ข้ามไปเนื้อหา

การ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช
ระหว่าง20 มีนาคม 1816 – 10 มีนาคม 1826
สมเด็จพระราชินีแห่งบราซิล
ระหว่าง20 มีนาคม 1816 – 12 ตุลาคม 1822
พระราชสมภพ25 เมษายน พ.ศ. 2318
พระราชวังหลวงอารังฆูเอซ อารังฆูเอซ ประเทศสเปน
สวรรคต7 มกราคม พ.ศ. 2373
พระราชวังหลวงเกลุช ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
(พระชนมายุ 54 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
พระราชบุตรอิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา
เจ้าชายฟรังซิชกู อังตอนียู เจ้าชายแห่งไบรา
มารีอา อิซาเบลแห่งบรากังซา สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน
จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
อิงฟังตามารีอา ฟรังซิชกาแห่งบรากังซา
อิงฟังตาอีซาแบล มารีอาแห่งบรากังซา
พระเจ้ามีแกลแห่งโปรตุเกส
อิงฟังตามารีอา ดา อาซุงเซาแห่งบรากังซา
อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาแห่งบรากังซา
พระนามเต็ม
การ์โลตา โฆอากินา เตเรซา กาเอตานา
ราชวงศ์บูร์บง
บรากังซา
พระราชบิดาพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
พระราชมารดาเจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา
ลายพระอภิไธย

อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน (สเปน: Doña Carlota Joaquina; 25 เมษายน พ.ศ. 2318 - 7 มกราคม พ.ศ. 2373) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งสเปนเมื่อครั้งพระราชสมภพและหลังจากนั้นทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เป็นพระราชธิดาองค์โตในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปนกับเจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา และพระนางเป็นพระมเหสีในพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]
พระสาทิสลักษณ์ของพระนางการ์โลตา โฆอากินา วาดโดย จูเซปเป โทรนี

เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาประสูติที่อารังฆูเอซ ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2318 ในระหว่างรัชกาลของพระอัยกา พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน เป็นพระราชบุตรและพระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน (ขณะนั้นดำรงเป็นเจ้าชาย) กับเจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา พระมเหสี พระราชบิดาของเจ้าหญิงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าการ์โลสที่ 3 กับเจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี พระมเหสี พระราชมารดาของเจ้าหญิงเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสโดยผ่านทางพระมารดาของเจ้าหญิงมาเรีย ลุยซา คือ เจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส พระสวามีของเจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธคือ เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มาเป็นพระอนุชาในพระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน พระสวามีในอนาคตของเจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาเป็นพระราชนัดดาในเจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งสเปน ซึ่งเป็นพระภคินีในพระเจ้าการ์โลสที่ 3 และดยุคแห่งปาร์มา

การนำไปสู่การอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาได้รับการจัดเตรียมโดยพระนางมาเรียนา วิกตอเรียและพระเจ้าการ์โลสที่ 3 ในช่วงหลังคริสต์ทศวรรษที่ 1770 เมื่อพระนางมาเรียนาเสด็จเยือนสเปนเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตในระหว่างความบาดหมางของทั้งสองประเทศ เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายที่ซึ่งในอนาคตคือ พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส(ในขณะนั้นทรงดำรงเป็นเจ้าชายแห่งโปรตุเกส)และพระปิตุลาของเจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินา เจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปนทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งโปรตุเกสที่ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในพระนางมาเรียนา วิกตอเรียเช่นกัน

อภิเษกสมรสและการลี้ภัย

[แก้]
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าโจอาวที่ 6 และพระราชินีการ์โลตา โฆอากินา วาดโดย มานูเอล ไดแอซ เดอ โอลิเวียรา ในปีพ.ศ. 2358

ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2328 อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการกับเจ้าชายฌูเอา เจ้าชายแห่งโปรตุเกส (อนาคตคือ พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส,บราซิลและอัลการ์วึ) พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกสกับอดีตพระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส

