พระแม่มนสาเทวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแม่มนสา
เทวีแห่งอสรพิษ
ส่วนเกี่ยวข้องนาคี เทวีในศาสนาฮินดู
อาวุธนาค
พาหนะหงส์
นาค
เทศกาลนาคปัญจมี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองชรัตการุ
บุตร - ธิดาอาสติกะ
บิดา-มารดาพระกัศยปะ (บิดา)
พระศิวะ (บิดาบุญธรรม)
นางกัทรุ (มารดา)

พระมนสาเทวี (สันสกฤต: मनसा, อังกฤษ: Manasa) เป็นเทวีในศาสนาฮินดูและเป็นเจ้าแห่งนาค

เทพปกรณัม[แก้]

พระแม่มนสาเทวีเป็นเทพีแห่งงูและนาค มีสัญญลักษณ์คืองูหรือนาค มีพาหนะเป็นหงส์ขาว ตำนานที่นิยมโดยทั่วไปมักกล่าวเป็นบุตรีแห่งฤษีกัศยปะเทพบิดรกับพระแม่กัทรุ (มารดาแห่งนาค) พระแม่จึงเท่ากับเป็นพระขนิษฐาของอนันตนาคราชและนาคต่าง ๆ พระแม่มนสาเป็นพระชายาฤษีนามว่า "ชรัตการุ" และทรงมีพระโอรสนามว่า "อาสติกะ"

พระแม่มนสาทรงลงจากเขาไกรลาสซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระศิวะผู้เป็นพระบิดาบุญธรรม บางตำนานหาว่าทรงไม่ถูกกับพระแม่อุมาเทวี และพระนางทรงพระแม่มนสาทรงต้องการเป็นที่เคารพบูชาโดยมีพระศิวะเป็นบุคคลตัวอย่าง[1] จึงลงมาบำเพ็ญเพียรช่วยเหลือมนุษย์ โดยขอร้องให้มนุษย์ก็ทำการสักการบูชาพระแม่ในฐานะเทวีพระองค์หนึ่ง เว้นแต่เศรษฐีแห่งเมืองจำปากะที่ไม่ยอมนับถือพระแม่มนสา จนพระแม่มนสาตามมาราวีต่าง ๆ นานา เช่น ฆ่าบุตรของเศรษฐีเพื่อให้นายเศรษฐีจันท์วิงวอนและหันมาบูชาพระนาง แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากเศรษฐีจันท์ของพระศิวะ จนพระแม่ประทานบุตรชายแก่เจ้าชาย นามว่า "ลักษมินทร" พอลักษมินทรเติบโตทรงอภิเษกกับธิดาเศรษฐีนามว่า "เพหุลา" ครั้นถึงงานอภิเษกปรากฏลักษมินทรถูกงูกัดวายชนม์ เจ้าสาวผู้เป็นหม้ายก็ทำใจไม่ได้ที่ผู้เป็นสามีด่วนจากไป เพหุลาจึงขอให้ทำแพลอยศพของสามีโดยมีนางนั่งไปด้วย แต่ก็เกิดเรื่องเป็นที่น่าอัศจรรย์ถึงแม้แพจะลอยไปหลายวันหลายคืน ศพของลักษมินทร ก็มิได้เน่าเปื่อยอย่างใด พอแพลอยมาถึงฝั่ง เพหุลาขอความช่วยเหลือจากหญิงสาวคนหนึ่ง หญิงสาวคนนั่นเป็นผู้วิเศษแล้วช่วยชุบชีวิตลักษมินทรขึ้นมา แล้วหญิงสาวก็เฉลยว่าตนคือ พระแม่เนตา อันเป็นสหายของพระนางมนัสเทวี และขอให้ทั้งขอร้องให้นายเศรษฐีจันท์บูชาพระแม่มนสาในฐานะของเทพีองค์หนึ่งและพระนางมนสาจะคืนทุกอย่างให้นายเศรษฐีจันท์[2] เมื่อทั้งคู่กลับบ้าน ลักษมินทรกับเพหุลาจึงประกอบพิธีบวงสรวงพระแม่มนสา โดยขอร้องนายเศรษฐีจันท์ผู้เป็นบิดาให้ทำการบูชาพระนางในฐานะของเทพีองค์หนึ่ง เมื่อไม่มีทางเลือก นายเศรษฐีจันท์จึงจำใจบูชาพระนางมนสาด้วยความไม่เต็มใจโดยแสดงออกด้วยการใช้มือซ้ายบูชาและไม่มองแม้แต่เทวรูปของพระนาง แต่ถึงอย่างไรพระนางมนสาเทวีก็ทรงพอพระทัยและคืนทุกอย่างที่นายเศรษฐีจันท์ต้องสูญเสียไปในที่สุด[3][4][5]

พระมนัสเทวี จิตรกรรมแบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน
เทวรูปพระแม่มนสาเทวี ศิลปะประเพณีแบบเบงกอลในปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. McLean p. 66
  2. Coomaraswamy, Ananda K.; Sister Nivedita (2003). Myths of the Hindus and Buddhists. Kessinger Publishing. pp. 324–30. ISBN 0-7661-4515-8.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-07.
  4. https://board.postjung.com/1021530
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-08-07.