ข้ามไปเนื้อหา

กางเขน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กางเขนแบบที่ง่ายที่สุดเรียกว่ากางเขนละติน หรือ “crux ordinaria” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขนตามความเชื่อในคริสต์ศาสนา

กางเขน (อังกฤษ: Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญแอนดรูว์

กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955)

ที่มาของคำ

[แก้]

คำว่า “Cross” เข้ามาในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ในการสังหารพระเยซู ที่มาแทนที่คำว่า “rood” ที่ใช้อยู่แต่เดิม คำว่า “Cross” มาจากภาษาละติน “crux” ที่แผลงมาเป็น “cros” ที่ในภาษาละตินหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการตรึงกางเขน

กางเขนที่ใช้เป็นเครื่องหมาย

[แก้]

กางเขนใช้เป็นเครื่องหมายหลายอย่างโดยเฉพาะในคณิตศาสตร์ที่รวมทั้ง

  • เลขโรมันสำหรับเลข 10 คือ “X”
  • อักษรโรมันสำหรับอักษร X และ “t” เล็ก
  • อักษรจีนสำหรับเลข 10 “十”
  • เครื่องหมาย “†” (obelus)
  • เครื่องหมาย “+” สำหรับบวก และ “x” สำหรับคูณในคณิตศาสตร์
  • เครื่องหมาย “x” สำหรับระบุว่าเป็นสิ่งที่เลือก