เจ้าหญิงทรงได้รับพระราชทานพระราชวังวิลลา วิโคซาในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2328 และในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2328 ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับศีลสมรสที่ห้องสวดมนต์ของพระราชวัง ในเวลาเดียวกัน เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งโปรตุเกสพระขนิษฐาของเจ้าชายโจอาวทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปน ราชนิกุลในพระราชวงศ์สเปน ความพยายามที่จะให้สมนับกันระหว่างเจ้าชายโจอาวและเจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียซึ่งในเวลานั้นเจ้าหญิงทรงผิดนัดหนักขึ้น เจ้าชายโจอาวทรงเปรียบเทียบพระขนิษฐากับพระมเหสี พระองค์ทรงเขียนว่า "เจ้าหญิงทรงฉลาดมากและมีความยุติธรรมมาก ในขณะที่เธอมีเพียงน้อยนิด และพี่ชอบเธอมาก แต่พี่ไม่สามารถรักหล่อนได้อย่างเท่าเทียม" พระมเหสีของเจ้าชายทรงว่านอนสอนง่ายซึ่งทำให้พระนางทรงได้รับการก้าวก่ายจากสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียหลายครั้ง นอกจากนี้ความแตกต่างกันระหว่างพระชนมายุ(เจ้าชายโจอาวมีพระชนมายุ 18 พรรษา)ทำให้เจ้าชายทรงรู้สึกอึดอัดและวิตกกังวล เนื่องจากเจ้าหญิงคาร์ลอตายังทรงพระเยาว์มากทำให้การอภิเษกสมรสยังไม่สมบูรณ์และเจ้าชายโจอาวทรงเขียนว่า "นี่คือการมาถึงของเวลาเมื่อข้าเล่นกับเจ้าหญิงตลอด ด้วยวิธีการเหล่านี้ ข้าคิดว่าอีก 6 ปีต่อจากนี้ คงจะดีถ้าเธอเติบโตขึ้นกว่าในตอนที่เธอมาถึง" การอภิเษกสมรสยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนกระทั่งวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2333

ในปีพ.ศ. 2331 เมื่อพระเชษฐาองค์โตในเจ้าชายโจอาวคือ เจ้าชายโจเซแห่งบราซิลสิ้นพระชนม์ ทำให้เจ้าชายโจอาวกลายเป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์อันดับหนึ่งในราชบัลลังก์ของพระราชมารดา จากนั้นทรงได้รับพระอิศริยยศ เจ้าชายแห่งบราซิล และ ดยุคแห่งบรากังซาองค์ที่ 15[1] ในระหว่างพ.ศ. 2331 ถึงพ.ศ. 2359 เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม เจ้าหญิงแห่งบราซิล เจ้าชายโจอาว พระสวามีทรงเป็นบุคคลที่มีพระเมตตา, เกียจคร้านและเข้ากันไม่ได้กับพระนาง แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์มีทายาทร่วมกัน 9 พระองค์ เพราะว่าทั้งคู่ทรงพระสิริโฉม มีการเล่าลือว่าโดยเฉพาะพระราชโอรสองค์สุดท้องมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากพระราชบิดา หลังจากมีพระประสูติกาลพระโอรสธิดา 9 พระองค์ทั้งสองพระองค์ทรงเริ่มประทับแยกกัน โดยพระสวามีประทับที่พระราชวังหลวงมาฟราและพระมเหสีประทับที่พระราชวังหลวงเกวลูซหรือพระราชวังรามัลเฮา มีการเล่าลือกันว่าพระนางทรงหลบหนีออกมาเพื่อสามารถสนุกสนานกับงานเลี้ยงที่มีการร่วมประเวณีอย่างสับสนปนเป

ในเวลานั้น การปฏิวัติฝรั่งเศสที่สับสนได้สร้างกระแสแห่งความหวาดกลัวแก่หลายๆพระราชวงศ์ในยุโรป การสั่งปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสอย่างโหดเหี้ยมในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 โดยคณะปฏิวัติได้ทำให้เกิดการตอบสนองต่อนานาประเทศอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2336 โปรตุเกสลงนามสนธิสัญญาสันติภาพกับสเปน และในวันที่ 26 กันยายนดำเนินเป็นพันธมิตรกับบริเตนใหญ่ สนธิสัญญาทั้งสองได้มีพันธะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อต่อต้านคณะปฏิวัติฝรั่งเศสและตามมาด้วยการนำทหารโปรตุเกส 6,000 นายเข้าสู่สงครามแห่งพีเรนิส(พ.ศ. 2336 - พ.ศ. 2338) สงครามซึ่งเริ่มต้นด้วยการเข้าโจมตีแคว้นรูสซิลองของฝรั่งเศสและจบลงด้วยความปราชัยโดยกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสสามารถรุกล้ำสู่สเปนทางตะวันออกเฉียงเหนือได้ จากเหตุนี้ได้สร้างปัญหาที่ละเอียดอ่อนทางการทูตขณะที่โปรตุเกสไม่สามารถทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศสได้โดยไม่กระทบต่อความสัมพันธ์กับอังกฤษหรือบริเตนใหญ่ที่ซึ่งเป็นที่ซับซ้อนต่อความสนใจจากนานาประเทศ และดังนั้นจึงต้องแสวงหาความเป็นกลางที่ซึ่งเปราะบางและตึงเครียด[2][3]

