นาคี
นาคี | |
---|---|
แนว | ละครโทรทัศน์, Supernatural, Drama |
สร้างโดย | บริษัท ดู เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด |
บทประพันธ์ | ตรี อภิรุม |
บทละครโทรทัศน์ | สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ |
กำกับโดย | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง |
แสดงนำ | ณฐพร เตมีรักษ์ ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาค |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | คู่คอง – ก้องหล้า ยอดจำปา |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | ขาดเธอขาดใจ – นัท ชาติชาย |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 11 |
การผลิต | |
ควบคุมงานสร้าง | ธัญญา วชิรบรรจง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง |
ความยาวตอน | 150 นาที |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | 26 กันยายน 2559 – 5 ธันวาคม 2559 |
นาคี เป็นละครโทรทัศน์ไทยในปี พ.ศ. 2559 จากบทประพันธ์นวนิยายชื่อเดียวกันของ ตรี อภิรุม สร้างโดย บริษัท ดู เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ควบคุมการผลิตโดย ธัญญา วชิรบรรจง กำกับการแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และนำแสดงโดย ณฐพร เตมีรักษ์, ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาค ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จากความสำเร็จของละคร ทำให้มีการต่อยอดโดยการนำบทประพันธ์ เรื่อง นาคี ๒ ของ ตรี อภิรุม สร้างเป็นภาคต่อของละคร ในรูปแบบภาพยนตร์ ใช้ชื่อว่า นาคี ๒ โดยมีการเพิ่มนักแสดงนำใหม่สองคน คือ อุรัสยา เสปอร์บันด์ และ ณเดชน์ คูกิมิยะ[1][2]
นักแสดง
[แก้]ละครโทรทัศน์ | พ.ศ. 2559 |
---|---|
ตัวละคร | นักแสดงนำโดย |
นักแสดงหลัก | |
คำแก้ว / เจ้าแม่นาคี | ณฐพร เตมีรักษ์ |
ทศพล (พล) (ปัจจุบัน) ไชยสิงห์ (อดีต) |
ภูภูมิ พงศ์ภาณุภาค |
นักแสดงสมทบ | |
ดร.ทัศนัย | ธนากร โปษยานนท์ |
ดร.สุภัทร (ปัจจุบัน) พระเจ้าปัตตนคร (อดีต) |
เกรียงไกร อุณหะนันท์ |
กำนันแย้ม (ปัจจุบัน) มหาอำมาตย์ (อดีต) |
มนตรี เจนอักษร |
บุญส่ง (ปัจจุบัน) พระเจ้านิรุทธราช (อดีต) |
ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ |
คำปอง (ปัจจุบัน) นางกำนัลคำปอง (อดีต) |
อริศรา วงษ์ชาลี |
ลำเจียก (ปัจจุบัน) พระธิดากรรเจียก (อดีต) |
ลักขณา วัธนวงส์ศิริ |
หมอเมืองอินทร์ (ปัจจุบัน) เจ้าอินทร์ (อดีต) |
วิศรุต หิรัญบุศย์ |
หมออ่วม (ปัจจุบัน) พระโหราธิบดี (อดีต) |
ประสาท ทองอร่าม |
นายกอ (ปัจจุบัน) ขุนวัง (อดีต) |
หยอง ลูกหยี |
พิมพ์พร (พิม) (ปัจจุบัน) พระธิดาพิมพาวดี (อดีต) |
ฉัตรฑริกา สิทธิพรม |
เจิดนภา (เจิด) (ปัจจบัน) นางเพ็ง (อดีต) |
สุภชา อัดรทองสกุล |
รัตนาวดี (รัตน์) (ปัจจุบัน) นางแพน (อดีต) |
สิรินรัตน์ วิทยพูม |
วันชนะ (ปัจจุบัน) นารุต (อดีต) |
การันต์ อร่ามศรี |
ประกิต (ปัจจุบัน) อัคนี (อดีต) |
อรรถพล เทศทะวงศ์ |
เชษฐ์ (ปัจจุบัน) สินธุ (อดีต) |
ชาคริฐ จตุพรวัฒนพนธ์ |
สมมาตร (ปัจจุบัน) กษิติ (อดีต) |
ณัฐพล วิริยะชัย |
เลื่อมประภัส | มิลาน เกตุสุวรรณ |
ฉัตรสุดา | ธีรตี บุตรดีหงส์ |
เดี่ยว | วัชรพงศ์ รอดขำปิยเศรษฐ |
ชบา | ปานฤดี ไสว |
ซ่อนกลิ่น | พลอยทิพา จันทรา |
คำแก้ว (วัยเด็ก) | ด.ญ.ชนัญญา เลิศวัฒนามงคล |