กางเขนแบบต่างๆ

[แก้]
ชื่อกางเขน คำบรรยาย รูป
กางเขนละติน
(Latin cross
crux ordinaria)
เป็นทรงกางเขนที่นิยมมากที่สุดในคริสต์ศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของการไถ่บาปให้มนุษย์ของพระเยซู เมื่อมีการตรึงพระเยซูที่กางเขนบนกางเขนแท้ (True Cross) และการคืนชีพของพระองค์ ตามที่บรรยายในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่
กางเขนอียิปต์
(Ankh
Egyptian Cross
Key of the Nile
Looped Tau Cross
Ansate Cross)
เป็นกางเขนของอียิปต์โบราณที่เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและการเจริญพันธุ์ (fertility) บางครั้งก็จะได้ชื่อเป็นภาษาลาตินเมื่อปรากฏในบันทึกของคริสเตียนเช่น crux ansata ("กางเขนมือถือ")
คอปติกแองค์
(Coptic ankh)
คอปติกแองค์เป็นกางเขนอียิปต์ที่มีมาก่อนกางเขนคอปติกของผู้นับถือคริสต์ศาสนาในอียิปต์
กางเขนคอปติกดั้งเดิม
(Original Coptic Cross)
กางเขนคอปติกดั้งเดิมเป็นกางเขนคอปติกที่ใช้โดยคริสต์ศาสนิกชนในอียิปต์
กางเขนคอปติก
(Coptic Cross)
เป็นกางเขนที่มีวงแหวนตั้งอยู่ตรงกลางโดยมีรัศมีสี่แฉกเป็นรูปตัว “T” ทแยงออกไปสี่ทิศโดยมีหัวตัวทีอยู่ด้านนอก ที่เป็นสัญลักษณ์ของตาปูที่ใช้ในการตรึงกางเขนพระเยซู กางเขนชนิดได้รับชื่อจากคอปติกออร์ทอดอกซ์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อะเล็กซานเดรียในอียิปต์
กางเขนคอปติกใหม่
(New Coptic Cross)
กางเขนคอปติกใหม่เป็นกางเขนที่ใช้โดยชาวอียิปต์ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายคอปติกออร์ทอดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรียที่วิวัฒนาการมาจากกางเขนคอปติกดั้งเดิม A gallery of Coptic Crosses can be found here.
กางเขนสุริยะ
(Sun cross
Sunwheel
solar cross
Odin's cross)
หรือที่เรียกว่า “กางเขนโอดิน” เพราะสัญลักษณ์ของโอดินในตำนานเทพนอร์สเป็นกางเขนในวงกลม เป็นกางเขนที่ใช้กันโดยทั่วไปในวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่เป็นสัญลักษณ์ของวงล้อแห่งการเยียวยา (Medicine Wheel) ของชีวิต และเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการไญยนิยม
กางเขนเคลติก
(High cross
Celtic cross)
กางเขนเคลติกที่ยืนเด่นมักจะพบโดยทั่วไปในไอร์แลนด์และบางแห่งในบริเตนใหญ่ และจะพบบ่อยในสุสาน
กางเขนแคนเทอร์เบอรี
(Canterbury cross)
ใช้โดยแองกลิคันเป็นกางเขนสี่แฉกที่มีความยาวเท่ากัน ปลายของแต่ละแฉกจะบานออกไปจากศูนย์กลางคล้ายใบขวานจนด้านนอกเกือบจะจรดกันเป็นวงกลม กลางแฉกแต่ละแฉกจะมีเครื่องหมายเป็นรูปสามเหลี่ยมวงซ้อนสามเหลี่ยม (triquetra) ที่เป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพ ใจกลางของกางเขนเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก สัญลักษณ์เดิมของแองโกล-แซกซันที่เป็นเข็มกลัดมีอายุมาตั้งแต่ราว ค.ศ. 850 ที่มาขุดพบในปี ค.ศ. 1867 ที่แคนเทอร์เบอรีในอังกฤษ
มหากางเขน
(Crucifix)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขน เป็นกางเขนที่ใช้ในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ที่เน้นการเสียสละของพระองค์โดยการพลีชีพบนกางเขน
กางเขนกรีก
Greek cross
crux immissa quadrata
เป็นกางเขนที่ใช้โดยเฉพาะในอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และศาสนาคริสต์ยุคแรก ที่แขนแต่ละข้างของกางเขนมีความยาวเท่ากัน
กางเขนกรีกฟลอเรียน
Florian cross
กางเขนนี้ตั้งชื่อตามนักบุญฟลอเรียนผู้เป็นักบุญองค์อุปถัมภ์ของนักดับเพลิงในโปแลนด์ ออสเตรีย และ เยอรมนี มีลักษณะใกล้เคียงกับกางเขนมอลตาและกางเขนปลายบาน แต่แตกต่างตรงที่ปลายกางเขนจะมีลักษณะโค้งเป็นคลื่น ที่มีด้วยกันสองลักษณะ ๆ แรกมักจะพบในตราสัญลักษณ์ (badge) ของผู้บริการดับเพลิง ตราล่างมักจะใช้ในเหรียญที่สร้างฉลองนักบุญฟลอเรียน
กางเขนตะวันออก
(Eastern cross)
