กิกะไบต์เทคโนโลยี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิกะไบต์เทคโนโลยี
ประเภทผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
ISINTW0002376001 Edit this on Wikidata
ก่อตั้งเมษายน 1986 (พ.ศ. 2529)
สำนักงานใหญ่,
บุคลากรหลัก
Pei-Chen Yeh (ประธาน)
Ming-Hsiung Liu (ประธานบริหาร)
ผลิตภัณฑ์เมนบอร์ด
การ์ดแสดงผล
โน้ตบุ๊ค
โทรศัพท์มือถือ
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์อื่นๆ
รายได้เพิ่มขึ้น US$ 2.5 พันล้าน(2010)
รายได้จากการดำเนินงาน
60,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
789,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ Edit this on Wikidata
พนักงาน
7,100 (พ.ศ. 2555) Edit this on Wikidata
เว็บไซต์th.gigabyte.com
กิกะไบต์เทคโนโลยี
ภาษาจีน技嘉科技

บริษัท กิกะไบต์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (จีน: 技嘉科技股份有限公司; พินอิน: Jìjiā Kējì Gŭfèn Yŏuxiàn Gōngsī, lit. High Skill Technology Corporation) เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไต้หวัน ผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ [เมนบอร์ด] บริษัทได้เข้าจดทะเบียนกับ ตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน (TSE: 2376)

ประวัติ[แก้]

บริษัท กิกะไบต์ เทคโนโลยี ได้ก่อตั้งในปี 1986 ลูกค้าหลักเช่นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบรนเนม เช่น Alienware และ Falcon Northwest ประธานบริษัทคือ Yeh Pei-Cheng จิกะไบต์ได้ถูกจัดว่าเป็นผู้ผลิตเมนบอร์ดอันดับหนึ่ง (จากผลิตภัณฑ์ที่ขาย) เปรียบเทียบกับ Micro-Star International (MSI), Elitegroup Computer Systems (ECS) และ Asus. พวกเขาส่งออกเมนบอร์ดประมาณ 19 ล้านตัวในปี 2008 (16 ล้านตัวถูกติดตั้งในเครื่องแบรนด์)


ผลิตภัณฑ์[แก้]

บริษัท กิกะไบต์ เทคโนโลยี มีผลิตภัณฑ์หลักคือเมนบอร์ด ซึ่งผลิตไว้เพื่อรองรับ ซีพียู ทั้ง [[AMD]] ,Intel และ Cyrix (ในอดีต) นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ การ์ดแสดงผล ที่ใช้ GPU ของ ATI Technologies, NVIDIA และ S3 Graphics (พบได้ยากมาก)


นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อื่นๆของบริษัทเช่น คอมพิวเตอร์ เดสก์ท๊อป, โน้ตบุค, เมนบอร์ดสำหรับเซิร์ฟเวอร์, ตู้แรคสำหรับเซิร์ฟเวอร์, เครื่องอ่าน-เขียน CD/DVD, จอภาพคอมพิวเตอร์ (พบได้ยากมาก) , คีย์บอร์ด, เมาส์, อุปกรณ์ระบายความร้อนคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ (GSmart) (พีดีเอ), อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์, เพาเวอร์ซัพพลาย และ เคสคอมพิวเตอร์

บริษัท กิกะไบต์ เทคโนโลยี ยังเป็นบริษัทแรกที่ผลิต เพาเวอร์ซัพพลาย ที่สามารถควบคุมได้ด้วย ซอฟต์แวร์ อีกด้วย โดยจะเป็นรุ่น ODIN GT

เมษายน 2554: Gigabyte S1080 คอมพิวเตอร์แทบเล็ต ที่ใช้ CPU Intel Atom สามารถบูตได้ 2 ระบบปฏิบัติการคือ Android หรือ Windows 7 Home Premium

การตั้งชื่อรุ่นของเมนบอร์ด[แก้]

จิกะไบต์ใช้การตั้งชื่อรุ่นแบบพิเศษของตนเอง เช่น GA-P35-DS3R GA สองตัวแรกทำให้รู้ว่าเมนบอร์ดนี้ผลิตโดย จิกะไบต์ ส่วนที่สอง เป็นชื่อชิปเซ็ต ในที่นี้คือ P35 และในส่วนที่สามจะเป็นตัวบอกถึงคุณสมบัติพิเศษของเมนบอร์ดนั้นๆ สูตรทั่วไป: GA-[Power saving method+Chipset name+form factor+Specถ้าic Feature]-[main features+minor Feature]

ช่วงที่ 1

  • ถ้า "A" ปรากฏ หลัง ชื่อ ชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะมีคุณสมบัติพิเศษ 333 Onboard Acceleration (USB 3.0, USB Power X3, SATA 3.0 6 Gbit/s)
  • ถ้า "M" ปรากฏหลังชื่อ ชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะเป็นฟอร์มแฟคเตอร์ แบบ microATX(mATX)
  • ถ้า "N" ปรากฏหลังชื่อ ชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะเป็นฟอร์มแฟคเตอร์ แบบ Mini-ITX
  • ถ้า "M" ปรากฏหน้าชื่อชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะเป็นบอร์ดสำหรับ AMD แต่ไม่ใช้ชิปเซ็ต AMD
  • ถ้า "MA" ปรากฏหน้าชื่อชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะเป็นบอร์ดสำหรับ AMD และใช้ชิปเซ็ต AMD เช่น GA-MA770T-UD3
  • ถ้า "E" ปรากฏหน้าชื่อชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะมีระบบประหยัดพลังงาน Dinamic Energy Saver เช่น GA-EP45-UD3L

