบานตลอด


ภาพยนตร์เรื่อง อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป (2535)

  • เก็บไว้เพื่อจำ


ภาพยนตร์เรื่อง กาเหว่าที่บางเพลง (2537)

  1. โหมโรง (Overture)
  2. บ้านบางเพลง (Bang Pleng)
  3. พระจันทร์ (The Moon)
  4. ผู้มาเยือน (Visitor)
  5. ลูกของเรา (Our Children)
  6. ความเปลี่ยนแปลง (The Alter)
  7. ฝันร้าย (Nightmare)
  8. ดิ้นรน (Warrior)
  9. สัจธรรม (The Truth)
  10. อำลา (Finale)


อัลบั้มพิเศษที่รวมงานกับศิลปินคนอื่นในงานต่างๆ

ศิลปินภาคเหนือ ชุด หมู่เฮารวมฮิต

  1. ปี๋ใหม่เมือง (ร้องหมู่)
  2. หมู่เฮาจาวเหนือ (ร้องหมู่)
  3. สาวเจียงใหม่ (นิรมล เมธีสุวกุล)
  4. บ้านบนดอย (ส. สุนันทา)
  5. กุหลาบเวียงพิงค์ (จุฬารัตน์ เสรีเชษฐพงศ์)
  6. บ่ฮู้-บ่หัน (ว. วัชญาน์)
  7. เชียงรายรำลึก (อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง)
  8. สาวเจียงฮาย (ร้องหมู่)
  9. กว๊านพะเยา (ชัชวาลย์ คงอุดม)
  10. บัวซอน (จรัล มโนเพ็ชร)
  11. เจ้าบ่ฮักอ้ายจริง (สมฤทธิ์ ลือชัย)
  12. ซาวด์ดนตรี (บรรเลง)


ศิลปินเพื่อชีวิต ชุด ผูกพัน

  1. อีสานแล้ง (สุรชัย จันทิมาธร)
  2. จันทร์เจ้าขา (พงษ์สิทธิ์ คำภีร์)
  3. นกเขาน้อย (พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ)
  4. โรยไม่รู้บาน (สุภาวดี บุญมี)
  5. น้องชาย (ศุ บุญเลี้ยง)
  6. สาวส่งออก (บุษปรัชต์ พันธุ์กระวี)
  7. ปัจจุบันมนุษย์ (ปรีชา ชนะภัย) , (ประเสิรฐ สิทธิพงศ์)
  8. พ่อ (นุภาพ สุวันตรัจฉ์)
  9. ปรารถนา (สุรินทร์ อัสมันยี)
  10. สอดคล้องและสมดุล (เทียรี่ เมฆาวัฒนา) , (คณาคำ อภิรดี)
  11. ผู้เฒ่ากับไผ่ผุ (จรัล มโนเพ็ชร)
  12. คำถาม (ฤทธิพร อินสว่าง)
  13. ลูกหมา-ลูกคน (มงคล อุทก)
  14. บ้านของเรา (อิสรา อนันตทัศน์)

บันทึกการแสดงสด (คอนเสิร์ต)

เริ่มแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2524 - 2544

  • คอนเสิร์ต การแสดงสด ในห้องอาหาร โรงแรมบลูออคิดส์ ณ หาดใหญ่ พ.ศ. 2523
  • คอนเสิร์ต Hand In Hand Concert เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2523 ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คอนเสิร์ต จรัล มโนเพ็ชร โชว์ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ณ โรงละครแห่งชาติ (คอนเสิร์ตครั้งแรกอย่างเป็นทางการ)
  • คอนเสิร์ต จรัล มโนเพ็ชร โชว์ ครั้งที่ 2 วันที่/เดือน/ปี ยังไม่ทราบแน่ชัด ณ โรงละครแห่งชาติ
  • คอนเสิร์ต ฟอร์ ยูนิเซฟ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2525 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คอนเสิร์ต Thai Top Concert Tour เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2526 ณ โรงแรมเซ็นทรัล ลาดพร้าว
  • คอนเสิร์ต สำหรับงานโปรโมท ผลงานชุด ฉันมีความรักมาให้ พ.ศ. 2529 ณ สวนลุมพินี


เกียรติคุณที่เคยได้รับ

อ้างอิง

3. ปกแผ่นเสียง , ปกเทปคาสเซ็ท , ปกซีดี ผลงานของ จรัล มโนเพ็ชร

แหล่งข้อมูลอื่น