เป็นกางเขนที่ใช้โดยอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และอีสเทิร์นคาทอลิกแห่งไบแซนไทน์ เส้นบนกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของหัวเตียง และเส้นล่างเป็นสัญลักษณ์ของที่พักเท้า เส้นทแยงเป็นสัญลักษณ์ของพระเยซูที่ทรงบิดพระวรกายด้วยความเจ็บปวดอย่างรุนแรงจนที่พักพระบาทหลุดเลื่อนจากที่ ที่พักพระบาททแยงขึ้นไปทางซ้าย ที่เป็นทิศทางของโจรผู้กล่าวกับพระองค์ว่า “จำข้าด้วยเมื่อท่านเข้าสู่อาณาจักรของท่าน” ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของคุณธรรมที่ชนะอธรรม ตัวอักษร “IC XC” ตอนปลายของกางเขนขวางสองข้างเป็นอักษรย่อของพระเยซู (Christogram) ที่อักษรย่อจากภาษากรีก “ΙΗΣΟΥΣ ΧΡΙΣΤΟΣ” หรือ “IHCOYC XPICTOC” ซึ่งเป็นพระนามของพระองค์
กางเขนนักบุญบริจิด
(St. Brigid's Cross)
เป็นกางเขนที่พบทั่วไปในไอร์แลนด์ ที่กล่าวกันว่าเป็นกางเขนที่สร้างโดยบริจิดลูกสาวของกษัตริย์นอกคริสต์ศาสนาจากใบหญ้าเพื่อจะใช้ในการทำพิธีเปลี่ยนศาสนา แต่ชื่อ “Brigid” มาจาก “Brigit” (สะกดอื่นก็ได้แก่ Brìghde, Brìde และ Bríde) เป็นเทพีแห่งไฟ กวีนิพนธ์ และช่างเหล็ก ของเคลติค ในปัจจุบันเป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันอัคคีภัย กางเขนนี้เป็นตัวอย่างของการผสานระหว่างคริสต์ศาสนากับวัฒนธรรมพื้นบ้าน
กางเขนคอนสแตนติน
(Chi-Rho
labarum)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ที่มาจากอักษรย่อของพระเยซูในภาษากรีก “Χριστός” (chi = ch และ rho = r) กางเขนที่ใช้อักษรย่อนี้มีด้วยกันหลายแบบ
กางเขนลอแรน
(Cross of Lorraine)
เป็นกางเขนที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่มีลักษณะเกือบเหมือนกางเขนอัครบิดร แต่แขนกางเขนหนึ่งตั้งอยู่เกือบกลางจุดตัดของกางเขน และอีกแขนหนึ่งอยู่ตอนบน แทนที่ทั้งสองแขนจะตั้งอยู่ด้วยกันตอนบน กางเขนลอร์แรนเป็นเครื่องหมายที่ใช้ในตราอาร์มของแคว้นลอแรนทางตะวันออกของฝรั่งเศส เดิมเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของโยนออฟอาร์คผู้ต่อต้านการครอบครองของอังกฤษในฝรั่งเศสระหว่างสงครามร้อยปี
กางเขนพระแม่มารีย์
(Marian Cross)
เป็นกางเขนที่ใช้ในตราอาร์มของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่ประยุกต์มาจากกางเขนคริสเตียนที่เน้นความศรัทธาในองค์พระนางมารีย์พรหมจารี
กางเขนนอร์ดิก
(Nordic Cross)
ใช้ในธงที่มาจากธงแดนเนอบรอก
กางเขนอ็อกซิทาเนีย
(Occitan cross)
เป็นกางเขนที่มาจากตราอาร์มของเคานต์แห่งตูลูซที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของอ็อคซิทาเนีย (Occitania) ทั้งหมด
กางเขนพระสันตะปาปา
(Papal Cross)
เป็นกางเขนที่มีแขนกางเขนสามแขนขวางแกนกลางที่เป็นสัญลักษณ์ของไตรอำนาจของพระสันตะปาปาในฐานะบิชอปแห่งโรม ประมุขของคริสตจักรตะวันตก และ ผู้สืบการเป็นประมุขของคริสเตียนต่อมาจากนักบุญเปโตร
กางเขนอัครบิดร
(Patriarchal cross)
มีลักษณะคล้ายกางเขนคริสเตียนแต่มีแขนกางเขนสั้นเพิ่มอีกหนึ่งแขนเหนือแขนหลักที่เป็นสัญลักษณ์ของอาร์ชบิชอปและอัครบิดรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ บางครั้งก็จะมีแขนกางเขนทแยงบนตอนล่างของแกนตั้ง และมีลักษณะคล้าย กางเขนลอแรน และ กางเขนซาเล็ม
กางเขนเพรสไบทีเรียน
(Presbyterian Cross)
ใช้โดยนิกายเพรสไบทีเรียน
กางเขนกาชาด
(Red Cross)
สภากาชาดใช้กางเขนกาชาดเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาพยาบาลเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศในกลุ่มอิสลามที่ใช้ตรางซึกวงเดือนแดง (Red Crescent) และ ดาราแห่งเดวิด (Star of David) สีแดงในอิสราเอล
กางเขนแห่งความเสียสละ
(Cross of Sacrifice)
เป็นกางเขนลาตินประดับดาบที่ปลายดาบห้อยลงข้างล่างที่เป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมาธิการอนุสรณ์ทหารผ่านศึกแห่งเครือจักรภพ (Commonwealth War Graves Commission) ที่จะพบในสุสานทหารหลายแห่ง
กางเขนซาเล็ม
(Cross of Salem)
หรือบางครั้งก็เรียกว่า “กางเขนพระสันตะปาปา” เพราะเป็นกางเขนที่ใช้นำหน้าพระสันตะปาปาที่มีลักษณะคล้ายกางเขนอัครบิดร แต่มีแขนกางเขนเพิ่มอีกหนึ่งแขนใต้แขนหลักที่มีความยาวเท่ากับแขนบนสุด และมีลักษณะคล้ายกางเขนตะวันออก
กางเขนจอร์เจีย
(Royal Flag of Georgia)

