งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
วันที่เสนอ17 ตุลาคม 2562
เสนอโดยคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62
เสนอต่อรัฐสภาไทย
วันที่ผ่าน26 กุมภาพันธ์ 2563
รัฐสภาสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25
พรรคพรรคพลังประชารัฐ
รัฐมนตรีฯ คลังอุตตม สาวนายน
รายรับทั้งหมด2,731,000 ล้านบาท (กำหนด)
รายจ่ายทั้งหมด3,200,000 ล้านบาท (กำหนด)
การชำระหนี้62,709 ล้านบาท (กำหนด)
การขาดดุล469,000 ล้านบาท (กำหนด)
เว็บไซต์สำนักงบประมาณ
‹ 2562
2564 ›

งบประมาณแผ่นดินของไทยสำหรับปีงบประมาณ 2563 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นงบประมาณแผ่นดินแรกที่คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 (ประยุทธ์ 2) เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 โดยเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ในวาระแรกในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

คณะรัฐมนตรีเสนองบประมาณเป็นวงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2 แสนล้านบาท ขาดดุล 4.69 แสนล้านบาท[1]

ที่มา[แก้]

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันแรกของปีงบประมาณ 2563 รัฐบาลยังไม่ผ่านกฎหมายรายจ่ายประจำปี ทำให้ต้องใช้งบประมาณจากปีงบประมาณที่แล้วไปพลางก่อน ซึ่งมีเฉพาะงบประจำเท่านั้น ด้านไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวกล่าวโทษว่าสำนักงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีล่าช้า[2]

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 สำนักงบประมาณเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2563 ให้คณะรัฐมนตรี[3]

สำหรับหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ งบกลาง (518,770 ล้านบาท), กระทรวงศึกษาธิการ (368,660 ล้านบาท), กระทรวงมหาดไทย (353,007 ล้านบาท), กระทรวงการคลัง (249,006 ล้านบาท) และกระทรวงกลาโหม (233,353 ล้าบาท)[4] โดยกระทรวงที่ของบประมาณเพิ่มจากปีที่แล้วสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (25,264 ล้านบาท), กระทรวงแรงงาน (8,284 ล้านบาท), กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (7,938 ล้านบาท), กระทรวงการคลัง (6,727 ล้านบาท) และกระทรวงกลาโหม (6,226 ล้านบาท)[1]

กระบวนการรัฐสภา[แก้]

วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ผ่านวาระแรกด้วยคะแนนเสียง 251 ต่อ 0 โดยฝ่ายค้านงดออกเสียง 234 เสียง ทั้งนี้ พบว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคอนาคตใหม่จากจังหวัดชลบุรีคนหนึ่งออกเสียงเข้ากับฝ่ายรัฐบาลโดยขัดผู้คุมเสียงในสภา[5]

ในวันเดียวกันมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สภาผู้แทนราษฎร โดยเลือกอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน[6] และมีชื่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ที่อยู่ระหว่างถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุติการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสัดส่วนคณะกรรมาธิการฯ คนนอก ด้านชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ความเห็นว่า หากคุณสมบัติไม่ครบน่าจะมีการยืนเรื่องถึงตนแล้ว และบทบาทผู้แทนราษฎรกับกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นคนละเรื่องกัน[7] ทั้งนี้ ธนาธรจะไม่มีสิทธิ์ลงมติ[8]

