ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร"

พิกัด: 13°45′16″N 100°29′30″E / 13.754382°N 100.491546°E / 13.754382; 100.491546
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chaisaim009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล พรพระเครื่อง
{{กล่องข้อมูล พรพระเครื่อง
| full_name = เวฟพรพระเครื่อง
| full_name = เวฟพรพระเครื่อง
| common_name = เวฟพรพระเครื่ิง
| common_name = เวฟพรพระเครื่ง
| image_temple = Wat mahathat bkk 02.jpg
| image_temple = Wat mahathat bkk 02.jpg
| short_describtion =
| short_describtion =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:35, 7 มกราคม 2560

แม่แบบ:กล่องข้อมูล พรพระเครื่อง

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อวัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนาในปี พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง ในปลาย พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการบอกพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังจากนั้น จะทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”

ลำดับอธิบดีสงฆ์

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) พ.ศ. 2336 พ.ศ. 2359
2 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) พ.ศ. 2359 พ.ศ. 2362
3 สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) พ.ศ. 2362 พ.ศ. 2363
4 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พ.ศ. 2363 พ.ศ. 2365
5 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) พ.ศ. 2365 พ.ศ. 2385
6 พระญาณไตรโลก (พุก) พ.ศ. 2386 พ.ศ. 2393
7 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) พ.ศ. 2394 พ.ศ. 2400
8 พระราชกวี (คง) พ.ศ. 2400 ?
9 พระศาสนานุรักษ์ (รัก) ? ?
10 พระญาณสมโพธิ (อิ่ม) ? ?
11 พระคุณาจริยาวัตร (คำ) ? ?
12 พระญาณสมโพธิ (คำ) ? พ.ศ. 2432
13 สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) พ.ศ. 2432 พ.ศ. 2466
14 สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2486
15 พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) พ.ศ. 2486 พ.ศ. 2490
16 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) พ.ศ. 2490
พ.ศ. 2523
พ.ศ. 2503 (สมัยที่ 1)
พ.ศ. 2532 (สมัยที่ 2)
17 พระธรรมปัญญาบดี (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2523
18 พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2547
19 พระธรรมปัญญาบดี (พีร์ สุชาโต) พ.ศ. 2547 (ยังดำรงตำแหน่ง)

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′16″N 100°29′30″E / 13.754382°N 100.491546°E / 13.754382; 100.491546