ใช้ในจอร์เจียเป็นธงประจำชาติ ใช้เป็นครั้งแรกโดยพระมหากษัตริย์จอร์เจีย Vakhtang Gorgasali ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และต่อมานำมาใช้โดยพระราชินีทามาร์แห่งจอร์เจียในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นธงที่มีกางเขนเยรูซาเลมที่เริ่มใช้ในรัชสมัยของจอร์จที่ 5 แห่งจอร์เจียผู้ทรงขับชาวมองโกลออกจากจอร์เจียในปี ค.ศ. 1334

กางเขนเถาองุ่น
(Grapevine cross
St. Nino's Cross)
กางเขนเถาองุ่นตามธรรมเนียมแล้วเป็นกางเขนของนักบุญนิโนผู้เป็นผู้ทำพิธีรับศีลจุ่มให้แก่ชาวจอร์เจีย และใช้เป็นสัญลักษณ์ของนิกายจอร์เจียออร์โธด็อกซ์
กางเขนนักบุญทอมัส
(Nasrani Menorah
St. Thomas Cross
Mar Thoma Cross)
เป็นกางเขนของนักบุญทอมัสอัครสาวกแห่งอินเดีย ใช้เป็นสัญลักษณ์ของนิกายซีเรียมาลาบาร์คาทอลิก (Syro-Malabar Catholic Church) หรือใช้โดย “ชาวซีเรียมาลาบาร์นาสรานี” (Syrian Malabar Nasrani) [1]
กางเขนไขว้
(Saint Andrew's Cross
Saltire
Boundary Cross
crux decussata)
ใช้เป็นธงชาติสกอตแลนด์, ตรากองทัพเรือรัสเซีย และอดีตสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) บางครั้งก็เรียกว่า “กางเขนเขตแดน” เพราะใช้โดยโรมันสำหรับเป็นเครื่องหมายขอบเขต และ “กางเขนพระสันตะปาปา” เชื่อกันว่านักบุญอันดรูว์ถูกตรึงกางเขนบนกางเขนทรงนี้ซึ่งทำให้ได้รับชื่อดังว่า
กางเขนนักบุญจอร์จ
(St George's Cross)
ใช้ในธงชาติอังกฤษ
กางเขนนักบุญเปโตร
(Cross of St. Peter
Inverted Cross
เป็นกางเขนละตินกลับหัวกลับหางที่เชื่อกันว่าเป็นลักษณะของกางเขนที่นักบุญซีโมนเปโตรถูกตรึงห้อยหัว ในปัจจุบันกางเขนนี้มักจะเกี่ยวข้องกับผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อคริสต์ศาสนา หรือกลุ่มลัทธิซาตาน
หัวกะโหลกและกระดูกไขว้
(Skull and crossbones)
ไม่เชิงเป็นกางเขน แต่เป็นกระดูกที่จัดในรูปกางเขนไขว้ และตอนบนประดับด้วยหัวกะโหลก
กางเขนนักบุญแอนโทนี
(Cross of Tau
Saint Anthony's Cross
Egyptian Cross
crux commissa)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของนักบุญแอนโทนีอธิการ มีลักษณะคล้ายอักษร “T” นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีใช้กางเขนนี้เป็นเป็นสัญลักษณ์
กางเขนโจร
Thieves' Cross
Furka Cross
มีลักษณะคล้ายอักษร “Y” [1]
กางเขนสมอ
กางเขนนักบุญเคลเมนต์
Mariner's Cross
St. Clement's Cross
เป็นกางเขนแปลงที่มีลักษณะเหมือนสมอเรือ หรือบางครั้งก็ถือว่าเป็นกางเขนของนักบุญเคลเมนต์ ที่ตามตำนานกล่าวว่าถูกมัดกับสมอเรือและจับถ่วงน้ำในทะเลดำ
คณะกางเขนพระคริสต์
Order of Christ Cross
เพิมเป็นกางเขนที่ใช้โดยคณะกางเขนพระคริสต์ของโปรตุเกส แต่ต่อมากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของโปรตุเกสที่ใช้บนเรือ carracks ระหว่างยุคแห่งการสำรวจ และในปัจจุบันในเขตปกครองตนเองมาเดราของโปรตุเกส และ กองทัพอากาศโปรตุเกส
กางเขนเคลติก
ประยุกต์
กลุ่มขบวนการชาตินิยมชนผิวขาว (white nationalist) และ ฟาสซิสต์ใหม่บางกลุ่มใช้กางเขนเคลติกประยุกต์เป็นสัญลักษณ์ ที่เป็นเส้นสายง่ายๆ โดยไม่มีสิ่งตกแต่งอันซับซ้อนเช่นกางเขนเคลติกตามปกติ
กางเขนเซอร์เบีย
(Serbian cross
Tetragrammatic cross)
เป็นกางเขนที่ประยุกต์มาจากกางเขนคอนสแตนตินและใช้บนเหรียญไบแซนไทน์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เครื่องหมายสี่เชื่อกันว่าเป็นหินเหล็กไฟ หรือ หินตีไฟ หรือเป็นอักษร “ß” ของคำแรกของคำขวัญของราชวงศ์พาลาโอโลกอส: “ราชาแห่งราชาปกครองเหนือราชาทั้งปวง” (กรีก: ßασιλεύς ßασιλέων, ßασιλεύων ßασιλευόντων - Basileus Basileōn, Basileuōn Basileuontōn)

