ข้ามไปเนื้อหา

อ่าวเปอร์เซีย

พิกัด: 26°N 52°E / 26°N 52°E / 26; 52
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Persian Gulf)
อ่าวเปอร์เซีย
อ่าวเปอร์เซียมองจากอวกาศ
ที่ตั้งเอเชียตะวันตก
พิกัด26°N 52°E / 26°N 52°E / 26; 52
ชนิดอ่าว
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักอ่าวโอมาน
ประเทศในลุ่มน้ำอิหร่าน, อิรัก, คูเวต, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, บาห์เรน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน (ดินแดนส่วนแยกมุซันดัม)
ช่วงยาวที่สุด989 กิโลเมตร (615 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ251,000 ตารางกิโลเมตร (97,000 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย50 เมตร (160 ฟุต)
ความลึกสูงสุด90 เมตร (300 ฟุต)
อ่าวเปอร์เซียในเวลากลางคืนจากสถานีอวกาศนานาชาติ, ค.ศ. 2020

อ่าวเปอร์เซีย (อังกฤษ: Persian Gulf; เปอร์เซีย: خلیج فارس, อักษรโรมัน: xalij-e fârs, แปลตรงตัว'อ่าวฟอร์ส', ออกเสียง: [xæliːdʒe fɒːɾs]) บางครั้งเรียกว่า อ่าวอาหรับ (อาหรับ: اَلْخَلِيْجُ ٱلْعَرَبِيُّ, อักษรโรมัน: Al-Khalīj al-ˁArabī) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตก พื้นที่น้ำส่วนนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมของมหาสมุทรอินเดียที่ตั้งอยู่ระหว่างอิหร่านกับคาบสมุทรอาหรับ[1] โดยเชื่อมกับอ่าวโอมานทางตะวันออกด้วยช่องแคบฮอร์มุซ และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบก่อให้เกิดชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือ

อ่าวเปอร์เซียมีพื้นที่ประมงมากมาย หินโสโครกที่กว้างขวาง (ส่วนใหญ่เป็นหินและมีพืดหินปะการัง) และหอยมุกจำนวนมาก แต่ระบบนิเวศถูกทำลายจากการทำอุตสาหกรรมและน้ำมันรั่วไหล

อ่าวเปอร์เซียอยู่ในแอ่งน้ำอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งมีต้นกำเนิดในมหายุคซีโนโซอิกและมีความเกี่ยวข้องกับการมุดตัวของแผ่นอาหรับลงในเทือกเขาซากรอส[2] แอ่งน้ำนี้เกิดน้ำท่วมเมื่อ 15,000 ปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเลจากการล่าถอยของธารน้ำแข็งในสมัยโฮโลซีน[3]

ชื่อ

[แก้]
แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวโอมานไหลไปสู่ทะเลอาหรับ รายละเอียดภาพจากแผนที่ตะวันออกลางที่ใหญ่กว่า

ในสมัยก่อน อ่าวเปอร์เซียมีชื่อเรียกหลายชื่อ อัสซีเรียเรียกพื้นที่นี้ว่า "ทะเลขม"[4] ใน 550 ปีก่อนคริสต์ศักรราช จักรวรรดิอะคีเมนิดจัดตั้งจักรวรรดิดบราณแห่งแรกในเปอร์ซิส (ปารร์ส หรือ ฟอร์สในสมัยใหม่) ในภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงอิหร่าน[5] ด้วยเหตุนี้ ในแหล่งข้อมูลกรีกระบุแหล่งน้ำที่ล้อมรอบจังหวัดนี้จึงได้ชื่อว่า "อ่าวเปอร์เซีย"[6] ในหนังสือของNearchusที่รู้จักกันในชื่อ Indikê (300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำว่า "Persikon kolpos" ที่กล่าวถึงหลายครั้ง มีความหมายว่า "อ่าวเปอร์เซีย"[7]

เมื่อพิจารณาถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของอ่าวเปอร์เซีย อาร์โนลด์ วิลสันระบุไว้ในหนังสิอที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1928 ว่า "ไม่มีร่องน้ำใดที่มีความสำคัญมากไปกว่าอ่าวเปอร์เซียต่อนักธรณีวิทยา นักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ พ่อค้า นักการเมือง นักทัศนาจร และนักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน ร่องน้ำนี้ที่แยกที่ราบสูงอิหร่านออกจากแผ่นอาหรับ ทำให้เกิดอัตลักษณ์อิหร่านตั้งแต่ 2200 ปีเป็นอย่างน้อย"[1][8]