ตามกำหนดการ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 3 มกราคม พ.ศ. 2563 ก่อนจะมีการพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 8 – 9 มกราคม พ.ศ. 2563[9] แต่ปรากฏว่าการพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในสภาผู้แทนราษฎรได้ใช้เวลาถึง 4 วัน โดยไปสิ้นสุดในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563 รวมถึงหลังจากลงมติแล้ว มีการแถลงจากสมาชิกพรรคต่าง ๆ รวมถึงมีการเปิดเผยคลิปจากสื่อมวลชนว่า พบการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน หรือมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายดังกล่าวในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จำนวน 8 คน คือ ฉลอง เทอดวีระพงศ์[10], นาที รัชกิจประการ[11], สมบูรณ์ ซารัมย์[12], ภูมิศิษฏ์ คงมี จากพรรคภูมิใจไทย[13], ถาวร เสนเนียม จากพรรคประชาธิปัตย์[14], ภริม พูลเจริญ[12], ทวิรัฐ รัตนเศรษฐ จากพรรคพลังประชารัฐ[15] และโกวิทย์ พวงงาม จากพรรคพลังท้องถิ่นไท[16] ซึ่งเท่ากับว่ากระบวนการตรากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้ ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านรวมจำนวน 193 คน แบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล 109 คน และฝ่ายค้านอีก 84 คน ลงชื่อยื่นญัตติต่อประธานรัฐสภา ชวน หลีกภัย เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกระบวนการตรากฎหมายและสถานภาพของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 148 ซึ่งชวนได้รับเรื่องและยื่นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องและได้ให้รวมทั้ง 2 เรื่องเข้าด้วยกันเมื่อวันที่ 29 มกราคม[17] และมีการตัดสินเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ โดยมีมติเสียงข้างมาก 5:4 เสียง ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ 2 และ 3 ใหม่ทั้งหมด แล้วส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อทันที[18] โดยสภาผู้แทนราษฎรได้เรียกประชุมเป็นพิเศษในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ โดยที่ ส.ส. ฝ่ายค้านจะมาลงชื่อเป็นองค์ประชุม แต่หลังจากนั้นจะไม่เข้าร่วม และไม่มีการทิ้งบัตรไว้ในเครื่องลงคะแนน และร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ผ่านวาระที่ 3 ด้วยคะแนน 257 ต่อ 1 งดออกเสียง 3 เสียงจากองค์ประชุมในสภาทั้งหมด 261 คน[19]

จากนั้นวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาพิจารณาต่อทันทีในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ผลปรากฏว่ามีมติเห็นชอบ 215 ต่อ 0 เสียง และงดออกเสียง 6 เสียง[20] และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ราชกิจจานุเบกษาก็ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

งบประมาณ[แก้]

หน่วยงาน งบประมาณ (ล้านบาท)
งบประมาณกลาง 518,771
หน่วยรับงบประมาณ 1,134,650
สำนักนายกรัฐมนตรี 29,863
กระทรวงกลาโหม 124,400
กระทรวงการคลัง 13,904
กระทรวงการต่างประเทศ 4,940
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 3,385
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 17,795
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 47,890
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 31,644
กระทรวงคมนาคม 54,211
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 4,481
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 12,472
กระทรวงพลังงาน 1,313
กระทรวงพาณิชย์ 4,227
กระทรวงมหาดไทย 288,459
กระทรวงยุติธรรม 13,866
กระทรวงแรงงาน 67,736
กระทรวงวัฒนธรรม 4,814
กระทรวงศึกษาธิการ 132,834
กระทรวงสาธารณสุข 26,731
กระทรวงอุตสาหกรรม 2,108
ส่วนราชการอื่น ๆ 46,243
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 23,597
รัฐวิสาหกิจ 88,165
หน่วยงานของรัฐสภา 5,032
หน่วยงานของศาล 7,080
องค์กรอิสระและองค์กรอัยการ 4,738
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 54,113
หน่วยงานอื่นของรัฐ 305
สภากาชาดไทย 10,619
ส่วนราชการในพระองค์ 7,685
แผนงานบูรณาการ (ตั้งเป็นของหน่วยรับงบประมาณ) 230,059
แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10,642
แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 16,037
แผนงานบูรณาการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม 406
แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 957
แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 864
แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 58,796
แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 5,300
แผนงานบูรณาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ 1,305
แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 95,375
แผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล 1,738
แผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 6,921
แผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค 20,305
แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 3,018
แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 1,173
แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 7,222
บุคลากรภาครัฐ (ตั้งเป็นของหน่วยรับงบประมาณ) 777,550
กองทุนหมุนเวียน (ตั้งเป็นของหน่วยรับงบประมาณ) 204,174
แผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ 272,127
ชดใช้เงินคงคลัง 62,709
รวม 3,200,000