กางเขนนี้ใช้โดยรัฐในเซอร์เบียและนิกายเซอร์เบียนออร์ทอดอกซ์ตั้งแต่สมัยกลางตั้งแต่รัชสมัยของ Stefan Uroš IV Dušan of Serbia เมื่อทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นซาร์แห่งเซอร์เบียและกรีซในปี ค.ศ. 1345 ในปัจจุบันกางเขนเป็นสัญลักษณ์ของชาติพันธุ์ ชาติ และ ศาสนาของชาวเซิร์บ และ เซอร์เบีย

สวัสติกะ
(Swastika)
สวัสติกะเป็นกางเขนที่เป็นเครื่องหมากากบาทที่ตอนปลายหักเป็นมุมฉากที่อาจจะหันไปทางซ้าย (卐) หรือ ทางขวา (卍) ก็ได้ การใช้สวัสติกะมีมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ในบริเวณที่ในปัจจุบันคืออินเดีย บางครั้งก็ใช้เป็นลายตกแต่งเรขาคณิต หรือบางครั้งก็จะเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา สวัสติกะยังคงเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันในศาสนาตะวันออก / ศาสนากลุ่มธรรมะ เช่น ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ และ ศาสนาเชน แม้ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปทั่วโลก แต่เมื่อมาได้รับการใช้โดยนาซีเยอรมนี สัญลักษณ์นี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ต้องห้ามในโลกตะวันตก

ในมุทราศาสตร์

[แก้]

กางเขนที่ปรากฏข้างล่างใช้ในการสร้างตราอาร์ม และบางครั้งอาจจะไม่มีความหมายพิเศษแต่อย่างใด