ลำเจียก (วัยเด็ก) | ด.ญ.ดวงกมล ศรีหนองหว้า |
ชบา (วัยเด็ก) | ด.ญ.กชพร ภู่อร่าม |
ซ่อนกลิ่น (วัยเด็ก) | ด.ญ.ปาริดา กิจนิธิประมวล |
นักแสดงรับเชิญ | |
วัชระปราการ | ดนัย จารุจินดา |
เลื่อง (ปัจจุบัน) แม่ทัพมรุกขนคร (อดีต) |
โกสินทร์ ราชกรม |
ทัพ | จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม |
เคน | ชาติชาย งามสรรพ์ |
จอห์น วินสัน | ปีเตอร์ ธูนสตระ |
พญาศรีสุทโธนาคราช (เจ้าปู่) | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง |
ป้าอิ่ม | มาเรียม คำเมือง |
สัปเหร่อคง | อัมพร ปานกระโทก |
ลุงชม | อมตะ บันเทิงเทพ |
ลุงลี | บดินทร์ หมู่หมื่นศรี |
งานสร้าง
[แก้]นาคี ได้มีการถ่ายทำผ่านฉากบลูสกรีนโดยผ่านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กราฟิก (Computer Graphic) จากทีม Fatcat ที่สร้างผลงานด้านกราฟิกมาแล้วเรื่อง รากบุญ, มณีสวาท, บุรำปรัมปรา เข้ามาช่วยเสริมสร้างตัวงู, ตัวพญานาคหรือตัวงูเจ้าแม่นาคีรวมไปถึงสัตว์ประหลาดตัวอื่น ๆ ขึ้นมาให้เนียนและมีความสมจริงมากที่สุด [3]
รวมไปถึงละครเรื่องนี้ ได้ใช้สถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมจากแต่ละภาคในประเทศไทยในการถ่ายทำละครอีกด้วย ซึ่งมีจังหวัดที่อยู่นอกเหนือจากกรุงเทพมหานครแล้วนั้นยังมีจังหวัดอื่น ๆ อีก จากภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดบุรัรัมย์, จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดนครนายก, จังหวัดสระบุรี, จังหวัดปทุมธานี เป็นต้น [4]
ด้านการแสดง ที่มีการเลือกใช้ภาษาอีสานทั้งเรื่องนั้น สรรัตน์ ผู้เขียนบท บอกถึงวัตถุประสงค์ว่า หวังจะให้คนดูกลับมาชื่นชมกับภูมิปัญญา และมองภาษาอีสานเป็นเรื่องทันสมัย ลบล้างทัศนคติเดิม ๆ ที่มองว่า พูดอีสานแล้วเป็นคนต่างจังหวัด ทำให้ใครก็ตามที่พูดอีสานแล้วไม่ฟังดูเชย ส่วนที่เลือกใช้ภาษาอีสานสำเนียงอุบล เนื่องจากมีคำกล่าวว่า สำเนียงนี้มีความอ่อนช้อย ไพเราะ[5] ในกองถ่ายจะมีครูแปลภาษาอีสานโดยเฉพาะ เพื่อแปลบทที่เป็นภาษากลาง ให้เป็นภาษาอีสาน พูดออกเสียงแล้วอัดใส่ที่อัดเสียง ส่งให้นักแสดงแต่ละคนฟัง แล้วท่องจำสำเนียงจนคุ้นหูก่อนจะเอามาพูดในฉากที่ต้องแสดง[6]
การตอบรับ
[แก้]คำวิจารณ์
[แก้]ด้านคำวิจารณ์ มติชนชื่นชมในเรื่อง "การฝึกตัวละครให้ใช้ภาษาอีสานเดินเรื่อง ตามภูมิหลังของสถานที่ ตามมาด้วยการชมความงามของตัวละครนำ ณฐพร เตมีรักษ์ ทั้งในชุดโบราณ และการไม่แต่งหน้ามาก ซึ่งประการหลังดูจะควบคุมให้พอดีไปถึงตัวละครอื่น ๆ ด้วย จากนั้นจึงพูดกันถึงการใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ ก็ได้เสียงชมที่สามารถทำให้กลมกลืนไปกับการแสดงของตัวละครได้ ไม่โดดเป็นการ์ตูนผสมหนังออกมา แล้วจึงเป็นการชมกระบวนงานสร้าง ซึ่งที่เด่นจนเห็นได้คือการพยายามใช้แสงจริงตามกาลเทศะ เช่นแสงตะเกียงตอนกลางคืนเป็นต้น นอกเหนือความตั้งใจให้สมจริงของสภาพแวดล้อมหมู่บ้านในเรื่อง"[7] เรื่องบทบาทตัวละคร ได้รับคำวิจารณ์ว่า "ตัวละครที่สวมบทสาขาอาชีพใดอาชีพหนึ่งเหล่านั้น มักมีพฤติกรรมแบบละครไทยหนังไทยผิดมนุษย์มนาจริง ๆ ไปมาก"[8]
เรตติ้ง
[แก้]เรตติ้งละคร นาคี (พ.ศ.2559)
[แก้]การตอบรับของละครเรื่องนี้ทั้งหมดสิบเอ็ดตอนที่ได้ออกอากาศไป เมื่อวันที่ 26 กันยายน – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559 นาคี ทำเรตติ้งต่อตอนสูงสุดและเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปี 2559 [9][10][11][12]