ภาพการเสด็จลงเรือพระที่นั่งของเจ้าชายโจอาวและพระราชวงศ์ วาดโดย ฟรานซิสโก บาร์โตลอซซิวาดในปีพ.ศ. 2358

หลังจากพ่ายแพ้สงคราม สเปนได้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับโปรตุเกสและเป็นสร้างสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาบาเซิล ด้วยอังกฤษมีแสนยานุภาพเกินกว่าฝรั่งเศสจะโจมตีโดยตรงได้ ฝรั่งเศสวางแผนที่จะจัดการกับโปรตุเกสซึ่งเป็นพันธมิตรกับอังกฤษ[4] ในปีพ.ศ. 2342 เจ้าชายโจอาวทรงปกครองรัฐบาลอย่างเป็นทางการในฐานะเจ้าชายผู้สำเร็จราชการในพระนามของพระราชมารดา[5]ที่ซึ่งในปีเดียวกันนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ตได้กระทำการรัฐประหารเดือนบูร์แมร์ในฝรั่งเศสและคาดคั้นให้สเปนยื่นคำขาดแก่โปรตุเกสยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและส่งมอบประเทศเพื่อประโยชน์แก่นโปเลียน โดยเจ้าชายโจอาวทรงปฏิเสธความเป็นกลางของประเทศจึงสิ้นสุด กองทัพสเปนและฝรั่งเศสจึงโจมตีโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2344 เกิดเป็นสงครามแห่งออเรนจ์(War of the Oranges) ความพ่ายแพ้ของโปรตุเกสทำให้ต้องทำสนธิสัญญาบาดาจอสและตามมาด้วยสนธิสัญญามาดริด โดยสเปนได้ผนวกโอลิเวนซาเป็นส่วนหนึ่งของสเปนและให้สัมปทานแก่ฝรั่งเศสเหนือดินแดนอาณานิคมของโปรตุเกส[6][7] ด้วยความสนใจในความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งหมดสงครามได้ถูกกำหนดด้วยการเคลื่อนไหวอย่างคลุมเคลือและข้อตกลงลับ โปรตุเกสเป็นฝ่ายที่อ่อนแอที่สุดไม่สามารถหลีกเลี่ยงการต่อสู้อันต่อเนื่องนี้ได้.[4] ในเวลาเดียวกันเจ้าชายโจอาว พระสวามีทรงต้องเผชิญหน้ากับศัตรูในประเทศของพระองค์เอง เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินา ซึ่งทรงมีความจงรักภักดีต่อสเปนบ้านเกิดของพระนางอย่างมาก เริ่มต้นด้วยความประหลาดใจซึ่งวัตถุประสงค์ของพระนางคือการพยายามถอดถอนพระสวามีและยึดพระราชอำนาจมาไว้ในพระหัตถ์ของพระนางเอง แต่แผนการของพระนางกลับล้มเหลวในปีพ.ศ. 2348 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สมเด็จพระราชินีนาถเสด็จออกจากราชสำนักไปประทับที่พระราชวังหลวงเกลุชในขณะที่เจ้าชายผู้สำเร็จราชการเสด็จออกไปประทับที่พระราชวังหลวงมาฟรา[8][9]

เจ้าชายผู้สำเร็จราชการทรงมีบทบาทอย่างเต็มที่ในเวลานี้ พระองค์ทรงหลอกฝรั่งเศสตลอดจนกระทั่งครั้งสุดท้ายทรงยอมจำนนแก่ฝรั่งเศส ไปที่ประเด็นของการแนะนำจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการประกาศสงครามสมมติระหว่างประเทศของตน แต่เจ้าชายผู้สำเร็จราชการกลับไม่ทรงกระทำตามแผนการของจักรพรรดินโปเลียนในระบบภาคพื้นทวีป(การสกัดกั้นอังกฤษ) การบุกเข้าโจมตีของกองทัพฝรั่งเศสนำโดย นายพลฌอง-อันดอเช ชูโนต์ต้องเผชิญกับความยากลำบาก ได้มาถึงหน้าประตูเมืองลิสบอนในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2350 พระราชวงศ์ได้ลี้ภัยออกจากโปรตุเกสไปยังบราซิลอันเนื่องมาจากการโจมตี กองเรือรบต้องเผชิญพายุถึงสองครั้งและกองเรือกระจัดกระจายบริเวณมาเดรา ในช่วงกลางของการเดินทางเจ้าชายโจอาวทรงเปลี่ยนพระทัยและตัดสินพระทัยเดินทางสู่ซัลวาดอร์,รัฐบาเยีย คงด้วยเหตุผลทางการเมือง โปรดให้ราษฎรท้องถิ่นของเมืองหลวงอาณานิคมแห่งแรกที่ซึ่งแสดงความไม่พอใจที่เสียสถานะเดิม ในขณะที่เรือพระที่นั่งที่มีเหล่าเจ้าหญิงประทับอยู่เดินทางตามเส้นทางเดิมสู่รีโอเดจาเนโร[10][11]