ชื่อกางเขน คำบรรยาย รูป
กางเขนในกลุ่ม
เรขลักษณ์
กางเขนแบบพื้นฐานที่สุดในมุทราศาสตร์ (จะไม่นิยามถ้าใช้ลักษณะมาตรฐาน) แขนกางเขนสี่แขนจะมีความยาวเท่าๆ กันและได้สัดส่วนกับแบบของโล่ที่ใช้ โดยแขนกางเขนทั้งสีจรดของโล่ เช่นในนิยาม “Azure, a cross Or” (พื้นตราสีน้ำเงิน กางเขนสีทอง)

กางเขนที่ปลายไม่ยืดไปจรดขอบเรียกว่า “humetty” หรือ “กางเขนลอย”

กางเขนสมอ
(Cross anchry)
เป็นกางเขนประยุกต์ที่มีลักษณะเหมือนสมอเรือ
กางเขนปลายศร
(Cross barbée
cross barby
arrow cross)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายเป็นลูกศร การใช้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือโดยฟาสซิสต์ของพรรคแอร์โรว์ครอส (Arrow Cross Party) ในคริสต์ทศวรรษ 1930 แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันมานานก่อนหน้านั้น ที่ใช้โดยชนฮังการีในสมัยกลาง.[ต้องการอ้างอิง] ในการใช้ทางคริสต์ศาสนา ปลายกางเขนดูเหมือนขอตกปลา หรือหอกแทงปลา ซึ่งที่เป็นนัยยะถึงสัญลักษณ์ของพระเยซูผู้เป็น “fishers of men” ในพระคัมภีร์
กางเขนปลายดอกจิก
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายมีลักษณะเหมือนดอกจิกสามแฉก (trefoil) ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรม ตัวอย่างของเครื่องหมายนี้เช่นบนธงรัฐแมริแลนด์
กางเขนเขาแพะ
(Cross cercelée)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแตกเป็นสองแฉกบานออกไปทั้งสองข้างคล้ายเขาแพะ
กางเขนปลายกางเขน
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกเป็นกางเขนเล็ก
กางเขนลิลลี
(Cross fleury)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์ดอกลิลลี
กางเขนปลายซ่อม
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกแตกออกไปเป็นรูป “Y” (fourchée หรือ fourchy)
กางเขนปลายงอ
(Cross fylfot)
กางเขนแนวตั้งที่มีปลายงอคล้ายสวัสติกะ
กางเขนเยรูซาเลม
กางเขนครูเสด
(Jerusalem cross
Crusader's Cross)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมของนักรบครูเสดที่รุ่งเรืองอยู่เกือบสองร้อยปีหลังจากสงครามครูเสดครั้งที่ 1 กางเขนเล็กสี่กางเขนกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระวรสารสี่เล่ม (Gospel) หรือทิศทั้งสี่ของโลกที่ศาสนาคริสต์เผยแพร่ออกไปจากกรุงเยรูซาเลม หรือกางเขนทั้งห้าอาจจะถือว่าเป็นแผลทั้งห้าของพระเยซูที่ทรงได้รับเมื่อถูกตรึงกางเขน กางเขนเดียวกันนี้ใช้ใช้บนธงประจำชาติขเงจอร์เจีย และเป็นตราของลัทธิโฮลีเซพัลเครอ (Order of the Holy Sepulchre) และของนิกายผู้รักษาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (Custody of the Holy Land) ของลัทธิฟรานซิสกัน
กางเขนมอลตา
(Maltese Cross)
เป็นกางเขนที่แต่แฉกเป็นสามเหลี่ยมปลายแหลมที่แต่ละยอดมาจรดตรงกลาง ปลายนอกบานออกไป โดยมีฐานที่หยักแหลม
กางเขนเขาแพะน้อย
(Cross moline)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแตกเป็นสองแฉกบานออกไปทั้งสองข้างคล้ายกางเขนเขาแพะและความบานตอนปลายน้อยกว่ามาก
กางเขนลิลลีหนา
(Cross anchry
cross patonce)
มีลักษณะคล้ายกางเขนลิลลีแต่หนากว่า
กางเขนปลายบาน
(Cross pattée
formée)
มีลักษณะคล้ายกางเขนมอลตาแต่ปลายที่จรดกันตรงศูนย์กลางกว้างกว่าและปลายฐานด้านนอกไม่หยักแหลม (ดูกางเขนเหล็ก)
กางเขนปลายปุ่ม
(Cross anchry
pommée
pommy)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแขนแต่ละแขนเป็นปุ่มกลม
กางเขนปลายที
(Cross potent)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแขนแต่ละแขนเป็นแกนขวางประกบเหมือนตัว “T” คำว่า “Potent” เป็นคำเก่าที่แปลว่าไม้ยัน และเป็นคำที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรง ตัว “T”
กางเขนจตุรัสทับกลาง
(Quadrate)
เป็นกางเขนที่มีสี่เหลี่ยมจตุรัสทับกลางจุดตัดของแขนกางเขน
กางเขนสาน
(Cross triple parted and fretted)
กางเขนนี้จะนิยามว่า “cross triple parted and fretted” หรือ “treble parted and fretted” (“กางเขนสามตั้งและนอน”) สานกัน
กางเขนกลวง
(Cross anchry
Gammadia)
กางเขนนี้จะนิยามว่า “cross voided throughout” มีลักษณะเป็นกางเขนกรีกที่ตอนกลางกลวงออก
??
(Cross fitchy)
ปลายด้านล่างแหลมเหมือนดาบ
กางเขนนักบุญเจมส์
(Cross of St James)
คล้ายกับ Cross fitchy แต่ปลายสองข้างเป็นดอกลิลลีและตอนล่างแหลมเป็นดาบ ซึ่งเป็นกางเขนสำหรับนักรบ และมักจะเป็นสีแดง

