ทวิตเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกซ์
ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566
ภาพจับหน้าจอ
ภาพหน้าจอเมื่อเข้าชมขณะออกจากระบบ ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2566
ประเภทบริการเครือข่ายสังคม
ภาษาที่ใช้ได้หลายภาษา
ก่อขึ้น21 มีนาคม 2006; 18 ปีก่อน (2006-03-21) ที่ ซานฟรานซิสโก, แคลิฟอร์เนีย
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก ยกเว้นประเทศที่บล็อก
เจ้าของเอกซ์คอร์ป
ผู้ก่อตั้ง
ผู้บริหารสูงสุดอีลอน มัสก์
ยูอาร์แอล
  • twitter.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  • x.com (เปลี่ยนเส้นทางไปที่ twitter.com)
ลงทะเบียนจำเป็น
ผู้ใช้368 ล้าน (มกราคม ค.ศ. 2023)
เปิดตัว15 กรกฎาคม 2006; 17 ปีก่อน (2006-07-15)
สถานะปัจจุบันทำงาน
แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
เขียนด้วย
[1][2][3][4][5][6][7]

เอกซ์ (อังกฤษ: X) หรือชื่อเดิมและชื่อภาษาปากว่า ทวิตเตอร์ (อังกฤษ: Twitter)[a][10] เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 280 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต (Tweet) ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้อง

ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 โดยแจ็ก ดอร์ซี, บิซ สโตน และอีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัทอ็อบวีโออุส[11] และต่อมาในเดือนกรกฎาคม ก็ได้เปิดตัวเว็บไซต์สังคมออนไลน์ ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมจากทั่วโลก โดยมีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเข้าใช้มากกว่า 500 ล้านคนในปี พ.ศ. 2555 รวมไปถึงมีทวีตมากกว่า 340 ล้านทวีตต่อวัน และมีการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์มากกว่า 1,600 ล้านครั้งต่อวัน[12][13][14] นับตั้งแต่วันเปิดตัว ทวิตเตอร์เป็นเว็บไซต์ 1 ใน 10 อันดับที่มีผู้เข้าใช้งานมากที่สุด โดยได้รับการขนานนามว่าเป็นเว็บไซต์สำหรับการส่งบริการข้อความสั้น บนอินเทอร์เน็ต[15][16] ซึ่งในภายหลัง นอกจากที่จะสามารถทวีตบนเว็บไซต์แล้ว ได้มีการเปิดให้ใช้งานการส่งทวีต ด้วยการส่งบริการข้อความสั้น (SMS) และบนโปรแกรมประยุกต์ ในโทรศัพท์มือถือ และสมาร์ตโฟน[17]

ตัวระบบซอฟต์แวร์ของทวิตเตอร์ เดิมพัฒนาด้วยรูบีออนเรลส์[18] จนเมื่อราวสิ้นปี ค.ศ. 2008 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษา Scala บนแพลตฟอร์มจาวา[19]

โลโก้ของทวิตเตอร์ ค.ศ. 2006-2010

ค.ศ. 2009 ทวิตเตอร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จนนิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. 2009 ได้นำเอาทวิตเตอร์ขึ้นปก เป็นเรื่องเด่นประจำฉบับ และบทบรรณาธิการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว ที่มีที่มาจากเทคโนโลยีใหม่อย่างทวิตเตอร์[20]

ประวัติ[แก้]

การคิดค้นและยุคเริ่มต้น[แก้]

พิมพ์เขียวของแจ็ก ดอร์ซี ในปี พ.ศ. 2549 สำหรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีพื้นฐานบนบริการข้อความสั้น

ทวิตเตอร์มีต้นกำเนิดจากการระดมความคิด ที่ถูกจัดขึ้นโดยบริษัทโอดีโอ ซึ่งเป็นบริษัทพอดแคสติง โดยดอร์ซี เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ได้แนะนำความคิดการส่งบริการข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอส (SMS) พูดคุยและสนทนากันภายในกลุ่มเล็ก ๆ[21][22] ช่วงแรกโค้ดเนมของบริการนี้มีชื่อว่า twttr ซึ่งวิลเลียมส์ได้แนะนำให้กับโนอาห์ กลาส[23] โดยชื่อในรูปแบบนี้มีแรงบันดาลใจมากจากฟลิคเกอร์ (Flickr) และมีเพียง 5 ตัวอักษรคล้ายกับการส่งข้อความสั้นแบบชื่อย่อของชาวอเมริกัน ในช่วงแรกนั้น นักพัฒนาได้กำหนดหมายเลข "10958" เป็นรหัส แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "40404" เพื่อความสะดวกในการใช้งาน[24] การทำงานของโครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 เมื่อดอร์ซี ได้ทำการส่งทวีตแรกเมื่อเวลา 21:50 น. ตามเวลาท้องถิ่น ด้วยคำว่า "just setting up my twttr"[1]

"...เราได้คำว่า 'ทวิตเตอร์' และมันสุดยอด มันคือการส่งข้อมูลด้วยข้อความสั้น เหมือนกับส่งด้วยนก ซึ่งบ่งบอกถึงว่าผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร" – แจ็ก ดอร์ซี[25]


ต้นแบบของทวิตเตอร์ถูกนำมาใช้สำหรับพนักงานในบริษัทโอดีโอ และได้เผยแพร่ต่อสาธารณะในรุ่นสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[6] ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 บิซ สโตน, อีวานส์ วิลเลียมส์, แจ็ก ดอร์ซี และพนักงานของบริษัทโอดีโอ ได้ถูกโอนหุ้นทั้งหมดมาที่อ็อปวีโออุส รวมถึงเว็บไซต์ โอดีโอ.คอม และทวิตเตอร์.คอม ด้วย[26] วิลเลียมส์ได้ถูกไล่ออก ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งกับทวิตเตอร์จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2554[27] และทวิตเตอร์ได้แยกออกมาตั้งเป็นบริษัทของตนเองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550[28]