ในบราซิล

[แก้]

ในขณะประทับอยู่ในบราซิล เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาทรงพอพระทัยในการประทับในฟาร์มใกล้กับชายหาดโบตาฟาโก ทรงเริ่มต้นดำรงพระชนม์ชีพโดยพยายามออกห่างจากพระสวามี[12] เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาทรงพยายามรับอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินแห่งอาณาจักรปกครองของสเปนในลาตินอเมริกา แผนการที่รู้จักกันในนาม ระบอบคาร์ล็อต(Carlotism) สเปนเองก็ถูกควบคุมโดยนโปเลียนและพระมหากษัตริย์สเปนทั้งพระราชบิดาของพระนางและพระอนุชา เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ทรงถูกควบคุมพระองค์ในฝรั่งเศส เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาทรงพิจารณาตนเองเป็นรัชทายาทแห่งพระราชวงศ์ของพระนางที่ถูกจับกุม การถูกกล่าวหาในแผนการของพระนางโดยส่งกองทัพไปยึดครองบัวโนสไอเรสและทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา พระนางทรงสถาปนาและให้เรียกพระนางเองว่า "สมเด็จพระราชินีนาถแห่งลาปลาตา"(Queen of La Plata) กองทัพผสมโปรตุเกส-บราซิล อย่างไรก็ตามได้ผนวกชายฝั่งตะวันออกของรีโอเดลาปลาตาในแคว้นคิสพลาตินา ที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิบราซิลหลังจากพ.ศ. 2365 และแยกตัวออกในปีพ.ศ. 2371 ในฐานะสาธารณรัฐอุรุกวัย

สมเด็จพระราชินี

[แก้]
ภาพ สมเด็จพระราชินีการ์โลตา โฆอากินาทรงม้า ปัจจุบันเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบราซิล

สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระราชมารดาของเจ้าชายโจอาวเสด็จสวรรคตในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2359 สิริพระชนมายุ 81 พรรษา พระสวามีจึงได้ครองราชย์สืบค่อในพระนาม พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสและพระนางจึงได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เมื่อพระราชวงศ์โปรตุเกสได้เสด็จนิวัติโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2364 หลังจากออกจากประเทศมานานถึง 14 ปี พระนางการ์โลตา โฆอากินาทรงพบกับประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมากนับตั้งแต่ออกเดินทาง ในปีพ.ศ. 2350 โปรตุเกสยังคงอยู่ในการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างมั่นคง กองทัพของนโปเลียนและทัศนะทางการเมืองได้ถูกควบคุมโดยกลุ่มคาดิซคอร์เตสในสเปนซึ่งได้นำแนวคิดการปฏิวัติมาสู่โปรตุเกส ในปีพ.ศ. 2363 เกิดการปฏิวัติเสรีนิยม พ.ศ. 2363ที่ตั้งต้นในโปร์ตู รัฐธรรมนูญโปรตุเกสคอร์เตสได้มีการบังคับใช้ และในปีพ.ศ. 2364 ได้นำมาซี่งรัฐธรรมนูญฉบับแรก สมเด็จพระราชินีทรงเป็นผู้นำในกลุ่มอนุรักษนิยมและทรงต้องการให้นักปฏิกิริยาฝ่ายขวาออกมาเคลื่อนไหว พระมหากษัตริย์ได้รับการปฏิญาณต่อรัฐธรรมนูญในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2365 ทรงยอมจำนนด้วยพระราชอำนาจที่หลากหลาย สมเด็จพระราชินีการ์โลตา โฆอากินาทรงปฏิเสธที่จะดำเนินการปฏิญาณตามพระราชสวามี และดังนั้นพระนางจึงถูกยึดพระราชอำนาจทางการเมืองและทรงถูกถอดถอนออกจากพระอิศริยยศ "สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส" รัฐธรรมนูญในทางเสรีนิยมที่ซึ่งให้พระมหากษัตริย์ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณได้มีผลบังคับใช้เพียงไม่กี่เดือน ไม่มีประชาชนหรือผู้ใดในโปรตุเกสสนับสนุนลัทธิเสรีนิยม และมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสมบูรณาญาสิทธิ์มากขึ้น พระนางการ์โลตา โฆอากินาทรงสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับพระราชโอรสองค์สุดท้อง เจ้าชายมีแกลแห่งโปรตุเกส ผู้ซึ่งทรงมีแนวคิดทางการเมืองแบบอนุรักษนิยมในแนวทางพระราชมารดา ทรงได้รับการสนับสนุนจากพระมารดา พระนางการ์โลตา โฆอากินา ให้ก่อการกบฏที่รู้จักในชื่อ วิลลาฟรานคาดา โดยมีความตั้งใจที่จะสถาปนาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าโจอาวทรงเปลี่ยนพระทัยเห็นมาสนับสนุนพระโอรสเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นความปรารถนาสูงสุดในกลุ่มของพระราชินี สมัยแห่งสมบูรณาญาสิทธิ์ได้มีการฟื้นฟู พระราชอำนาจและพระอิศริยยศของสมเด็จพระราชินีได้รับการฟื้นคืนอีกครั้ง

