ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
329,342 (สำมะโนสหรัฐ ค.ศ. 2020)[1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
รัฐอิลลินอย (ชิคาโก), รัฐเวอร์จิเนีย (อะเล็กซานเดรีย), รัฐแคลิฟอร์เนีย (ลอสแอนเจลิส, ซานฟรานซิสโก, ลองบีช, ริเวอร์ไซด์[2]), รัฐเนวาดา (ลาสเวกัส), รัฐวิสคอนซิน (แมดิสัน), รัฐวอชิงตัน (ซีแอตเทิล), รัฐออริกอน (พอร์ตแลนด์), รัฐเพนซิลเวเนีย (พิตส์เบิร์ก), รัฐอะแลสกา (แองเคอเรจ) | |
ภาษา | |
อังกฤษสำเนียงอเมริกัน, ไทย, คำเมือง, อีสาน, กะเหรี่ยง, พม่า, โรฮีนจา | |
ศาสนา | |
พุทธเถรวาท, ผี, คริสต์, อิสลาม | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวไทย, ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย |
ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย (อดีตเรียก ชาวอเมริกันเชื้อสายสยาม) หมายถึง พลเมืองสหรัฐที่มีเชื้อสายมาจากประเทศไทย[3] ประชากรอเมริกันเชื้อสายไทยมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยคนไทยจำนวนมากที่ระบุว่าเป็นเชื้อชาติผสมและเป็นไทยเชื้อสายจีน[4]
ประวัติ
[แก้]ชาวไทยคนแรกที่เข้าเมืองมาในสหรัฐอเมริกาคือแฝดสยาม อิน-จัน ซึ่งเข้ามาในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2373 โดยอาศัยอยู่ที่รัฐนอร์ทแคโรไลนา และใช้ชื่อสกุลว่า "บังเกอร์" (Bunker) ซึ่งลูกหลานของแฝดสยามนี้ก็ใช้นามสกุลว่า บังเกอร์ ตราบเท่าปัจจุบัน
นักเรียนไทยคนแรกที่ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาคือ เทียนฮี้ ซึ่งเข้ามาในสหรัฐอเมริกาพร้อมกันกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ที่นิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2414 และเทียนฮี้ก็เป็นบิดาของอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคือ พจน์ สารสิน
- พ.ศ. 2504-2513 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 5,000 คน
- พ.ศ. 2514-2523 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 44,000 คน
- พ.ศ. 2524-2533 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 64,400 คน
ในปี พ.ศ. 2536 คาดว่ามีชาวอเมริกันเชื้อสายไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาอยู่ประมาณ 120,000 คน
สถิติประชากร
[แก้]ชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายไทยที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในย่านไทยทาวน์ โดยในปี 2545 ประมาณการว่ามีชาวอเมริกันเชื้อสายไทยกว่า 80,000 คนอาศัยอยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส
นอกจากลอสแอนเจลิสแล้ว ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยยังอาศัยอยู่ในอีกหลายเมือง เช่น มินนิโซตา ควีน นิวยอร์ก แดลลัส-ฟอร์ตเวิร์ท อ่าวซานฟรานซิสโก เฟรสโน และแซคราเมนโต
สถิติ
[แก้]- ข้อมูลจาก สถาบันนโยบายการย้ายถิ่น (Migration Policy Institute [1])
- จำนวนประชากรสหรัฐอเมริกาที่เกิดในประเทศไทย (Foreign-Born Population)
ปี (ค.ศ.) | จำนวน (คน) | ค่าความคลาดเคลื่อน (คน) |
---|---|---|
2000 | 169,801 | - |
2006 | 186,526 | +/-10,506 |
2007 | 195,948 | +/-9,668 |
2008 | 199,075 | +/-8,633 |
2009 | 203,384 | +/-8,921 |
2010 | 222,759 | +/-9,960 |
2011 | 239,942 | +/-13,087 |
- จำนวนผู้ได้รับอนุญาตใหม่ ให้มีสิทธิ์อาศัยและทำงานอย่างถาวรในสหรัฐอเมริกา (Permanent Resident)
ปี (ค.ศ.) | จำนวน (คน) |
---|---|
2000 | 3,753 |
2001 | 4,245 |
2002 | 4,144 |
2003 | 3,126 |
2004 | 4,318 |
2005 | 5,505 |
2006 | 11,749 |
2007 | 8,751 |
2008 | 6,637 |
2009 | 10,444 |
2010 | 9,384 |
2011 | 9,962 |
- จำนวนผู้ที่ได้เป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา (Citizenship)
ปี (ค.ศ.) | จำนวน (คน) |
---|---|
2000 | 5,197 |
2001 | 4,088 |
2002 | 4,013 |
2003 | 3,636 |
2004 | 3,779 |
2005 | 4,314 |
2006 | 4,583 |
2007 | 4,438 |
2008 | 6,930 |
2009 | 4,962 |
2010 | 4,112 |
2011 | 5,299 |
วัฒนธรรมไทยในอเมริกา
[แก้]ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยมีชื่อเสียงเรื่องอาหารไทย จากการนำอาหารไทยเข้ามาในสหรัฐอเมริกา อาหารไทยเป็นที่นิยมในหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันร้านอาหารอเมริกันก็มีอาหารไทย หรืออาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารไทยในเมนูอาหาร
การเมือง
[แก้]ใน พ.ศ. 2546 มีคนอเมริกันเชื้อสายไทยสองคนลงรับสมัครเลือกตั้งในระดับเทศบาล คนหนึ่งในแอนาไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และอีกคนในฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ซึ่งทั้งสองไม่ได้รับเลือก แต่มาวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 กอพัฒน์ เจริญบรรพชน (Gorpat Henry Charoen) ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาคนแรกที่มีที่มาจากประเทศไทย โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลาพัลมา ในปี พ.ศ. 2549[5] ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองในปีถัดมา[5] และดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง ในปี พ.ศ. 2555[6]