จุดเริ่มต้นของจำนวนการใช้งานทวิตเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น คือในงานเซาธ์บายเซาธ์เวสต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ SXSW ซึ่งจัดขึ้นในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระหว่างงาน การใช้งานทวิตเตอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจาก 20,000 ทวีตต่อวัน เป็น 60,000 ทวีตต่อวัน[29] ซึ่งมีส่วนเพราะการวางจอพลาสมาขนาด 60 นิ้วจำนวน 2 จอในทางเดินระหว่างงาน และจอจะแสดงทวีตที่ผู้ใช้งานทวีตเข้าสู่ระบบ โดยสตีเวน เลวี นักข่าวจากนิตยสารนิวส์วีก ได้กล่าวว่า "งานประชุมนับร้อยงาน ที่จะใช้ระบบทวิตเตอร์นี้ โดยที่จะสามารถโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วผ่านการเมนชัน"[30]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ตราสัญลักษณ์มีลักษณะคล้ายสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ U+1D54F 𝕏 mathematical double-struck capital x.[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Dorsey, Jack (March 21, 2006). "just setting up my twttr". Twitter. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  2. "US SEC: FY2021 Form 10-K Twitter, Inc". U.S. Securities and Exchange Commission. สืบค้นเมื่อ March 27, 2022.
  3. "Twitter – Company". about.twitter.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ July 30, 2019.
  4. "Twitter Search Is Now 3x Faster". April 6, 2011.
  5. Humble, Charles (July 4, 2011). "Twitter Shifting More Code to JVM, Citing Performance and Encapsulation As Primary Drivers". InfoQ. สืบค้นเมื่อ January 15, 2013.
  6. 6.0 6.1 Arrington, Michael (July 15, 2006). "Odeo Releases Twttr". TechCrunch. AOL. สืบค้นเมื่อ September 18, 2010.
  7. Dang, Sheila (October 26, 2022). "Exclusive: Twitter is losing its most active users, internal documents show". Reuters.
  8. Ashworth, Louis (July 24, 2023). "The logo of X, formerly Twitter, wasn't actually stolen". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2023. สืบค้นเมื่อ July 25, 2023.
  9. Musk, Elon Reeve [@elonmusk] (July 24, 2023). "[[:แม่แบบ:Proper name]]" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ July 30, 2023 – โดยทาง ทวิตเตอร์. {{cite web}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help)
  10. Davis, Wes (July 23, 2023). "Twitter is being rebranded as X". The Verge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ August 21, 2023.
  11. ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง, "Twitter เสียง (จากนกตัวเล็ก ๆ) นี้ที่ดัง", นิตยสารสารคดี, สิงหาคม 2552.
  12. "Twitter Passed 500M Users In June 2012, 140M Of Them In US; Jakarta 'Biggest Tweeting' City". TechCrunch. July 30, 2012.
  13. Twitter Search Team (May 31, 2011). "The Engineering Behind Twitter's New Search Experience". Twitter Engineering Blog. Twitter. สืบค้นเมื่อ June 10, 2011. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  14. Twitter turns six Twitter.com, March 21, 2012. Retrieved December 18, 2012.
  15. "Top Sites". Alexa Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-02. สืบค้นเมื่อ 2013-05-13.
  16. D'Monte, Leslie (April 29, 2009). "Swine Flu's Tweet Tweet Causes Online Flutter". Business Standard. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011. Also known as the 'SMS of the internet', Twitter is a free social networking and micro-blogging service
  17. Twitter via SMS FAQ เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved April 13, 2012.
  18. Kenzer, Josh (2007-03-29). "5 Question Interview with Twitter Developer Alex Payne". Radical Behavior. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-27. สืบค้นเมื่อ 2008-05-07.
  19. Metz, Cade (2009-04-01). "Twitter jilts Ruby for Scala". The Register. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  20. "บทบรรณาธิการ TIME: Twitter และสื่อใหม่ กำลังเปลี่ยนวิธีสื่อสารของเรา". ประชาไท. 2009-06-10. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  21. แม่แบบ:Registration required Miller, Claire Cain (October 30, 2010). "Why Twitter's C.E.O. Demoted Himself". The New York Times. สืบค้นเมื่อ October 31, 2010.
  22. "Co-founder of Twitter receives key to St. Louis with 140 character proclamation". ksdk.com. KSDK. September 19, bjhdfghjj2009. สืบค้นเมื่อ September 29, 2009. After high school in St. Louis and some time at the University of Missouri-Rolla, Jack headed east to New York University. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  23. Williams, Evan (April 13, 2011). "It's true..." Twitter. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
  24. Sagolla, Dom (January 30, 2009). "How Twitter Was Born". 140 Characters – A Style Guide for the Short Form. 140 Characters. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  25. Sano, David (February 18, 2009). "Twitter Creator Jack Dorsey Illuminates the Site's Founding Document". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
  26. Malik, Om (October 25, 2006). "Odeo RIP, Hello Obvious Corp". GigaOM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ June 20, 2009.
  27. Madrigal, Alexis (April 14, 2011). "Twitter's Fifth Beatle Tells His Side of the Story". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
  28. Lennon, Andrew. "A Conversation with Twitter Co-Founder Jack Dorsey". The Daily Anchor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-27. สืบค้นเมื่อ February 12, 2009.
  29. Douglas, Nick (March 12, 2007). "Twitter Blows Up at SXSW Conference". Gawker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-13. สืบค้นเมื่อ February 21, 2011.
  30. Levy, Steven (April 30, 2007). "Twitter: Is Brevity The Next Big Thing?". Newsweek. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]