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "เปิดงบฯปี 63 ก่อนเข้าสภาฯ เจาะ 5 กระทรวงขอเงินเพิ่มสูงสุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 2019-10-26.
  2. 30 ก.ย.วันสุดท้ายของปีงบประมาณ 62 แล้ว ยังไม่มีงบฯปี 63 ใช้ เตือนกระทบเศรษฐกิจ
  3. จับตาครม.พิจารณาร่างพรบ.งบปี 2563 ก่อนส่งรัฐสภา
  4. สำรวจงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2563 กระทรวงใดรับงบเยอะที่สุด
  5. 234 ฝ่ายค้านงดออกเสียง ลากงบวาระแรกผ่านฉลุย
  6. กมธ.งบ’63 นัดแรก เลือก ‘อุตตม’ นั่งปธ. โฆษก 14 คน ‘ธนาธร’ ที่ปรึกษาฯ วางกรอบ 1 เดือนเสร็จ
  7. ชวนฟันธง! “ธนาธร” นั่ง “กมธ.งบ” ได้ “ส.ส.ฟากรัฐบาล” ไม่หยุด! ชี้ช่อง ยื่นขวางลำ
  8. "ชวน"ชี้ "ธนาธร"นั่งกมธ.งบฯ ได้ แต่หมดสิทธิ์โหวต
  9. "กางปฏิทินงบประมาณ 2563 ฝ่าด่านลงมติพิสูจน์ปึกแผ่นรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 2019-10-28.
  10. ไทยรัฐ (20 มกราคม 2563). "นิพิฏฐ์ แฉ ส.ส.ภูมิใจไทย กดบัตรแทนกัน ชี้ อาจทำให้ พ.ร.บ.งบฯ 63 โมฆะ". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ข่าวสด (22 มกราคม 2563). "นิพิฏฐ์ แฉอีกเวลา ส.ส.ภูมิใจไทย เสียบบัตรแทน ทั้งที่กำลังบินไปนอก! จี้ ภท.เสียสละ". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. 12.0 12.1 ข่าวสด (22 มกราคม 2563). "โป๊ะแตกซ้ำซ้อน! แฉคลิปชัดๆ "ส.ส.พปชร." เสียบบัตรแทนกัน ส่อ พรบ.งบ 63 ล่ม". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. ข่าวสด (29 มกราคม 2563). "ประชาธิปัตย์ แฉอีกราย ส.ส.รัฐบาล เสียบบัตรแทนกัน งัดหลักฐานโชว์ จี้สภาตรวจสอบ!". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. มติชน (29 มกราคม 2563). "เปิดอีกคลิปชัดๆ 'ถาวร' คล้ายกดบัตร 2 ใบ (ดูคลิป)". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. แนวหน้า (23 มกราคม 2563). "สีข้างถลอก! ส.ส.พปชร.อ้างแค่ช่วยเพื่อนลงคะแนน ไม่ใช่เสียบบัตรแทนกัน". www.naewna.com. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. คมชัดลึก (30 มกราคม 2563). "อนค.แฉคลิปภาพ 2 ส.ส.รัฐบาล เสียบบัตรแทน". www.komchadluek.net. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. สยามรัฐ (29 มกราคม 2563). "ด่วน "ศาล รธน." รับคำร้องร่างพรบ.งบฯ63 โมฆะ จากปมเสียบบัตรแทนกัน". siamrath.co.th. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. กรุงเทพธุรกิจ (8 กุมภาพันธ์ 2563). "เปิดมติ! ศาลรัฐธรรมนูญ 9:0 พ.ร.บ.ไม่โมฆะ 5:4 โหวตใหม่ วาระ 2-3". www.bangkokbiznews.com. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. ประชาชาติธุรกิจ (13 กุมภาพันธ์ 2563). "โหวตงบฯ'63 รอบ 2 ผ่านสภาม้วนเดียวจบ 257 ต่อ 1 เสียง". www.prachachat.net. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. เดลินิวส์ (14 กุมภาพันธ์ 2563). "ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ชม. 'วุฒิสภา'ผ่านฉลุยพ.ร.บ.งบฯ63". www.dailynews.co.th. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)