เจ้าชายมีแกลทรงก่อการกบฏเมษายน หรือ Abrilada ต่อพระราชบิดาจากการสนับสนุนจากพระนางการ์โลตา โฆอากินา โดยกองทหารรักษาการณ์ในลิสบอนในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2367 กลุ่มกบฏได้อ้างว่าเพื่อต้องการกำจัดองค์กรฟรีเมสันและป้องกันพระมหากษัตริย์จากแผนการลอบปลงพระชนม์ของพวกฟรีเมสันที่ซึ่งทำการต่อต้านพระองค์ แต่พระเจ้าโจอาวกลับทรงถูกนำพระองค์มาเพื่อคุ้มครองในพระราชวังเบ็มโปสตา นักการเมืองจำนวนมากที่เป็นศัตรูกับเจ้าชายมีแกลยังคงถูกจับกุมอยู่ที่ไหนสักแห่ง พระประสงค์ของเจ้าชายทรงต้องการขู่ให้พระราชบิดาสละราชบัลลังก์ มีการตื่นตัวถึงสถานการณ์ คณะเจรจาฝ่ายทหารได้ควบคุมและเข้าไปยังพระราชวังเบ็มโปสตา ได้บอกให้พระมหากษัตริย์ไม่ให้ทำการต่อต้านมาก และได้ฟื้นฟูอิสรภาพของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม จากคำปรึกษาของคณะทูตที่เป็นมิตรกัน พระเจ้าโจอาวทรงแสร้งที่จะเสด็จประพาสเมืองคาซิเอส แต่ในความเป็นจริงพระองค์เสด็จไปหลบภัยในเรือรบของอังกฤษที่ซึ่งเทียบท่ารอพระองค์อยู่ พระองค์มีพระราชวินิจฉัยจากเรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิลทรงกล่าวประณามพระโอรส มีพระบรมราชโองการปลดพระโอรสออกจากตำแหน่งสั่งการในกองทัพ และให้พระโอรสปล่อยนักโทษทางการเมือง เจ้าชายมีแกลทรงถูกเนรเทศ ด้วยการที่กลุ่มกบฏถูกกำจัด ทั้งกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มสมบูรณาญาสิทธิ์ได้ออกมายังถนนเพื่อเฉลิมฉลองการดำรงอยู่ของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย[13] ในวันที่ 14 พฤษภาคม พระมหากษัตริย์เสด็จกลับพระราชวังเบ็มโปสตา มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสภารัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและทรงแสดงความเมตตาต่อผู้ที่เคยร่วมก่อการกบฏ แต่ก็ยังไม่มีการเตือนพระราชินีจากการก่อการสมคบคิด ตำรวจได้ค้นพบแผนการกบฏต่อไปในวันที่ 26 ตุลาคม และเป็นหลักฐานที่พระเจ้าโจอาวมีพระบัญชาให้จับกุมพระมเหสีโดยกักบริเวณแต่ในพระตำหนักที่พระราชวังหลวงเกลุช