ตอนที่ | วันที่ออกอากาศ | เรตติ้งทั่วประเทศ
(Nationwide) |
กรุงเทพมหานคร
(Bangkok) |
ต่างจังหวัดในเขตเทศบาล
(Urban) |
ต่างจังหวัดนอกเขตเทศบาล
(Rural) |
---|---|---|---|---|---|
1 | 26 กันยายน พ.ศ. 2559 | 5.939 | 9.890 | 8.526 | 4.091 |
2 | 27 กันยายน พ.ศ. 2559 | 7.597 | 10.953 | 10.034 | 5.941 |
3 | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | 8.127 | 10.981 | 9.976 | 6.799 |
4 | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | 9.191 | 13.334 | 11.811 | 7.286 |
5 | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | 10.173 | 13.587 | 12.172 | 8.661 |
6 | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | 11.170 | 14.364 | 12.284 | 10.025 |
7 | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 | 12.108 | 12.451 | 12.961 | 11.722 |
8 | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 | 12.622 | 14.097 | 13.934 | 11.808 |
9 | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 | 12.343 | 13.810 | 14.254 | 11.317 |
10 | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 | 13.638 | 15.734 | 14.570 | 12.815 |
11 (ตอนจบ) | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | 17.291 | 20.433 | 17.446 | 16.501 |
เฉลี่ยต่อตอน | 10.927 | 13.603 | 12.543 | 9.724 |
เรตติ้งละคร นาคี รีรัน (พ.ศ.2560)
[แก้]กลับมาอีกครั้งกับละครดังการันตีรางวัลอย่าง นาคี เพื่อฉลองครบรอบ 1 ปีกับการออกอากาศละครเรื่อง นาคี ในปี พ.ศ.2559 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จึงนำ นาคี กลับมาออกอากาศรีรันอีกครั้ง ในวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 18.20 น. และ วันศุกร์ เวลา 18.00 น. โดยเริ่มออกอากาศรีรันตอนแรกในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2560 ได้เรตติ้งเปิดตัวไปที่ 3.448 และออกอากาศตอนจบในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2560 ได้เรตติ้งตอนจบสูงถึง 7.716 เฉลี่ยทั้งหมดแล้วได้ 5.024[13] ถือเป็นการส่งไม้ต่อกระแสและเรตติ้งที่ดีให้กับละครใหม่เรื่องถัดไปอย่าง เตียงนางไม้ ได้ดีเยี่ยม
ตอนที่ | วันที่ออกอากาศ | เรตติ้งทั่วประเทศ
(Nationwide) |
---|---|---|
1 | 23 สิงหาคม พ.ศ.2560 | 3.448 |
2 | 25 สิงหาคม พ.ศ.2560 | 3.053 |
3 | 28 สิงหาคม พ.ศ.2560 | 3.287 |
4 | 29 สิงหาคม พ.ศ.2560 | 3.818 |
5 | 30 สิงหาคม พ.ศ.2560 | 4.589 |
6 | 31 สิงหาคม พ.ศ.2560 | 4.962 |
7 | 1 กันยายน พ.ศ.2560 | 4.142 |
8 | 4 กันยายน พ.ศ.2560 | 4.239 |
9 | 5 กันยายน พ.ศ.2560 | 5.492 |
10 | 6 กันยายน พ.ศ.2560 | 4.987 |
11 | 7 กันยายน พ.ศ.2560 | 5.848 |
12 | 8 กันยายน พ.ศ.2560 | 4.937 |
13 | 11 กันยายน พ.ศ.2560 | 5.112 |
14 | 12 กันยายน พ.ศ.2560 | 5.764 |
15 | 13 กันยายน พ.ศ.2560 | 6.731 |
16 | 14 กันยายน พ.ศ.2560 | 7.320 |
17 (ตอนจบ) | 15 กันยายน พ.ศ.2560 | 7.716 |
เฉลี่ยต่อตอน | 5.024 |
ผลการสำรวจความนิยม