ช่วงที่ 2

  • ถ้า "E" ปรากฏ เป็นตัวแรกในส่วนที่ 3 เมนบอร์ดจะมีระบบประหยัดพลังงาน Dinamic Energy Saver เช่น GA-EG45-EUD2H
  • ถ้า "T" ปรากฏหลังชื่อ ชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะรองรับหน่วยความจำ DDR3 อย่างเดียว เช่น GA-MA770T-US3
  • ถ้า "C" ปรากฏหลังชื่อ ชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะรองรับหน่วยความจำ DDR2 และ DDR3
  • ถ้า "F" ปรากฏหลังชื่อ ชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะมีตัวเชื่อมต่อพอร์ท FireWire เช่น GA-EG41MF-US2H
  • ถ้าไม่มี "T" หรือ "C" ปรากฏหลังชื่อ ชิปเซ็ต เมนบอร์ดจะรองรับหน่วยความจำ DDR2 อย่างเดียว

ช่วงที่ 3

  • D (Durability) – เมนบอร์ดจะใช้ตัวเก็บประจุแบบโซลิด
  • U/UD (Ultra Durable 3) – เมนบอร์ดจะมีเทคโนโลยี Ultra Durable 3
  • USB3 – (USB 3.0) เมนบอร์ดจะซัพพอร์ท USB 3.0
  • S2 (Smart, Safe) – เมนบอร์ดจะมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะของ GIGABYTE เช่น Q-Flash BIOS และอื่นๆ
  • S3 (Smart, Speed, Safe) – เหมือนกับ S2 แต่มีคุณสมบัติการ Overclock
  • S4 (Silent Pipe, Smart, Speed, Safe) – เหมือนกับ S3 แต่มีระบบระบายความร้อนแบบ ท่อนำความร้อน (Heat Pipe)
  • S5 (CrossFire, Silent Pipe, Smart, Speed, Safe) – เหมือนกับ S4 แต่รองรับการต่อ ATi CrossFire
  • Q6 (Quad BIOS, Quad Cooling, Quad E-SATA 2.0, Quad Triple Phase, Quad-Core Optimized, Quad DDR2 Slots) - เมนบอร์ดจะมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะของ GIGABYTE 6 อย่าง อย่างละ 4 ตัว

ช่วงที่ 4

  • # (2, 3, 4, 5, 6, 7 or 9) – บอกถึงระดับประสิทธิภาพของเมนบอร์ด เช่น GA-P55-UD3

ช่วงที่ 5

  • R – มีพอร์ท SATA2.0 เพิ่มให้ 2 พอร์ท ซึ่งสนับสนุน RAID อาจมีพอร์ท FireWire และอาจไม่รองรับ ATi CrossFire เช่น GA-P35-DS3R
  • G – ใช้ตัวเก็บประจุแบบ โซลิด เฉพาะภาคจ่ายไฟซีพียู
  • H – มีพอร์ท HDMI หรืออาจมี DisplayPort เช่น GA-MA78LMT-S2H
  • GA-H55-USB3 มีพอร์ท HDMI
  • L – อาจแปลได้ว่า "Lite" มีพอร์ท SATA 2.0 น้อย, ไม่สนับสนุน RAID, ไม่มีพอร์ท FireWire, ไม่สนับสนุนATi CrossFire, ระบบระบายความร้อนแบบธรรมดา (ใช้ Heat Sink) เช่น GA-P35-DS3L และอาจไม่สนับสนุน Gigabit LAN เช่น GA-G31M-S2L กับ GA-G31M-S2C ซึ่งสนับสนุนเพียงแค่ 10/100 MB/s LAN
  • L” / “C” / “E” / “G” หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของเมนบอร์ด
  • P – มีระบบระบายความร้อนแบบ Silent Pipe, สนับสนุน RAID, สล็อต PCI Express เพิ่มเติม, พอร์ท SATA 2.0 เพิ่มเติม เช่น GA-EP45-DS3P
  • หมายเหตุ

สูตรนี้จะใช้ได้สำหรับ เมนบอร์ดส่วนใหญ่ในยุค Socket 775 เท่านั้น ในยุค 286Pentium III จะใช้ GA แล้วต่อด้วยเลขอนุกรมของซีพียู(หรือเฉพาะเลขตัวหน้า) อาจจะตามด้วยรุ่นย่อยของชิปเซ็ต เช่น BX / LX / EX / TX ก็ได้ เช่น GA-286S GA-5AX GA-6EX GA-6BX เป็นต้น บางครั้งจะใช้ GA แล้วต่อด้วยฟอร์มแฟคเตอร์ ของเมนบอร์ดรุ่นนั้งๆก็ได้ เช่น GA-586ATX2 GA-586ATV


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]