ในธัชวิทยา

[แก้]

ธงของประเทศหลายประเทศใช้เครื่องหมายกางเขนบนธง รวมทั้งธงของทุกชาติในสแกนดิเนเวียที่เรียกกันว่ากางเขนสแกนดิเนเวีย

ธงที่ใช้เครื่องหมายกางเขน

[แก้]
ออสเตรเลีย บุรุนดี เดนมาร์ก ดอมินีกา สาธารณรัฐโดมินิกัน ฟินแลนด์ จอร์เจีย
กรีซ ไอซ์แลนด์ จาเมกา มอลตา นอร์เวย์ เซอร์เบีย สโลวาเกีย
สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตองงา สหราชอาณาจักร ซาร์ดิเนีย Bandera de Basauri มีดี-ปีเรเน

ตัวอย่างของตราอาร์มที่ใช้กางเขน

[แก้]
กางเขนลาติน
ตำรวจอิตาลี
กางเขนเขาแพะ
Antoine de Beck
กางเขนเขา
แพะน้อย
John Fordham
กางเขนไขว้
Crion
กางเขนปลาย
ดอกจิก
Ain
กางเขนพระสันตะปาปา
Le Monastier-Pin-Mories
กางเขนงู
Montfort en Bretagne
กางเขนลอย
Courcelles
กางเขน fitchy
Jean de Commercy
กางเขนพระอาทิตย์
จักรวรรดิลาติน
แห่งคอนสแตนติโนเปิล
กางเขนปลายบาน
Ostoja - Sciborye
กางเขนเยรูซาเลม
Beaumont-du-Ventoux
กางเขนลิลลี
Edwin of Tegeingl
กางเขนปลายที
Irañeta

อ้างอิง

[แก้]
  • Chevalier, Jean (1997). "The Penguin Dictionary of Symbols". Penguin ISBN 0-14-051254-3
  • Koch, Rudolf (1955). The Book of Signs. Dover, NY. ISBN 0-486-20162-7.
  • Drury, Nevill (1985). Dictionary of Mysticism and the Occult. Harper & Row ISBN 0-06-062093-5
  • Webber, F. R. (1927, rev 1938). Church Symbolism: an explanation of the more important symbols of the Old and New Testament, the primitive, the mediaeval and the modern church. Cleveland, OH. OCLC 236708.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กางเขน วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กางเขนในมุทราศาสตร์