ดอลลาร์สหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก US$)
100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน

ดอลลาร์สหรัฐ (อังกฤษ: United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นGBPUSDในหลายประเทศทั่วโลก[1] รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ดอลลาร์บรูไน ยังไม่ทราบแน่ชัด) นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ[2] และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป

ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand)

เหรียญ[แก้]

เหรียญกษาปณ์ที่มีการผลิตอยู่ในปัจจุบัน และถูกใช้หมุนเวียนทั่วไป มีอยู่ทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน
ภาพ มูลค่า ข้อมูล ชื่อเล่นของเหรียญ
ด้านหน้า ด้านหลัง เส้นผ่านศูนย์กลาง   น้ำหนัก   ส่วนประกอบ
2005-Penny-Uncirculated-Obverse-cropped.png Formative Years in Indiana Reverse.jpg 1 เซนต์ 19.05 มิลลิเมตร 2.5 กรัม สังกะสี 97.5%
ทองแดง 2.5%
เพนนี
Nickel Front.jpg 2006 Nickel Proof Rev.png 5 เซนต์ 21.21 มิลลิเมตร 5 กรัม ทองแดง 75%
นิกเกิล 25%
นิกเกิล
2005 Dime Obv Unc P.png 2005 Dime Rev Unc P.png 10 เซนต์ 17.91 มิลลิเมตร 2.268 กรัม ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
ไดม์
2006 Quarter Proof.png 2009 GU Proof.png 25 เซนต์ 24.26 มิลลิเมตร 5.67 กรัม ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
ควอเตอร์
2005 Half Dollar Obv Unc P.png 2005 Half Dollar Rev Unc P.png 50 เซนต์ 30.61 มิลลิเมตร 11.34 กรัม ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
ฮาฟดอลลาร์
William Henry Harrison Presidential $1 Coin obverse.jpg Presidential dollar coin reverse.png 1 ดอลลาร์ 26.5 มิลลิเมตร 8.1 กรัม ทองแดง 88.5%
สังกะสี 6%
แมงกานีส 3.5%
นิกเกิล 2%
บั๊ก

ธนบัตร[แก้]

500 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรชนิดเดียวที่ไม่มีผลิตและยกเลิกการใช้แล้ว

ธนบัตรที่มีการผลิตอยู่และใช้หมุนเวียนทั่วไปอยู่ในปัจจุบัน มี 7 ชนิด ดังนี้

มูลค่า ภาพด้านหน้า ภาพด้านหลัง บุคคล รุ่นแรก รุ่นล่าสุด
1 ดอลลาร์ US one dollar bill, obverse, series 2009.jpg US one dollar bill, reverse, series 2009.jpg จอร์จ วอชิงตัน Series 1963 Series 2013
2 ดอลลาร์ US $2 obverse.jpg US $2 reverse.jpg ทอมัส เจฟเฟอร์สัน Series 1976 Series 2013
5 ดอลลาร์ US $5 Series 2006 obverse.jpg US $5 Series 2006 reverse.jpg อับราฮัม ลินคอล์น Series 2006 Series 2013
10 ดอลลาร์ US10dollarbill-Series 2004A.jpg US $10 Series 2004 reverse.jpg อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน Series 2004A Series 2013
20 ดอลลาร์ US20-front.jpg US20-back.jpg แอนดรูว์ แจ็กสัน Series 2004 Series 2013
50 ดอลลาร์ 50 USD Series 2004 Note Front.jpg 50 USD Series 2004 Note Back.jpg ยูลิสซีส เอส. แกรนต์ Series 2004 Series 2013
100 ดอลลาร์ Obverse of the series 2009 $100 Federal Reserve Note.jpg New100back.jpg เบนจามิน แฟรงคลิน Series 2009 Series 2013

ธนบัตรที่มีการผลิตอยู่และใช้หมุนเวียนเฉพาะระหว่างสถาบันทางการเงินปัจจุบัน มี 3 ชนิด ดังนี้

ธนบัตรไม่หมุนเวียน
ภาพด้านหน้า ภาพด้านหลัง มูลค่า
1000 USD note; series of 1934; obverse.jpg 1000 USD note; series of 1934; reverse.jpg 1,000 ดอลลาร์ (1 แกรนด์) 1×1,000 = 1,000 (1,000 = 1,000)
US $5000 1934 Federal Reserve Note.jpg US $5000 1934 Federal Reserve Note Reverse.jpg 5,000 ดอลลาร์ (5 แกรนด์) 5×1,000 = 5,000 (1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000)
10000 USD note; series of 1934; obverse.jpg 10000 USD note; series of 1934; reverse.jpg 10,000 ดอลลาร์ (10 แกรนด์) 10×1,000 = 10,000 (1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000)

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Implementation of Monetary Policy - The Federal Reserve in the International Sphere" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  2. Benjamin J. Cohen, The Future of Money, Princeton University Press, 2006, ISBN 0-691-11666-0; cf. "the dollar is the de facto currency in Cambodia", Charles Agar, Frommer's Vietnam, 2006, ISBN 0-471-79816-9, p. 17

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]