กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หน้าตา
Department of Disaster Prevention and Mitigation | |
ตราสัญลักษณ์ | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 3/12 ถนนอู่ทองนอก แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
บุคลากร | 3,530 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 6,622,294,900 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงมหาดไทย |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (อังกฤษ: Department of Disaster Prevention and Mitigation) หรือชื่อย่อ "ปภ." เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[3] เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติภารกิจที่เคยซ้ำซ้อนอยู่ในหน่วยงานอื่นๆ ให้เป็นระบบ โดยมีภารกิจในการจัดทำแผนแม่บท วางมาตรการ ส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันบรรเทาและฟื้นฟูจากสาธารณภัย โดยกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย สร้างระบบป้องกัน เตือนภัย ฟื้นฟูหลังเกิดภัย และการติดตามประเมินผล เพื่อให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับการถ่ายโอนภารกิจ และบุคลากรมาจาก 5 หน่วยงาน คือ
- กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท
- กองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- กองสงเคราะห์ผู้ประสบภัย กรมประชาสงเคราะห์
- กรมการพัฒนาชุมชน (งานบริการด้านช่างพื้นฐาน)
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]ราชการบริหารส่วนกลาง
[แก้]- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองกฎหมาย
- กองการเจ้าหน้าที่
- กองคลัง
- กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- กองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน
- กองมาตรการป้องกันสาธารณภัย
- กองส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย
- ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
- สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย[4]
- สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
[แก้]
|
|
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
[แก้]- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โดยมีหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ผู้อำนวยการระดับต้น) เป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 กลุ่มงาน
- กลุ่มงานยุทธศาสตร์และการจัดการ
- ฝ่ายป้องกันและปฏิบัติการ
- ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
- สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สาขา
คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
[แก้]- ร้อยโท สุวิทย์ ยอดมณี[5]
- นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
- นายอนุชา โมกขะเวส
- รองศาสตราจารย์เสรี ศุภราทิตย์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร จองคำ
อากาศยาน
[แก้]อากาศยานปีกหมุน
[แก้]คามอฟ | Ka-32A11BC | รัสเซีย | 4[6] | อากาศยานปีกหมุน ฮ.ปภ.32 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, รายงานประจำปี 2566 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๔, ๓๐ทกันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-13.
- ↑ ราชการบริหารส่วนกลาง
- ↑ คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
- ↑ "ปภ.รับมอบ ฮ.ปักเป้า KA-32 เพื่องานบรรเทาสาธารณภัยเพิ่มอีก 2 ลำจากรัสเซีย". www.thairath.co.th. 2022-10-27.