พระเจ้าโจอาวทรงประทับที่พระราชวังเบ็มโปสตาและพระราชินีการ์โลตา โฆอากินาทรงประทับในพระราชวังหลวงเกลุช อย่างไรก็ตามพระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างเงียบๆ พระนางกลายเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมและการฉลองพระองค์ที่แปลกประหลาดอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตามพระราชโอรสพระองค์โตของทั้งสองพระองค์ เจ้าชายเปโดรแห่งโปรตุเกส ซึ่งทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในบราซิล ทรงประกาศเอกราชบราซิลและราชาภิเษกในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2365 ด้วยพระอิศริยยศ "จักรพรรดิ" พระเจ้าโจอาวที่ 6 ทรงปฏิเสธที่จะยอมรับจนกระทั่งทรงถูกทำให้คล้อยตามโดยอังกฤษในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2368 พระเจ้าโจอาวที่ 6 เสด็จสวรรคตในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2369 พระนางทรงอ้างพระอาการประชวรของพระนางเองเพื่อปฏิเสธที่จะเข้าเฝ้าพระสวามีบนแท่นบรรทมเป็นครั้งสุดท้ายและมีข่าวลือว่าพระสวามีของพระนางทรงถูกวางยาพิษโดยองค์กรฟรีเมสัน

จักรพรรดิเปโดรแห่งบราซิลซึ่งได้กลายเป็น พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสโดยชอบธรรม แต่ทรงตระหนักว่าการประกอบพระราชกรณียกิจในทั้งสองประเทศนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พระจักรพรรดิเปโดรจึงทรงสละราชบัลลังก์โปรตุเกสแก่พระราชธิดาพระองค์โตเป็น สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกสและทรงหมั้นหมายพระราชธิดากับพระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายมีแกลแห่งโปรตุเกส ในระหว่างนั้น พระราชธิดาพระองค์หนึ่งในพระนางการ์โลตา โฆอากินา เจ้าหญิงอิซาเบล มาเรียแห่งโปรตุเกสได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนที่พระนางการ์โลตา โฆอากินา ผู้ซึ่งได้รับพระอิศริยยศ "สมเด็จพระพันปีหลวง" เพียงสองปีในรัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งยังทรงพระเยาว์ พระปิตุลาซึ่งเป็นพระคู่หมั้นด้วยได้เสด็จมาถึงที่ยิบรอลตาร์จากนั้นเจ้าชายมีแกลไม่เพียงทรงกระทำการถอดถอนพระเชษฐภคินีออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกลับทรงประกาศพระองค์เแงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและทรงทำการถอดถอนพระราชินีนาถผู้เป็นพระนัดดาออกจากพระราชบัลลังก์

สมเด็จพระพันปีหลวงการ์โลตา โฆอากินาสิ้นพระชนม์ ณ พระราชวังหลวงเกลุช นอกซินทรา ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2373 ได้มีการประกาศว่าพระนางสิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุทางธรรมชาติแต่ในความเป็นจริงแล้วพระนางทรงก่ออัตวินิบาตกรรม สิริพระชนมายุ 54 พรรษา

การอภิเษกสมรสและทายาท

[แก้]

อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปนทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2328 มีพระราชโอรส-ธิดาร่วมกัน 9 พระองค์ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
อิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา 179329 เมษายน
พ.ศ. 2336
187417 มกราคม
พ.ศ. 2417
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2353 กับพระญาติ
อินฟันเตเปโดร การ์โลสแห่งสเปนและโปรตุเกส
มีพระโอรส 1 พระองค์ได้แก่
อินฟันเตเซบาสเตียวแห่งสเปนและโปรตุเกส

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 พ.ศ. 2381 กับพระสวามีในพระขนิษฐาและมีศักดิ์เป็นพระมาตุลา
อินฟันเตการ์โลส เคานต์แห่งโมลินา
ไม่มีพระโอรสธิดา
เจ้าชายฟรังซิชกู อังตอนียู เจ้าชายแห่งไบรา 179521 มิถุนายน
พ.ศ. 2338
180111 มิถุนายน
พ.ศ. 2344
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ส่งผลให้เจ้าชายเปดรู พระอนุชากลายเป็นองค์รัชทายาท
มารีอา อิซาเบลแห่งบรากังซา สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน 179719 พฤษภาคม
พ.ศ. 2340
181826 ธันวาคม
พ.ศ. 2361
อภิเษกสมรส วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2359 กับพระมาตุลา
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน
มีพระราชธิดา 2 พระองค์ ได้แก่
- อินฟันตามาเรีย ลุยซา อิซาเบลแห่งสเปน
- อินฟันตามาเรีย ลุยซา อิซาเบลแห่งสเปน
พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกสและจักรพรรดิเปโดรที่ 1 แห่งบราซิล 179312 ตุลาคม
พ.ศ. 2336
183424 กันยายน
พ.ศ. 2377
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2360 กับ
อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดีนาแห่งออสเตรีย
มีพระโอรสธิดา 7 พระองค์ ได้แก่
- สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 แห่งโปรตุเกส
- เจ้าชายมีแกล เจ้าชายแห่งไบรา
- เจ้าชายฌูเอา การ์ลุช เจ้าชายแห่งไบรา
- เจ้าหญิงฌานูวารียาแห่งบราซิล
- เจ้าหญิงเปาลาแห่งบราซิล
- เจ้าหญิงฟรังซิชกาแห่งบราซิล
- จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล
ต่อมาพระมเหสีทรงแท้งและสวรรคต