ข้อพิพาทเรื่องชื่อ

[แก้]

พื้นที่น้ำในอดีตและในระดับนานาชาติมีชื่อเรียกว่า อ่าวเปอร์เซีย[9][10][11] รัฐบาลอาหรับเรียกบริเวณนี้เป็นอ่าวอาหรับ หรือ The Gulf[12] และบางประเทศและองค์กรเริ่มใช้คำว่าอ่าวอาหรับ[13] ทางองค์การอุทกศาสตร์สากลเรียกพื้นที่นี้ว่า อ่าวอิหร่าน (อ่าวเปอร์เซีย)[14]

ข้อพิพาทนี้เริ่มพบบ่อยขึ้นนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960[15] ความเป็นศัตรูระหว่างอิหร่านและรัฐอาหรับบางประเทศ ควบคู่กับการก่อตัวของอุดมการณ์รวมกลุ่มอาหรับและชาตินิยมอาหรับ ทำให้ชื่อ "อ่าวอาหรับ" กลายเป็นชื่อที่นิยมในประเทศอาหรับส่วนใหญ่[16][17]

น้ำมันและแก๊ส

[แก้]

อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก [ต้องการอ้างอิง]และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[18][19][20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 United Nations Group of Experts on Geographical Names Working Paper No. 61 เก็บถาวร 2012-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 23rd Session, Vienna, 28 March – 4 April 2006. accessed October 9, 2010
  2. A Brief Tectonic History of the Arabian basin. Retrieved from the website: http://www.sepmstrata.org/page.aspx?pageid=133 เก็บถาวร 2018-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "A hot survivor". The Economist. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-13. สืบค้นเมื่อ 2016-04-14.
  4. Bagg, Ariel M. (1 March 2020). "The unconquerable country: the Babylonian marshes in the Neo-Assyrian sources". Water History. 12 (1): 57–73. doi:10.1007/s12685-020-00245-5. S2CID 216032694.
  5. Touraj Daryaee (2003). "The Persian Gulf Trade in Late Antiquity". Journal of World History. 14 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 5, 2013.
  6. "Documents on the Persian Gulf's name the eternal heritage ancient time by Dr.Mohammad Ajam".
  7. Nearchus (2013). "The Voyage of Nearchus from the Indus to the Euphrates". The Voyage of Nearchus. 1 (1).
  8. "Tehran Times article". 29 April 2020.
  9. Central Intelligence Agency (CIA). "The World Fact Book". สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
  10. nationsonline.org. "Political Map of Iran". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
  11. United Nations. "United Nations Cartographic Section (Middle East Map)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 2017-06-29.
  12. Niusha Boghrati, Omission of 'Persian Gulf' Name Angers Iran เก็บถาวร 2007-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, World Press.com, December 28, 2006
  13. Zraick, Karen (January 12, 2016). "Persian (or Arabian) Gulf Is Caught in the Middle of Regional Rivalries". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 9, 2022.
  14. "Limits of Oceans and Seas, 3rd edition" (PDF). International Hydrographic Organization. 1953. p. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
  15. Eilts, Hermann (Fall 1980). "Security Considerations in the Persian Gulf". International Security. 5 (2): 79–113. doi:10.2307/2538446. JSTOR 2538446. S2CID 154527123.
  16. Abedin, Mahan (December 4, 2004). "All at Sea over 'the Gulf'". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-21.{{cite news}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  17. Bosworth, C. Edmund (1980). "The Nomenclature of the Persian Gulf". ใน Cottrell, Alvin J. (บ.ก.). The Persian Gulf States: A General Survey. Baltimore, Maryland: Johns Hopkins University Press. pp. xvii–xxxvi. Not until the early 1960s does a major new development occur with the adoption by the Arab states bordering on the Persian Gulf of the expression al-Khalij al-Arabi as weapon in the psychological war with Iran for political influence in the Persian Gulf; but the story of these events belongs to a subsequent chapter on modern political and diplomatic history of the Persian Gulf.
    [1] (p. xxxiii.)
    {{cite book}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |quote= (help)
  18. Central Intelligence Agency (CIA). "The World Fact Book". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
  19. nationsonline.org. "Political Map of Iran". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
  20. United Nations. "United Nations Cartographic Section (Middle East Map)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 2017-06-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]