ในปี พ.ศ. 2553 พันตรี ชาลส์ โจว ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 รัฐฮาวาย ถือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชื้อสายไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ผ่านการเลือกตั้งเข้าไปทำงานในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา[7]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 พันโทหญิง ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 8 รัฐอิลลินอย ซึ่งทำให้เธอเป็นสตรีเชื้อสายไทยคนแรก[8] และเป็นคนเชื้อสายไทยคนที่สองที่ได้เป็นดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองเชื้อสายไทยอีกสองคนคือ จอห์น พิปพี อดีตสมาชิกวุฒิสภา เขต 37 รัฐเพนซิลเวเนีย[9] และอเดเลด อเล็กซันดรา ซิงก์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่านการเงินของรัฐฟลอริดา ทั้งนี้เธอเป็นลื่อของจัน บังเกอร์ แฝดสยามผู้มีชื่อเสียงเมื่อนับจากฝ่ายมารดา[10][11]
ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]- แอนน์ บุญช่วย, อุ้ม บุญช่วย และ บี บุญช่วย จากการ์ตูนเรื่องแอมฟิเบีย เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายไทย
- มอลลี่ แมคกี, แดร์ริล แมคกี, ชารอน แมคกี, นิน สุขใส, เดวิด สุขใส และ เอมมี่ สุขใส จากการ์ตูนเรื่องเดอะ โกสต์ แอนด์ มอลลี่ แมคกี เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายไทย
- สโตนคัตเตอร์ (อุตตามะ สมชาติ) และ อเวนเจอร์เอ็กซ์ (เครสซิด้า) จากมาร์เวลคอมิกส์ เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายไทย
- ไลลา บลองชาร์ด จากการ์ตูนเรื่องลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง เป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน
ดูเพิ่ม
[แก้]- ไทยทาวน์ (ลอสแอนเจลิส)
- ไทยทาวน์ (ฟิลาเดลเฟีย)
- ลิตเติลไทยแลนด์เวย์ (นครนิวยอร์ก)
- ชาวแคนาดาเชื้อสายไทย
- ชาวออสเตรเลียเชื้อสายไทย
- ชาวนิวซีแลนด์เชื้อสายไทย
- ชาวไทยในสหราชอาณาจักร
- ไทยในสวีเดน
- ชาวไทยในญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ASIAN ALONE OR IN ANY COMBINATION BY SELECTED GROUPS". United States Census Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ October 9, 2018.
- ↑ https://www.pewresearch.org/chart/top-10-u-s-metropolitan-areas-by-thai-population/
- ↑ Megan Ratner, "Thai Americans." Gale Encyclopedia of Multicultural America, edited by Thomas Riggs, (3rd ed., vol. 4, Gale, 2014), pp. 357-368. Online เก็บถาวร มีนาคม 26, 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Danico, Mary (2014), "Thai Americans", Asian American Society: An Encyclopedia, Thousand Oaks: SAGE Publications, Inc., pp. 894–897, สืบค้นเมื่อ 2023-02-05
- ↑ 5.0 5.1 2009 Asian Heritage Awards Nomination[ลิงก์เสีย]
- ↑ ‘กอพัฒน์’ เป็นนายกฯ อีกหน หลังสภาเมืองหนุนเอกฉันท์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สส. ลูกครึ่งไทย หนึ่งความภูมิใจ ในสภาคองเกรส" (Press release). ไทยรัฐ. 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม พ.ศ. 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ""ลัดดา แทมมี่ ดัคเวิร์ธ" ชนะเลือกตั้งส.ส.หญิงเชื้อสายไทยคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ" (Press release). มติชน. 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Olson, Laura (1 July 2012). "State Sen. Pippy resigns from legislative seat following budget vote". Pittsburgh Post-Gazette. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
- ↑ Alex Sink says grit and pride were legacy of famous ancestors, Siamese twins Chang and Eng เก็บถาวร 2010-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, St. Pete Times
- ↑ NATIONAL GEOGRAPHIC MAGAZINE
ข้อมูล
[แก้]- We the People Asians in the United States Census 2000 Special Reports
- Vong, Pueng. Unrest in the Homeland Awakens the Thai Community IMDiversity March 29, 2006
- Asian American Action Fund 2006 endorsed candidates
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Ratner, Megan. "Thai Americans." Gale Encyclopedia of Multicultural America, edited by Thomas Riggs, (3rd ed., vol. 4, Gale, 2014), pp. 357–368. Online
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ThaiNewYork.com
- Thaitown USA News
- Asian Pacific Newspaper เก็บถาวร 2011-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Siam Media Newspaper
- Sereechai Newspaper
- Yearning to be Free: US Immigration and Thai Sex Workers, Thailand Law Forum, June 30, 2010