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2372 กับ
เจ้าหญิงอาเมลีแห่งล็อยช์เทินแบร์ค
มีพระธิดา 1 พระองค์ได้แก่
เจ้าหญิงมารีอา อเมเลียแห่งบราซิล
อิงฟังตามารีอา ฟรังซิชกาแห่งบรากังซา 180022 เมษายน
พ.ศ. 2343
18344 กันยายน
พ.ศ. 2377
อภิเษกสมรส วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2359 กับพระมาตุลา
อินฟันเตการ์โลส เคานต์แห่งโมลินา
มีพระโอรส 3 พระองค์ ได้แก่
อินฟันเตการ์โลส เคานต์แห่งมองเตโมลิน
อินฟันเตฆวน เคานต์แห่งมองติซอน
อินฟันเตเฟร์นันโดแห่งสเปน
อิงฟังตาอีซาแบล มารีอาแห่งบรากังซา 18014 กรกฎาคม
พ.ศ. 2344
187622 เมษายน
พ.ศ. 2419
ไม่ทรงอภิเษกสมรส

ทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชสมัยของพระบิดา
พระเจ้ามีแกลแห่งโปรตุเกส 180226 ตุลาคม
พ.ศ. 2345
186614 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2409
อภิเษกสมรส วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2394 กับ
เจ้าหญิงอาเดิลไฮท์แห่งเลอเวินชไตน์-แวร์ทไฮม์-โรเซินแบร์ค
มีพระโอรสธิดา 7 พระองค์ ได้แก่
- อิงฟังตามารีอา ดาช นือวึชแห่งโปรตุเกส
- เจ้าชายมีแกล ดยุคแห่งบรากังซา
อิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งโปรตุเกส
อิงฟังตามารีอา ฌูเซฟาแห่งโปรตุเกส
อิงฟังตาอเดลกุงดึช ดัสเชสแห่งกุยมาเรซ
มารีอา อานาแห่งโปรตุเกส แกรนด์ดัสเชสแห่งลักเซมเบิร์ก
อิงฟังตามารีอา อังตอเนียแห่งโปรตุเกส

มีพระธิดานอกกฎหมาย 2 พระองค์ ได้แก่
มารีอา อัสซังโค ริเบย์โร โด คาร์โม อี บรากังซา
มารีอา ดึ ฌึซุช ดึ บรากังซา อี บูร์บง
อิงฟังตามารีอา ดา อาซุงเซาแห่งบรากังซา 180525 มิถุนายน
พ.ศ. 2348
18347 มกราคม
พ.ศ. 2377
ไม่ทรงอภิเษกสมรส
อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาแห่งบรากังซา 180623 ตุลาคม
พ.ศ. 2349
185722 มิถุนายน
พ.ศ. 2400
อภิเษกสมรส วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2370 กับนักการเมือง
นูโน โจเซ เซเวโร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 1 แห่งลูเล
มีพระโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่
อนา คาร์ลอตา เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต
มาเรีย โด คาร์โม เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต
เปโดร โจเซ อกอสตินโฮ เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต ดยุคที่ 2 แห่งลูเล
มาเรีย อเมเลีย เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต
ออกุสโต เปโดร เดอ เมนโดคา โรลิม เดอ เมารา บาร์เรโต เคานท์ที่ 3 แห่งอซัมบูยา

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. หลุยส์ แกรนด์ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. ดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. โอโดอาร์โด ฟาร์เนเซ เจ้าชายรัชทายาทแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
9. เอลิซาเบธ ฟาร์เนเซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ดัชเชสโซฟีแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรานเดนบวร์ก-ไบรอยท์
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จักรพรรดิโยเซฟที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
11. อาร์คดัสเชสมาเรีย โจเซฟาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงวิลเฮลมีน มาเรียแห่งบรุนสวิค-ลุนด์เบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
1. การ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. หลุยส์ แกรนด์ดอแฟงแห่งฝรั่งเศส(=16)
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน(=8)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. ดัชเชสมาเรีย อันนา วิกตอเรียแห่งบาวาเรีย(=17)
 