[แก้]นาคี ถูกยกให้เป็นละครแห่งปีจากสื่อบันเทิง และโพลมหาชนสำนักต่าง ๆ ติดเทรนด์อันดับหนึ่งกระแสโซเชียลยอดนิยมของโลก[14] คนในวงการบันเทิงยกย่องให้เป็นละครแห่งปี 2559[15] ณฐพร เตมีรักษ์ นักแสดงนำของละครเรื่องได้รับฉายาว่า "คำแก้ว ให้แต้วเกิด" จากสมาคมนักข่าวบันเทิง[16] และถูกยกให้เป็น "นางเอกในดวงใจ" อันดับหนึ่ง ด้วยคะแนนร้อยละ 25.1%[17] นอกจากนี้ยังได้รับรางวัล APOP ขวัญใจประชาชนจากอมรินทร์ทีวี[18]
สำนักงานวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจเรื่องที่สุดแห่งความบันเทิงปี 2559 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพจำนวน 1,241 คน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12-17 ธันวาคม 2559 นาคี ถูกจัดให้อยู่อันดับหนึ่งละครที่ประชาชนชอบมากที่สุดแห่งปี ซึ่งได้คะแนนร้อยละ 75.6 ในขณะที่ ณฐพรถูกจัดให้อยู่อันดับหนึ่งดาราหญิงที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดแห่งปี ได้คะแนนร้อยละ 54.5% และ ภูภูมิ พงศ์ภาณุ ก็ถูกจัดอันดับหนึ่งดาราชายที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดแห่งปีเช่นเดียวกัน ได้คะแนนร้อยละ 33.33%[19]
กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2559” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,160 คน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ระหว่างวันที่ 16-20 ธันวาคม 2559 อันดับหนึ่งที่สุดของละครไทยที่ชื่นชอบ ได้แก่ นาคี ซึ่งได้คะแนนไป 71.6% อันดับหนึ่งดาราหญิงที่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ชื่นชอบได้แก่ ณฐพร ร้อยละ 27.6% และอันดับสามดาราชายที่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ชื่นชอบได้แก่ ภูภูมิ ร้อยละ 12.8%[20]
สวนดุสิตโพล โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณี “ที่สุดแห่งปี” ได้สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 5,694 คน ระหว่างวันที่ 10-29 ธันวาคม 2559 ณฐพรถูกจัดอันดับสองดาราหญิงที่ชื่นชอบมากที่สุด ร้อยละ 26.10%[21]
อีสานโพล โดยศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง "รางวัลแห่งปีของคนอีสาน ปี 2559" จากกลุ่มตัวอย่าง 2,530 คน นาคี ถูกจัดอันดับหนึ่งละครจอแก้วแห่งปี ได้คะแนนร้อยละ 23.7% ณฐพรถูกจัดอันดับหนึ่งนางเอกแห่งปี ร้อยละ 15.1% ภูภูมิอันดับสองพระเอกแห่งปี ร้อยละ 9.7% "คู่คอง" อันดับหนึ่งเพลงดังแห่งปี ร้อยละ 14.6% ก้อง ห้วยไร่ อันดับหนึ่งนักร้องชายแห่งปี ร้อยละ 12.7%[ต้องการอ้างอิง]
ส่วนอีกเพลงที่ใช้ประกอบคือ เพลง "ขาดเธอขาดใจ" (เพลงปิดเรื่องตอนที่ 1-10) ขับร้องโดย ชาติชาย มานิตยกุล
รางวัลและการเสนอชื่อ
[แก้]รางวัล | สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31 [22] | เพลงละครดีเด่น | "คู่คอง" – ก้อง ห้วยไร่ | เสนอชื่อเข้าชิง |
องค์ประกอบศิลป์ดีเด่น | นาคี | ชนะ | |
ผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสนับสนุนหญิงดีเด่น | อริศรา วงษ์ชาลี | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงดีเด่น | ณฐพร เตมีรักษ์ | ชนะ | |
ละครดีเด่น | นาคี | ชนะ | |
ดาราเดลี เดอะเกรต อวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 [23] | ดาราสีสัน ที่สุดแห่งปี 2016 | อริศรา วงษ์ชาลี | เสนอชื่อเข้าชิง |
ดารานำหญิง สาขาละคร ที่สุดแห่งปี 2016 | ณฐพร เตมีรักษ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ละครที่สุดแห่งปี 2016 | นาคี | ชนะ | |
ฟีเวอร์อวอร์ดส์ 2016 [24] | ละครโทรทัศน์ฟีเวอร์ | นาคี | ชนะ |
ผู้กำกับฟีเวอร์ | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | ชนะ | |
ฮาว อวอร์ดส์ 2016 | นักแสดงดาวรุ่งหญิง | ณฐพร เตมีรักษ์ | ชนะ |
เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2017 [25] | นักแสดงหญิงที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด | ณฐพร เตมีรักษ์ | ชนะ |
ละครที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด | นาคี | ชนะ | |
แคส อวอร์ดส์ 2017[26] | นักแสดงหญิงยอดเยี่ยมแห่งปี | ณฐพร เตมีรักษ์ | ชนะ |
รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 10 [27] | คนเบื้องหลังแห่งปี | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | ชนะ |
ทีมสร้างสรรค์แห่งปี | ทีมคอมพิวเตอร์กราฟิก | ชนะ | |
นักแสดงหญิงแห่งปี | ณฐพร เตมีรักษ์ | ชนะ | |
ละครโทรทัศน์แห่งปี | นาคี | เสนอชื่อเข้าชิง | |
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 14 [28] | บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ | เสนอชื่อเข้าชิง |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | อริศรา วงษ์ชาลี | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | มนตรี เจนอักษร | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ณฐพร เตมีรักษ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | ชนะ | |
ละครยอดเยี่ยม | นาคี | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 8 [29] | ละครยอดเยี่ยม | นาคี | ชนะ |
บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม | สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้กำกับยอดเยี่ยม | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | ชนะ | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | ณฐพร เตมีรักษ์ | ชนะ | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | อริศรา วงษ์ชาลี | ชนะ | |
ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม | นาคี | ชนะ | |
เพลงละครยอดเยี่ยม | "คู่คอง" – ก้อง ห้วยไร่ | ชนะ | |
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | ณรงค์ บุญบำรุง | ชนะ | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | ชนะ | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ธนอรรถ กาสุริย | ชนะ | |
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | ภูริวัตร กิตติศรีไสว ศิรินาจ ถาวรวัตร์ ชานนท์ ไวทยะบูลย์ |
ชนะ | |
รางวัลพิฆเนศวร ครั้งที่ 5 [30] | ผู้กำกับละครดีเด่น | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | ชนะ |
ละครดีเด่น | นาคี | ชนะ | |
นักแสดงสบทบหญิงดีเด่น | อริศรา วงษ์ชาลี | ชนะ | |
International Drama Festival in Tokyo 2017 [31] | Special Award for Foreign Drama ละครต่างชาติยอดเยี่ยม | นาคี | ชนะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เคน ภูภูมิ ประกบ แต้ว ณฐพร พร้อมเปิดปริศนาพญานาค "นาคี"
- ↑ ผู้จัดอ๊อฟ จับคู่ แต้ว ณฐพร ประกบ เคน ภูภูมิ ลงละครใหม่ 'นาคี'[ลิงก์เสีย]
- ↑ นาคี เปิดกองวิก 3 | เบื้องหลังการทำ CG
- ↑ "8 ที่เที่ยวตามรอย ละครนาคี กับสถานที่ Unseen ในเมืองไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-09.
