จู เต๋อ
จูเต๋อ | |
---|---|
朱德 | |
จอมพลจูเต๋อ | |
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญ ประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 เมษายน 1959 – 6 กรกฎาคม 1976 | |
ผู้นำ | เหมา เจ๋อตง |
ก่อนหน้า | หลิว เซ่าฉี |
ถัดไป | เย่ เจี้ยนอิง |
รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน 1954 – 27 เมษายน 1959 | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง |
ถัดไป | ซ่ง ชิ่งหลิง และ ต่ง ปี้หวู |
รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน 1956 – 1 สิงหาคม 1966 | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง |
ผู้บัญชาการใหญ่กองทัพปลดปล่อยประชาชน | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน 1946 – 27 กันยายน 1954 | |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
ถัดไป | ไม่มี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1886 มณฑลเสฉวน จักรวรรดิต้าชิง |
เสียชีวิต | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน | (89 ปี)
ศาสนา | ไม่มีศาสนา |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน |
จอมพล จูเต๋อ (จีน: 朱德) (1 ธันวาคม 1886 - 6 กรกฎาคม 1976) เป็นผู้นำทางทหาร ขุนศึก นักการเมือง และนักปฏิวัติชาวจีน หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาเกิดในครอบครัวที่ยากจนในมณฑลเสฉวน ปี ค.ศ. 1886 เขาได้รับอุปการะเลี้ยงดูจากลุงผู้ร่ำรวยในตอนอายุเก้าขวบ ความมั่งคั่งนี้ทำให้เขาได้รับการศึกษาชั้นต้นที่ดีเยี่ยมซึ่งนำไปสู่การเข้าเรียนในโรงเรียนวิชาทหาร ภายหลังช่วงเวลาที่เขาอยู่ในโรงเรียนวิชาทหาร เขาได้เข้าร่วมกองทัพกบฏ และไม่นานก็กลายเป็นขุนศึก หลังจากนั้นเขาก็ได้ยอมรับลัทธิคอมมิวนิสต์ เขาได้มีอำนาจด้วยยศทหารของกองทัพแดงจีนในขณะที่อยู่ในการรักษาความปลอดภัยประเทศ ในช่วงที่จีนภายใต้การควบคุมของเหมา จูได้เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพสายที่แปดในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1955 เขาได้กลายเป็นหนึ่งในสิบจอมพลแห่งกองทัพปลดปล่อยประชาชน ซึ่งเขาได้รับการยกย่องในฐานะผู้ก่อตั้งที่สำคัญ จูยังเป็นบุคคลทางการเมืองที่สำคัญจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1976 ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ถึง ค.ศ. 1976 จูเป็นประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประวัติ
[แก้]จูเต๋อเกิดในครอบครัวเศรษฐี จูเต๋อเป็นผู้มีอิทธิพลเขามีลูกน้องมาก ชอบใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย แต่จูเต๋อเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด ทำงานเก่ง จูเต๋อเป็นนักอ่านและชื่นชอบวรรณกรรมเรื่อง "ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน"
การรับราชการระยะแรก
[แก้]จูเต๋อเข้าเรียนในวิทยาลัยการทหารของมณฑลยูนนาน และ ได้ทำงานในกองทัพบกในปีค.ศ. 1911 ดร.ซุนยัดเซ็นทำการปฏิวัติราชวงศ์ชิงจูเต๋อเข้าร่วมทำการปฏิวัติในมณฑลยูนนานด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1921 เขาเป็นผู้บัญชาการตำรวจมณฑลยูนนาน และ ได้เป็นเจ้ากรมการคลัง และช่วงนั้น เขารับเงินใต้โต๊ะ ติดผู้หญิง สูบฝิ่น จนได้รับฉายาว่า ขุนพลขี้ยา จูเต๋อมีภรรยา 9 คน
พรรคคอมมิวนิสต์จีน