 
 
 
 
 
 
6. เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. พระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์(=18)
 
 
 
 
 
 
 
13. เอลิซาเบธ ฟาร์เนเซ(=9)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อาร์คดัสเชสมาเรีย โจเซฟาแห่งออสเตรีย(=19)
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. โอโดอาร์โด ฟาร์เนเซ เจ้าชายรัชทายาทแห่งปาร์มา(=22)
 
 
 
 
 
 
 
14. พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. ดัชเชสโซฟีแห่งเนาบูร์ก(=23)
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. พระเจ้าสตานิสลาส เลสซ์ไซน์สกีแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงมารี เลสซ์ไซน์สกาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. แคทเทอรีน โอปาลินสกา
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cronologia Período Joanino เก็บถาวร 2012-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Fundação Biblioteca Nacional, 2010. In Portugal.
  2. Strobel, Thomas. A "Guerra das Laranjas" e a "Questão de Olivença" num contexto internacional. GRIN Verlag, 2008, pp. 3–4. In Portuguese.
  3. Souza, Laura de Mello e. O sol e a sombra: política e administração na América portuguesa do século XVIII. Companhia das Letras, 2006, p. 394 In Portuguese.
  4. 4.0 4.1 Andrade, Maria Ivone de Ornellas de. "O reino sob tormenta". In: Marques, João et alii. Estudos em homenagem a João Francisco Marques, Volume I. Universidade do Porto, sd, pp. 137–144. In Portuguese.
  5. Amaral, Manuel. "João VI". In: Portugal – Dicionário Histórico, Corográfico, Heráldico, Biográfico, Bibliográfico, Numismático e Artístico, Volume III, 2000–2010, pp. 1051–1055. In Portuguese.
  6. "War of the Oranges". Encyclopædia Britannica. 2005.
  7. Vicente, António Pedro (2007). Guerra Peninsular: História de Portugal Guerras e Campanhas Militares [Peninsular War: History of Portuguese Wars and Military Campaigns] (ภาษาโปรตุเกส). Lisbon, Portugal: Academia Portuguesa da História/Quidnovi.
  8. Schwarcz, Lília Moritz; Azevedo, Paulo Cesar de & Costa, Angela Marques da. A longa viagem da biblioteca dos reis: do terremoto de Lisboa à independência do Brasil. Companhia das Letras, 2002, pp. 479–480. In Portuguese.
  9. Aclamação de d. João เก็บถาวร 2014-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Arquivo Nacional, 2003. In Portuguese.
  10. Pedreira e Costa, pp. 186–194
  11. Gomes, pp. 72–74; 82–100
  12. Pedreira e Costa, pp. 214–216
  13. Cardoso, pp. 269–271
  • Azevedo, Francisca Nogueira de. Carlota Joaquina na Corte do Brasil. Rio de Janeiro: Civilização Brasileira, 2003.
  • Azevedo, Francisca Nogueira de. Carlota Joaquina: cartas inéditas. Rio de Janeiro, Casa da Palavra, 2007.
  • Cassotti, Marsilio. Carlota Joaquina - o Pecado Espanhol. Lisboa, A Esfera dos Livros, 2009.
  • Cheke, Marcus. Carlota Joaquina: Queen of Portugal. London: Sidgwick & Jackson, 1947
    • (Portuguese) Carlota Joaquina, a Rainha Intrigante; tradução de Gulnara Lobato de Morais Pereira. Rio de Janeiro: José Olympio, 1949.
  • Lima, Oliveira. D. João VI no Brasil. Topbooks.
  • Pereira, Sara Marques (1999), D. Carlota Joaquina e os Espelhos de Clio: Actuação Política e Figurações Historiográficas, Livros Horizonte, Lisboa, 1999.
  • Pereira, Sara Marques (2008), D. Carlota Joaquina Rainha de Portugal, Livros Horizonte, Lisboa, 2008.
ก่อนหน้า การ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส ถัดไป
ว่าง
ตำแหน่งก่อนหน้า
เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งสเปน

สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิลและอัลการ์วึ
(20 มีนาคม พ.ศ. 2359 - 7 กันยายน พ.ศ. 2365)
อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย
บราซิลถอนตัวออกจากสหราชอาณาจักรและก่อตั้งจักรวรรดิบราซิล
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึ
(7 กันยายน พ.ศ. 2365 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2369)
อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย