ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ"

พิกัด: 52°05′11.76″N 4°17′43.80″E / 52.0866000°N 4.2955000°E / 52.0866000; 4.2955000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
G(x) (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8420767 สร้างโดย 182.232.208.236 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| court_name =ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
| court_name =ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
| native_name = ''Cour internationale de justice''
| native_name = ''Cour internationale de justice''
| image = Seal of the International Court of Justice.png
| image = International Court of Justice Seal.svg
| imagesize = 235px
| imagesize = 235px
| image2 =
| image2 =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:25, 29 กันยายน 2562

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
Cour internationale de justice
สถาปนาค.ศ. 1945
ที่ตั้งกรุงเฮก, ประเทศเนเธอร์แลนด์
พิกัด52°05′11.76″N 4°17′43.80″E / 52.0866000°N 4.2955000°E / 52.0866000; 4.2955000
ที่มา
วาระตุลาการ9 ปี
จำนวนตุลาการ15 ที่นั่ง
เว็บไซต์www.icj-cij.org
ประธาน
ปัจจุบันRonny Abraham[1]
ตั้งแต่6 กุมภาพันธ์ 2015
ตำแหน่งผู้นำสิ้นสุด5 กุมภาพันธ์ 2018
รองประธาน
ปัจจุบันAbdulqawi Yusuf[1]
ตั้งแต่6 กุมภาพันธ์ 2015
ตำแหน่งผู้นำสิ้นสุด5 กุมภาพันธ์ 2018

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Court of Justice; ICJ) หรือภาษาปากว่า ศาลโลก (อังกฤษ: World Court) เป็นศาลซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2489 และเป็นหนึ่งในเสาหลักในระบบสหประชาชาติ ทำหน้าที่สืบเนื่องต่อจากศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Permanent Court of Justice; IPCJ) ที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2463 และยุติบทบาทไปพร้อมกับสันนิบาตชาติ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอยู่ในความควบคุมของสหประชาชาติ และมีบัลลังก์ที่วังสันติ (Peace Palace) กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่จะออกนั่งพิจารณาที่อื่นก็ได้

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีใด ๆ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป (contentious case) เช่น ข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมรับอำนาจศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้

นอกจากนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในทางกฎหมายระหว่างประเทศ (advisory opinion) ในกรณีสามกรณีหลัก คือ กรณีแรก ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติร้องขอ กรณีที่สอง ตามที่องค์กรอื่นภายใต้สหประชาชาติหรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอโดยได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่ และ กรณีที่สาม ตามที่ได้มีการให้อำนาจวินิจฉัยปัญหาไว้โดยสนธิสัญญา

ตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมี 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี คนละวาระเดียว การพิจารณาพิพากษาคดีต้องมีตุลาการอย่างน้อย 9 คนนั่งบัลลังก์จึงจะเป็นองค์คณะ อนึ่ง ศาลจะเลือกประธานและรองประธานศาลเอง

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "No. 2015/5" (PDF) (Press release). International Court of Justice. 6 February 2015. สืบค้นเมื่อ 9 February 2015.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