- ↑ เผยสารลับจาก นาคี....หวังเปลี่ยนทัศนคติต่อภาษาอีสานใหม่ พูดแล้วไม่เชย
- ↑ ‘นาคี’ แรง! ‘อ๊อฟ’ เผย ‘ตำนาน-ซีจี-นักแสดง’ รวมพลังทำเรตติ้ง
- ↑ ‘นาคี’ ฉบับพงษ์พัฒน์ งานดีแต่ยังมีเรื่องให้ถก
- ↑ ตั้งสติกับละคร ‘นาคี’
- ↑ สมการรอคอย! เปิดเรตติ้ง นาคี สูงที่สุดตั้งแต่ออกอากาศ!
- ↑ "นาคี" ตอนจบกวาดเรตติ้งถล่มทลาย
- ↑ 'สมรักษ์' ยิ้มเรตติ้ง‘นาคี’แรง!! ชนะ‘สายโลหิต-พิษสวาท’
- ↑ ‘นาคี’ แรง! ‘อ๊อฟ’ เผย ‘ตำนาน-ซีจี-นักแสดง’ รวมพลังทำเรตติ้ง
- ↑ เรตติ้ง นาคี รีรัน พ.ศ.2560 (Tv Digital Watch)
- ↑ ละครจบอารมณ์ไม่จบ! ส่อง 10 กระแสดัน 'นาคี' เปรี้ยงสนั่นโซเชียล
- ↑ สีสันบันเทิง | ที่สุดละครแห่งปี 2559
- ↑ สมาคมนักข่าวบันเทิงตั้ง 10 ฉายาดาราประจำปี 2559
- ↑ โพลดารา ความเห็นของเหล่าดาราทั่วฟ้าเมืองไทย
- ↑ APOP ขวัญใจประชาชน 2559
- ↑ ผลโพลชี้"นาคี"มาแรงสุด "เคน-แต้ว"ซิวดาราแห่งปี
- ↑ เผยผลสำรวจกรุงเทพโพลล์ ‘ตูน-แต้ว-นาคี-กราบรถกู’ คือที่สุดแห่งปี!!
- ↑ สวนดุสิตโพล เผย “ที่สุดแห่งปี 2559”
- ↑ ประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31
- ↑ ผลรางวัลดาราเดลี่ 2016 Daradaily The Great Awards ครั้งที่ 6
- ↑ "Fever Awards 2016 เปิดเวที ประชันตัวแม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ "ผลรางวัล MThai Top Talk-About 2017". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-10.
- ↑ ประกาศผลแล้วจ้า!!! KAZZ Awards 2017
- ↑ “เป๊ก”มาแรง! คว้าขวัญใจมหาชน “แต้ว-เต๋อ” ยิ้มรับนักแสดงแห่งปีไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด 2017[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผล คมชัดลึก อวอร์ด ปีที่ 14 ประเภทละครโทรทัศน์
- ↑ รายการ-ละคร-นักแสดง ช่อง 3 ตบเท้าเข้าชิงรางวัล นาฏราช ครั้งที่ 8 ประจำปี 2559
- ↑ ประกาศรางวัล “พระพิฆเนศวร” ครั้งที่ 5
- ↑ 'นาคี' ดังกระฉ่อน! 'อ๊อฟ-แต้ว-เคน' แท็กทีมรับรางวัลละครต่างประเทศยอดเยี่ยมที่ญี่ปุ่น
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นาคี ที่สยามโซน
- อนุชิต สิงห์สุวรรณ และทวีศักดิ์ เผือกสม. “ละครโทรทัศน์ ‘นาคี’ ตำนานร่างจุติ: การสร้างตัวตนของชาวอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี." ใน ถนอม ชาภักดี และคนอื่นๆ (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 11 เปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์. น. 493-507. กรุงเทพฯ: มีดี กราฟิก, 2560.