[แก้]ค.ศ. 1921 จูเต๋อเริ่มศึกษาแนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ จนกระทั่งจูเต๋อได้พบกับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่กำลังศึกษาและใช้แนวความคิดของมาร์กซ์ในทางการเมืองกันอยู่ แต่ไม่มีใครสนใจจูเต๋อเพราะเขาเป็นเพียงแค่ "ขุนพลขี้ยา" จูเต๋อจึงเดินทางไปศึกษาแนวคิดของลัทธิมาร์กซ์ที่ประเทศเยอรมนี ปีต่อมาค.ศ. 1922 ในประเทศเยอรมนี จูเต๋อพบกับโจวเอินไหลเขาจึงได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในที่สุด ค.ศ. 1925 จูเต๋อไปเรียนวิชาทางการทหารต่อในกรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย และกลับมายังจีน แต่ฐานะของความเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงถูกเก็บไว้เป็นความลับ
รัฐบาลจีนก๊กมินตั๋ง
[แก้]จูเต๋อกลับไปทำงานในกองทัพของรัฐบาลจีนก๊กมินตั๋งของเจียงไคเชคเมื่อ ดร.ซุนยัดเซ็นได้ถึงแก่กรรม และขณะนั้นนายพลเจียงไคเชคดำรงตำแหน่งแม่ทัพของก๊กมินตั๋ง จูเต๋ออยู่ในฐานะของทหารของพรรคก๊กมินตั๋งได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจ และเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนนายทหารของเมืองหนันชาง เมืองหลวงมณฑลฝูเจี้ยน
การเปลี่ยนสู่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
[แก้]ค.ศ. 1927 เกิดสงครามกลางเมือง โจวเอินไหลได้ปฏิวัติหนันชางได้จนสำเร็จ โดย จูเต๋อ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งหนันชางในขณะนั้น ได้เชิญนายทหารของพรรคก๊กมินตั๋งไปกินเลี้ยงร่ำสุรากัน และถูกกันตัวไปไหนไม่ได้ ขณะในเมืองทั้งสองฝ่ายรบกันอย่างดุเดือดถึง 4 ชั่วโมง และในที่สุดจูเต๋อและหลินเปียวได้สบทบกำลังเป็นทหารของจีนคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว และ จากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดหนันชางได้เพียงสัปดาห์เดียว ทหารก๊กมินตั๋งเข้ามายึดเมืองคืนได้สำเร็จ
จูเต๋อ พร้อมด้วยหลินอี้ หลินเปียว เข้ายึดเมืองเซียนจ้าง ที่พรรคก๊กมินตั๋งปกครองอยู่ได้สำเร็จ โดยเจียงไคเชคเริ่มเห็นบทบาทของจูเต๋อมากขึ้น จึงสั่งการให้กำจัด จนในที่สุดจูเต๋อต้องล่าถอยหนีและได้พบกับเหมาเจ๋อตง ที่เขาจิงกัง ฐานที่มั่นของเหมาเจ๋อตง จูเต๋อได้รวมกำลังกับเหมาเจ๋อตงนำกองกำลังชาวนาเข้าร่วมเป็นกองกำลังจรยุทธ์ ในฤดูหนาวปี 1927-1928 เขาสามารถรวบรวมกำลังผลที่ผสมระหว่างชาวนาและกรรมกรถึง 10,000 คน โดยจูเต๋อเป็นผู้บัญชาการทหาร ส่วนเหมาเจ๋อตงเป็นประธานทางการเมือง จากนั้นเหมาเจ๋อตงกับจูเต๋อช่วยกันตีเมืองต่างๆ จนประชาชนได้เรียกทั้ง 2 คนเป็นเสียงเดียวกันว่า "จูเหมา"
ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1930 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1933 เจียงไคเชคได้ทำการล้อมปราบคอมมิวนิสต์จีนเขาจิงกัง จนครั้งสุดท้าย เจียงไคเชคได้นำกองทหารจำนวนหนึ่งล้านคน และเครื่องบินอีก 200 ลำ เข้าล้อมปราบ และปี ค.ศ. 1934 โดยยุทธวิธีการปิดล้อมทางเศรษฐกิจของเจียงไคเชคทำให้ "จูเหมา" เสียฐานที่มั่นเขาจิงกัง
สงครามกับญี่ปุ่น
[แก้]ญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดแมนจูเรีย และเจียงไคเชคจึงยุติสงครามกลางเมืองกับ "จูเหมา" หันไปต่อต้านญี่ปุ่นแทน ด้านเหมาเจ๋อตงและจูเต๋อ ก็มุ่งเดินทัพทางไกลเพื่อไปต่อต้านญี่ปุ่นเช่นกัน
การประกาศสถาปนาจีนใหม่
[แก้]ค.ศ. 1949 จูเต๋ออายุ 63 ปี ได้ยืนข้างเหมาเจ๋อตง ในฐานะ รองประธานคณะกรรมาธิการทหาร ต่อหน้าประชาชนในการประกาศสถาปนาจีนใหม่
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Zhu De ชืวประวัติ From Spartacus Educational
- People's Daily Biography